ดื่มชากาแฟ,สูบบุหรี่ ผิดศีลห้าจริงใหม?


ศีลที่แท้จริง

 

ศีลมีเจตนาเป็นพื้นฐาน
ถ้าผู้ไม่มีเจตนาจะงดเว้นแล้ว
ศีลทั้งหมดก็จะไม่มีในบุคคลผู้นั้นเลย
เจตนาจะมีก็เพราะผู้นั้นเห็นโทษในข้อนั้นๆ เสียก่อนจึงงดเว้น
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า เจตนาตัวเดียวเป็นศีล

๙๑/๑๐

[ จาก เทสโกวาท หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ]

 

ศีลคือ ความปรกติ
เจตนาคือ ความตั้งใจ

“เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

ชากาแฟ หากเสพจนติด จิตใจก็จะมีการกระวนกระวายอยากจะดื่ม(ไม่เป็นปกติ)

การดื่มแก้ง่วง
(ง่วง = ไม่เป็นปกติ มีสองกรณีคือ ร่างกายต้องการพักผ่อน และง่วงแบบขี้เกียจ)

  หากเจตนาดื่มเพื่อแก้ง่วงแบบร่างกายต้องการพักผ่อน เป็นการไม่ปกติ ขัดต่อธรรมชาติ จึงผิดศีลข้อห้า
 
  หากเจตนาดื่มเพื่อแก้ง่วงแบบขี้เกียจ ก็ถือว่าเป็นการไม่ปกติเช่นเดียวกัน เพราะวิธีแก้ง่วงแบบนี้มีหลายวิธี การกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็ว(ไม่เป็นปกติ)ด้วยการเสพ จึงผิดศีลผิดศีลข้อห้า

การสูบบุหรี่ ก็ไม่ต่างกันนัก สูบแล้วมีอาการมึนเมา (ไม่เป็นปกติ)จึงผิดศีลผิดศีลข้อห้า

จะสมมุติเรียกมันว่าอะไร เปลี่ยนรูปหรือมีกระบวนการอย่างไร การเสพนั้นก็ยังผิดศีลผิดศีลข้อห้า

การถือศิลที่แท้จริงคือ การกระทำให้"ใจ"พร้อมต่อการเจริญสติภาวนา

การรักษาศีล คือการมีสติ เป็นการเจริญสติภาวนาไปในตัว
โดยไม่ต้องตั้งใจว่า...ต่อไปนี้จะมีสติแล้วนะ(ซึ่งนั้นเป็นการฝืนบังคับ)

ศีลที่แท้จริง จึงเป็นทั้งการเจริญสติภาวนา การไม่ก่อกรรม และการปิดประตูที่จะนำสู่อบายไปในตัวด้วย

มาถึงตรงนี้ จึงรู้ว่า โอ้....ศีลมีข้อดีขนาดนี้เชียวหรือ รู้งี้ถือศีล5ซะตั้งนานแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #ศีล#ศีล5
หมายเลขบันทึก: 97283เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2007 05:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 05:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

โอ้ ท่านได้เขียนว่า กาแฟและชา หากดื่มเพื่อดับง่วงหรือดับขี้เกียจ นั้นผิดศีล
แล้วจะดื่มชากาแฟ เพื่อกิจใดดี? (เพื่อการเสวนา  เพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระ \(^[]^)/ ..)

หากไม่สนใจว่า กาแฟ หรือ ชา มีส่วนผสมของคาเฟอีนที่อาจทำให้ติดได้ ก็ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ยังควรแก่การดื่มใช่หรือไม่?

การรักษาศีล นั้นเพื่อให้ใจปกติ พร้อมรับการเจริญวัยจิต นั้นสมควรยิ่งแล้ว

การดื่ม ชากาแฟ เพื่อสลัดความง่วงเหงาหาวนอน เป็นไปแล้วผิดต่อศีล ๕ นั่นก็อาจกล่าวเกินไป (ถือศีล ๘ ยังชงชากาแฟโอวันตินรับประทานกันตอนเช้า อยู่ในวัดกระนั้นเลย หุหุหุ)

่แต่ในความบริสุทธิ์แห่งศีลก็อาจจำเป็นดังเช่นที่ท่านกล่าว

"ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่นแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด ก็ตั้งสติไว้อัันนั้น"

ธรรมมะพึงรู้ได้เฉพาะบุคคล ..
เฉกเช่นคำนิยาม แห่งศีล ก็กระจ่างได้ด้วยใจของผู้ปฏิบัติเองเช่นนั้นแล

อนุโมทนา ขอให้ศีล ๕ จงรักษาท่าน

อรุณสวัสดิ์ค่ะ...

ฟ้าสว่างแล้วค่ะ...ไปปฏิบัติตน..เป็นพุทธศานิกชนที่ดีก่อนนะคะ...

....

แวะมาทักทายยามเช้าค่ะ

(^_______^)

กะปุ๋ม

อ่า...ขออภัย สะกดคำผิดและเขียนตกด้วย ^_~

"ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น"

อ่ะ..อะ...แนวคิดของคุณ
P
น่าพูดคุยต่อ...แต่ออกไปนอกบ้านแป๊บนะคะ...เดี๋ยวจะเข้ามาคุยใหม่...ในบ้านนี้ของคุณแมน...^___^

โลกนับจากพุทธศักราช 2550 ปีผ่านมา อะไรๆก็เปลี่ยนแปลงไม่มาก

ผมว่าปัจจุบันศิล 5 ศิลขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ คงจะยังไม่พอเพราะมันมีอะไรมากขึ้นครับ

สวัสดีครับคุณ คนข้างฝา คุณกาปุ๋ม คุณแจ๊ค

ประเด็นนี้น่าสนใจดีครับ

ความมหัศจรรย์ของศีลห้าคือ ย่อยุบมาจาก

ศีล ๓๑๑ ศีล ๒๒๗  ศีล ๑๐ ศีล ๘

การเสพสารเสพติดทุกชนิดถือว่าผิดศีลข้อห้า แต่ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย ผิดถูก คงต้องดูที่เจตนา

ประเด็นของชาอาจไม่หนักเท่ากาแฟ แต่การดื่มสิ่งเหล่านี้จะทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  

ผิดมากผิดน้อยก็คือผิด ผิดน้อยบ่อยๆอาจกลายเป็นนิสัยหนัก แม้จะไม่ร้ายแรงเท่าสุรา แต่สุราเองก็มีข้อยกเว้น

  อนาปัตติวาร
      [๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑; ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลง
ในแกง ๑,  ... ที่เจือลงในเนื้อ ๑,  ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑,  ...  น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑,
ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของเมา ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.

ดังนั้นหากไม่ดื่มจนติด(ทั้งติดนิสัยและติดสาร) ก็คงพอจะอนุโลมได้ แต่หากถึงขั้น จิตใจก็จะมีการกระวนกระวายอยากจะดื่ม ก็คงจะผิดศีลข้อนี้เช่นกัน

ศีลถือเป็นพื้นฐานของศาสนาพุทธ ผู้ที่ก้าวขึ้นบันไดไปถึงอีกชั้นของบ้านแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับบันไดขั้นแรกอีกต่อไป หากต้องทำตามพิธีการหรือถือศีลข้อนั้นข้อนี้ ก็ทำไปตามโอกาส ตามกาล ตามความเหมาะสม

ผู้ที่มีสติปัญญาไม่หวั่นไหวปรุงแต่งต่อการกระทบรอบข้าง แม้กระทบก็เหมือนไม่กระทบ เหมือนตำนานหลวงจีนจี้กงที่ดื่มเหล้า

แต่กว่าจะถึงขั้นนั้น

 

ตามมาอ่านบทสรุปแล้วค่า..(เพิ่งเห็นว่ามี link แสดงกระทู้ที่เคยโพสด้วย หุหุหุ ~ ไม่งั้นคงหาไม่เจอ)

ที่คุณ P Man In Flame กล่าวว่า "ผู้ที่มีสติปัญญาไม่หวั่นไหวปรุงแต่งต่อการกระทบรอบข้าง แม้กระทบก็เหมือนไม่กระทบ" นั้น ทำให้ข้อความกระทู้ด้านบน ของความมีเจตนางดเว้นศีล กระจ่างขึ้นมากทีเดียว..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท