การสอนวิทยาศาสตร์สไตล์ผม


การสอนวิทยาศาสตร์

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ของโลก มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สังคมไทยจึงต้องมีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน สำหรับด้านการศึกษาซึ่งเป็นการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ครูควรเปลี่ยนบทบาทจากการต้องท่องบ่นเนื้อหาวิชามา ถ่ายทอดให้นักเรียนฟัง เป็นผู้ให้ความรักความสนใจในชีวิตของนักเรียนแต่ละคน จัดประสบการณ์การเรียนรู้อันหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน ร่วมเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนใน สถานการณ์จริง รู้ศักยภาพที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้นักเรียนได้นำศักยภาพนั้นมาใช้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นมีลักษณะสำคัญประการหนึ่ง คือ ครู ต้องให้ความสำคัญแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลโดยจัดการเรียนรู้ให้สนองต่อความแตกต่างของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ให้สนองความแตกต่างของผู้เรียนไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เป็นวิธีคิดหรือปรัชญาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนจะมีอายุเท่ากัน แต่จะมีความพร้อม ความสามารถ ความถนัดในการเรียนรู้และพื้นฐานทางประสบการณ์ที่แตกต่างกัน การเรียนวิทยาศาสตร์ในวันนี้จึงมิใช่เพียงการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลักเหตุผล และความเป็นนักคิด แต่นักวิทยาศาสตร์จำต้องศึกษาสังคม และสิ่งที่อยู่รอบด้าน แล้วนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปสร้างสรรค์ พัฒนาและแก้ปัญหาโดยรู้จักนำศาสตร์อื่นๆ มาเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดประโยชน์แตกกิ่งก้านสาขาออกไปด้วย วิทยาศาสตร์จึงทำอะไรได้มากกว่าที่คิด ขึ้นอยู่กับว่า จะคิดนำวิทยาศาสตร์ไปทำอะไรหรือไม่เท่านั้นเอง

จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแข่งขันของประเทศตลอดจนความสำคัญและนโยบายของการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญของผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองเพื่อให้เป็น การเรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะทำให้ผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) สูงขึ้น และจากผลการศึกษาในงานวิจัยพบว่าครูเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูจัดให้กับนักเรียนที่ผลต่อผลการเรียนรู้ที่สูงขึ้น

หมายเลขบันทึก: 94159เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2007 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขั้นที่ 1 การทดสอบตนเอง (Self Test)


เป็นการนำเนื้อหาในเรื่องที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว หรือเป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อไปในการสอนแต่ละครั้ง โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนอภิปราย ทำแบบทดสอบก่อนเรียน นักเรียนนำอภิปรายทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมา ครูทบทวนความรู้ให้นักเรียน

ขั้นที่ 2 นำเสนอมโนทัศน์รวมอย่างกว้าง (Preview Concept , Wide Concept)

เพื่อให้นักเรียนมองเห็นภาพรวมก่อนการเรียนเนื้อหา เพื่อให้นักเรียนทดสอบตนเองภายหลังการเรียนว่ามีความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากน้อยเพียงใด ประกอบด้วย การชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียน การนำเสนอมโนทัศน์อย่างกว้างด้วยวิธีการต่างๆ แสดงแผนผังมโนทัศน์ หรือใช้การเปรียบเทียบชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ ตลอดจนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 3 ฝึกปฏิบัติโดยครูแนะนำ หรือ ฝึกปฏิบัติตามแบบ (Guide Practice)

นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้ดูแลคอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน โดยครูสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของนักเรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับกับแก่นักเรียนแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
ขั้นที่ 4 กระตุ้นให้นักเรียนแสดงออก (Encouragement , Shows off)

เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสะท้อนความรู้และความคิดของตนออกมาด้วยการเขียนที่มิใช่การทำข้อสอบ นักเรียนจะต้องเขียนผลลัพธ์ของการทดลองเพื่อฝึกการจัดระบบความคิด และเชื่อมโยงความคิดกับความรู้สึก ประสบการณ์ที่มี และเขียนรายงานสั้นๆ ที่เริ่มด้วยการวาดโครงร่างของกระบวนการและผลลัพธ์ของการทดลอง จากนั้นให้สะท้อนความรู้สึกในระหว่างที่ทำกิจกรรมนั้น เชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ผ่านมาและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนย่อยๆ ที่ต้องทำในขั้นที่4

1 สิ่งที่เราต้องการจะค้นหา

โดยให้วัตถุประสงค์ของการทำการทดลอง หรือวัตถุประสงค์ของการเรียนในเรื่องย่อยๆ ในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2 ผลลัพธ์ที่เราคาดเดาไว้ก่อนทำการทดลอง

หรือ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการสังเกตของตัวแทนนักเรียนที่นำเสนอ

3 ลำดับขั้นของการทำการทดลอง

4 สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการทำการทดลอง

หรือภายหลังการทำแบบฝึกหัดในใบงาน การทำการทดลองในใบกิจกรรม นั้น

5 ความรู้สึกของนักเรียนว่ามีความรู้สึกอย่างไรในระหว่างที่ทำการทดลอง

หรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ และรู้สึกอย่างไรหลังจากทดลองหรือเสร็จสิ้นกิจกรรม
การเรียนรู้นั้น

6 ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนนี้ทำให้นักเรียนนึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ที่ผ่านมาบ้างหรือไม่ และเกี่ยวข้องกันอย่างไร

7 ความคิดเห็นต่อการทดลองนี้มีผลกระทบต่อวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันและอนาคต หรือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำการทดลอง
ขั้นที่ 5 นำเสนอสาระใหม่ (Implementation)

คือ การที่จะนำเสนอสาระใหม่ภายหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาโดยการทำกิจกรรมจากขั้นตอนที่ 4 มาแล้ว ในบางครั้งขั้นตอนนี้จะควบคู่ไปพร้อมกับขั้นตอนที่ 5
ขั้นที่ 6 จัดโครงสร้างความรู้ (Organizing Content Structure , Organize Knowledge Structure)

ซึ่งครูและนักเรียนจะร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียน โดยร่วมกันอธิบายภาพรวมของเรื่องที่เรียน สรุปลักษณะสำคัญของเรื่อง บอกหรือเขียนคำนิยามที่กระทัดรัดชัดเจน อธิบายความแตกต่างของสาระในแง่มุมต่างๆ อธิบายสาระใหม่สนับสนุนส่งเสริมกับมโนทัศน์รวมอย่างกว้าง ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากบทเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล (Evaluation)

คือ การประเมินสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นการประเมินย่อย ซึ่งได้จากการสอบถาม และอภิปรายประเด็นต่างๆ ที่ครูกำหนด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท