การดูงานเอดส์ในเด็กที่ไมอามี่ : ทบทวนบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย


วันนี้ได้เรียนรู้งานเยอะกว่าทุกวันเลย

อาจารย์เกวนโดลิน  ท่านหัวหน้าภาค เคยแนะนำ ว่า
  ให้ทำงานโดยสังเกตุ เป็นส่วนใหญ่

อาจารย์ จะจัดให้นั่งคู่กับแพทย์ และ พยาบาลเวชปฏิบัติ  ถามคำถามได้ สัมภาษณ์ผู้ป่วยได้ 

ใน วันจันทร์ คลินิกคัดกรองเด็กที่คลอดจากแม่มีเชื้อ HIV  ติดตามจนถึงอายุ 15 เดือน หรือ 18 เดือน

เมื่อตรวจเลือด Elisa test พบว่าเด็กไม่ติดก็จำหน่ายออกไม่ต้องนัดต่อ  ถ้าติดเชื้อ(ซึ่งจะทราบผลเลือด เบื้องต้น PCR ตั้งแต่อายุ 4 เดือน)ก็ เริ่มให้ยากันเลย

วันพุธ และศุกร์เว้นศุกร์ เป็นวันรักษาก็จะมีบริการติดตามเด็กติดเชื้อให้การรักษายาต้านไวรัส

ถึงเวลาดูงานจริง เมื่อนั่งลง งานก็คืองานบริการ  เราถามได้ แต่ถามมากๆ ก็จะทำให้การบริการช้าลง เพราะฉะนั้น รวิวรรณ จะไม่กล้าถามมาก เวชระเบียนก็ดูด้วยยาก เพราะกำลังใช้เพื่อบริการอยู่ 

พยายามทำตัวให้ไม่เกะกะ ไม่เป็นไม้ประดับ แต่ขอดูทุกอย่าง เจาะเลือดเด็ก ฉีดวัคซีน ตรวจพัฒนาการ  โต๊ะพยาบาลทำอะไร ก็ขอดูหมด นั่งอยู่ 3 ครั้ง ก็เข้าใจระบบการบริการพอควร

แต่ยังไม่เข้าใจ ในปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน

 ตั้งใจว่าต้องเรียนรู้ ปัญหา การดูแลให้มีความรู้เร็วที่สุด  วิธีเรียนรู้ที่ดีมากวิธีหนึ่งคือ ทบทวนดูบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยให้เข้าใจให้ได้ เวลาผู้ป่วยมา จะได้ทันกันกับหมอที่นี่  วันนี้ไม่ใช่วันคลินิก ควรไปเข้ากิจกรรมวิชาการ แต่จะไม่ไป เราจะทวนเวชระเบียน

 ทวนเวชระเบียน ทั้งหมด 4 คน เป็นของเด็ก แรกเกิดที่ติดตามจนครบ 18 เดือน พบว่าไม่ติดเชื้อจากแม่ 1 คน

และเด็กโตอีก 3 คนที่อายุ 24, 18 และ 16 ปี  กินยาต้านไวรัส ต่อเนื่อง โดยเริ่มมาตั้งแต่ 15 -18 ปีก่อน ตอนที่อเมริกากำลังเริ่มเรียนรู้เรืองการให้ยา และไทยเรากำลังมีการระบาดอย่างหนัก

ดูแต่ละแฟ้มนะ  แฟ้มหนาปึก เห็นที่ปกสีฟ้าเขียน Volume 3 ไหมคะ แต่ละคนมีแฟ้มประวัติหนาอย่างที่เห็น คนละ 3-4 แฟ้ม

ตู้ข้างหลัง เป็นตู้ชั้นสูงท่วมหัว ที่เลื่อนได้ เวชระเบียน ผู้ป่วย 350 คนของเราบรรจุ อยู่ในชั้น 2 ชั้น หันหน้าเข้าหากัน

ได้เรียนรู้งาน เรื่องราวการดูแลผู้ป่วยเยอะกว่าทุกวันเลย

ปกติสี่โมงก็กลับบ้านแล้ว

แต่วันนี้ เสร็จเกือบห้าโมงเย็นค่ะ

พรุ่งนี้คุณหมอ ชาปเปอโร เธอจะเตรียมผู้ป่วยที่จะเข้าประชุม Team meeting วันจันทร์ บ่ายสอง โดยเตรียมประวัติ และปัญหา จากการทบทวนเวชระเบียนทุกศุกร์

นัดกับเธอไว้แล้ว ว่าขออนุญาติดูด้วยพรุ่งนั้ 10 โมง โดยสัญญาว่าจะไม่ทำให้เธอช้า

พรุ่งนี้จะได้ เรียนรู้อีกเยอะมากค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 99930เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 

P
sasinanda สวัสดีค่ะ

แสดงว่า หมอแต่ละคน ต้องใช้เวลาเขียนเวชระเบียน นานเหมือนกันนะคะ

พยาบาลเขียน บางส่วนแทนได้ไหมคะ เช่น ผลการตรวจบางอย่าง

ดูแต่ละแฟ้มนะ  แฟ้มหนาปึก เห็นที่ปกสีฟ้าเขียน Volume 3 ไหมคะ แต่ละคนมีแฟ้มประวัติหนาอย่างที่เห็น คนละ 3-4 แฟ้ม

  • ท่าทางงานยุ่งนะครับคุณหมอ
  • ขอบคุณครับผม

 

ขอบคุณ อาจารย์

    P

และ อาจารย์
P
หมอที่นี่ อ่านประวัติ เตรียมการ วางแผนการรักษา ประมาณ 10-15 นาที
ตรวจ ประมาณ 20ข 30 นาที
สรุป เขียนบันทึกเวชระเบียน ประมาณ 15 นาที เขียนประมาณ 1-2 หน้าในแต่ละครั้ง นอกนั้น ก็ เขียนใบสั่งยา และแบบฟอร์มอื่นๆเช่น ปรึกษาข้ามไปหหาหมอนรีเวช หรือหมอฟัน
พยาบาล และนักสังคม นักโภชนาการก็เขียน นักสังคมสงเคราะห์ก็ เขียนเวลาเยี่ยมบ้าน ทุกคนเขียนค่ะ
แต่[บันทึกของพยาบาล และโดยเฉพาะหมอจะเป็นตัวกำหนดการจ่ายเงินคืนจากระบบประกัน ดังนั้น ต้องมีในทุก นัดหมาย
จริงๆ ว่างมากค่ะ ถ้าไม่ตั้งใจอยากมาเรียนรู้ อาจกลายเป็นนักท่องเที่ยวไปเลย เพราะอาจารย์ เขาให้เกียรติมาก ให้อิสระ เต็มที่
อาจารย์เพียงแต่ให้ข้อมูลว่า ตรงไหน วันไหน เวลาไหน มีกิจกรรมอะไร ที่ แพทย์ ฝึกหัด และแพทย์ ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ เขาทำอะไรกัน เราจะเข้าไม่เข้า ฟัง ไม่ร่วมกิจกรรม เขาไม่มีทางทราบเลย
 แต่ตั้งใจไว้เองว่า เรามาไกล คงมาไม่ได้อีก
จะต้องเก็บความรู้ให้มากที่สุด
เลยต้องลุย ยุ่งแต่สนุกนะคะ

แอบมาเยี่ยมคนงานเยอะครับ...

มาทักทายครับคุณหมอ
ได้รับความรู้มากครับเหมือนได้ไปด้วยเลยครับ
แล้วมีแนวโน้มไหมครับที่จะรักษาหายครับ
จะมาติดตามอ่านอีกครับ

ขอบคุณค่ะ น้องย่ามแดง และ อ ประเสริฐ

โรคเอดส์ ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายค่ะ พบแต่ให้ยาต้านไวรัส กดเชื้อไม่ให้แบ่งตัว ไม่ให้เติบโต ไม่ให้ออกลูกหลาน

 

แต่ถ้ากินยาแม่นยำ ไม่พลาด ยึดติดแน่นกับยา ซึ่งเราเรียกว่า

วินัยการกินยาดีมาก ผู้มีเชื้อ เอดส์ จะมีสุขภาพดี

ที่มีปัญหาคือถ้ากินยา รักษาเต็มที่ ภายใน 6 เดือน เชื้อจะเหลือน้อยมาก จนตรวจไม่พบ

แต่ถ้ากินยาพลาด หรือหยุดยา เชื้อจะฟูขึ้นมาเท่าเดิมภายใน 14-28 วันค่ะ   

ยาดีมากค่ะ แต่เกิดดื้อยาง่าย ที่เกิดดื้อยา เพราะใช้ไม่ถูกต้อง กินน้อยไป กิน ผิด เวลา  ลืมกิน ตั้งใจอยากหยุดเพราะเบื่อกินยา

ตอนนี้ เหมือนรักษาโรคเรื้อรัง ขอให้กินยา คุมไว้ จะแข็งแรง ปลอดภัย มามีชีวิต เหมือนปกติเลยค่ะ

สวัสดีครับ

          ในส่วนที่ผมอยู่นั้น ไม่ได้พบกับคนไข้กลุ่มนี้เลยแต่จำได้สมัยเทรนนิงนั้น มีเด็กกลุ่มนี้ ในช่วงหนึ่งปีแรกอยู่ติดวอรดอยู่ราวๆเจ็ดแปดคน กับเคยไปออกคลินิก อีกไม่กี่ครั้ง   ก็ไม่ทราบว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม การที่เราได้ไปเรียนรู้ในที่ๆเขามีประสบการณ์มานานกว่าน่า

จ ะเป็นประโยชน์อย่างมาก  แล้วจะคอยอ่านต่อนะครับ

ตอนนี้ถ้าอาจารย์ ไปดูในตึกผู้ป่วย

จะไม่เหมือนเดิม

มาอยู่ที่ OPD(ผู้ป่วยนอก) กันเป็นส่วนใหญ่

ที่เชียงราย ตอนปี 2540 

มีผู้ป่วยที่มีปัญหา  HIV relatedครองเตียง นอนในตึกเด็ก เล็ก (<5 ปี ) มากสุดถึง  18เตียง (เฉลี่ย 12 เตียง )ใน  30เตียงที่มี

ถ้าเดินไปดูตอนนี้ในตึกเด็กเล็กจะมีให้อาจารย์ดู แค่    0-1 คน และในตึกเด็ก5-15 ปีน้อยกว่า  <3 คน

กลายเป็นโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังรักษาระยะยาว  เหมือนเบาหวาน ธาลาสซีเมีย 

ย้ายผู้ป่วยจากใน โรงพยาบาลไปให้อยู่ที่บ้าน และไปโรงเรียน ไปทำงานค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท