อนุทิน 119727


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

AEC เงื่อนไขทางกฎหมาย (Compliance) ที่ผลักดันให้ธนาคารปรับตัว

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

การเปิดเสรีภาคการเงินเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community) หรือที่เรียกว่า AEC ซึ่งกำหนดเงื่อนไขด้านกฎเกณฑ์(Compliance) ที่ธนาคารพาณิชย์ใน AEC ต้องปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

สภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม (ComplianceEnvironment) ดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ(Business Risk) แต่ธนาคารพาณิชย์ในไทยและในประเทศอื่นๆ ใน AEC โดยทั่วหน้า ซึ่งแต่ละธนาคารจะต้องอาศัยพัฒนาศักยภาพความสามารถและความพร้อมที่จะบริหารผลดำเนินงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนที่จะเกิดใหม่ให้ได้อย่างเพียงพอ

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์จากเงื่อนไขทางกฎหมายที่จะเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของAECที่ควรจะได้รับการพิจารณาและวิเคราะห์ในมุมของความเสี่ยงอย่างจริงจัง ได้แก่



 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

ประการที่ 1

ประเด็นที่แน่นอน (Certainty) คือกำหนดเวลา กรอบกิจกรรมในการรวม AEC ภายในธันวาคม   2558 แต่กรอบกิจกรรมของการรวมตัวภาคการธนาคารอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2020 (หรือปี   พ.ศ. 2563) ยังไม่ชัดเจน เป็น Unknown ที่ต้องอาศัยเวลากว่าภาพที่ออกมาจะมีความชัดเจนมากขึ้น เรื่อย ๆ

ประการที่ 2

ประเด็นที่ไม่แน่นอน   (Unknown) และยังไม่อาจจะรับรู้ได้เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลความเสี่ยง   คือผลกระทบที่จะเกิดและระดับความรุนแรงของผลกระทบของเหตุการณ์ความเสี่ยงต่อสภาพแวดล้อมธุรกิจโดยรวมและต่อธนาคารพาณิชย์เอง

ประการที่ 3


 

สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม (ComplianceEnvironment) กรณี AEC นี้ธนาคารพาณิชย์คงไม่อาจจะพัฒนาเครื่องมือทางคณิตศาสตร์หรือแบบจำลองเชิงสมการมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินได้ 

หากแต่ต้องพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์อย่างอื่นมาประกอบกัน   เพื่อให้ได้ข้อมูลความเสี่ยงที่เพียงพอต่อการตัดสินใจในการปรับหรือยกเครื่องการบริหารจัดการกิจการต่อไป   โดยเฉพาะการใช้ดุลยพินิจและการพิจารณาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร

ประการที่ 4


 

เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตาม  (Compliance) ตามเงื่อนไขของการรวมตัวของ AEC เป็นเงื่อนไขต่อยอดจากเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับเดิมซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติอยู่แล้วไม่ได้มีการผ่อนคลายเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เดิมลงอย่างมากมายอย่างที่เข้าใจกันแต่แรก

ดังนั้นเงื่อนและกฎเกณฑ์ใหม่ตาม   AEC  ที่ต้องปฏิบัติตามจึงเป็นภาระทางธุรกิจในการดำนุรกิจธนาคารและการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง  และหน่วยงานภาครัฐที่จะกำกับจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหน่วยงานกำกับของทุกประเทศในอาเซียนไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยเท่านั้น

รูปแบบของการกำกับธนาคารพาณิชย์จึงมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปและคาดหมายยากหากการบริหารความเสี่ยงด้านเงื่อนไขและกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  ก็ไม่อาจจะเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และความคาดหวังของหน่วยงานกำกับธนาคารพาณิชย์   และที่สำคัญจะกลายเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนที่เป็นเรื่องใหญ่ระดับภูมิภาคและระดับประเทศไม่ได้เป็นเรื่องของรายกิจการในวงแคบอีกต่อไป 

ชื่อเสียงของกิจการจึงเป็นเรื่องเล็กเทียบกับชื่อเสียงของประเทศ   หรือชื่อเสียงความไว้วางใจในระดับภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งอาจจะเทียบเคียงกับกรณีของวิกฤติการณ์หนี้สินของสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นระดับภูมิภาคและเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงในระยะยาว ที่ไม่ใช่เพียงค่าปรับแต่อาจจะเป็นการแซงชั่นทางธุรกิจด้วย 

ประการที่ 5


 

การเปลี่ยนแปลงระบบงานที่รองรับธุรกรรมการธนาคารจากระบบงานในระดับประเทศเป็นระบบงานที่รองรับการดำเนินธุรกรรมร่วมกันระดับภูมิภาค   มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงด้านอาชญากรรมทางการเงิน

การโจมตีข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ของทุกประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนและกับประเทศอื่นในเอเซียในระยะต่อไป

การออกแบบและจัดวางระบบงานรองรับธุรกรรมการธนาคาร   AEC  อาจจะไม่ได้รับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงในลักษณะนี้อย่างเพียงพอ  และธนาคารพาณิชย์แต่ละรายเองก็อาจจะต้องจำแนกให้ความเสี่ยงในลักษณะนี้เป็น  Unknown หรือ Unknowable risk driver ซึ่งไม่อาจจะประมาณการมูลค่าของความเสี่ยหายหรือความสูญเสียได้อย่างชัดเจน  เพราะข้อจำกัดขององค์ความรู้และไม่มีบทเรียนในอดีตเพื่อการเรียนรู้ก่อนล่วงหน้า

ประการที่ 6


 

วิสัยทัศน์  มุมมอง  การรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคารแต่ละธนาคารจึงยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงในประเด็นเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของ   AEC ที่ต้องปฏิบัติตามโดยธนาคารพาณิชย์  ที่มีความโดดเด่นที่สุดเพียงตัวขับเคลื่อนเดียว เพราะยังไม่มีตัวขับเคลื่อนอื่นที่สามารถหยิบยกขึ้นมา กล่าวถึงได้ความตระหนักและการรับรู้ความเสี่ยงจาก   AEC  ของผู้บริหารและคณะกรรมการธนาคารจะนำไปสู่การตัดสินใจปรับปรุงและยกเครื่องทรัพยากร   สินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงาน คุณสมบัติและสมรรถนะของบุคลากรได้   ซึ่งหากการปรับปรุงส่วนของปัจจัยการผลิตงานบริการ (Input) เป็นไปอย่างชัดเจนก็คงไม่ยากในการปรับกระบวนการดำเนินงานเมื่อเกิดการรวมตัวภาคการธนาคารใน AEC   แล้ว 

ประการที่ 7


 

แม้ว่ากฎหมาย   เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของ AEC   จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์กระจายความเสี่ยงได้ด้วยการให้กู้ร่วม  (Syndicated Loan) แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีความเสี่ยงที่หลงเหลือสูงจนอาจจะยากที่จะทำให้การร่วมมือกันระหว่างธนาคารข้ามพรมแดน   หรือแม้แต่ระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยด้วยกันเองเป็นไปได้ยาก

ตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงประการหนึ่งคือ   ความแตกต่างของแบบแผนการดำเนินงาน   ซึ่งมาจากบุคลิกภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกันในแต่ละธนาคาร 

ดังนั้น  แม้ว่าการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการให้กู้ร่วมจะพบว่ามีความเป็นไปได้สูงมากกว่าเป็นไปไม่ได้   แต่ประเด็นคำถามที่มักจะตามมาเป็นคำถามที่ 2 ของการพิจารณาก็คือใครคือพันธมิตรทางธุรกิจ  และใครคือตัวแทนของพันธมิตรทางธุรกิจที่จะต้องเจรจาหรือหารือร่วมกัน 

การดำเนินธุรกรรมทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยในตลาด  AEC จึงมีส่วนผสมของทั้งความเสี่ยงทางการเงิน(ด้านเครดิต ตลาด สภาพคล่อง)  และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) อยู่คู่กันตลอดเวลา 




ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท