การพัฒนาบุคลากร รูปแบบขายตรง Direct Sale


จากประสบการณืที่ผ่านมาพบว่า มีความพยายามที่จะฝึกอบรมบุคลากรด้าน ICT กันอย่างมาก แต่ในเนื้อหาบางเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ผู้เข้ารับการอบรมกลับไปปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้น จึงเริ่มมีแนวคิดเรื่อง Onsite Training เกิดขึ้น แต่ในครั้งนี้ จะนำเอารูปแบบ Direct Sale มาผสมกับ Onsite Training

   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีโอกาสนั่งคุยกัน ในกลุ่มที่ทำงาน ICT ด้วยกัน ว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT บรรลุผลตามที่ต้องการ คือ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้ เพราะเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บางเรื่องยากมาก และเมื่อนำเรื่องที่ยาก มาใช้กับผู้ปฏิบัติงานที่บางท่านไม่เคยรำเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก่อน ผลก็คือ อบรมแล้ว กลับไปปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้น ปีนี้ จึงมีแนวความคิดเรื่อง Onsite Training ขึ้นมา คือ เดินทางไปให้ความรู้กันถึงหน่วยงานของแต่ละคน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจนสามารถทำงานได้
    แนวคิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นแนวทางที่ดี แต่เมื่อมาคำนวนเวลาที่จะต้องดำเนินการ ก็พบว่า กว่าจะครบทุกหน่วยงาน ใช้เวลาหลายเดือน และอีกประการหนึ่งก็จะเหมือนเดิม คือ มีผู้รู้ให้ความรู้ กับผู้ไม่รู้ได้เรียนรู้ เมื่อเรียนและทำได้แล้ว ก็หยุด
   แนวทางที่ต้องการคือ น่าจะมีผู้รู้มากๆ และนอกจากจะรู้แล้ว ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นๆได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่น ในลักษณะทีมงาน ที่จะให้ความช่วยเหลือกันได้ ดังนั้น แนวทางจึงแทนที่จะเป็นการให้ความรู้แล้ว จะต้องเพิ่มเรื่องทีมงานเข้าไปด้วย ส่วนกระบวนการอบรมก็เหมือนกับการขายตรง โดยการสร้าง ทีมงานในระดับแรกก่อน แล้วทีมระดับแรก หรือระดับที่ 1 ไปขายความรู้โดยตรงกับทีมงานระดับที่ 2 ต่อจากนั้น ระดับที่ 2 ไปขายระดับที่ 3 โดยมีทีมงานระดับที่ 1 ลงไปช่วย กระบวนการดังกล่าว จึงเหมือนกับระบบการขายตรง

  เมื่อคิดแล้วก็เริ่มวางแผนการพัฒนาบุคลากร ดังนี้

   1 พัฒนาบุคลากรระดับที่ 1   เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติจากส่วนกลาง ในวันที่ 21-24 พ.ค. 2550 โดยทีมงานประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานต่อไปนี้  1 ศนอ.  2 นครราชสีมา 3 สุรินทร์ 4 ศรีสะเกษ 5 เลย 6 ศนอ.

   2 ฝึกปฏิบัติการติดตั้งที่หน่วยงานของตนเอง 24 พ.ค.-3 มิ.ย. 2550 ในหน่วยงานต่อไปนี้

  1. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  2. ศนจ. นครราชสีมา
  3. ศนจ. สุรินทร์
  4. ศนจ. ศรีสะเกษ
  5. ศนจ. เลย

   3 ดำเนินการอบรมระดับที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย. 2550 ที่ ศนอ.
    เชิญทุกจังหวัดเข้ามารับทราบแนวทางร่วมกัน (หรืออาจจะเฉพาะจังหวัดระดับที่ 2)
    ดับเนินการถ่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับระดับที่ 2 ประกอบด้วย คณะแกนนำด้าน ICT ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

     6 ศนจ. อุบล  <-- ศนอ. 
     7 ศนจ. ร้อยเอ็ด  <-- ศนจ. ศรีสะเกษ 
     8 ศนจ.ขอนแก่น  <-- ศนจ. นครราชสีมา 
     9 ศนจ. อำนาญเจริญ  <-- ศนจ. สุรินทร์ 
     10 ศนจ. อุดรธานี   <-- ศนจ.เลย 
     11 ศูนย์วิทย์ อุบล  <-- ศนอ.

   4 ฝึกปฏิบัติติดตั้งในหน่วยงาน โดยมีคณะทำงานระดับที่ 1 ให้ความช่วยเหลือ ในพื้นที่ ( Onsite Training) ระหว่างวันที่ 11- 15 มิถุนายน 2550
     6 ศนจ. อุบล
     7 ศนจ. ร้อยเอ็ด
     8 ศนจ. ขอนแก่น
     9 ศนจ. อำนาจเจริญ
     10 ศนจ. อุดรธานี
     11 ศวจ. อุบลราชธานี

   5 ดำเนินการอบรมระดับที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน 2550
       ทีมงานระดับที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ทีมงานระดับที่ 3 โดยมีทีมงานระดับที่ 1 ให้ความช่วยเหลือ

      12 ศนจ. ชัยภูมิ  <--  ศนจ. ขอนแก่น    <-- ศนจ.นครราชสีมา
      13 ศนจ. บุรีรัมย์ <-- ศนจ. อำนาจเจริญ <-- ศนจ. สุรินทร์
      14 ศนจ. หนองบัวลำภู <-- ศนจ. อุดรธานี <-- ศนจ.เลย
      15 ศนจ.ยโสธร <-- ศนจ.ร้อยเอ็ด <-- ศนจ.ศรีสะเกษ
      16 ศนจ. มุกดาหาร <-- ศนจ.อุบล <-- ศนอ.

   5 ฝึกปฏิบัติติดตั้งในหน่วยงาน ระหว่างวันที่ 25-29 มิถุนายน 2550 โดยมีทีมงานระดับที่ 1 และ 2 ให้ความช่วยเหลือ ในจังหวัดต่อไปนี้
      12 ศนจ. ชัยภูมิ
      13 ศนจ. บุรีรัมย์
      14 ศนจ. หนองบัวลำภู
      15 ศนจ.ยโสธร
      16 ศนจ. มุกดาหาร

   7 ดำเนินการอบรมระดับที่ 4 ระหว่าง 2-6 กรกฏาคม 2550
      17 ศนจ. มหาสารคาม<-- ศนจ.ยโสธร <-- ศนจ.ร้อยเอ็ด <-- ศนจ.ศรีสะเกษ
      18 ศนจ. กาฬสินธุ์ <-- ศนจ. ชัยภูมิ  <--  ศนจ. ขอนแก่น    <-- ศนจ.นครราชสีมา
      19 ศนจ. สกลนคร <-- ศนจ. มุกดาหาร <-- ศนจ.อุบล <-- ศนอ.
      20 ศนจ. นครพนม <-- ศนจ. บุรีรัมย์ <-- ศนจ. อำนาจเจริญ <-- ศนจ. สุรินทร์
      21 ศนจ. หนองคาย <-- ศนจ. หนองบัวลำภู <-- ศนจ. อุดรธานี <-- ศนจ.เลย

   8 ฝึกปฏิบัติติดตั้งในหน่วยงาน ระหว่างวันที่ 9-13 ก.ค. 2550
      17 ศนจ. มหาสารคาม
      18 ศนจ. กาฬสินธุ์
      19 ศนจ. สกลนคร
      20 ศนจ. นครพนม
      21 ศนจ. หนองคาย

   9 สรุป ทบทวนประสบการณ์

คำสำคัญ (Tags): #direct sale
หมายเลขบันทึก: 97168เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียน อ.ศรีเชาน์

   ขอสมัครเป็นสมาชิกบล๊อกด้วยนะคะ วันนี้มีเวลาสำหรับ IT มากเป็นพิเศษก็เลยท่องเที่ยมเยี่ยมบล๊อกของสมาชิก เห็นแผนการพัฒนาบุคลากรด้าน ICTแล้ว ดีใจที่แผนแสดงให้เห็นความต่อเนื่องเป็นระยะ ที่ศนจ.ร้อยเอ็ดมีความพยายามพอสมควรโดยมีการฝึกปฏิบัติหลายครั้ง ทั้งผู้รู้ภายใน และผู้เชียวชาญภายนอกเป็นวิทยากรให้ แต่ก็ยังไม่ได้ดั่งที่ใจหวังไว้ ถ้าศนอ.กระตุ้นอีกแรงคงทำให้ตื่นตัวขึ้นอีก

     ความจริงจะว่าพรรคพวกไม่สนใจก็คงไม่ใช่เพราะคน กศน.ร้อยเอ็ดใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุกคน แต่ต่างระดับกัน คงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะดึงศักยภาพของผู้ใช้ IT มาใช้ประโยชน์ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ บ่นให้ตัวเองนะคะ ถ้ามีแนวทางดีดีแนะนำด้วยค่ะ

ท่านศรเชาวน์

  • เป็นแผนปฏิบัติการพัฒนาที่น่าสนใจและครอบคลุมทุกพื้นที่ในภาคอีสาน
  • ปีงบประมาณหน้าขอเป็นทั่วประเทศได้มะ
  • แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หรือแลกเปลี่ยนการฝึกงาน ICTข้ามภาค

ท่าน ผอ.ต๋อยครับ

  • ยินดีอย่างยิ่งครับที่ท่าน ผอ. สมัครเป็นสมาชิกครับ
  • แผนการพัฒนา ICT นี้ จะดำเนินการอย่างจริงจัง ซึ่งกลุ่มแรกจะเป็นเด็กจบใหม่ๆ ทั้งนั้น มีผมเป็นหัวหน้าทีม ส่วนร้อยเอ็ดจะเป็นกลุ่มที่ 2 ซึ่งในกลุ่มที่ 2 จะเป็นกลุ่ม ผู้อาวุโสของ ICT อีสาน ดังนั้น ของร้อยเอ็ดจะขอให้ ผอ. วุฒิพลเข้ามาในทีมของกลุ่มที่ 2
  • การอบรม ICT ของ อีสาน ยังมีอีกหลายเรื่องครับที่กำลังจะตามมาครับ เรื่องการอบรมแบบ Onsite Training เป็นเพียงเรื่องหนึ่งเท่านั้นที่จะมีการอบรมครับ

อ.แอ๊ว ครับ

  • โครงการอบรมนี้ ทุกภาคได้รับงบประมาณเหมือนกันครับ เพียงแต่ว่า ภาคไหน จะใช้วิธีการอบรมอย่างไร ทางภาคอีสานจึงคิดรูปแบบการอบรมแบบ ขายตรง ขึ้นมา ส่วนภาคอื่นๆ ยังไม่ทราบเหมือนกันว่า เป็นอย่างไร แต่จะประชุมร่วมกันในวันที่ 21-23 พ.ค. นี้ ที่ห้องประชุม ชั้น 6 กศน. ครับ
  • น่าสนใจข้อเสนอแนะของอาจารย์ เรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกงาน ข้ามภาค ผมจะเอาข้อเสนอของอาจารย์เสนอในการประชุมอาทิตย์หน้าครับ เพราะเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์มาก
อ.ศรีเชาวน์คะ
  • อ่านแผนพัฒนาบุคลากร ICT ของภาคอีสานแล้วรู้สึกว่า  "สิ่งดี ๆ เกิดขี้น(อีก)แล้ว"  เป็นแนวคิดที่มีความต่อเนื่อง และที่สำคัญมีการสร้างเครือข่ายเป็นทีมงาน แลัวขยายเป็นลักษณะ   เพื่อนช่วยเพื่อน
  • การแผ่ขยายความรู้ในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ จะเกิดผลดีอีกหลายประการ เห็นด้วยค่ะ  
  •  น้องวิทยา จนท. ICT จากสุรินทร์ เป็นเด็กเก่ง นิสัยดี   ใฝ่รู้ใฝ่เรียน คงจะเป็นทีมงานที่เข็มแข็งได้คะ

                                    อ.อ๊อด กศน.สุรินทร์
 

ขอบคุณ อ.อ๊อด มากครับ ที่แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คงจะมีอีกหลายเรื่องที่อยากทำและ ขอข้อเสนอแนะ อีกต่อไป เรื่องการอบรมนี้ ได้วางแผนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานแล้ว และวันนี้ จะมีการวางแผนปฏิบัติการโดยละเอียด ได้ผลอย่างไร จะนำมาขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อไปอีก

เรียน อ.ศรีเชาวน์ วิหคโต

รูปแบบการอบรมบุคลากรน่าสนใจดีค่ะ อยากได้รูปแบบอื่น ๆ ที่แปลกใหม่อีกมีไหมคะ อยากจะขอรบกวน เผื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานค่ะ

chada

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท