การเสียสละที่แท้จริงคือการสละโดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าเสียอะไร!


คำว่าสละ (เสียสละ) นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ 4 อย่าง ในบริบทของบันทึกนี้ ตรงกับความหมายที่ 4 เป็นคำกริยา หมายถึง บริจาค เช่นสละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ความสุขความสวบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่นสละกิเลส.

ในทางพุทธศาสนา ตรงกับคำว่า ทาน ซึ่งในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ให้ความหมายไว้สองอย่าง [] [] อยู่ในบุญกริยาวัตถุ; ทานเป็นวิธีกำจัดความยึดมั่นถือมั่น ความโลภโกรธหลง ตลอดจนเป็นการสละสิ่งเล็กเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มาก -- บางคนให้คำว่าทำทานกับทำบุญในความหมายเดียวกัน ทานเป็น subset ของบุญ

ผมไม่พบพุทธบัญญัติว่าทำทานมากแล้วจะได้อานิสงส์มาก แต่ในทานสูตร บรรยายลักษณะองค์ประกอบ ๖ อย่างของการทำทานที่มีอานิสงส์มาก (สามอย่างเป็นส่วนของผู้ให้ อีกสามอย่างเป็นส่วนของผู้รับ)

...ทางที่เหมาะอย่างหนึ่งก็โดยพยายามทำประโยชน์ เสียสละเพื่อผู้อื่นและส่วนรวมให้มากขึ้น การปฏิบัติงานด้วยความเสียสละอย่างนั้น ยิ่งกระทำมากเท่าใด จะช่วยให้เกิดความสามารถและความเชี่ยวชาญขึ้นเท่านั้น ทั้งเมื่อเคยชินกับการประพฤติปฏิบัติความดีแล้ว จะสามารถป้องกันความชั่วและความเสื่อมเสียทั้งปวงได้อย่างดีที่สุดด้วย ขอให้บัณฑิืตทั้งปวงนำไปพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นชัด เพื่อประโยชน์ในกาลภายหน้าของตนๆ ...

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๔ [ข้อมูลอ้างอิง]

หากเชื่อตามความในนัยนี้แล้ว การฝืนทำ หรือการหวังผลใดๆ ให้เกิดกับกับตนในอนาคต ไม่น่าจะถือเป็นการเสียสละ; ส่วนการเสียสละที่แท้จริงกลับไม่ได้รู้สึกว่าเสียอะไรไป เพราะเราสละสิ่งที่มีมากเกินไป หรือสละให้ได้โดยไม่รู้สึกเสียดาย; ส่วนความปลื้มอิ่มเอมใจ เป็นอาการที่เกิดในขณะปัจจุบัน (แม้ว่าจะปลื้มหลังจากทำแล้ว ก็ไปรู้สึกเอาหลังจากที่ทำแล้วเช่นกัน)
หมายเลขบันทึก: 99026เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

การปฏิบัติงานด้วยความเสียสละอย่างนั้น ยิ่งกระทำมากเท่าใด จะช่วยให้เกิดความสามารถและความเชี่ยวชาญขึ้นเท่านั้น

พระบรมราโชวาทความนี้--

ดิฉันซาบซึ้งมาก แต่คนส่วนใหญ่ ไมค่อยนำมาปฏิบัติค่ะ เกรงว่า ถ้าทำงานมาก จะเสียเปรียบเพื่อน ต้องให้เพื่อนทำมากกว่า จึงจะฉลาด

ไม่คิดว่า นั่นคือการฝึกฝนตัวเอง เป็นคุณประโยชน์แก่ตนเอง

เรื่องการเสียสละก็มีหลายรูปแบบ แต่ที่จะได้บุญมากและ ตัวเองปลื้มใจมีความสุขมากๆ  ก็คงต้องเป็นการเสียสละด้วยความเต็มใจ โดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ

บาททีอาจเป็นเพราะเรามักไปให้น้ำหนักกับความคุ้ม-ไม่คุ้ม ฉลาด-ไม่ฉลาด มากกว่า ทำ-ไม่ทำ หรือ ดี-ไม่ดี -- ใช้สมองคิดมากกว่าใช้ใจตัดสินมั๊งครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท