RBM & KM & LO & PDCA & BALANCE SCORECARD & ฯลฯ


RBM & KM & LO & PDCA & BALANCE SCORECARD & ฯลฯ กับการนำมาใช้
RBM & KM & LO & PDCA & BALANCE SCORECARD  กับงาน HA ทุกอย่างล้วนแต่เป็นเครื่องมือที่นำมาเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน  แต่การนำมาใช้ไม่ได้นำมาบูรณาการ  ต่างคนต่างนำความรู้แต่ละด้านมาให้ผู้ปฏิบัติทำ ซึ่งทำให้เกิดความซ้ำซ้อน  ผู้ปฏิบัติเกิดความเบื่อหน่าย  เราควรจะทำอย่างไรดีกับทฤษฎีภาคตะวันตก
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 965เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2005 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ทฤษฎีทั้งหลายล้วนแล้วแต่มีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกัน ที่สำคัญคือทุกทฤษฎีมุ่งเน้นให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพในการทำงาน ขึ้นอยู่กับผู้รับและผู้ใช้ที่จะเลือกจับทฤษฎีใดมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใด เพราะถ้าเอาทุกทฤษฎีมาทำทุกเรื่องมันก็คงมัวอย่างที่เห็นๆกัน และก็ตกหนักที่ผู้ปฏิบัติที่ต้องทำ ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีผลงาน จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองเรียนรู้ในทุกเรื่องที่ท่านยกขึ้นมาเป็นประเด็น และก็ปวดหัวมาทุกเรื่องที่เรียน เพราะต้องมาทำมาในระยะหลังจับหลักได้ว่าทุกเรื่องมีพื้นฐานคุณภาพ คือ PDCA เหมือนกัน แตกต่างกันที่ชื่อ และขั้นตอนซึ่งบางเรื่องก็แบ่งย่อยเป็น 6 - 10 ขั้นตอน และการเริ่มต้นที่ขั้นตอนใดก่อน ก็เลยทำใจได้และเริ่มทำงานของตัวเองให้มีคุณภาพด้วยใจที่อยากทำ อยากเห็นงานของเราดีขึ้น มีประโยชน์แก่คนอื่นๆมากขึ้น โดยใช้ PDCA และตรวจสอบงานของตัวเองเป็นระยะๆ เมื่อเห็นว่ามาตรฐานที่ทำไว้ไปได้สวยก็ยกระดับมาตรฐานที่วางไว้ พัฒนาต่อเรื่อยๆ ก็ชินและเกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการทำงาน ที่นี้พอทฤษฎีใหม่ๆเข้ามาก็เอามาช่วยเป็นตัวกระตุ้น อย่างเช่น KM ดิฉันก็เอากระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาเป็นตัวใช้ในการพัฒนางาน คือ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยกับคนที่ทำงานแบบเดียวกับเราศึกษาวิธีการดีๆของเขามาปรับใช้กับงานเรา เป็นการเรียนลัดไม่ต้องเสียเวลาคิดใหม่ เอามาต่อยอดพัฒนาให้เข้ากับสภาวะการณ์ของเราโดยใช้ PDCA รอบใหม่  แล้วก็แอบแข่งกับเขา(เงียบๆ) ศึกษาไปเถอะค่ะอย่าไปกังวลหรือหัวเสียว่าต้องใช้ทฤษฎีอะไร ศึกษาให้ถ่องแท้และเข้าใจ และเลือกใช้ให้เหมาะข้อสำคัญคือ หาบริบท หรือแก่นของเราเองให้พบ และพัฒนาไปตามเป้าที่วางไว้ ก็จะลดความสับสนและประสบความสำเร็จ Know how ,How to ทั้งหลายมีไว้ให้เราเรียนรู้และเลือกใช้ ไม่ได้มีไว้เป็นนายเราค่ะ

- มีความคิดเห็นเช่นเีดียวกับคุณ Siriruk   ช่วงแรกงง เหมือนกันว่า ทำไมนะการพัฒนาจะต้องมีหลายมุมหลายอย่างยุ่งยากมาก ทำให้เรากลัวไม่กล้าที่จะทำอะไร แต่เมื่อค่อยๆ เรียนรู้ละค่อยๆ ไต่ไป เราก้อจะเริ่มชัดเจนขึ้น อยากจะนึกถึงตอน ก่อนที่เราปีนขึ้นเขาเราจะเงยหน้าขึ้นไปมองยอดเขาแล้วบอกกับตัวเองว่ามันช่างสูงเหลือเกิน เราจะไปไหวหรือเปล่านี่ บางคนอาจยกเลิกไปเลย  แต่หากเราค่อยๆไต่ ไปทีละขั้นทีละตอนเราก้อจะไปถึงยอดเขา และจะรู้สึกสุข สบายมากเมื่อมองลงมาด้านล่าง มันคุ้มค่ามากในบรรยากาศเช่นนี้กับความเหนื่อยที่เกิดขึ้น

PDCA เราช่วงแรกอาจไม่ค่อยแตกฉาน เป็นแบบง่ายๆ ไม่ครอบคลุมในส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อกล้าที่จะพูดกล้าที่จะทำ เริ่มช่วงโยงในส่วนที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นมันก้อเริ่มที่จะชัดขึ้น โดยเฉพาะงาน ในส่วนที่เป็นบริบทของเรา จะชัดเจนยิ่งขึ้น

     เพิ่งเข้ามาพบเจอน้องเรานี่เอง ยินดีต้อนรับครับ ไปทักทายกันบ้างนะ
     ประเด็นที่มองเป็นความซ้ำซ้อน อยากชวนมองว่า ลองทบทวนดี ๆ ซ้ำซ้อนด้วยเหตุใด เพราะเราติดในเอกสารหรือเพราะซ้ำซ้อนในการนำมา Integrate กันแล้วใช้ลงมือจริง...ไม่ซีเรียสนะ

ขอบคุณพี่ชายขอบ นะครับ   และทุกคนที่ให้คำแนะนำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท