อนุทิน 119776


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

กิจกรรม CSR กติกาของเกมบริหารที่เปลี่ยนไป

อาจารย์จิรพร   สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

ความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอกและภายในกิจการต่อการทำกิจกรรม CSR ของกิจการมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ซึ่งกิจการจะต้องศึกษากติกาใหม่ของเกมการบริหารเกมนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าของการดำเนินงาน

ความเปลี่ยนแปลงของกติกาในการเล่นเกม “กิจกรรม CSR” ของกิจการคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ

(1)  การเพิ่มความชัดเจนเกี่ยวกับปรัชญาทางธุรกิจเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม

(2)  การจัดเตรียมเครื่องมือและเทคนิคใหม่ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรม CSR เกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล

(3)  การเพิ่มศักยภาพ ความพร้อมความสามารถและสมรรถนะในการบริหารกิจกรรม CSR ให้เหมาะสมกับกติกาใหม่ของโลก

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับตัวของกิจการต่อความเปลี่ยนแปลงของกติกาการทำกิจกรรม CSR ได้แก่

(1)  ความสามารถในการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการจัดการและตอบโต้กับความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk)

(2)  การบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะดีขึ้น

(3)  ความไว้เนื้อเชื่อใจ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกิจการในระยะยาวจะดีขึ้น

(4)  เกิดแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่กิจการอาจจะนำไปใช้พิจารณาประกอบการดำเนินกระบวนการปรับตัวด้านกิจกรรม CSR ตามกฎกติกาที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่

ประการที่ 1

การดำเนินกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณทรัพยากรเพิ่มขึ้นเสมอไป
แต่กิจการอาจจะมีต้นทุนของความเสี่ยง (Cost of Risk) ในช่วงที่ทำการปรับตัวหรือความเปลี่ยนแปลงในระยะแรกที่เป็นช่วงบุกเบิกหรือนำร่อง

ประการที่ 2

การปรับตัวเพื่อให้กิจกรรม CSR สามารถรองรับกฎและกติกาใหม่ เป็นเรื่องที่ทำได้ก็ต่อเมื่อกิจการมีศักยภาพและความพร้อมในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งหากกิจการยังไม่พร้อมในส่วนนี้ ก็คงไม่อาจขับเคลื่อนการปรับตัวได้
และต้องมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดความพร้อมในส่วนนี้ ก็คงไม่อาจขับเคลื่อนการปรับตัวได้ และต้องมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเกิดใหม่จากการใช้นวัตกรรมใหม่

ประการที่ 3

บางครั้งการบุกเดี่ยวในฐานะของกิจการที่บุกเบิกการปรับตัวในการทำกิจกรรม CSR อาจจะเป็นไปไม่ได้
หลายกิจการเช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงใช้การหารือ ชักชวนกิจการอื่นๆในอุตสาหกรรมเดี่ยวกัน เพื่อชักชวนให้หลายกิจการดำเนินกิจกรรม CSR บนแนวทางเดียวกันและโดยพร้อมเพียงกัน
เมื่อการดำเนินงานตามแนวทางใหม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงค่อยต่างคนต่างทำ

ประการที่ 4

หากจะทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรม CSR ให้เป็นไปตามกฎและกติกาใหม่ หากมีความพร้อมและพลังเพียงพอ
กิจการควรตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงดีกว่าคอยเป็นผู้ตาม ที่รอคอยให้กิจการทำก่อนจึงค่อยทำตาม เพราะมูลค่า (Value) ของการเป็นผู้นำจะอยู่ที่กิจการด้วย นอกเหนือจากการได้ทำตามกฎและกติกาใหม่
และจะถูกกล่าวขวัญถึงโดยนักเคลื่อนไหวและสื่อมวลชนด้วย

ประการที่ 5

ในบางกิจการการวิเคราะห์และประเมินผลได้-ผลเสียจากการปรับกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่ ต้องทำด้วยความรอบคอบ หากเป็นกิจกรรมที่มีความซับซ้อน มีผลกระทบและผลลัพธ์ในวงกว้าง เพราะอาจจะมีบางประเด็นที่สำคัญและหลงลืมที่จะพิจารณาและคำนึงถึงไม่ได้ และอาจจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดีก่อนการตัดสินใจ

กิจการควรให้เวลากับเรื่องนี้อย่างเพียงพอ และหากมีความจำเป็นอาจจะต้องดึงเอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นที่ครบถ้วน

ประการที่ 6

การคิดค้นและแสวงหานวัตกรรมในการส่งมอบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ย่อมเป็นที่ปรารถนาและพึงประสงค์ของประชาคม แต่จะถือว่าประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อส่งผลดีและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการด้วย
ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้เมื่อนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ และตอบโจทย์ที่เป็นความคาดหวังของสังคม สินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมทางด้านกรีนมากมายทีไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคและไม่อาจจะทำให้กิจการอยู่รอดได้

ประการที่ 7

บุคลากรยังคงเป็นสินทรัพย์หลักที่กิจการไม่ควรมองข้ามในการปรับเปลี่ยนกิจกรรม CSR ตามกฎและกติกาใหม่

กิจการจะประสบความสำเร็จในการปรับกิจกรรม CSR ได้จะต้องประสบความสำเร็จในการบริหารความสัมพันธ์กับบุคลากรภายในกิจการ บุคลากรของ Outsourcing บุคลากรของซับพลายเออร์ได้อย่างเพียงพอ

การขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ด้วยพลังของบุคลากรมักจะทำให้กิจการสามารถรับผลประโยชน์ของการทำกิจกรรม
CSR ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
กิจการจึงควรปรับแผนการทำกิจกรรม CSR ให้ใช้บุคลากรดังกล่าวมาแล้วเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานอย่างเพียงพอ เพราะคุณค่าของกิจการย่อมมาจากคุณค่าของบุคลากรด้วยส่วนหนึ่ง

ประการที่ 8

บางกรณีการทำกิจกรรม CSR ตามลำพังในแต่ละกิจการอาจจะไม่มีพลังขับเคลื่อนอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์

กิจการอาจจะต้องปรับแผนงานกิจกรรม CSR เป็นแผนบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้เกิดพลังที่เพียงพอในการขับเคลื่อนความสำเร็จของกิจกรรม CSR

ประการที่ 9

การวัดผลและประเมินผลสำเร็จของการทำกิจกรรม CSR จะต้องใช้หลักการเดียวกันกับการวัดและประเมินผลดำเนินงานอื่นๆของกิจการคือ ใช้ Performance-driven เน้นให้เกิดการดำเนินกิจกรรม CSR ที่เน้นผลผลิตและผลลัพธ์ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ชัดเจนด้วย

ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจจะต้องพัฒนาตัวชี้วัดผลผลิต (Output KPIs)และตัวชี้วัดผลลัพธ์ในระยะยาวที่ควบคู่กัน (Outcomes or Impact KPIs)

 



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท