ดักแด้ไหม...อาหารจานโปรด


ดักแด้ไหม

ดักแด้ไหม...อาหารจานโปรด

                                                                                                        โดย...วิโรจน์  แก้วเรือง                     ได้มีความพยายามที่จะหาแหล่งโปรตีนใหม่ๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์      ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มผลผลิตโปรตีนจากสัตว์  เช่น  เนื้อสัตว์  ไข่  อาหารทะเล  ปลา  นมและผลิตภัณฑ์จากนม  หรือจากพืช  เช่น  ผลิตผลจากพืชตระกูลถั่ว ที่ใช้มากก็เห็นจะเป็นถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว                คุณค่าทางอาหารของโปรตีน  เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าร่างกายมนุษย์จะใช้โปรตีนในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ของร่างกายส่วนที่สึกหรอ  โปรตีนที่มีคุณลักษณะคล้ายโปรตีนของมนุษย์  คือ โปรตีนที่ได้จากสัตว์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วกว่าโปรตีนที่ได้จากพืช  จำนวนไม่น้อยที่นิยมบริโภคพืชตระกูลถั่ว  เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูง  แต่ความจริงร่างกายของมนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืชได้ประมาณ 50 % ของปริมาณโปรตีนที่บริโภคเข้าไปเท่านั้น                ปัจจุบันได้มีแหล่งโปรตีนที่ไม่ได้ใช้บริโภคเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา  เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนโปรตีนในบางประเทศ  โดยเฉพาะในประเทศโลก   ที่ 3                จากการศึกษาพบว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่รับประทานเนื้อสัตว์  มนุษย์บริโภคโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์  ปลา  ไข่  นม  และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด  เช่น  หอย  กุ้ง  และแมลงต่าง ๆ ปัจจุบันชนเผ่าพื้นเมืองในหลาย ๆ ทวีป  เช่น ชาวอะบอริจินส์  (Aborigines)  ในทวีปออสเตรเลียจะบริโภคแมลงรองลงมาจาก   เนื้อสัตว์  เช่น  ตั๊กแตน  ด้วง ฯลฯ                ตัวหนอน  สกิปเปอร์  (Skipper : Rhopalocampta  libeon)  ในประเทศคองโก  ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร  ในเม็กซิโก  หนอนผีเสื้อ  สกิปเปอร์ยักษ์ (Giant  Skipper : Megathymindae)  ซึ่ง          ชาวเม็กซิโกเรียก  Gusanos  de  maguey  เป็นสินค้าส่งออกชนิดหนึ่ง  เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยระบบการย่อยของร่างกายให้ดีขึ้น  การเตรียมอาหารเหล่านี้  จะตกแต่งสีสัน  กลิ่น  และรสชาติ  ให้ชวน            รับประทาน                ชาวญี่ปุ่นก็ก็บริโภคแมลงหลายชนิด  เช่น  ด้วงน้ำ  (True  water  beetles)  ด้วงขยะ  (Scavenger beetles)  ตัวหนอน  ดักแด้  และตัวเต็มวัย  ด้วงหนวดยาว (Longhorn beetles:Coleoptera)  และแมลงชนิดอื่นๆ  ในอีกหลาย ๆ วงศ์  แมลงที่กินได้เหล่านี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีแหล่งโปรตีนเพิ่มมากขึ้น  เพราะเมื่อก่อน 100 ปีมานี้  ชาวญี่ปุ่นซึ่งนับถือศาสนาพุทธ  ไม่ฆ่าสัตว์ เพราะเกรงกลัวต่อบาป  ต่อมาเกิดการระบาดของตั๊กแตนข้าวอย่างรุนแรง  จึงได้มีการจับตั๊กแตนมาบริโภค  และเป็นการกำจัดอย่างได้ผลวิธีหนึ่ง  สารคดีเกี่ยวกับแมลงเป็นสื่อที่ใช้ติดต่อของ             นักวิทยาศาสตร์  สูตรการปรุงอาหารจากแมลงได้นำออกมาจำหน่าย  เช่น  ตั๊กแตนข้าว     จะเด็ดปีกและอวัยวะภายในออกแล้วปรุงด้วยซีอิ้ว  (Soya  sauce)  และน้ำตาล  บรรจุใส่ถุง  เหมาะสำหรับนักดื่มสุรา  ตั๊กแตนข้าว  (Shiraki)  ที่ปรุงสำเร็จแล้วจะหาซื้อได้จากซูเปอร์มาเก็ต  ไม่แพ้บ้านเราเหมือนกัน  ที่นิยมบริโภคตั๊กแตนปาทังก้าทอด  เริ่มแรกก็บริโภคกันเฉพราะในภาคอีสาน  ปัจจุบันทั่วทุกภาคแม้ในกรุงเทพฯก็หาซื้อได้ตามริมถนนไม่ยากนัก  ใครได้ลิ้มชิมรสก็มักจะติดใจ             จนกระทั่ง  ปาทังก้า  แมลงศัตรูตัวร้ายกาจของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดก็หมดไป  จนปัจจุบันหาตั๊กแตนปาทังก้ายากมากขึ้น  จนต้องหันไปบริโภคตั๊กแตนชนิดอื่น  ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า  เช่นตั๊กแตนข้าว  แต่ต้องระวังหน่อยนะครับ  อย่าจับตั๊กแตนในเขตที่มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงมาบริโภค  จะเกิดอันตราย  ถึงกับชีวิตได้  ดังที่เป็นข่าวเมื่อปลายเดือน  กรกฎาคม  2535  ที่จังหวัดเชียงราย               

                     ดักแด้ไหม  เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงไหม  ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยรู้จักการนำเอาดักแด้ไหมมารับประทานช้าานานแล้ว  หลังการสาวเส้นไหมออกจากรังก็จะนำมารับประทานเลยเพราะผ่านการต้มสุกแล้ว ขณะทำการต้มรังเพื่อการสาว  หรือนำมาคั่วกับเกลือป่นอีกครั้ง  บางท่านนำมาทอดกับไข่  ผัดใบกระเพรา  อร่อยอย่าบอกใคร  และมีขายตามตลาดในจังหวัดที่มีการเลี้ยงไหม  ชาวญี่ปุ่นก็บริโภคดักแด้ไหมที่ปรุงเล้วเช่นเดียวกับ  ชาวจีน  อินเดีย  และพม่า  นอกจากนั้นยังมีจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตบางแห่งอีกด้วย                ดักแด้ไหมมีโปราตีนสูงและเกลือแร่หลายชนิด  จึงสามารถนำมาเป็นแหล่งโปรตีน  เพราะปีหนึ่งๆ จะมีดักแด้ที่เหลือจากการสาวไหมไม่ต่ำกว่า 1,400 ตัน  (ดักแด้สด)  ส่วนในอินเดียมีดักแด้สดเหลือจากการสาวไหม  ไม่ต่ำกว่า  11,000  ตัน/ปี                ดักแด้ไหมมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าปลา  และสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย วิตามิน  B, Nicotinic  acid  และ  Folic acid  น้ำมันจากดักแด้ไหมสามารถใช้ประกอบอาหารได้   สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการบริโภคดักแด้  คือ  กลิ่นของไขมัน  ถ้าสามารถสกัดออกได้  จะสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด  ถึงแม้จะยังไม่มีการสกัดเอาไขมันออก  ต่ก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิดดังกล่าว

  

                ในอนาคตอาจมีการนำดักแด้ไหมมาประกอบเป็นอาหารอย่างจริงจัง  เพราะอุดมไปด้วย โปรตีน  เกลือแร่  และวิตามิน  ดังตารางข้างล่างนี้

ส่วนประกอบของดักแด้ไหม  (%)

ชนิด

โปรตีน ไขมัน น้ำ Glycogen
ดักแด้แห้งดักแด้สกัดไขมัน 48.9873.82 29.570.87 7.185.49 4.656.92

 

บรรณานุกรม1.        Chavancy, G.  1993. Development of Production in North – East Thaiand.    Commission  of  the  European  Communities.2.        Ray,l.  1989.  Welcome  the  Silkworm  to Your  Dinning  Table.  lndian  Silk.  Vol.            xxviii,  No 4.  Page  25-26.

 

หมายเลขบันทึก: 98664เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดักแด้ โปรตีนสูง

แต่น่ากลัว

ถ้าทำแบบแห้งๆ น่าจะอร่อยกว่าต้มตัวบวมๆค่ะ

สวัสดีครับ อ.อุบล

กำลังจะวิจัยดักแด้ไหมให้เป็นเภสัชโภชนาภัณฑ์กับคณะแพทย์ มข.อนาคตอาจารย์จะได้ทานด้วยความสนิทใจเมื่อบรรจุแคปซูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท