DM corner ข้อมูล ในคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ว่าด้วยผลการควบคุมระดับ ความดันโลหิต


ก็เหมือน การควบคุมระดับ FBS ครับ ผมก็ได้ แนวทางมาจากการประเมิน ของ  สปสช. ( click เพื่อ down load ที่นี่ )   ข้อมูลดิบก่อนปรุง คือ HN, วันที่รับบริการ, ระดับ systolic BP และ diastolic BP ครับ

 :: การประมวลผล  ถ้าผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง ไม่มีเป็นโรคเบาหวานร่วม  เราให้ systolic BP < 140 mmHg และ diastolic BP < 90 mmHg ซึ่งต้องอยู่ใน criteria ทั้งสองค่านะครับ เพราะเราใช้คำว่า และ ถึงจะถือว่า ปรกติ 

 

 แต่ถ้าเป็น เบาหวานร่วมด้วย  เราจะใช้ค่า systolic BP < 130 mmHg และ diastolic BP < 80 mmHg ซึ่งต้องอยู่ใน criteria ทั้งสองค่าเหมือนกันนะครับ ถึงจะถือว่า ปรกติ    ถ้า 135/84 mmhg ก็ไม่จัดเป็นค่าปรกติ  นะครับ 

เพราะฉะนั้น  เราจึงต้องแบ่งผู้ป่วย HT เป็น 2 กลุ่ม คือ HT only ละ  HT with DM  ถ้าความดันโลหิตปรกติ 100 %  ของจำนวน visit   แปลว่า ทุก visit  ความดันโลหิตอยู่ในระดับปรกติ   ถือว่าคนคนนี้เป็น controlled case     ถ้า  80 – 99.99….. % ถือว่า Labile case แต่ถ้า < 80 % ถือว่า uncontrolled case   ผลการประมวลเป็นอย่างนี้ครับ  

ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง ที่ไม่เป็นเบาหวาน  มี controlled case ประมาณ 30 – 33 % และ ประมาณ 56 %  ที่เป็น uncontrolled case  สรุปแล้ว ครึ่งต่อครึ่งครับ  ที่ควบคุมได้ในระดับพอใจ  ทำนอง คนไข้เข้ามา 2 คน มี 1 คนที่ ระดับ ความดันโลหิต น่าพอใจ  เข้ามา 3 คน มี 1 คน ที่ ระดับความดันโลหิตเหมือนคนปรกติทุกครั้ง 

ส่วน การควบคุม ระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง ที่เป็นเบาหวาน  มีเรื่องที่ต้องเข้าใจ เรื่อง ของ ข้อมูลสักเล็กน้อยครับ   BP ของผู้ป่วยเบาหวาน เนี่ย เปลี่ยนเป้าหมายบ่อยครับ  ปี 46 ที่คลินิกเรา ใช้ตัวเลข เท่ากับความดันโลหิตสูง คือ 140/90 mmHg เป็นเป้าหมายในการควบคุม  ปี 47-48 ใช้ 135/80 mmHg และปัจจุบัน ใช้ 130/80 mmHg  ดูแล้วการควบคุมปี 2549 ดูดีกว่าปี 2546  จาก 6.7 % เป็น 12.1 %   แต่ก็ยัง ไม่ดีเลยครับ  ผู้ป่วยมา 10 คน จะมีสัก 1 คน ที่ความดันโลหิต ปรกติ หรือ 2 คน ที่พอจะยอมรับได้  แต่ดู criteria แล้ว มันก็ ไม่ง่ายพอสมควรทีเดียว  

อย่างไรก็ดี ( อึม! ดูเป็นทางการดี ) จากประสพการณ์ส่วนตัว   การที่เรารู้เป้าหมาย   ก็ทำให้การทำงานมี แบบแผนที่ดี มีหลักคิด พร้อมที่จะปรับปรุงต่อ ได้เรื่อย ๆ  ดีกว่าคุมไปเรื่อยเปื่อย  จาก การที่เราสามารถหาหลักในการประมวลผลได้ ชัดเจน  เราสามารถนำมาประเมินเปรียบเทียบกับ ผลลัพธ์ที่เกิดที่ PCU ได้ ด้วย ซึ่งจะเล่าให้ฟังใน บทต่อไปครับ  

หมายเลขบันทึก: 93787เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2007 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท