Holistic Corner : การสื่อสารบกพร่อง จุดบอดที่เจอทุกวัน


พูดภาษาไทยเหมือนกัน คำว่า ช้อน ว่ามีด เหมือนกัน เวลาแปลความหมาย มันยังต่างกันพอสมควรทีเดียว สิ่งหนึ่งที่ นักสื่อสารสุขภาพ ที่ดี อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ การเป็นผู้ให้ที่ดี การรับฟัง และการถอดรหัสคำพูด ทั้งของตนเอง และผู้รับ

การสื่อสารในชีวิตประจำวัน ถ้าเราสังเกตดู   มีบ่อยครั้งมากที่มีความเข้าใจไม่ตรงกัน คำพูดเดียวกัน แปลความหมายไม่เหมือนกัน  ทั้ง ๆ ที่ภาษาคนเหมือนกัน  ด้วยบริบทของคนพูด  ของคนฟังต่างกัน 

 มาอุบลใหม่ ๆ  ถามคนไข้เป็นยังไงจ๊ะป้า  คนไข้บอก ไคแน่   ผมนึกในใจ ว่า โห ทำไมนักเลงจังจ๊ะ ( จ แทน ว )  มาถามว่าใครแน่ แถวนี้  คุณพยาบาล เห็นผมงง เลยแปลบอกผมว่า ไคแน่   แปลว่า OK ค่ะ หมอ   (  แปลลาวเป็น ภาษาอังกฤษเสียด้วย )

เมื่อสัปดาห์ก่อน ตรวจที่ PCU แนะนำเรื่องการดูแลเท้า กับคนไข้  ถามป้า แกว่า ใช้อะไรตัดเล็บ   แกบอก " ก็ใช้มีดแล้ว คุณหมอ "   ตามจินตนาการ ของผมนึกถึงมีดปอกผลไม้ มีดปอกหมาก ขึ้นมาทันที " อ้าว ไม่ได้ใช้กรรไกรตัดเล็บเหรอ ( บ้านผมเรียกกรรไกร ตัดเล็บ บางทีก็เรียกที่ตัดเล็บ ) แกบอก " เปล่า  ใช้มีดไม่ได้ใช้กรรไกร " 

มีการแนะนำเรื่องการใช้ อุปกรณ์ตัดเล็บ   ( ภาษาหนังสือ ใช้คำว่าอุปกรณ์ตัดเล็บ )  ว่าไม่ควรใช้มีด เพราะมันจะบาดได้  เกิดแผล  คุยไปคุยมา ปรากฏว่า   ที่พูดทั้งหมดเป็น อุปกรณ์ตัดเล็บเดียวกัน    ที่เราใช้ปรกตินี่แหละครับ  แกเรียก "มีด"  เรียกทั้งบ้าน ทั้งตำบล จนพูดไปพูดมา  ผมก็งงเอง  ว่า เอ สงสัยที่บ้านผมจะเรียกผิดหรือเปล่า   หรือว่าเขาเรียกมีดตัดเล็บจริง ๆ     ก็ไม่มีใครพูดผิดหรอกครับ เค้าเรียกมีดมาตั้งแต่เกิด แม่ก็เรียก พ่อก็เรียก เพื่อนที่โรงเรียนก็เรียก   จะให้เรียกกรรไกรตัดเล็บได้อย่างไร  ไอ้ผมก็เรียกอย่างนี้มาตั้งแต่เด็ก เหมือนกัน  หลังจากนั้นเป็นอันเข้าใจตรงกัน


ผมมีคนไข้คนหนึ่ง ชื่อลุง ไพรเวียง    รักษาเบาหวานมาหลายปีแล้วครับ  รักษานานจนกินยาเบาหวานชนิดเม็ดไม่ได้ผล  แม้ขนาด maximum dose แล้ว fbs ยัง  300 – 400 mg%  เลยต้องฉีดยา insulin ฉีดมาประมาณ 2 – 3  ปี  บางช่วงมีปัญหา เดี๊ยว น้ำตาลก็สูง  มาก ๆ   ต่อมาอยู่ดี ๆ  น้ำตาลต่ำเฉยเลย  หมดสติมาหลายครั้ง  เป็นอย่างนี้เรื่อยมา  รักษากับอายุรแพทย์ก็หลายครั้ง  ผมก็เป็นคนดูแลแกเองตอนอยู่ รพ.  แต่ก็ไม่สามารถจะตามไปดูว่าแกใช้ชีวิตอย่างไร   ปรับยาทีก็ต้องนัดเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน กว่าจะเจอกันที บางทีก่อนจะเจอกัน มาadmit เสียแล้ว พอดีมาเจอแกที่ pcu  ก็ได้โอกาสเสียที ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้าน ได้คุยกับภรรยา คุยกับแม่ยาย  สังเกตที่บ้านลุงไพรเวียง  มีน้ำหวานอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน   ที่ตระแกรงหน้ารถแกก็เอาน้ำตาลทรายมาวางไว้   

<p> </p><p> </p><p>ระหว่างนั่งคุยกันอยู่ดี ๆ  แกมองข้ามไหล่ผมตาลอย ๆ  แล้วไม่พูดอะไรต่อ  อยู่นิ่ง  สักพัก บอก คุณหมอ ผมว่าน้ำตาลผมกำลังต่ำนะ    เมียแกรีบเอาน้ำแดงข้นมาให้กิน 2-3 ช้อนแกง  สักครู่ แกพูดได้ต่อ ให้ก้อย  เจาะน้ำตาลดู  ได้ค่า  62  mg%   เมื่อเดือนก่อน  ผมอ่านบันทึกเจอบันทึกของ เบาหวาน รพ.พุทธชินราช  (  click ที่นี่ )  เรื่องของคุณลุงวิเชียร  ถูกใจครับ  ได้เอามาใช้   บอกลุงไพรเวียง ลองจด ดูซิว่ากินอะไรบ้าง  ฉีดยาตอนไหน  เอาละเอีดเลยนะ ว่ากินข้าวไปเท่าไหร่  แกบอก " ได้ "  สัปดาห์ต่อมาแกเอาสมุดมาให้ดู ที่  pcu  ครับ  </p><p>  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตรวจยาก็ฉีดถูกครับ   เวลาก็ ok  แถมกินน้อยมากครับ  กินข้าว 3 ช้อนแกง กับป่นปลา  เที่ยงกินกับปลาป่น เย็นกินข้าว 2 ช้อนแกง กับป่นเห็ด   เช้ากินกับปลาป่น   ป่นปลา ปลาป่น  ป่นเห็ด เห็ดป่น อยู่อย่างนี้แหละครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ผมว่า เอ !   ทำไมกินน้อยจัง   สงสัยเข้าใจว่าคุมอาหารคืออดข้าวมั้ง   แต่น้ำตาลก็สูง มั๊กมาก   แกบอกว่าก็กินอย่างนี้มานานแล้ว  เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน  ดูซิเนี่ยรักษากันมาหลายปี  ทำไมไม่เคยรู้มาก่อนเลย   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แกบอกว่า   ปรกติกินข้าวเหนียว เดี๊ยวนี้เอาข้าวเหนียว  1 ส่วน ข้าวจ้าว 2 ส่วน   วันไหนเบื่ออาหาร ก็กินแค่ 1 – 2 ช้อน  วันไหน กินข้าวแซบ ( แปลว่า อร่อย  )  กินได้มื้อละ 4 ช้อน ผมว่า   โอ้ !  นี่ขนาดกินอร่อยนะเนี่ย  มิน่า Hypoglycemia มาบ่อย ๆ  เดี๊ยวสูง เดี๊ยวต่ำ    อย่างนี้นี่เอง !  แต่เดียวก่อน ! ( เหมือน โฆษณา tv direct ชอบกล ทำนอง ซื้อตอนนี้แถม อีก หนึ่ง )</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สัปดาห์ก่อน ไปเยี่ยมบ้านกับนักศึกษาพยาบาลที่จะทำงานที่ pcu  ครับ   พาไปเยี่ยมแกที่บ้าน  นักศึกษา ถามว่า วัน ๆ กินยังไงจ๊ะลุง  แกเอาช้อนกินข้าวให้ดู   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> เดินไปตัก ข้าวให้ดู  เป็นอย่างเนี้ยครับ</p><p></p><p>  </p><p>จานนี้ 2 ช้อน ครับ                            จานนี้  3 ช้อน  คิดดู 4 ช้อนจะขนาดไหน  </p><p></p> ผมต้องมาตั้ง สติ สตัง ใหม่  ต้องทบทวนกันใหม่อีกแล้ว ที่เข้าใจมาน่ะมันไม่ใช่อย่างที่คิด  บ้านนี้ไม่ใช้ทัพพีตักข้าวครับ  ใช้ช้อนเลย  ที่แกเขียน 3 ช้อน  มันเท่ากับ 3 ทัพพีใหญ่  ที่บ้านผมเลยครับ  ภาษาพระเรียก สมมุติ   สิ่งเคียวกันในธรรมชาติมันเกิดมันมีปรกติของมัน  เราไปสมมุติมัน สมมุติไม่เหมือนกัน  เพราะต่างความเป็นอยู่  ต่างกรรม ต่างวาระ   จะไปยึดถือ ใครผิดใครถูกได้ลำบาก   เรียก น้ำ  เรียก water เรียก จุ๊ย  มันก็อันเดียวกัน  หมอจะไปบอกว่าแก พูดไม่ถูกก็ไม่ได้  ก็หมอพูดไม่เหมือนเขาเอง    <hr>

 พูดภาษาไทยเหมือนกัน  คำว่า ช้อน  ว่ามีด เหมือนกัน   เวลาแปลความหมาย  มันยังต่างกันพอสมควรทีเดียว   สิ่งหนึ่งที่ นักสื่อสารสุขภาพ ที่ดี อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ  การเป็นผู้ให้ที่ดี   การรับฟัง   และการถอดรหัสคำพูด ทั้งของตนเอง และผู้รับ   ทุกวันนี้ผมก็ยังฝึกอยู่    งานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ที่ผมได้สัมผัสมา   ( เฉพาะที่ได้สัมผัสมานะครับ )  เป็นการสื่อสารทางเดียว ซะส่วนใหญ่เลยครับ  การรับ และการปรับเข้าหากันน้อยมาก   ความสำเร็จที่ยั่งยืน ก็ยังไม่เกิด   แต่เราก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป    

</span><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 95389เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ก๊าก เลยค่ะ

ช้อบ ชอบ ช้อนลุง

วันหลังใครถาม  พี่จะบอก กินข้าวแค่ช้อนเดียวเท่านั้น

วันหนึ่งกินไม่ถึง 3 ช้อน เลยนะ เนี่ย

 

ถ้าคุณหมอบอกทาน 2 ทัพพี จะขนาดไหนเนีย ฮ่ามากเลยค่ะ
คนไข้โชคดีที่เจออาจารย์ครับ

เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยค่ะคุณหมอจิ้น

P
พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล
เมื่อ พฤ. 10 พฤษภาคม 2550

ตอนหลัง ผมกะว่าจะให้แกเขียนว่ากินกี่คำ ยังนึก ๆ อยู่เลยว่า  คำของแก กับคำของผม มันจะเท่ากันหรือเปล่าเนี่ย

P
Ranee
เมื่อ พฤ

น่านนะซี ครับ

P
โรจน์
เมื่อ พฤ.

อยากให้โรจน์ เอาเรื่องมาเล่าให้ฟังบ้างครับ

P
วัลลา ตันตโยทัย
เมื่อ พฤ. 10 พฤษภาคม

ขอบคุณครับอาจารย์

P
อย่างนี้เขาเรียกว่า พูดคนละเรื่องเดียวกันเลยค่ะ
  • เรื่องช้อนของคุณลุง
  • เหมือนเรื่อง กิโลเมตร แม๊ว เลยค่ะ ... แบบว่า ไกลมั๊ก มั๊ก
  • ยังงี้ละมังคะ ที่ว่า การคุยกับคนไข้ หรือชาวบ้านให้รู้เรื่อง ต้องคุยกันให้เห็นของจริงๆ และไปดูการกระทำเขาจริงๆ ด้วยนะคะ
  • ต่อไปจะใจเย็น ค่อยๆ คุยให้การปรึกษาค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

  • รู้สึกยิ้มได้หลังอ่านเรื่องเล่านี้ครับ
  • จะนำไปเป็นข้อคิดดีๆเตือนตนครับ

ป่นปลา ปลาป่น  ป่นเห็ด เห็ดป่น

...เมนูอาหาร น่ารักดีคะ....คนไข้หมอ น่ารักด้วยคะ

บอกให้จดก็จดให้อ่านอย่างดี 

P

เราเจออย่างนี้บ่อย ๆครับ

P
เพื่อนร่วมทาง
เมื่อ พฤ. 10 พฤษภาคม

การคุยกับคนไข้ หรือชาวบ้านให้รู้เรื่อง ต้องคุยกันให้เห็นของจริงๆ และไปดูการกระทำเขาจริงๆ ด้วยนะคะ

ใช่เลยครับพี่ นี่แหละประโยชน์ของการเยี่ยมบ้าน

 

ไม่มีรูป
kmsabai
เมื่อ ศ. 11

อยากให้สุพัฒน์ หาเรื่องมาเล่าให้ฟังอีก

P

ใช่เลยครับ  คนไข้ดีมากครับ พยายามปฏิบัติตัวดีมาก เพียงแต่มันยังคุมไม่ได้ กับสับสนนิดหน่อย 

ขอบคุณ คุณหมอครับ

อ่านสนุก และได้เรียนรู้จากผู้ป่วยตลอดเวลา

ผมจะใช้ข้อสังเกตแบบคุณหมอ เวลาเจอคนไข้มั่งครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอจิ้น ตามมาขอบคุณที่อนุญาตให้ใช้เรื่องนี้ไปใส่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "มหัศจรรย์ KMเบาหวาน"ค่ะ ที่จริงชอบอ่านที่คุณหมอเขียนมาก ตามอ่านมาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะต้องเขียนหนังสือนี้เสียอีกค่ะ แต่ยังไม่เคยร่วมแสดงข้อคิดเห็น

วันนี้เพิ่งเขียนต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย ได้อ่านแน่ในงานมหกรรมเบาหวานเดือนหน้าค่ะ

P
คุณนายดอกเตอร์
เมื่อ พฤ. 21 มิ.ย. 2550
ยินดีครับ เพราะเรื่องที่เล่า ทั้งหมดเป็นเรื่องสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน อยู่แล้วครับ

ฟังเรื่องช้อนของอาจารย์ แล้วคิดถึงเรื่องโรตี ที่นราธิวาส

คนไข้เบาหวานเมื่อพยาบาลถามว่าปกติมื้อเช้าทานอาหารอะไรบ้างคะ

คนไข้ "กินโรตี"

ถามว่าเวลากินใส่น้ำตาล ใส่นมข้นหรือเปล่าคะ

คนไข้ "บางที่ก็ใส่บางทีก็ไม่ใส่"

แล้วเวลาที่ไม่ใส่ทานอย่างไรคะ

คนไข้ "บางทีมันมีใส้มะพร้าว ใส้สังขยาก็มี"

พยาบาลชักงง ทีแรกนึกว่าจะเป็นพวกมะตะบะ หรือพวกที่ทานกับแกงคล้ายน้ำจิ้มสะเต๊ะ

หรือว่ามะตะบะที่นี่มีไส้หลากหลาย เลยถามใหม่ "โรตีใส่ไส้ที่ว่าไช่มะตะบะหรือเปล่า"

คนไข้ "มะตะบะก็กิน แต่เขาขายตอนเย็นๆ"

เอาละมาถามเรื่องจำนวน ปริมาณ ต่อดีกว่า ท่าจะมีอีกเยอะ เวลาผ่านไปหลายวันมีประชุมของ รพ.พยาบาลถามน้องที่จัดอาหารว่างประชุมว่าวันนี้เลี้ยงอะไรจ๊ะ

น้อง "เลี้ยงโรตีกับนมเปรี้ยว"

นึกในใจว่าแปลกดีเพิ่งเคยทานโรตีเป็นอาหารว่างประชุม คงคล้ายๆกับพวกเดนิชที่เขาเลี้ยงๆกันก็ช่างคิดดัดเปลงไอเดียไม่เลว ชักอยากลองชิมอยู่เหมือนกัน พอประชุมเข้าจริงเจอขนมปังใส้สังขยาก็เลยถามน้องว่าอุตส่าดีใจเห็นว่าจะเลี้ยงโรตีแล้วไงเป็นขนมนี้หละ

น้อง "นี่แหละพี่เค้าเรียกโรตี"

เอ้าแล้วที่เป็นแผ่นบางๆกลมๆทอดกับมาการีนในกะทะแบนๆหละเรียกอะไร

น้อง"ก็เรียกโรตีเหมือนกัน"

แล้วยังมีอย่างอื่นอีกไหม

น้อง "ขนมส่วนใหญ่ก็เรียกโรตีทั้งนั้นแหละ"

เป็นงั้นไป นึกถึงคนไข้DMทันทีเลยวันหลังต้องซักใหม่แล้วไม่ได้การซะแล้ว

อ่านแล้วได้สติเยอะครับ

ทุกอย่างคือสิ่งสมมติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท