พัฒนา "ตน" "คน" และ "สังคม"


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอาทิตย์ที่ผ่านมาจนถึงเมื่อวานนี้ ผมได้ข้อคิดหลายๆอย่างที่น่านำมาบันทึกผ่านบล๊อกนี้ครับ

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมต้องขอบคุณ ส.ค.ส. ที่แนะนำอาจารย์มณฑล และอาจารย์ธวัช มาเป็นวิทยากรการพัฒนาองค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัด ให้กับอาจารย์และนักกิจกรรมบำบัดทั่วประเทศ ผมประทับใจในความเป็นกัลยาณมิตรของท่านวิทยากรที่แนะนำระบบวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อการดึงศักยภาพของตนเองมาเชื่อมโยงกับการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มีบริบททั้งในเชิงลึกและกว้างเพื่อลดความแตกต่างระหว่างคนหรือพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในองค์กร และการให้กำลังใจเพื่อพัฒนาคนดีและคนที่กำลังพัฒนาความดีเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมต่อไป

ผมเข้าใจบทสนทนาเหล่านี้หลังจากมองภาพและทบทวนทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในห้องประชุม แม้ว่าผู้ฟังจะถูกสอนมาจากสถาบันเดียวกันคือภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผลิตวิชาชีพนี้สู่สังคมไทยมาเกือบ 500 ท่าน ด้วยระยะเวลา 26 ปี แต่นักกิจกรรมแต่ละคนมีความสามารถในการสำรวจความรู้ของตนที่ไม่ชัดเจนนัก แต่พยายามแสดงความรู้ของตนเองที่ไม่ตรงประเด็นและไม่ยอมรับถึง "ความรู้ลึกซึ่งหรือเชี่ยวชาญ" ในความคิดเห็นของคนแต่ละคน

วิชาชีพเล็กๆ เมื่อแต่ละคนเชี่ยวชาญกันแบบไม่มีทิศทางและไม่มีการทำความเข้าใจถึง "จุดแข็งและจุดอ่อน" ของตนเอง ส่งผลให้ขาดการยอบรับตนเองด้วยความจริงและไม่ค่อยจะยอบรับความคิดเห็นของผู้อื่นนัก

วิชาชีพเล็กๆนี้จำเป็นต้องสร้างกัลยาณมิตร พัฒนา "ตน" และ "คนอื่น" ให้ฟังอย่างลึกซึ่ง ให้คิดเชิงบวก ให้สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ชัดเจน และตรงประเด็น ที่สำคัญให้มีความถ่อมตัวเพื่อเปิดใจรับฟังประสบการณ์ความคิดจากคนอื่นๆ ตลอดจนสหวิชาชีพอื่นๆ

มาถึงสองวันที่ผ่านมา ผมมีโอกาสต้อนรับอาจารย์กายภาพบำบัด (Mr. Halona) และอาจารย์กิจกรรมบำบัด (Mrs. Nandanie) จาก School of Physiotherapy and Occupational Therapy , Colombo, Sri Lanka

ท่านทั้งสองมาดูงานหลักสูตรกิจกรรมบำบัดมหิดลและการบริหารงานของผมที่ผ่านมา ยอบรับว่าได้ใช้เวทีเสวนาแบบ KM เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก หลังจากกลับมาจากออสเตรเลียได้เกือบห้าเดือนโดยไม่ค่อยได้ใช้ภาษามากนัก ยังโชคดีที่ภาษาอังกฤษของผมยังใช้งานได้บ้างครับ

ความประทับใจและมิตรภาพเกิดขึ้น เมื่อเราได้พูดคุยถึงปัญหาของการพัฒนา "คน" ที่เราต้องทำงานด้วย การกระจายงานให้แต่ละ "ตน" และ "คน" รับผิดชอบค่อนข้างจำกัด หาก "ตน" และ "คน" เหล่านั้นไม่มีความสามารถที่จะเข้าใจ "ตน" และ "คน" และขาด "แรงจูงใจแห่งการพัฒนางาน" กับ "ความรักงานที่ทำอยู่"

วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ดีที่สุด คือ ประสบการณ์ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลองปฏิบัติให้ "ตน" เข้าใจ "คน" และ "สังคม" ด้วยความสุขและความมุ่งมั่นแห่งการพัฒนางานใดๆ ภายใต้ทิศทางและบริบทของสังคมเดียวกัน

แต่ก็เป็นเรื่องยากว่า เราจะแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกๆ "ตน" "คน" และ "สังคม" หรือไม่ คำตอบคือ "ยากส์....." เพราะเราไม่สามารถเลือก "ตน" ที่มีพรสวรรค์ (talent) และคุณธรรม (moral) ต่อการประกอบการงานได้ดีเหมือนกันทุกๆ "คน" ไปครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #human resource#staff development
หมายเลขบันทึก: 98249เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2007 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

วันนี้ขอเข้าใจตนเองก่อนนะครับ...เพราะกำลัง งง ๆ กับตนเองอยู่  วันพรุ่งนี้จะเริ่มเข้าใจคนอื่น และสังคม ครับ  (ถ้าทำได้)  อิอิ...

  .......เราจะแก้ไขปัญหาได้  ในทุกๆ "ตน" "คน" และ "สังคม" หรือไม่ คำตอบคือ "ยากส์....."

ผมผ่านมาเห็นครับ  จึงขอแลกเปลี่ยนความรู้ครับ.....อาจารย์ป๊อบ คุณเป็นคนมีพลัง และความเข้าใจอยู่มาก  แต่คนเราอาจจะคาดหวังบางเรื่องเอาไว้ ไม่มากก็น้อย เมื่อไม่ได้ตามที่คาดเอาไว้ ก็จะรู้ว่าไม่สามารถแก้ได้............

เช่น ถ้าคนเราคาดหวังว่าจะได้ปัญญาจากการทำสมาธิ  โดยมีความพยายามมากถึงมากที่สุด ปัญญาจะไม่เกิดครับ  เพราะปัญญา(หรือปิ๊ง)เกิดเองครับ

หรือเหมือนกับที่ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองกลางดง ท่านกล่าวไว้ว่า "คนที่จะแก้ปัญหาของตรงนั้น ต้องเป็นคนตรงนั้น เหมือนกับผลึกของเกลือที่จะต้องเกิดตรงนั้นตามธรรมชาติ"

ส่วนเรื่องของคน และ สังคม ก็แก้ได้เองแหละครับ

ผมว่าน่าจะมีอีกหน่วยงานหนึ่งในทุกองค์กรคือ หน่วยบำบัดคนและองค์กร

ไม่รู้จะสามารถประยุกต์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดมาใช้ได้หรือเปล่านะครับ ท่าน

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับคุณย่ามแดง คุณสมพงศ์ และคุณจารุวัจน์

เห็นด้วยครับว่า การลดความคาดหวังอาจนำมาซึ่งกลวิธีของการแก้ไขปัญญาในตนเอง

ในต่างประเทศ กิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม เป็นหน่วยที่ประเมิน ให้คำปรึกษา และจัดการระบบการพัฒนาวิธีการดำเนินชีวิตในการทำงานของบุคลากรในองค์กรครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ป๊อป สิ่งที่อาจารย์กำลังทำเป็นเรื่องที่เป็นแนวคิดค่อนข้างใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ต้องใช้เวลาและความอดทนในการทำงานอยู่ในระบบ(ราชการ) ที่คน"ติด"อยู่กับวิธีคิดแบบเดิม พี่ก็เคยมีความรู้สึกประมาณนี้เมื่ออายุยังน้อยและอยู่ในระบบราชการ

ตอนนี้อายุมากขึ้น ประสบการณ์และความเข้าใจ"ตน"มากขึ้น ทำให้สามารถมีempathy ในคนอื่นมากขึ้นตามไปด้วย และสามารถมีเมตตาต่อคนที่ยังหาทางพัฒนา"ตน"ไม่พบ

บางทีเราไม่ควรไปคิดเปลี่ยนทุกคนในฉับพลัน แต่การมุ่งมั่นต่อไป ทำให้เห็น ด้วยใจที่เป็นสุข อาจสร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆคนได้ อาจารย์อาจเริ่มจากการสร้างกลุ่มเล็กๆไม่กี่คนที่คิดว่าพอเข้าใจกันได้ ผลสำเร็จจากจุดเล็กๆจะเป็นกำลังใจให้อาจารย์มีพลังต่อไป ลองใช้วิธีคิดแบบKM อาจช่วยได้นะคะ

ขอบคุณครับคุณนายดอกเตอร์ ผมกำลังใช้วิธีคิดแบบ KM มาปรับกับงานต่างๆ แต่ยอมรับว่าต้องใช้เวลาในการปรับทัศนคติและระบบความคิดของบุคลากรอย่างมากครับ

ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ในการพัฒนางานด้านกิจกรรมบำบัดด้วยนะครับ

งานพัฒนามักเป็นงานที่ค่อยเป็นค่อยไป คนทำงานต้องมีความอดทน ใจเย็น และทำงานอย่างรอบคอบครับ  อย่าท้อนะครับ

ขอบคุณอาจารย์มณฑลอีกครั้งครับ ขอให้โชคดีกับการเริ่มต้นทำงานที่ ม.หัวเฉียว เช่นกันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท