Farm Safety ในนิวเซาท์เวลส์ มีการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่ตา มือ เพราะต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร อุบัติเหตุจากการตกม้า หรือมอเตอร์ไซด์ที่ใช้ในการตามสัตว์ในฟาร์ม ไม่ใช่ใช้ในการเดินทางบนถนนเหมือนบ้านเรา คำว่า Accident & Injury มีความต่างกันในความหมายและการนำไปใช้ โดยAccident เป็นเหตุการณ์ที่เกิดโดยๆไม่ได้มีการป้องกันไว้ ส่วนInjury เป็นเหตุการณ์ที่เกิดโดยที่มีระบบป้องกันไว้แล้ว การบาดเจ็บในฟาร์มที่เป็นสาเหตุของการนอนรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือมอเตอร์ไซด์ ตกจากที่สูง ตกม้า และเครื่องจักที่ใช้ในการทำงาน ตามลำดับ โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปีพบมากที่สุด ส่วนสาเหตุการตายมาจากรถที่ใช้ในการขนส่งทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ รองลงมาคือตกจากที่สูงและจากรถแทรกเตอร์ ตามลำดับ หากสนใจข้อมูลสามารถค้นหาได้จาก www.acahs.med.usyd.edu.au หรือ www.farmsafe.org.au
Farm safe Australia มีคุณจอห์น เทมเพอร์เรย์เป็น Farmsafe Australia Executive Officer อยู่ที่เมืองโมรี ซึ่งทำงานเป็นเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยซิดนีย์ สามารถติดต่อปรึกษาได้ทางอีเมล์ที่ [email protected] เครือข่ายนี้มีสมาชิกมาจากหลายกลุ่มคือCountry Women’s Association, National Farmer Federation, NOHCH, RFRDC, AWIA, Tractors & Machinery Association, State Farm safe Organization, Argiculture Fishernics & Forestry, Australian Worker UnionและACAHS
ACAHSหรือศูนย์เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของเกษตรกรมีชื่อเต็มว่า Australian Centre for Agricultural Health and Safety เป็นResearch & Development Centre ที่ทำงานร่วมกับ The University of Sydney มีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับ
- National Farm Injury Data Centre
- Child Safety ซึ่งจะรวมถึงความปลอดภัยในชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กทั้งในบ้าน ในฟาร์ม ในสนามเด็กเล่นด้วย
- Machinery Safety-Mental Health
- Pesticides & Human Health
- Other program –safety of old farmers, Asthma
- Training-RTW, MFS, RESC
Mr. John Temperley ถือเป็นตัวจริงสียงจริงในเรื่องFarm Safety และได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงทั้งในแวดวงผู้เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัย การที่ทีมเราได้ฟังบรรยายจากเขาโดยตรงถือเป็นเรื่องที่โชคดีมาก ซึ่งเขากล่าวว่าในปี 1996 มีบาดเจ็บจนเสียชีวิตในฟาร์มถึง 7,000 คน นอนโรงพยาบาลถึง 400,000 คน สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยตรงถึง 2.6พันล้านเหรียญออสเตรเลียในปี 1994 การป้องกันการบาดเจ็บจะต้องกำหนดในเรื่องนโยบาย กฎหมาย ภาวะฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัย เครื่องมืออุปกรณ์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3 ขั้นตอนของการป้องกันการบาดเจ็บ ประกอบด้วย
- Primary prevention เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ขึ้น
- Secondary prevention เป็นสิ่งที่ต้องทำขณะเกิดเหตุการณ์ (Incident)
- Tertiary prevention
เป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว
วิธีการที่นำมาใช้ในการควบคุมประกอบด้วย Elimination, Substitution, Engineering, Administrative, Protective equipment
เพื่อให้มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องมีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมที่เขาใช้ในออสเตรเลีย มี
- Worker consequence records
- Hospital Inpatient records
- Hospital emergency department collectives
- Coronial records/cause of death data
- Ambulance records
โดยในการเก็บข้อมูลต้องมีชุดข้อมูลที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บเป็น Farm injury optimum data set 3 ประการคือ
- Based on coding from various sources มีการกำหนดฐานรหัสให้สามารถบอกแหล่งที่มาของการบาดเจ็บได้
- Contains coding specific to farming เป็นรหัสที่เฉพาะสำหรับการเกษตร
- Objectives ต้องรู้ว่าจะเก็บไปทำไม เพื่ออะไร ใช้ทำอะไร ไม่ใช่เก็บสะสมไปเรื่อย
ประมาณ 10.30 น. เสร็จสิ้นการบรรยายก็ได้แยกย้ายกันเก็บกระเป๋าเสื้อผ้าเพื่อเตรียมเดินทางต่อไปที่เมืองอาร์มิเดล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแทมเวอร์ธประมาณ 110 กิโลเมตร โดยรถบัสของคุณจอห์น ชาร์กี้ คนขับรถสูงวัยใจดี มีอารมณ์ขันตลอดการเดินทาง จากมะนิลลาไปอาร์มิเดลประมาณ 35 กิโลเมตร แวะที่แทมเวอร์ธก่อนเพราะเป็นทางผ่านเพื่อส่งเดวิดกลับบ้าน เนื่องจากเป็นวันศุกร์ คุณเดวิดจะได้พักผ่อนอยู่กับคุณเวว (แวว)บ้าง หลังจากที่ต้องคอยดูแล สอน จัดกิจกรรม รวมทั้งขับรถให้เราด้วยในบางวัน ปลายทางของการเดินทางวันนี้ไม่ได้อยู่ที่อาร์มิเดล แต่เราจะไปพักที่เมืองชายทะเลชื่อคอฟฟส์ฮาร์เบอร์ ซึ่งถือเป็นเมืองตากอากาศเมืองสำคัญที่มีบรรยากาศที่ดี เมืองสวยงามเมืองหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์แต่อยู่คนละเขตบริการสุขภาพกับแทมเวอร์ธและอาร์มิเดล วันหยุดเสาร์อาทิตย์นี้คงได้พักผ่อนและเที่ยวชมเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่เพราะการมาของทีมเราในครั้งนี้เป็นการมาศึกษาระยะสั้น ทางทีมงานของมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ โดยการประสานงานของเดวิดและหมอจอห์น จึงได้จัดกิจกรรมให้เราอย่างแน่นเอี๊ยดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะได้เล่าให้ฟังในตอนต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Dr. Phichet Banyati ใน PracticalKM
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก