เรื่องเล่าจากดงหลวง 86 สดุดีแรงงานไทย


ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น บทชีวิตเหล่านี้ หรอก

ย่างเข้าเดือนกันยายนแล้วฝนห่าใหญ่ยังไม่ลงมาเลยพ่อเฒ่าต้องตัดสินใจอะไรสักอย่างเพื่อปากท้องของครอบครัวเราแล้วแกก็เรียกลูกๆทั้งหมดมานั่งล้อมวงกัน

พ่อเฒ่า : ลูกเอ้ย..ปีนี้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล

นาเราสักแปลงยังไม่ได้ทำนี่มันจะหมดฤดูฝนแล้วลูก เราจะทำอย่างไรดี

พ่อเรียกลูกๆมาปรึกษากันพร้อมกัน 

 สยาม ลูกชายคนโตกล่าวว่า พ่อ ผมจะลงกรุงเทพฯแล้ว

ไปหางานทำจะหาเงินส่งมาให้พ่อซื้อข้าวกิน ไม่ไหวแล้วพ่อ.. 

อิ๋ว ลูกสาวคนรองถัดไปบอก พ่อ แม่..ว่า ฝนที่ตกมาเล็กน้อยนั้นมันพอดำนาแห้งได้นะ

อย่ารออีกเลยพรุ่งนี้เราระดมไปช่วยกันดำนาแห้งก่อน

เสร็จแล้วพี่ใหญ่จะลงไปกรุงเทพฯก็ตามใจ ฉันกับน้องจะดูแล พ่อ แม่ เอง  

หลังดำนาแห้งเสร็จแล้ว สยามก็ลงไปทำงานในศูนย์เปลี่ยนยางรถยนต์ 

เฒ่าแก่ให้เงินเดือนละ หกพันบาท หักค่าอะไรไม่รู้ เหลือ สี่พันบาท 

เวลาของหาย เครื่องมือเสีย เฒ่าแก่ก็มาหักออกจากค่าแรง

วันไหนมาสายไปหน่อยก็หักนาทีละบาท

แต่เวลาที่ทำงานเลยชั่วโมงทำงานจนถึง หนึ่งทุมสองทุ่มไม่เห็นเฒ่าแก่ให้พิเศษเลย

วันไหนไม่สบายขอหยุดงานก็ไม่ได้ค่าแรงวันนั้น 

สยามมองบ้านใหญ่โตของเฒ่าแก่เจ้าของกิจการ

ลูกสามคนเรียนเมืองนอกหมดทุกคน 

เงินที่ได้มาแทบไม่พอส่งให้พ่อให้แม่ แค่ค่ากินค่าอยู่ก็แทบไม่เหลือแล้ว

สองเดือนผ่านไป ค่ำวันนั้น สยามนั่งร้องให้อยู่มุมห้องเงียบๆ

ไม่มีเสียงสะอื้น  แต่แก้มที่หยาบกร้านนั้นนองด้วยน้ำตา.... 

เราจะกลับบ้านเรา..เราไม่อยู่.... แต่พ่อ แม่ น้องไม่มีข้าวกิน..

สยาม คิดกลับไปกลับมา ตลอดคืน จนผล็อยหลับไปในรุ่งเช้า 

ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น บทชีวิตเหล่านี้ หรอก

แม้แต่เพื่อนร่วมงานต่างก็ดิ้นรนกันทั้งนั้น

เสียงเพลงลูกทุ่งที่ดังออกจากปาก

ก็เพียงร้องกล่อมใจไปวันวันหนึ่ง 

กล่อมใจให้กับตัวเองว่าต้องสู้ต่อไปกับชีวิตที่เลือกไม่ได้ 

เสียงอิ๋วเรียก พ่อ แม่ และน้องเล็กขึ้นมาบนบ้านมากินข้าว

ก่อนจะออกไปหาของในป่ามาแลกข้าวช่วยพี่ใหญ่อีกแรงหนึ่ง

แม่  พ่อ..ข้าวหม้อนี้ เป็นเงินของพี่ใหญ่ที่ส่งมาให้เราซื้อข้าวนะ

หากพี่ใหญ่ไม่ลงไปทำงาน เราก็ไม่มีข้าวกิน

นาปีนี้ไม่ได้ข้าวพอให้ไก่มันกินด้วยซ้ำไป  

พ่อของสยามเคี้ยวข้าวอย่างฝืดๆ กว่าจะกลืนลงคอ

สายตาผู้เฒ่าลอยออกไปข้างนอกบ้าน  

อิ๋ว เอ้ย พ่อคิดถึงพี่ใหญ่ของเอง....

........??.......  

ผมขอสดุดีแรงงานไทย 

คำสำคัญ (Tags): #แรงงานไทย
หมายเลขบันทึก: 93730เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขออนุญาต ร่วมสดุดีด้วยคนค่ะ

ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี น่าเห็นใจแรงงานมากค่ะ

จากเรื่องที่คุณบางทรายเล่า ดิฉันอยากให้ "สยาม" กลับบ้านไปหาพ่อเฒ่าค่ะ อยู่อย่างพอเพียง น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าค่ะ

อาจจะ idealistic แต่ก็เป็นความหวังที่เราต้องช่วยกันผลักดันค่ะ

อาจารย์กมลวัลย์ครับ

ตอนนี้สยามกลับบ้านแล้วครับ มาช่วยทางบ้านทำเกษตรผสมผสานอยู่ครับ  ได้น้องสาวช่วย แทยแรงงานพ่อแม่ที่แก่เฒ่าวางมือแล้ว  แต่ก็ไม่วายทำโน่นทำนี่  โดยเฉพาะพ่อยังขึ้นป่าบางครั้ง เพื่อเอาสมุนไพรมาต้มกินแก่เมื่อย ขบต่างๆ ครับ

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ขอบอกกับพี่ว่า เรื่องนี้ทำให้เห็นอะไรมากๆ เลยครับ
  • นี่แค่ลงมาที่ กทม. หรือ ขึ้น กทม. นะครับ
  • จริงๆ แล้วที่ไปซาอุฯ เกาหลี เยอรมัน และที่ต่างๆ.... ก็คงเหมือนกันครับ ได้มาเยอะ แต่โดนหักหมดครับ.....
  • เพราะเป็นแรงงาน ต้องทำงานแลกเงิน เอาเงินไปแลกปัจจัยสี่อยู่ที่ในที่สุดครับ.....
  • เห็นด้วยกับพี่กมลวัลย์ครับ ว่าสยามกลับบ้านไปอยู่สยามบ้านนาเราดีกว่า
  • ไม่ต้องเป็นแรงงานบนปลายนิ้วใคร ชี้นิ้วให้ตัวเองทำ แล้วสยามก็จะเจอกับสยามแท้บนเส้นทางชีวิตที่สุขใจ ปลูกพืชเพื่อขออากาศหายใจดีกว่า ไปแย่งอากาศจากท่อไอเสียที่ลอยสู่ฟ้า
  • กลับสู่บ้านนา ผักปลายังคอย
  • หรือว่ากลับดอย หอคอยยังรอ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

การอยู่อย่างพอเพียงเป็นสิ่งดีที่สุดตอนนี้ค่ะ

  • สวัสดีน้องเม้งครับ
  • ใช่แล้วไปซาอุฯ หรืออื่นๆ หนักหนาสาหัสกว่านี้มากนัก
  • ครับ..ที่ดีที่สุดคือพัฒนาบ้านของเขาให้พอมีพอกิน เพื่อเป็นนายแก่ตัวเอง ไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร...
  • ซึ่งก็กลับไปหลายคน และอีกหลายคนไม่กลับ
  • ส่วนที่ไม่กลับนั้น สังคมไม่มีกระบวนการตามไปให้หลักคิด ทบทวนความคิด และใตร่ตรองหนทางที่เหมาะกว่า
  • ต้องให้องคืกรพัฒนาเอกชนเข้าถึงและทำงานแบบนี้จะถึงลูกถึงคนมากกว่า รัฐหางบประมาณให้เขาทำสักหน่อย
  • ขอบคุณครับน้องเม้งของพวกเรา

สวัสดีครับท่านsasinanda

ใช่ครับการอยู่อย่างพอเพียงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้ครับ  นี่คือภาระกิจที่สำคัญของเราครับ

เพียงแต่การหาเครื่องมือไปกล่อมเกลาจิตใจชาวชุมชนให้เข้าใจและเพิ่มเติม ต่อยอดจากสิ่งที่เขาเคยทำมาแล้วให้สร้างสรรค์เป็นจริงมากขึ้นเพื่อการพอเพียง

ยากเอาการ  เพียงการพูดคุยนั้น บางคนอาจจะบรรลุแล้วลุกขึ้นทำอย่างจริงจัง แต่คนอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่รับฟังแต่ยังไม่ทำ....ครับ ต้องหาทางกันต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

  1. อ่านแล้วสะท้อนถึงทุกแห่งที่ตีราคาของแรงงานราคาถูกอย่างเอาเปรียบทุกอย่าง
  2. สิ่งที่เอาเปรียบ แต่กลับมีค่ายิ่งใหญ่สำหรับผู้ใช้แรงงาน
  3. ยังมีแรงงานอีกหลายคนที่อยากกลับบ้าน แต่เมื่อกลับมาบ้านแล้ว ก็ต้องกลับไปหางานใหม่ เพราะที่บ้านไม่มีหนทางที่จะอยูได้จริงๆ
  4. แต่ในบางพื้นที่ของกาฬสินธุ์ สามารถที่จะอยู่ได้อย่างพอเพียง แต่ลูกหลานบางคนกลับมองว่า อยู่ไม่ได้ โดยที่ไม่เคยกลับมาสัมผัสรับรู้ความเป็นจริงที่บ้านเกิดเลย.. ได้แต่ฟังคนอื่นพูด

อ่านแล้วเห็นภาพเลยครับ...มันเป็นภาพที่ฉายซ้ำๆกันไปทุกหนแห่ง...อยู่อย่างพอเพียงต้องมีใจที่มั้นคงนะครับ...ต้องสอนกันตั่งแต่เกิดไม่ให้หลงไปตามวัตถุนิยม...แต่เดี๋ยวนี้กระแสสังคมมันแรงเหมือนพายุเลยนะครับพี่บางทราย...

โอชกร

อ่านแล้วก็สะท้อนสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดีค่ะพี่บางทราย เพราะนี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน เห็นด้วยกับพี่sasinanda ค่ะ  แต่บางครั้งแรงงานโดนเอาเปรียบ บางครั้งคนบางคนก็ทำงานไม่สมกับค่าจ้างมอง ได้สองมุมค่ะ
  • คนอีสานเราเป็นแรงงานหลักในสังคมไทยปัจจุบันนี้ อยู่ในทุกแห่งหน และแทบไม่เชื่อเลยว่าบางเรื่องแรงงานอีสานก็มีความสามารถที่จะทำได้ เช่น "แสดงงิ้ว" ????
  • เขาดิ้นรน หาทางออกกันสุดๆ
  • ผมเห็นด้วยที่หลักการควรที่จะกลับมาบ้าน ทำงานการเกษตรอย่างพอเพียง และผมก็เห็นด้วยกับคุณนายบอน!-กาฬสินธุ์ ว่าในหลายกรณีเขากลับมาแล้วเงื่อนไขครอบครัวไม่เอื้อให้ เช่น ไม่มีที่ดินจะทำกิน  ไม่มีแหล่งน้ำจะทำการเกษตร ไม่มีทุนในการก่อร่างสร้างตัวแรกๆ  และที่สำคัญสุดจิตใจที่ยังไม่มั่น
  • พื้นที่รับน้ำเขื่อนลำปาวที่ผมเคยทำงานที่นั่น เคยไปประชุมชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หลายคนก็เลิกอาชีพขับรถแท๊กซี่กลับมาทำนา ซึ่งสามารถทำได้ถึง 2-3 ครั้งต่อปี และสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้อีก แต่หลายที่ไม่มีน้ำสมบูรณ์อย่างนั้นครับ
  • ขอบคุณครับ 
  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ผมว่าเรื่องแหล่งน้ำ คงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกๆ ที่นะครับ
  • คงต้องหันมาคิดแล้วก็คิดๆๆๆๆๆๆ กันให้หนักๆๆๆ แล้วครับ ว่า แหล่งน้ำที่แท้จริง ของโลกนี้คืออะไร
  • หากค้นหาคำตอบเจอ ผมเชื่อว่า การไม่มีน้ำคงน่าจะลดลงครับ
  • หากตอบว่าอีสานเป็นที่ราบสูง แต่ที่สูงไม่ได้หมายความว่าจะมีน้ำไม่ได้ใช่ไหมครับ ไม่งั้นเราจะถามว่าทำไม ที่ภูเขาสูงทำไมมีน้ำตก น้ำมาจากไหน แล้วทำไมน้ำมันไหลตลอดเวลา น้ำมันไม่หมดหรือ หรือว่ามีเขื่อนอยู่บนยอดเขา....เอ...สงสัยๆ.......ใช่ไหมครับ
  • คราวนี้ ที่ราบสูงจะมีน้ำอย่างภูเขาได้ไหมครับ แบบชุ่มชื้นอย่างน้อยก็ครึ่งปีหล่ะครับ แม้ว่าจะสู้บริเวณน้ำตกไม่ได้ก็ตาม
  • ปัญหาความแห้งแล้งทางภาคอีสาน มันมีอะไรเป็นสาเหตุกันแน่ครับ
  • ในช่วงหน้าน้ำ ทำไมมีน้ำ แต่ช่วงหน้าแล้งทำไมมันไม่มีน้ำเลย.... เพราะอะไร
  • ผมเชื่อว่าหากหาคำตอบได้.....อรหันต์ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ก็คงเกิดได้ทั่วอีสานครับ
  • การได้ออกทีวีอย่าง ชายหนุ่มอย่างคุณแหลม ก็เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทย ที่ฝากตู้เย็นไว้ในบอกปลา และในสวนพืชผักข้างบ้าน กองฟืนเห็ด และอื่นๆ กระสอบข้าวสารไว้ที่ฉางข้าว เหลือแบ่งปันแจกจ่าย
  • การปลูกป่าอย่างดาบตำรวจวิชัย หรือ คุณลุงสงัด คงเป็นเรื่องธรรมดา ไปและจะมีคนบ้า(อย่างที่ ดต.วิชัย) มาทั่วอีสาน (ตลอดจนคนอื่นๆ ที่ทำดีอยู่แล้วแม้จะไม่ได้ออกสื่ออย่างพี่บางทรายก็เช่นกัน)
  • หากคนหาหยุดน้ำหยดแรกที่เป็นหยดน้ำของที่มาของสายน้ำเจอ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นครับ
  • อยากจะทราบว่า ตอนเช้าๆ ทางอีสานยังมีน้ำค้างบนใบกล้วย หรือยอดหญ้า หรือบนหลังคาสังกะสีไหมครับ หากยังมีผมว่าก็ไม่น่าจะไกลความจริงที่จะหา ต้นตอของหยดน้ำของสายน้ำได้ครับ
  • ที่เขียนมาเพราะอยากเห็นอีสานเขียวมากกว่าโครงการที่วางไว้นานแล้ว......โครงการอีสานเขียว....
  • หากทำให้อีสานเขียวได้ แรงงานคนอีสาน ไม่ต้องเข้ากรุงเหมือนคุณสยามในเรื่องนี้.... แล้วแนวทางของประเทศคงเดินไปในทางที่คงสมดุลมากขึ้น
  • ภาคอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ทางเหนือก็เคยเป็นที่น่าอิจฉาของที่อื่น เพราะมีหน้าหนาวให้เชยชมครับ
  • ทางใต้ก็เช่นกันครับ หากใต้ไร้ป่า ก็จะเจอปัญหาหนักขึ้นครับ เพราะจะได้เจอปัญหาเรื่องน้ำๆ บ่อยขึ้นครับ ข้อดีของทางใต้คือมีน้ำให้สัมผัสบ่อย...แต่หากขาดต้นน้ำ จากข้อดีอาจจะกลายเป็นข้อเสียครับ
  • ขอบคุณมากนะครับพี่
  • ต่อนะครับ (พิมพ์ไปรอบหนึ่งแล้วหายหมดเลย เพราะดันไปคัดลอกอย่างอื่นทับคลิปบอร์ด อิๆๆ เลยต้องมาทบทวนความคิดอีกรอบครับ)
  • จากที่ทราบกันแล้วครับ ว่าพื้นผิวโลกนี้ มีพื้นที่น้ำ มากกว่าพื้นที่ดิน ประกอบด้วยน้ำมากกว่าดิน
  • แต่ถามว่าทำไมหลายที่เกิดสภาวะร้อน แห้งแล้ง ขาดน้ำ
  • ว่าแล้วอาจจะทำให้บางท่านสงสัย ก็พื้นน้ำที่ว่ามันเป็นน้ำเค็มในทะเลนี่ จริงๆ แล้วน้ำในทะเล มหาสมุทร น้ำในบ่อ ห้วยหนองคลองบึง หรือน้ำฝน ก็คือน้ำเหมือนกัน เพียงแต่คนละสถานะกัน
  • ตอนที่พายุเข้า ก็ทราบว่าพายุมาจากทะเล พวกไต้ฝุ่น ดีเปรสชั่น (เมื่อคืนที่เข้าประจวบ ชุมพร) ก็หอบน้ำทะเลนั้นหล่ะครับ มาทิ้งในพื้นที่บนบก แล้วทำไมน้ำเหล่านั้นไม่เค็ม ตกกลายเป็นน้ำฝน นั่นก็คือน้ำจืดเหมือนกัน นั่นหล่ะครับ คือสิ่งเดียวกัน
  • หากมองปัญหาทั้งโลกแล้ว เราจะเจอว่าแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบต่างๆ กันไป บางที่ภาวะแล้งทั้งปี บางที่ครึ่งปี บางที่แล้งสลับน้ำ บางที่น้ำตลอดปี สมดุลบ้างไม่สมดุลบ้าง ปัญหาคือว่าเราจะเฉลี่ยความสมดุลเหล่านี้ได้อย่างไร
  • หากเราค้นเจอความสมดุลในตัวเรา และความสมดุลรอบตัวเราได้ ปัญหาต่างๆ ไปแก้ที่ตรงจุดของมัน เราจะไม่ต้องมาแก้ปัญหาปลายแถวเลยครับ เพราะปัญหามันจะเป็นลูกโซ่ผูกโยงกันอยู่ครับ
  • อย่างปัญหารถติด ก็ไม่มีให้แก้ไขเพราะที่มาของปัญหาถูกแก้ไปแล้ว คนมีงานทำ ไม่จำเป็นต้องเข้าเมือง ความเจริญที่เราเรียกว่าความเจริญก็กระจายออกไปให้ทั่วไทย เฉลี่ยๆ กันไป มากกว่าการรวมศูนย์ ทุกอย่างก็เข้าถึงได้ทุกที่ สถานศึกษาก็อยู่ทั่วประเทศ ความรู้ก็ทั่วถึงกัน มีงานให้ทำทั่วถึงกัน
  • ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องมามัวเสียเวลาปวดหัวกับปัญหาจำเจ จำใจ เอาเวลาไปคิดพัฒนา บริหารด้านอื่นๆ มากยิ่งขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากนะครับพี่ (ตกๆหล่นๆเหมือนกันในการพิมพ์รอบที่สองครับ)

สวัสดีครับโอชกร - ภาคสุวรรณ

ใช่จริงๆเป็นหนังเรื่องเก่าที่ฉายซ้ำซากจริงๆ  และยังไม่จบจะมีฉายอยู่เรื่อยๆ และจิตใจคนเรามันถูกหุ้มด้วยความทันสมัยหมดแล้ว  ความจริงความทันสมัยเป็นสิ่งไม่ควรปฏิเสธ  แต่อย่างที่หลายคนกล่าวถึงคือ ความรู้สึกพอเพียงมันไม่ดื่มด่ำเข้าไปข้างใน  มันเป็นการพูด กล่าว กันด้วยวาจา แต่จิตใจยังไม่ได้ไปด้วยอย่างที่น้องโอชกรกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะหลอมคนให้เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ก็ทำกันและหาทางกันต่อไปครับ

สวัสดีครับน้องRanee

เรื่องนี้เกิดเมื่อที่ผ่านมา ช่วงฤดูการทำนาปี พ.ศ. 2549 เราพบเหตุการณ์อย่างนี้ ก็อึ้งไปเลย ความจริงมีมากกว่านี้ จำนวนคนลงกรุงเทพฯก็มากกว่านี้ ด้วยเหตุผลที่ต่างกันไปครับ  ตอนนี้นายสยามกลับบ้านแล้วและร่วมทำการเกษตรผสมผสานกับโครงการอยู่

แน่นอนเรื่องแบบนี้ ที่หนักกว่านี้ มีอีกมากครับ

ขอบคุณมากครับน้องราณี

สวัสดีน้องเม้งครับ

  • พี่เห็นด้วยทุกอย่างเลยครับที่น้องเม้งกล่าวถึง ปริมาณน้ำมากเพียงพอ แต่การเก็บกักน้ำเป็นอย่างไร และจะเอามาใช้ประโยชน์อย่างไร เกษตรกรจะได้ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก
  • เมื่อเราดู Google ภาคอีสานเทียบกับประเทศลาวและเวียตจนามเขมรแล้วพื้นที่อีสานของเราแห้งเป็นสีน้ำตาลแดงเลย ขณะที่ลาว เวียตนามยังมีพื้นที่สีเขียวมากกว่าเรา 
  • เดี๋ยวมานะครับ ถูกขัดจังหวะแล้ว
  • ขอสดุดีด้วยคน
  • เคยผ่านชีวิตแบบที่พี่เล่าให้ฟัง
  • แต่ก็ทนจนได้มาถึงจุดนี้
  • รู้สึกเศร้าแทนพ่อแม่พี่น้องในชนบท

สวัสดีน้องเม้ง ต่อครับ

  • พี่เห็นด้วยว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคอีสานโดยรวมไม่ลดลง แต่มีความผันแปรไปบ้างเช่นบางจังหวัด trend ลดลง บางจังหวัด มากขึ้น
  • ทั้งนี้พี่เคยไปขอสถิติปริมาณฯฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา ย้อนหลัง 50 ปีมาทำกร๊าฟดูพบลักษณะดังกล่าว  ข้อมูลอีกตัวคือ จำนวนวันที่ฝนตกก็ผันแปรไป บางพื้นที่จำนวนวันน้อยลง แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกแต่ละครั้งมากขึ้น  ตรงกันข้าม บางพื้นที่ปริมาณวันฝนตกเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยลงมา
  • นี่คือสถิติที่ยืนยันว่าอาชีพการเกษตรคือการเสี่ยงต่อสภาวะทางธรรมชาติ นักอุกสาหกรรมเกษตรอย่าง CP ที่ทำการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงโยนความเสี่ยงไปที่ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านเป็นผู้ผลิตแล้วรับซื้อส่วนที่ได้ถูกต้องตามสเปค (ใครๆก็ทำแบบนี้กันทั้งนั้น) ไร่ของ CP ก็มีเอง แบบควบคุมคุณภาพ  และเพื่อประกันความเสี่ยงเขาจึงมีแปลงข้าวโพดที่เกินกว่าแผนการผลิตในปริมาณที่โรงงานจะรับได้ ทั้งนี้เพื่อเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ก่อน ลดความเสี่ยงที่ต้องผลิตในปริมาณตาม Order
  • หน่อยงานที่พี่ทำงานด้วยคือ ส.ป.ก. มีนโยบายขุดสระน้ำประจำไร่นาขนาด 1,260 ลบ.ม. .ให้เกษตรกร(ฟรี) แต่ชาวบ้านที่ดงหลวงยังไม่เอาของฟรีเลย เพราะที่ดินเขาน้อย เขาต้องการใช้ที่ดินทำนามากกว่า ตรงข้ามที่ขอนแก่น มหาสารคาม ชาวบ้านต้องการมาก
  • แต่ปัญหาคือ เก็บน้ำไม่อยู่  นี่คือปัญหาใหญ่ที่รัฐไม่กล้าลงทุนต่อให้เกษตรกร  ให้เกษตรกรแก้ปัญหาเอง 
  • ความจริงปัญหาเรื่องสระน้ำประจำไร่นาเก็บน้ำไม่อยู่นั้น ในทางเทคนิคมีทางแก้มากมายทั้งแบบ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น เอาควายเอาวัวลงไปเหยีนบก้นสระให้ดินแน่นก่อนฤดูฝนจะมา  และแบบใช้เทคโนโลยี เช่น เอา โดโลไมท์ไปโรยให้ลงไปอุด soil capillary pore หรือที่ง่ายและราคาถูกกว่ามากคือ เอาแกลบดำไปหว่านลงในบ่อที่มีน้ำ แล้วมันจะจมลงไป นานเข้าก็จะไปอุด capillary pore เช่นกัน แต่ใช้เวลาหน่อย  หรือเอาปุ๋ยยูเรียไปหว่าน ทิ้งไว้นานๆเกิดสาหร่ายเขียว มันก็ไปอุดรูเช่นเดียวกัน  แต่ชาวบ้านไม่เอาสักอย่าง ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ นานไปก็เก็บน้ำได้เอง ??
  • แนวทางการทำสระน้ำประจำไร่นาขนาดเล็กนี้ น่าสนใจ เพราะไปสอดคล้องกับแนวทางการทำการเกษตรแบบพอเพียง เพราะเป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก ให้เกษตรกรเลี้ยงปลา เอาน้ำไปรดต้นไม้ตามขอบสระ เป็นน้ำเสริมเมื่อยามลงกล้าข้าวแล้วฝนทิ้งช่วง และอื่นๆ เช่นเป็นแหล่งน้ำกินของสัตว์ใหญ่ คือ วัว ควาย  แต่ปัญหาตามวัตถุประสงค์นี้คือ สระน้ำประจำไร่นาจะต้องขุดในนา ซึ่งบางแห่งก็ไกลออกไปจากชุมชน  ดังนั้นการพัฒนาให้เป็นจุดทำการเกษตรพอเพียงจึงไม่เกิดขึ้นกับสระน้ำที่ไกลจากชุมชน มันเสี่ยงเกินไปที่จะไปปลูกเถียงนาแล้วเฝ้าอยู่นั่น ดังนั้นตามสัตถุประสงค์นี้จะได้เฉพาะผู้ที่มีที่นาอยู่ใกล้บ้าน หรือติดบ้านเท่านั้น ซึ่งก็ได้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่ส่วนใหญ่ของชุมชน
  • เห็นไหมครับ แนวความคิดของรัฐที่ลงไปเน้นชาวบ้านทำการเกษตรพอเพียงน่ะ ดี แต่รายละเอียดแล้วมันมีปัญหาเฉพาะพื้นที่มากมาย ไม่ง่ายอย่างคำสั่ง
  • เห็นด้วยกับน้องเม้งครับ
  • น้องขจิตครับ
  • "เคยผ่านชีวิตแบบที่พี่เล่าให้ฟัง
  • แต่ก็ทนจนได้มาถึงจุดนี้ "
  • น่าทึ่งจริงๆน้องขจิตคนนี้ เอ้าอดทนอีกอึดใจเดียวครับ  เราจะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งแล้วนะครับ
  • เอาใจช่วยนะครับ
  • สวัสดีครับพี่บางทราย
  • ยอดมากๆ เลยครับ สำหรับกระบวนการที่พี่นำเสนอมานะครับ จริงๆ อย่างที่ว่าครับ เรามีหมอดินกระจายอยู่ทั่วประเทศครับ
  • วันก่อนคุณแม่ผมไปร่วมดูงานที่หมู่บ้านปลอดสารพิษ เกษตรแบบยั่งยืนพอเพียง
  • เค้าใช้การเลี้ยงปลาแบบขุดบ่อดินแล้วใช้พลาสติกลงในสระก่อนเลยครับ จากนั้นก็ใส่พวกขี้วัว และส่วนผสมหลายๆ อย่าง ใส่น้ำลงไป จดได้สภาพที่ดี แล้วเอาปลาลง รอบบ่อปลา ไม่ใหญ่มากครับ ก็ปลูกผัก แล้วก็ใส่อาหารให้ปลา ก็ใช้แบบทั่วๆ ไปที่มีในชุมชนด้วยครับ เลี้ยงปลาดุก และปลาหลายๆ อย่างครับ
  • ก็ได้ผลครับ หากกลัวว่าน้ำจะสูญเสียครับ วิธีนี้น้ำจะสูญเสียจากการที่ระเหยกลายเป็นไอเท่านั้นครับ แต่ไม่ซึมลงดินแบบบ่อดินจริงๆ ครับ
  • สิ่งที่พี่พูดมาอธิบายได้ด้วยทางคณิตศาสตร์หมดเลยครับ และก็คือสิ่งเดียวกับความรู้แบบภูมิปัญญาชาวบ้านนะครับ มันคือสิ่งเดียวกันครับ
  • แถวๆ บ้านผมก็มีองค์กรรัฐมาขุดสระแจกเหมือนกันครับ คนอื่นไม่ค่อยเอากัน ที่บ้านขุดไปหนึ่งสระ บริการคนในชุมชนยามหน้าแล้ง ขาดน้ำครับ บ่อขนาดสองไร่กว่าๆ ครับ เก็บได้ตลอดปีครับ กลายเป็นได้สระเพิ่มขึ้นมาอีกครับ ที่น้ำมาขังข้างสระใหญ่ ก็เอาไว้ปลูกพืชใส่ผักกะเฉด เลี้ยงหายโข่ง ปลาไหล ปลาอื่นๆ ตามธรรมชาติครับ
  • ที่ด้านล่างไปก็จะมีนาผักบุ้ง เพราะน้ำจะไหลผ่านสระแล้วผ่านไปทางร่องน้ำ พัดพาอาหารจากดินสารอาหารไปตกตะกอนที่นาผักบุ้ง
  • ผักบุ้งก็ทำเป็นนาผักบุ้งแทนครับ แทนนาข้าว ทำมาได้เกือบสองปีครับ เข้าท่าดีครับ แต่ก็ใช้ที่บริเวณอื่นแปลงอื่นๆ ในที่นามาทำนาแทนครับ
  • ผักบุ้งนั้นก็พอจะหล่อเลี้ยงครอบครัวเอาไปแลกกับกะปิ กระเทียม หอม น้ำมันพืช ได้ครับ ส่วนใหญ่เน้นปลูกเอง อยากกินอะไรปลูกเองครับ ไม่ต้องเอามาแช่ในตู้เย็นไฟฟ้า แต่มีอยู่ในที่มีมันอยู่ กินตอนไหนก็ได้ครับ
  • อยากให้คนอีสานสู้ๆ นะครับ ผมเชื่อว่าทุกอย่างทำได้หมดครับ อยู่ที่เราจะทำหรือไม่
  • อยู่ตรงไหนก็ทำดีได้ และจะได้ดีเสมอครับ ขอให้ทำให้จริง พี่บางทรายเองก็กำลังพิสูจน์ตรงนี้อยู่ ซึ่งน่านับถือมากๆ นะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ
  • สวัสดีครับน้องเม้ง
  • บ่อปลาดุกที่เรียกว่าบ่อพลาสติก นั้นน่าสนใจ และเกษตรกรทั่วไปก็ทำขนาดเล็กๆพอได้กินในครัวเรือน ลงทุนไม่มาก
  • ตอนนี้ในโครงการที่พี่และเพื่อนรับผิดชอบคนละจังหวัด คือ ขอนแก่ มหาสารคาม สกลนคร และมุกดาหารนี้ กำลังทำการประเมินผลการใช้ประโยชน์จากสระน้ำประจำไร่นา (Farm Pond Utilization Evaluation) ผลเบื้องต้นออกมาไม่น่าประทับใจ เพราะการใช้ประโยชน์น้อยกว่าที่เราคาดหวัง
  • หากย้อนไปดูกระบวนการ ก่อนขุดสระมีวิศวกรออกไปลุนสนามเดินดูทีละแปลงเพื่อสำรวจตามหลักการว่าพื้นที่นาที่เกษตรกรต้องการขุดนั้นมีพื้นที่รับน้ำหรือไม่ หากมีผ่าน ดูคุณภาพของดิน ว่าดินเป็นทรายจัดหรือไม่ หรือมีดินเหนียวปนพอที่จะเก็บกักน้ำได้ ดูความห่างของพื้นที่ที่จะขุดกับบ้านที่พักอาศัย ดูความตั้งใจของเกษตรกรว่ามีสระแล้วมีน้ำแล้วจะทำอะไร
  • เมื่อผ่านงานทางวิศวกรรมก็ถึงการกระตุ้นความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์ ก็ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน คุยกัน 1 วันเต็มๆ จัดทำแผนงานรว่าจะทำอะไรบ้างหลังจากได้สระแล้ว แรงงานมีกี่คน ฯลฯ
  • แล้วก็ขุดสระ ซึ่งเกษตรกรเจ้าของที่ดินก็เป็นผู้ยืนคุมการขุด
  • เมื่อฝนตกมีน้ำ นักวิชาการเกษตรก็ออกไปเยี่ยมเยือน พูดคุย กระตุ้นให้ทำตามแผนที่วางไว้
  • หากต้องการกล้าพันธุ์ไม้ก็หาให้ตามเงื่อนไขที่ทำได้
  • เยี่ยมเยือนเป็นประจำ สิ้นปีเชิญมาคุยสรุปผลการทำ ปัญหา อุปสรรค
  • ขนาดนี้แล้วผลการประเมินยังต่ำเลย
  • ปัญหาอยู่ที่คน ไม่ใช่เทคโนโลยี่ครับ  โดยเฉพาะที่ดงหลวงนั้นเราสรุปว่า เพราะเกษตรกรยังเคยชินอยู่กับการขึ้นภูขึ้นป่า ง่ายกว่า สบายใจกว่า และทำเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่มีนิสัยการปลูกพืชมากนัก แต่ถนัดการไปเอาจากป่า
  • เช่น เข้าป่าได้ "นิ่ม" มา 1 ตัวหากขายก็จะได้เงิน 3-4 พันบาท (ราคาแพงมาก) เงินจำนวนนี้เขาไปซื้อกินสะบายไม่เห็นต้องมาปลูกมาฝังอะไรเลย ????  นี่คือประเด็นใหญ่ที่เราพบ ดังนั้นกระบวนการพัฒนาชุมชนต้องทบทวนใหม่แล้วในกรณีพื้นที่ที่มีระบบนิเวศน์เกษตรเป็นแบบชนเผ่าและภูเขา วิถีชีวิตเขาเป็นแบบนี้มาเป็นร้อยๆปี แล้วแค่ 3-4 ปีจะมาเปลี่ยนเขาทั้งชีวิต  เราไม่มีเครื่องมือที่ดีพอครับ
  • เราจึงพูดกันในวงการว่ากระบวนการฝึกอบรมเราให้เทคนิคมากเกินไป  ตรงข้ามเราทำกระบวนการปลุกจิตสำนึกน้อยไป
  • กว่าเราจะเห็น สรุปได้ ก็ผ่านมาเป็นปี ปี เลย  งานพัฒนาชุมชนมิใช่งานที่จะเนรมิตร  ต้องใช้เวลานานมากทีเดียว มันเหมือนเครื่อบิน take off จะต้องใช้พลังงานมาก ลงทุนมาก แต่เมื่อบินขึ้นไปแล้วแรงลมช่วยอากาศเบาบางลง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่า บินเร็วกว่า ทำนองนั้น  เราก็ปลอบใจกันว่า งานที่ทำนี้เป็นช่วง take off ครับ ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างยิ่งยวด ทำ----> สรุป------>ปรับปรุง พัฒนา ยกระดับ----->ทำใหม่ ด้วยกระบวนท่าใหม่----->สรุป----->ปรับปรุงข--->ไปเรื่อยๆไม่ม่ที่สิ้นสุด
  • เดี๋ยวพี่ตามไปตามที่น้องเม้งเชิญครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • อ่านแล้วคับพี่ ขอบคุณมากๆ เลย
  • ทำแบบนี้หล่ะครับ สุดยอดครับ
  • หยอดน้ำก่อนขุดดินแห้งด้วยมุมจอบครับ ไม่งั้นมุมจอบเบี้ยวแน่นอนครับ
  • ขอเป็นกำลังใจต่อไปครับ ผมก็เชื่ออย่างที่พี่ว่าทุกประการครับ เค้าต้องหันมาดูยุทธวิธีใหม่แล้ว เพราะเข้าป่าทุกวันนี้ มันต่างจากป่าเมื่อก่อนครับ หน่อไม้ กว่าจะมาเป็นหน่อ ใช้เวลา
  • มะพร้าวกว่าจะมาเป็นมะพร้าวสุก และสะสมน้ำไว้ในผล เหนื่อยแสนเข็ญครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอร่วมสดุดีด้วยคนครับ...

แรงงานไทยคือกลไกหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติครับ...

ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท