อนุทิน 119811


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

CSR กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หนึ่งในการบริหารความเสี่ยงทางสังคม

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นกิจกรรมที่อยู่ในกระแสของความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อบรรดาผู้ประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ จึงทำให้ผู้บริหารกิจการต้องหาทางตอบสนองและแสดงให้เห็นว่ากิจการของตนก็มีกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เหมือนกัน

แต่การทำให้มี CSR กับการดำเนินกิจกรรม CSR จริงไม่เหมือนกัน เพราะความคาดหวังของสังคมและสาธารณชนในยุคนี้ไม่เหมือนกัน ความคาดหวังตอนนี้และต่อไปในอนาคตนับวันจะมีแนวโน้มในทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าจะลดลง ขณะเดียวกันกิจกรรม CSR ก็ต้องปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ยากจะหยุดอยู่กับที่อย่างเดิม

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR ในยุคนี้ต้องเป็นองค์ประกอบหรือมาจากส่วนผสมของแนวคิดหลาก หลายมาผสมกันเพื่อให้มีความครบถ้วน

มีบางคนบอกว่า สูตรที่ครบเครื่องของ CSR มาจาก

ความรับผิดชอบของกิจการ   + การกำกับดูแลกิจการที่ดี   +  นโยบายด้านธรรมาภิบาลและจิตสาธารณะ

การบริหารมวลชนสัมพันธ์      Corporate, Social Responsibility

นอกจากนั้น กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR จะต้องปิดช่องว่างของภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มาบรรจบกัน สร้างทักษะของความเป็นผู้นำทั้งภายในกิจการและในชุมชนที่เกี่ยวข้องและอาจจะรวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายข้ามประเภทธุรกิจด้วย
โดยเฉพาะในกรณีของธุรกิจข้ามชาติ จะยิ่งเผชิญหน้ากับแรงกดดันของการจับผิดจากคู่ค้าระดับโลกให้ระดับความเพียงพอของความรับผิดชอบต่อสังคมสูงกว่าผู้ประกอบการที่พึ่งพาอาศัยเฉพาะตลาดในประเทศ และอาจจะมีโอกาสที่จะมีความไม่แน่นอนต่อความคาดหวังของตลาดโลกต่อกิจกรรม CSR ของธุรกิจข้ามชาติ จนคาดหมายยากและเตรียมการเพื่อรับมือได้ยากขึ้น หากปัจจัยในการพิจารณามาจากระดับโลกและจากสังคมออนไลน์

ประเด็นที่เป็นปัญหาของกิจการคือตัดสินใจได้ยาก เพราะมีประเด็นของความไม่แน่นอนที่อาจจะกระทบต่อผลลัพธ์ทั้งทางการเงิน และไม่ใช่การเงิน รวมทั้งชื่อเสียงของกิจการ จึงต้องอาศัยความเชื่อมโยงจนได้เป็นรูปแบบของการบริหารความเสี่ยงที่มีนวัตกรรมจากแนวคิดแบบดั้งเดิม

ที่เรียกว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงที่มีนวัตกรรม เพราะเป็นแบบจำลองการดำเนินงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีพลังทางการตลาดเพียงพอที่จะสามารถเปลี่ยนใจลูกค้าและสาธารณชนได้ และอาจจะต้องรวมไปถึงนักการเมือง NGO และแม้แต่สื่อมีเดียด้วย
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความเสี่ยงประเภท “ความเสี่ยงทางสังคม” (Social Risk) ที่ทำท่าจะกลายเป็นความกังวลของบรรดากิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการข้ามชาติ

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากมุมของผู้ประกอบการแล้ว ความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk) ไม่ได้แตกต่างจากความเสี่ยงประเภทอื่น ๆ อาจจะมาจากพฤติกรรมหรือการกระทำของกิจการเอง หรือปฏิกิริยาของบุคคลอื่นที่มีผลเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการดำเนินงานของกิจการ จนอาจจะทำให้กิจการจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกิจการในที่สุด

ดังนั้น กิจการที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจกับแนวคิดและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างพอเพียงในประเด็นที่อาจจะเป็นความเสี่ยงทางสังคม อาจจะกลายเป็นความจำเป็นด้านการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต
จนทุกกิจการจะต้องปรับเพิ่มกลยุทธ์จากกิจการที่มีประเด็นของแนวนี้อยู่ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงทางสังคมอาจจะต้องรับผิดชอบประเด็นที่ซับซ้อนและต้องคำนึงถึงประเด็นที่เป็นสภาวะดุลยภาพที่เหมาะสมกับตัวแปรและแรงกดดันต่าง ๆ และประนีประนอมกลุ่มสังคมแต่ละกลุ่ม ซึ่งการฝ่าฟันความท้าทายของกิจการที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับในบทบาททางสังคมของการดำเนินงานได้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่าย ๆ

หากยอมรับได้ว่า โปรแกรมและกิจกรรม CSR เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารความเสี่ยงสำหรับ
กิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการข้ามชาติ ที่ต้องกำหนดกรอบการดำเนินงานและหลักการให้ครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียให้เหมาะสม CSR ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่กิจการได้ว่าจะสามารถบรรลุกลยุทธ์ด้านการบริหารความเสี่ยง และสามารถต้านทานความเสี่ยงทางสังคมได้ แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะพยากรณ์ประเด็นสำคัญที่อาจจะเป็นความเสี่ยงทางสังคมได้อย่างชัดเจน และความเสี่ยงประเภทนี้เป็นกระแสที่ผันผวนได้ง่าย

สำหรับกิจการหลายกิจการแล้ว การเปิดตัวและขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดระดับโลกหมายถึงการปรับแบบจำลองการดำเนินงานส่วนที่ต้องเกี่ยวกับเครือข่าย (Network-based) ซึ่งยังมีความแตกต่างกันในแต่ละตลาดและแต่ละวัฒนธรรม

กิจการที่ผ่านด่านนี้ออกไปได้ต้องถือว่าบริหารจัดการได้อย่างเป็นเลิศ เพราะจะเกิดขึ้นใดก็ต้องมีความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ จนกลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่มีอุปสรรคระหว่างพรมแดนอีกต่อไป

เมื่อพูดถึงเครือข่ายก็เห็นได้ชัดว่า กิจการต้องลดระดับการควบคุมอย่างเข้มงวดที่เคยใช้กำกับการดำเนินธุรกิจ
ทดแทนด้วยการประนีประนอม ผ่อนปรน และยืดหยุ่นเชิงโครงสร้างมากขึ้น ยกเลิกระบบการดำเนินงานแบบปิดและปรับตัวสู่ระบบเปิดแทน และต้องเกี่ยวข้องกับตลาดที่มีความหลากหลายเชิงภูมิศาสตร์มากกว่าตลาดภายในประเทศมาก เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนอีกหลากหลาย ซึ่งอาจจะสร้างผลที่คาดไม่ถึงแก่กิจการ

การคุกคามของความเสี่ยงทางสังคม

โลกาภิวัฒน์ ทำให้การพึ่งพาอาศัยกันของกิจการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพิ่มโอกาสที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน เพราะระบบธุรกิจมีความผันผวนรวดเร็ว และมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพื่อรักษาระดับความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

ในทางการตลาดระหว่างประเทศ ความเสี่ยงทางสังคมเป็นเรื่องของสังคมเอกชนไม่ค่อยได้นับรวมภาครัฐด้วย เพราะรัฐบาลต่างประเทศมักจะเป็นผู้กำกับด้านกฏหมายอยู่แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงด้านการกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ (Compliance Risk) มากกว่าความเสี่ยงทางสังคม

สมการของความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk Equation) ประกอบด้วย

 ความเสี่ยงทางสังคม =  ภัยคุกคาม  เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)  X  จากตัวกิจการเอง

                                   x ประเด็นที่เป็นกระแส

CSR กับการบริหารความเสี่ยง

CSR ในปัจจุบันมีความหมายถึงการแสดงออก การเปิดเผยข้อมูล การทำกิจการที่ทำให้สังคมและสาธารณชนเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง เกี่ยวกับที่มาของกำไรและผลตอบแทนทางการเงินของกิจการ ไม่ใช่เพียงแค่กิจการแบ่งเงินจากผลกำไรไปช่วยกิจกรรมทางสังคมอย่างไร

CSR จึงเป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงของกิจการผ่าน 2 ช่องทาง

(1)  การค้นหาและระบุว่าความเสี่ยงมีลักษณะเช่นใด

(2)  กำหนดกิจกรรมตอบโต้ต่อความเสี่ยงอย่างเหมาะสมได้อย่าง

การตอบโต้ต่อความเสี่ยงในที่นี้ คือ การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างถูกต้องและสร้างประโยชน์ทางบวกแก่กิจการ

ระดับความสัมพันธ์ที่มีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอยู่หลายระดับ

ระดับที่ 1 

เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ให้ผู้มีส่วนส่วนเสียรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจ ของกิจการจากการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน รับรู้พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ ในสังคม

ระดับที่ 2 

เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับรู้บางเรื่องบางประเด็นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่สำคัญล่วงหน้าก่อนที่จะตัดสินใจจริง เป็นการหารือขอความเห็นก่อนการตัดสินใจ

ระดับที่ 3 

เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแสดงความคิดเห็น หรือเท่ากับมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนด ขอบเขต กรอบการดำเนินงานของกิจการ

ระดับที่ 4 

เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณาและหากได้รับการยอมรับ  กิจการจึงจะมีการดำเนินการในสิ่งนั้น
หากไม่ได้รับการยอมรับก็จะไม่พิจารณาดำเนินการhttp://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/869/479/default_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B_01.2556.jpg?1358342375" unselectable="on">



ความเห็น (1)

น่าจะเขียนเป็นบันทึกดีกว่านะคะ เพราะสืบค้นและเผยแพร่ได้ง่ายกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท