คนลืมตัว


คนลืมตัว

                    สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน เนื่องจากผมได้ทำตัวเป็น “คนไม่เอาไหน” มาหลายวันแล้ว จึงไม่ได้มีโอกาสนำเอาบทความดี ๆ มามอบให้ท่านผู้อ่าน จึงต้องขอโทษด้วย ครั้งนี้นำเอาบทความเรื่อง “คนลืมตัว” มาเป็นสรรสาระดี ๆ มอบให้ท่านผู้อ่าน


 

ปู่พร่ำบอกผมเสมอว่าเกิดเป็นคนอย่าได้เป็นคนลืมตัว

 

             เช้าวันอาทิตย์วันที่ผมเองไม่ต้องรีบตื่นนอนเพื่อจะมาเรียนหนังสือ ผมจึงค่อยขี่รถมอเตอร์ไซด์คู่ใจของผมออกจากบ้านมาประมาณ 10 โมง โดยมีจุดหมายปลายที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจะไปกินข้าวกลางวันกับคนรู้ใจ ( ที่บ้านเรียกว่าแฟน ) ผมขี่รถบนถนนโดยออกจากบ้านผมมาได้ประมาณ 5 นาที ผมได้เห็นรถมอเตอร์ไซด์คันหนึ่งได้วิ่งอยู่หน้าผม ด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าใครเป็นคนขี่รถมอเตอร์ไซด์คันนี้ จึงรีบขี่รถติดไปอย่างกระชั้นชิด ภาพที่ปรากฏออกมาคือเป็นชายแก่อายุประมาณ 40 ปีเป็นคนขี่ โดยมีชายแก่อายุประมาณ 70 ปีนั่งซ้อนท้ายอยู่ มือข้างขวาเกาะหลังคนขับ มืออีกข้างถือไม้เท้าคู่ใจอยู่

               ผมได้ขี่รถติดตามไปเรื่อย ๆ เพราะวันนี้ไม่ต้องรีบเร่งอะไรทั้งนั้น ( ถ้าเป็นวันจันทร์ ศุกร์ ต้องรีบเร่งเครื่องแซงทุกคันเพราะเดี่ยวเข้าเรียนวิชาปรัชญาไม่ทัน )  ขี่ตามไปเรื่อย ๆ จนได้เกิดอะไรบางสิ่งขึ้นมาในใจของผม ความรู้สึกถวิลหา ความรู้สึกที่มันอิ่มเอิบใจอย่างไรไม่รู้ ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นในใจเป็นอะไรที่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่ามันคืออะไร และสายตาของผมมันก็จับจ้องอยู่ที่มือของชายแก่คนนั้นที่เอามือจับไหล่ของคนขี่รถมอเตอร์ไซด์คันข้างหน้าอย่างแน่นเหนียว มองไปได้สักสองสามนาที ความรู้สึกคิดถึงปู่ของผมก็ได้ขึ้นมาในดวงใจโดยทันที ชายชราคนข้างหน้าผมเหมือนเป็นดั่งภาพที่สะท้อนถึงเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี

          เพียงแค่มือที่เกาะอยู่ข้างหลังคนขี่มันได้สะท้อนเรื่องราวอะไรต่อมิอะไรอย่างหลากหลาย และเพราะมือของชายแก่คนที่นั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ ได้ทำให้ผมคิดถึงปู่ของผม พอความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นจึงได้นำจิตใจผมถวิลหารู้สึกในวันเก่า และทำให้ผมนึกถึงคำพูดอันหนึ่งขึ้นมา คำพูดที่ปู่ได้พร่ำสอนผมมาว่า เกิดเป็นคนอย่าได้ลืมตัว 

                “เกิดเป็นคนอย่าได้ลืมตัว ช่างดูเหมือนคำพูดที่น่าเบื่อหากใครต่อใครได้ยินคำนี้ ยิ่งถ้าหากเป็นคำด่าว่ากล่าวแล้วยิ่งทำให้น่าเบื่อไปอีก ปู่ผมพร่ำบอกผมอยู่เสมอ ๆ   หลังจากที่ผมกลับมาจากโรงเรียน โดยในมือผมจะถือน้ำมะพร้าหอมที่แช่เย็นมาฝากปู่ผมเสมอ ๆ   ท่านมักจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมายให้ผมฟังพร้อมกับสอนผม โดยคำสอนที่ท่านมักสอนเสมอคือว่า เกิดเป็นคนอย่าได้ลืมตัวอย่าลืมตัวว่าเราเป็นใคร อย่าลืมตัวว่าเรากำลังทำอะไร 

               เพียงภาพของชายแก่ที่ฉายผ่านดวงตาผม ความรู้สึกคิดถึงปู่ก็ปรากฏขึ้น แต่วันเวลาที่มันผันเปลี่ยนไป ความรู้สึกนึกคิดก็เริ่มที่จะเปลี่ยนไป คำที่ปู่พร่ำบอกผมเสมอว่า เกิดเป็นคนอย่าลืมตัว เริ่มเกิดเป็นความสงสัยว่า คนเราทำไมจึง ลืมตัวคำสอนที่ว่าเกิดเป็นคนอย่าได้ลืมตัวฝั่งแน่นอยู่ในความคิดของผมเสมอมาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ผมจำความได้

 

                   ความสงสัยที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่เราเริ่มคิด คิดว่าทำไมคนเราจึงลืมตัวและทำไมผู้ใหญ่จึงพร่ำสอนเราเสมอว่าอย่าได้เป็นคนลืมตัวฉะนั้นแล้วการไขรหัสความหมายของคำว่าคนลืมตัวจึงค่อย ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ ความลึกลับของการหาความหมายก็มิได้ยากมากมายอะไรมากหรอก เพราะแค่คำว่าคนลืมตัวก็มิได้มีอะไรมากมายหรอก แต่ถึงกระนั้นผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าทำไมคนเราจึงลืมตัว

 

             ผมจึงได้ลองมานั่งคิดเพื่อไขรหัสหาความหมายของคำสอนของปู่ที่พร่ำสอน ( หลานที่ไม่เอาไหน)  ผมเริ่มไขรหัสของคำว่า คนลืมตัว จากการมองเรื่องราวรอบ ๆ ตัวของตัว สภาพสังคมที่ผมอยู่ โดยเริ่มปรากฏเป็นภาพทีละนิดละน้อย ภาพที่จะไขรหัสภาพแรกคือภาพชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาหลาย ๆ คน

                  ชีวิตในมหาวิทยาลัยชั่งดูเป็นภาพที่หรูหราฟุ่มเฟือย ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือราคาเครื่องละเป็นหมื่น ๆ ใช้กัน มีอุปกรณ์นั่นอุปกรณ์นี่ใช้อย่างหรูหรา ภาพที่บังเกิดทำให้ได้เข้าใจมากขึ้นว่า การที่บางครั้งนักศึกษามีเข้าของเครื่องใช้ต่าง ๆ มากมายอาจได้มาเพราะไปกู้ไปยืมเงินใครเขามา หรือได้มาจากเงินของพ่อแม่ แต่การมีเข้าของที่มากเกินไปอาจจะเกินกว่ากำลังทรัพย์ที่นักศึกษามี ฉะนั้นแล้วการมีชีวิตในมหาวิทยาลัยอาจดูหรูหรา จนบางครั้งทำให้นักศึกษากลายเป็น คนลืมตัวลืมไปว่าเรามาทำอะไร เราเป็นอะไร เรามีหน้าที่อะไร    

              

              ก็คงไม่ผิดมากนักที่ชาวนาในอำเภอท้องที่ที่ห่างไกลไม่ยอมส่งลูกเข้าศึกษาในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย แต่กลับสอนให้ลูกปลูกข้าว หาปลา ปลูกผักกินเอง โดยที่ชาวนาคนนี้เป็นผู้สอนลูกเอง ความล่ำลึกของคำว่า คนลืมตัวก็ปรากฏขึ้นอีก เมื่อได้ทราบถึงเหตุผลที่ทำไมชาวนาคนนี้ไม่ส่งลูกไปเรียนหนังสือในโรงเรียน ก็เพราะกลัวว่าลูกจะลืมตัว กลัวว่าลูกจะลืมว่าแท้จริงเราคือลูกชาวนา และกลัวว่าลูกจะเป็น คนลืมตัว จนลืมพ่อแก่ๆคนนี้ที่เป็นชาวนา กระนั้นแล้ว ณ วันนี้ชีวิตของผมเองก็คงเป็นชีวิตที่ลืมตัวแล้วสิ

 

 

             การค้นหาความหมายของคำว่า คนลืมตัวมิได้มีเพียงแค่ภาพชีวิตในมหาวิทยาลัยเท่านั้นหากแต่ยังมีภาพที่นอกเหนือไปจากนี้อีกเช่น ภาพในสังคมที่กว้างออกไป ในสังคมที่เราอยู่ ณ ทุกวันนี้ก็มีแต่ผู้คนที่มักหลงลืมตัว ลืมว่าตัวเองไปใคร ในระบบราชการก็มีผู้คนที่มักระทำตัวว่าเป็น  คนลืมตัว  

 เรื่องเล่าของ อาจารย์รวีพร 

                มีเรื่องราวในสถานศึกษาแห่งหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาพของการเป็น คนลืมตัว พอสมควร เรื่องราวที่จะเล่ามันมีอยู่ว่า มีอาจารย์ท่านหนึ่งชื่อว่าอาจารย์รวีพร อาจารย์วรีพรเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมเกี่ยวกับทางด้านสุขสภาพและการบริโภค  โดยการเปิดกิจกรรมชุมนุมก็เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม หลังจาการเรียนรู้ทางด้านวิชาการอย่างเคร่งเครียด ชุมนุมนี้ได้สร้างผลงานและชื่อเสียงให้กับโรงเรียนมากมาย และสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์หลายหลากกิจกรรม

 

อยู่มาวันหนึ่งผู้บริหารสถานศึกษาท่านเก่าได้ลาออก ท่านใหม่ก็ได้เดินทางมารับตำแหน่งที่โรงเรียนนี้  ก็เป็นไปตามประสาผู้ใหญ่ ( ที่มีอำนาจ ) มารับตำแหน่งทีก็ใหญ่โตพอสมควร ท่านผู้บริหารท่านนี้ท่านก็มีนโยบายที่จะทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนนั่นโรงเรียนนี้ ( เพื่อที่จะได้ใช้ชื่อเสียงดูดเงินผู้ปกครองง่ายหน่อย ) ด้วยความตั้งใจของท่านผู้บริหารท่านนี้ ท่านจึงเรียกประชุมอาจารย์ทุกท่านในโรงเรียน โดยอาจารย์วรีพรก็ได้ไปเข้าร่วมกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ

 

                ทุกอย่างดำเนินไปอย่างไปสู่จะราบรื่นนัก พอถึงวันประเมินโรงเรียนอาจารย์ทุกคนก็นำผลงานมาแสดง ( ให้นักเรียนช่วยกันแต่งว่าดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ) อาจารย์วรีพรเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ต้องส่งผลงานเข้ารับการประเมินแต่อาจารย์วรีพรท่านไม่ส่งด้วย ผลก็คือโรงเรียนประเมินไม่ผ่าน การที่ท่านอาจารย์วรีพรไม่ส่งผลงานก็มีเหตุผลที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยคือ  เวลาที่ท่านทำกิจกรรมต่างทางโรงเรียนและผู้บริหารไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่นัก พอถึงเวลาผู้บริหารก็จะมาเอาผลงานโดยหวังว่าตัวเองจะได้รับคำชื่นชม ( ทางบ้านผมเรียกว่าเอาหน้า )

                   เวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือนท่านผู้บริหารท่านนี้ก็ได้พบกับอาจารย์วรีพร ท่านก็ได้ถามอาจารย์ไปว่า ปีการศึกษา 2549 จะมีกิจกรรมอะไรหรือเปล่า ท่านอาจารย์วรีพรบอกว่าปีนี้ไม่มีกิจกรรมอะไรหรอกเพราะเด็กในชุมนุมปีนี้สมัครมาน้อย ท่านผู้บริหารก็ตอบไปว่า ไม่ทำก็ไม่ทำ คราวหลังโรงเรียนก็จะได้ไม่ต้องทำอาจารย์วรีพรก็มิได้ว่าอะไรและเดินจากไป

 

                  ท่านอาจารย์วรีพรท่านคงคิดในใจว่า เวลาทำงานผู้บริหารไม่เคยช่วยแต่พอเอาผลงานก็จะเอา เหมือนอย่างกับว่าครั้งหนึ่งท่านผู้บริหารไม่เคยเป็นครูน้อยมาก่อน จึงได้แต่สั่งสั่งนี้พอใครไม่ทำให้ก็โกรธ คนเราได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นผู้บริหารมักหลงลืมว่าในอดีตเคยเป็นครูน้อยที่ตรากตรำทำงานมา คนอะไรเป็นใหญ่เป็นโตแล้วลืมตัว

 

 

            สำหรับท่านอาจารย์วรีพรท่านคงมิเคยได้แม้แต่คำชมจากผู้บริหารในโรงเรียนหรอก เพราะท่านเป็น คนไม่ลืมตัวถ้าอาจารย์วรีพรเป็น คนลืมตัว คงได้ทำชมจากผู้บริหารสถานศึกษาอยู่เป็นเนื่อง ๆ ก็คงเป็นเพราะท่านอาจารย์รวีพรเป็น “คนไม่ลืมตัว ก็เลยได้รับเพียงแค่คำชมจากผู้บริหารประเทศเท่านั้นเอง

                 ทั้งภาพชีวิตนักศึกษา และ เรื่องราวในวงราชการได้สะท้อนถึงเบื้องลึกของคำว่า “คนลืมตัว” ได้อย่างดีเยี่ยม คนเราเมื่อก้าวไปสู่อย่างหนึ่ง ไปเป็นอีกอย่างหนึ่งมักจะหลงลืมตนว่าเคยเป็นใครที่ไหนมา เมื่อลืมตัวว่าเคยเป็นใครอย่างไรมา ก็ย่อมกระทำอะไรต่อมิอะไรที่ไม่ได้บ่งบอกว่าตัวเองเคยเป็นอะไรมาหรือลืมที่จะกระทำอะไรที่คอยตัวเองไม่ให้เป็น “คนลืมตัว”

               หากเราที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐมักกระทำตัวเองเป็น “คนลืมตัว” ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วก็ยากยิ่งที่จะสรรญเสริญในความเป็นมนุษย์ เพราะเพียงแค่สัตว์ 4 อย่างสุนัข ยังไม่เคยหลงลืมตัว กระทำตนอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองไม่เคยบกพร่อง ก็แปลกประหลาดมากนักที่มนุษย์อันนีมันสองที่ใหญ่โตกว่าบรรดาสัตว์ 4 เท้าทั้งหลายแล้ว ทำไมจึงยังกระทำตัวเหมือเป็น “คนลืมตัว” เป็นคนมีมันสมองอันเป็นเพียงเศษ 1 ใน 4 ของมันสมองสัตว์ 4 เท้า

            

            ภาพของลุงแก่ที่เอามือไปเกาะหลังคุณลุงอีกคนที่กำลังขี่มอเตอร์ไซด์อยู่ได้สะท้อนภาพเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย คงมิใช้ภาพที่ทำให้ใครสักคนหนึ่ง ได้หวนลำลึกไปถึงคนใดคนหนึ่งในอดีต หากแต่ยังบ่งบอกถึงเรื่องราวที่เป็นเรื่องที่น่าคิดน่าติดตาม เรื่องราวที่นำมาเล่ามาเขียนคงอธิบายถึงความลำลึกของคำว่า “คนลืมตัว” ฉะนั้นผมจึงเริ่มที่จะเข้าใจในคำพร่ำบอกของปู่ผมว่า “เกิดเป็นคนอย่าได้ลืมตัว” และในชีวิตชายชราผู้ที่พร่ำสอนลูกหลานว่าอย่าได้เป็น “คนลืมตัว” ชายคนนี้ก็ได้ปฏิบัติให้เห็นแล้วว่ามิเคยหลงลืมตัวแม้แต่นิดเดียว แต่หลานคนนี้มักจะกระทำอะไรที่เป็น “คนลืมตัว” เสมอมา 

คำสำคัญ (Tags): #คนไม่เอาไหน
หมายเลขบันทึก: 94515เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2007 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ใจที่ฝึกดีแล้วย่อมไม่กระทำสิ่งที่ไร้ค่า"....ยินดี ลปปร.....กรุณาใส่ภาพเดี่ยวนะ.....ห้ามนำบุคคลอื่นมาแอบอ้างครับ (ดังเสียด้วย)

เรื่องความลืมตัวการศึกษาเมืองไทย ผมกับแฝนเคยคุยกันอยู่พักหนึ่ง ถึงเรื่องว่าจะให้หลานเข้าเรียนที่ไหนดี โรงเรียนดีๆ(ที่เขาว่ากัน) ก็ค่าเทอมแพง แถมต้องจ่ายค่ากินเปล่า(เก๋าเจี้ยะ) ลดหย่อนภาษีไม่ได้ คุยไปคุยมาสรุปให้เรียนโรงเรียน ปานกลางดีกว่า คิดว่า โรงเรียนที่ไหนก็สอนวิชาการไม่ต่างกัน โรงเรียนที่เขาว่าดี มีแต่ลูกคนรวยเรียน สังคมก็จะเป็นอีกอย่าง เพราะพ่อแม่มีกำลังซื้อสูง เลี้ยงลูกเป็นเทวดา คนไม่มีก็ต้องพยายามหาให้ลูกมีเหมือนกับคนอื่น กิจกรรมปลูกฝังค่านิยมฟุ้งเฟ้อก็มีมาก ไปทางบันเทิงซะส่วนใหญ่ จนเด็กกลายเป็นคนลืมตัวในที่สุด

คิดไปมันเหมือนปัญหา ไก่เกิดก่อนไข่ โรงเรียนก็จะบอกว่า เด็กเป็นอย่างนี้เพราะที่บ้าน เพราะโรงเรียนเขามีมาตรฐานการสอนให้เด็กเป็นคนฉลาด และคนดี (แต่คิดไม่เป็น)

ส่วนพ่อแม่ก็จะคาดหวังว่า ฉันจ่ายเงินให้โรงเรียนไปแล้วนี่ ทำไมโรงเรียนสอนให้ลูกฉันคิดไม่เป็น คอยแต่จะเลียนแบบ ตามๆกันไป

คงต้องจับมาละลายพฤติกรรม ฟุ้งเฟ้อ ให้หมด ตั้งแต่ ครู พ่อแม่ และ เด็ก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท