น้องทิพ & น้องมด + เพลงตามรอยพ่อ กับกลยุทธดึงความสามารถที่เกือบจะถูกปิดกั้นสไตล์ DSS


เนื้อเพลงในท่อนนี้ เสียงร้องในท่อนนี้ ขยายความถึง ความตั้งใจ และความเพียรพยายามทั้งหมดของ DSS@MSU ซึ่งฟังดูแล้ว รู้สึกว่า เสียงร้องในท่อนนี้

”แม้ไม่อาจเทียบหนึ่งในล้าน
ลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้
จะขอเดินตามรอยเท้าพ่อไป
เหนื่อยยากเพียงไหน. ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง...”

เสียงเพลงในรูปแบบไฟล์ wma ที่ปรากฏในบล็อก http://gotoknow.org/blog/dss-msu-na  ให้นายบอนต้องหยุดฟังทุกครั้งที่เปิดบล็อกพี่หนิง (อ้วน) กับ เสียงร้องใส ๆ ไม่มีดนตรี ของน้องมด : เสาวนีย์ สีสอง และ น้องทิพย์ : ทิพยาภรณ์ เข็มพิลา นิสิตพิการทางสายตา (สายเลือนราง) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2
 



ในบล็อก เปิดโลกใบใหม่ – นิสิตพิการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://gotoknow.org/blog/friends123/ ทั้งสองได้เขียนกำกับไว้ว่า เป็น นิสิตพิการทางสายตา (สายเลือนราง) สิ่งนี้ได้สะท้อนถึง การยอมรับในตนเอง ในขณะที่ใครหลายคน กลับอับอายในจุดด้อยที่ตนมีอยู่ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ไม่น่าที่จะต้องอับอายจนปิดบังศักยภาพที่มีของตนเอง ด้วยซ้ำไป

หากได้อ่านบันทึกของพี่หนิง (อ้วน) และบันทึกที่กลุ่มนิสิตพิการถ่ายทอดออกมา แล้วกลับไปมองพี่หนิง (อ้วน) มองให้ถึงเบื้องลึก กับความเหนื่อยยากในความพยายามดูแลนิสิตกลุ่มนี้ ทั้งการแก้ไขปัญหา ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ

สิ่งหนึ่งที่ดูยาก คือ ความพยายามในการดึงความสามารถที่โดดเด่นในตัวออกมา

ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอย่างไร ทุกคนมีความสามารถซ่อนอยู่ รอเวลาที่จะถูกนำออกมาใช้ ซึ่งพี่หนิง (อ้วน) เป็นผู้ที่มองเห็น....

”การมีต้นแบบที่เข้มแข็ง แม้เหนื่อยยาก แต่พร้อมที่จะลุยงานหนักอย่างพี่หนิง (อ้วน) ส่วนนี้เป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ มด กับ ทิพย์ เปล่งประกายขึ้นมาได้”

”แม้ไม่อาจเทียบหนึ่งในล้าน
ลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้
จะขอเดินตามรอยเท้าพ่อไป
เหนื่อยยากเพียงไหน. ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง...”


เนื้อเพลงในท่อนนี้ เสียงร้องในท่อนนี้ ขยายความถึง ความตั้งใจ และความเพียรพยายามทั้งหมดของ DSS@MSU ซึ่งฟังดูแล้ว รู้สึกว่า เสียงร้องในท่อนนี้เท่านั้น ที่ฟังดูมีพลังอย่างมาก!!!

เหมือนกับรูปแบบการทำงาน เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่าน blog ทั้งที่มีผลงานมากมาย แต่จะมีผลงานและเรื่องราวเพียงไม่เรื่องเท่านั้น ที่ถูกนำมาบันทึกไว้ อย่างมีพลัง

มองกลยุทธ์การใส่เพลง ตามรอยพ่อ และความพยายามเป็น เจ๊ดันให้ น้องทิพ & น้องมด ของพี่หนิง (อ้วน) ใน gotoknow  หากจะดูตามรูปแบบของระบบ blog ที่ออกแบบไว้แล้ว กลุ่มนิสิต คนรุ่นใหม่ น่าจะไปเขียนบันทึกที่ learners.in.th ซึ่งจะมีคนวัยเดียวกันเยอะเลย แต่พี่หนิง (อ้วน) ให้มาเขียนบันทึกอยู่ที่ gotoknow  เพื่อจะได้ดันได้อย่างเต็มที่

การดึงความสามารถที่เกือบจะถูกปิดกั้น ถ่ายทอดผ่านบันทึกของพี่หนิง (อ้วน) และ blog ของเหล่าน้องๆ  นอกจากคำชื่นชมและกำลังใจที่ปรากฏในบันทึกต่างๆแล้ว  มีสิ่งใดที่ชาว DSS@MSU ยังไม่รับรู้บ้าง..

คุณครูมัธยมที่ร้อยเอ็ด นำเรื่องราวในบันทึกไปแนะนำนักเรียนในความดูแล

“ขนาดนิสิตพิการยังมีความตั้งใจ และความพยายามเลย ไม่ท้อถอย ถอดใจ แล้วหนูๆที่ปกติ แข็งแรง สมบูรณ์จะมาท้อถอยถอดใจได้หรือ หรือจะเป็นคนที่พิการจากข้างในล่ะ….”

หลากหลายประเด็น หลายมุมมอง ที่นำไปให้กำลังใจกับนักเรียนในความดูแล ให้มีกำลังใจ มีพลังขับดันในตัวเอง เพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายของชีวิตในอนาคตที่หวังไว้

คุณครูที่ร้อยเอ็ดที่โทรมาคุยกับนายบอน ได้มองพี่หนิง (อ้วน) และน้องๆที่ DSS@MSu ต่อ...

1. ทำไม น้องทิพย์ กับ น้องมด ถึงเขียนบันทึก ร้องเพลง และได้รับการยอมรับให้เป็น พี่ Staff ร้องเพลงมหาวิทยาลัยคนใหม่ได้
2. ในหัวใจของพี่หนิง  (อ้วน) มีความพยายาม ความตั้งใจ และความรักในสิ่งที่กำลังทำอยู่มากเพียงใด
3. คุณครูที่ร้อยเอ็ด มองนักเรียนปกติ ที่มีปัญหาครอบครัว, ปัญหาสุขภาพร่างกาย, ไม่ขยันเรียน  ฯลฯ จนท้อใจบ่อยๆ แต่ทำไม พี่หนิง (อ้วน) ถึงมองทะลุ
น้องทิพย์ & น้องมด และบรรดาเพื่อนๆนิสิต จนเข้าไปดึงความสามารถที่เกือบจะถูกปิดกั้น ออกมาได้

3 คำถาม3 ประเด็นที่หยิบยกมาฝาก คาดว่า ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ และจากชาว DSS@Msu แน่ๆ  ไม่มีบันทึกที่ให้ประเด็นข้อคิด ที่จะช่วยกระตุ้น และดึง

ความสามารถที่ถูกซ่อนอยู่ของคนรปกติออกมาบ้าง

นายบอนไม่รู้จะเขียนอธิบายยังไง เพราะไม่ใช่พี่หนิง (อ้วน) ไม่ใช่ น้องทิพ และน้องมด
แต่ให้ภาพรวมของคำตอบใน 3 ประเด็นคำถาม  .ว่า

”แม้ไม่อาจเทียบหนึ่งในล้าน
ลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้
จะขอเดินตามรอยเท้าพ่อไป
เหนื่อยยากเพียงไหน. ไม่ทำให้พ่อผิดหวัง...”

 

ดาวน์โหลด http://gotoknow.org/file/dss_msu/view/74755

หรือ รับฟังที่ http://gotoknow.org/blog/dss-msu-na

 
หมายเลขบันทึก: 97498เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2007 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท