อนุทิน 119682


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
เขียนเมื่อ

อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

S[email protected]

ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของสังคมและประชาคมโลก เป็นความเสี่ยงใหม่ที่เป็น Social Risk ที่สร้างความท้าทายรูปแบบใหม่แก่กิจการ ซึ่งหากกิจการเริ่มรับรู้และตื่นตัวแต่หลายกิจการยังไม่รับรู้และเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ

หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของสังคมและประชาคมโลกที่เป็น Social Risk ของกิจการคือความวิตกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและหวังว่าแต่ละกิจการจะต้องเพิ่มบทบาทและความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดผลที่ยั่งยืน (Sustainable Way)

ความจำเป็นในการปรับตัวของกิจการในการบริหาร Social Risk ด้วย CSR Program ได้พัฒนาไปสู่การตั้งเป้าหมายที่จะให้กิจกรรม CSR ช่วยสร้างมูลค่าแก่กิจการด้วย ไม่ใช่แก้ไขความเสี่ยงทางสังคมเพียงด้านเดียว

ซึ่งการใช้ CSR ในการสร้างมูลค่าแก่กิจการจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ กิจการสามารถทำกิจกรรม CSR ในลักษณะที่เป็นการตอบสนองต่อโอกาสทางธุรกิจหรือสร้างกิจกรรมทางบวก หรือคิดแบบมีนวัตกรรมเท่านั้น

ประเด็นที่จะทำให้กิจการฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจจากกิจกรรม CSR ได้อาจจะต้องพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

ประการที่ 1


 

กิจกรรม CSR เป็นพันธกิจที่ต้องมุ่งมั่นหรือเป็นเพียงกิจกรรมเสริมระหว่างปี

หากกิจกรรม CSR ยังเป็นกิจกรรมชั่วครั้งชั่วคราว   กิจการก็อาจจะทำกิจกรรมCSRแบบปิดหูปิดตา ไม่สนใจใคร  หรือทำแบบไม่มีจุดมุ่งหมายหรือหวังผลชัดเจน โอกาสทางธุรกิจจะเกิด CSR ได้กิจการจะต้องยกระดับกิจกรรม   CSR ขึ้นมาในระดับที่สำคัญลำดับต้นๆก่อน   และไม่ต้องสงสัยเคลือบแคลงต่อไปอีกว่า CSR มีความสำคัญสูงหรือไม่   มาสู่การตั้งคำถามว่าจะทำกิจกรรม CSR ให้สมกับที่มีความสำคัญอย่างไร

กิจการขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำทางธุรกิจในระดับโลกล้วนแต่ยึดมั่นและมุ่งมั่นที่จะดำเนินกลยุทธ์ด้าน   (1) CSR และ (2) ความยั่งยืน (Sustainable) ของกิจการ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กิจกรรม CSR จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญตั้งแต่ขั้นของการวางแผนการดำเนินงานตามแผนและการบูรณาการ CSR เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานประจำวันของกิจการ และส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขององค์กร 

ประการที่ 2


 

แม้ว่าCSRจะเริ่มจากกิจการขนาดใหญ่ เพราะคำว่า Corporate เป็นคำที่เป็นที่มาของคำว่า “C” ตัวแรกของ CSR แต่ตามมาตรฐาน ISO 26000 ได้ตัดคำว่า  “C” ออกเหลือเพียงคำว่า   Social Responsibility ซึ่งหมายความว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมเหมือนกัน   เพราะทุกคนมีส่วนสร้างอากาศเสีย สร้างน้ำเสียและสร้างขยะที่ย่อยสลายยากเหมือนกัน

ผู้ประกอบการในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึง บริษัท ห้างร้านเท่านั้น   หากแต่รวมถึงองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา NGOsด้วย

ประการที่ 3


 

กิจกรรมของ CSR ยังแบ่งออกเป็น 3   กลุ่มใหญ่คือ

(1)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการ  สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งกิจการลักษณะนี้จะต้องแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจการของตนเองก่อนจนผลกระทบ=0   แล้วค่อยหาทางเพิ่มพูนผลกระทบทางบวกให้เพิ่มขึ้น

(2)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการ   ไม่ได้สร้างผลกระทบทางลบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่มีส่วนที่ทำให้กิจการอื่นไปสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม

หน้าที่และบทบาทหลักของกิจการเหล่านี้ คือ   ทำให้กิจการที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม  เช่นเดียวกับกลุ่ม (1)

(3)  กลุ่มที่ลักษณะการดำเนินกิจการไม่ได้สร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ประการที่ 4


 

ไม่ว่ากิจการจะจัดกลุ่มตัวเองอยู่ในกลุ่มใดระหว่าง 1 ใน 3   กลุ่มข้างต้นกิจการก็จะต้องทำการเปิดเผยอย่างโปร่งใส ยินดีให้มีการตรวจสอบได้   เพื่อยืนยันว่าการดำเนินงานของกิจการเป็นความจริงตามที่ระบุและรายงานต่อบุคคลภายนอก

สิ่งที่กิจการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกนี้   ยังรวมถึงประเด็นของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ประการที่ 5


 

การทำกิจกรรม CSR เป็นการเริ่มจากวงในออกไปหาวงนอกหรือจากผู้ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ ออกไปหาคนที่ไม่รู้จัก คนไม่คุ้นเคย

(1)   คนที่อยู่วงใน ได้แก่   ลูกค้า คู่ค้า คู่สัญญา พนักงาน Outsourcing ชุมชนที่แวดล้อม

(2)   คนที่อยู่วงนอก ได้แก่   พื้นที่ที่เดือนร้อน คนที่เดือนร้อน สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย 

ประการที่ 6


 

ต้นทุนที่สำคัญของการทำกิจกรรม CSR ที่กิจการส่วนใหญ่ยังต้องลงทุนเพิ่มเติม คือ

(1)  ต้นทุนของการจัดเก็บรวบรวมผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรม   CSR

(2)  ต้นทุนของการพัฒนาเงื่อนไขหลักเกณฑ์การวัดผล ตีค่าผลลัพธ์ที่เกิดจากกิจกรรม CSR

(3)  ต้นทุนของการค้นหานวัตกรรมในการทำกิจกรรม   CSR

(4)  ต้นทุนของการรายงานผลที่เกิดจากการทำกิจกรรมCSR การเปิดเผยและการสื่อสารผลงานของการทำกิจกรรม CSR

(5)  ต้นทุนของการวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประกอบการทำแผนงานและกิจกรรม   CSR โดยใช้มาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์

ประการที่ 7


 

ในอนาคตความรับผิดชอบต่อสังคม หรือกิจกรรม CSR   ของกิจการจะต้องสอดคล้องกับประเด็น 2ประเด็นที่ต้องดำเนินการให้เพียงพอและครบถ้วน

(1)  CSR  ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ (Compliance) ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หากกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างครบถ้วน

(2)  CSR  ที่สอดคล้องกับความคาดหวังซึ่งอยู่นอกเหนือจากส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับซึ่งกิจการจำเป็นต้องปฏิบัติตาม   เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์และปกป้องมูลค่าของกิจการ

ดังนั้นกิจกรรม CSR จึงไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมด้านบริหารความเสี่ยงเท่านั้น   หากแต่ยังเป็นไปเพื่อการสร้างมูลค่าแก่กิจการ ในการเพิ่มพูนโอกาสทางธุรกิจและนวัตกรรมและเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เพิ่มเติมหรือทดแทนโมเดลธุรกิจเดิมของกิจการ

ประการที่ 8


 

ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด CSR   และการนำแนวคิด CSR   มาใช้เป็นทางปฏิบัติในระหว่างการดำเนินงานตามปกติของกิจการ  ถือว่าเป็นสมรรถนะองค์กรและสมรรถนะบุคลากรที่ทุกกิจการจะต้องมีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจนและเพียงพอ  เพื่อให้เกิดความคิด การปฏิบัติที่เป็นระบบและมีบรรทัดฐาน

ประการที่ 9


 

นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าของกิจการ (Value   Creation) ผ่านการฉกฉวยโอกาส ความได้เปรียบทางธุรกิจ และการคิดค้นนวัตกรรมแล้ว กิจกรรม CSR ยังอาจจะสร้างมูลค่าแก่กิจการได้ด้วยการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตร ให้แวดวงของผู้ที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจเป็นผู้ที่ใส่ใจในปัญหาของสิ่งแวดล้อมด้วย

เครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรมีความสำคัญเพราะเชื่อว่าเป็นคำตอบของความยั่งยืนของกิจการ ความยั่งยืนของสังคม และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม แทนที่จะพิจารณากิจกรรม CSR   เพียงกิจการใดกิจการหนึ่งเป็นรายกรณีแยกออกจากกิจการอื่นๆ  โดยสิ้นเชิงซึ่งอาจจะทำให้มองไม่เห็นการสร้างมูลค่าแก่กิจการ (สังคมและสิ่งแวดล้อม) ในองค์รวมอย่างครบถ้วน   เพราะลำพังเพียงกิจการเดียวคงยากที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้สำเร็จต้องพิจารณาทุกระดับชั้นอย่างครบถ้วน

ประการที่ 10


 

มิติสำคัญอีกประการหนึ่งของการวัดและประเมินผลของกิจกรรม CSR   ที่ถือได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าแก่กิจการ คือการพิจารณาผลลัพธ์ของกิจกรรม CSR ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life   Cycle) หากผลลัพธ์ที่ออกมาสามารถสอดคล้องและส่งผลดีจริง ต้องไม่เกิดผลกระทบไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การใช้งาน การทิ้ง การกำจัดและการรีไซเคิ้ลต้องมีการบริหารด้วยกิจกรรม CSR  แทรกอยู่ด้วย





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท