สบู่ดำ...ม.เกษตร


ได้หนังสือเรื่องการเพาะปลูกสบู่ดำมา ของ ม.เกษตรฯกำแพงแสน เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ จากการซื้อที่ร้านหนังสือ จึงติดต่อทางมหาลัยผ่านท่า อ.ไชยยงค์ หาราชเพื่อศึกษาเรื่องนี้ ทั้งการเพาะปลูก ใช้ประโยชน์และเครื่องสกัดน้ำมันที่เป็นผลดีที่จะส่งประโยชน์ให้ชุมชนสามารถพึ่งเชื้อเพลิงที่ผลิตใช้เองได้ทดแทนพลังงานน้ำมันจากต่างประเทศ แนวทางนี้เป็นประโยชน์มาก ซึ่ง อ.ไชยยงค์ หาราช อาจารย์สอนที่คณะศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ ท่านก็สนับสนุนให้ทำในรูปชุมชนและจะให้ที่ดูงานพร้อมกล้าพันธุ์ราคากันเองพร้อมทั้งให้ดูงานเครื่องจักรด้วย ศึกษาเพื่อนำไปเล่าสู่สมาชิกและเตรียมความพร้อมความสนใจจะนำมาลงแปลงสาธิต
โดยประโยชน์ที่จะเอื้อต่อคนในชุมชนมีครบด้าน ทั้งใช้ทำสบู่ฟอกตัวก็ได้ ใช้ผลิตตะเกียงน้ำมันก็ได้ หรือจะใช้กากทำปุ๋ยหมักก็ดีมากเพราะมีคุณค่าสารอาหารสูง เนื่องจากสบู่ดำสามารถสกัดน้ำมัน ไบโอดีเซล ทดแทนการใช้พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลและเบนซินจากต่างประเทศ และเหมาะกับการใช้งานในเครื่องยนต์ เช่น รถไถ่ รถเกี่ยวข้าว เครื่องสูบน้ำ รถยนต์ อื่นๆ และปริมาณการผลิตต่อวันถ้าลงไว้ประมาณ 1 ไร่ ลงได้ 800 ต้น จะผลิตน้ำมันได้ถึงวันละ 800 กิโลกรัม ก็คือต้นละ 1 กิโลกรัมเฉลี่ยต่อวัน 200 – 250 ซีซี ถ้ามีไม่กี่ไร่ก็ปลูกไว้ผลิตน้ำมันใช้เองสบาย แต่นี้สิ่งที่มุ่งหวังคือ ผลิตเพื่อปลูกในระดับชุมชนเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม จากการแนะนำของอาจารย์ไชยยงค์ นจท.จึงคิดว่านำมาเชื่อมโยงเข้ากับการเรียนรู้เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้สบู่ดำเป็นพืชทดลองด้วย ยังผลกลับสู่ชุมชนแบบครบวงจร ซึ่งก็เหมือนนำไปบอกเล่ากับสมาชิกทุกคนให้ความสนใจกันมากและเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยรู้ ตอนบอกยังงงว่ามีพืชที่ผลิตน้ำมันได้จริงหรือ แต่สมาชิกแต่ละคนบอกว่าคงปลูกในแปลงนาไม่ได้เพราะทำนาอยู่ จึงแนะนำว่าพอเรารวมทุนกลุ่มออมทรัพย์เราก็ตั้งศูนย์เพาะปลูกที่ หนองทางหลวงเลยเพราะเป็นที่ๆเหมาะมากทั้งเรื่องน้ำ ดิน ปุ๋ยที่กลุ่มผลิต ทุกคนเห็นด้วยและหากมีกล้าพันธุ์แล้วจะขยายไปถมที่ดินเพาะปลูกเพิ่มในไร่นา เพราะเครื่องผลิตน้ำมันเป็นแบบเครื่องก็เป็นเครื่องไฮโดรริก และแบบเครื่องสกูลเพรส  หลายแบบราคาไม่สูงเลยแค่ 20,000 – 70,000 บาท อีกทั้งคนไทยเป็นผู้ประดิษฐ์เองทั้งสิ้น ซึ่งถ้าพอถึงช่วงที่ผลิตเมล็ดออกมาแล้วเราก็สามารถนำผลผลิตมาผลิตใช้เองโดยการระดมทุน และดึงกองทุนหมู่บ้านเข้าร่วม ต่อไปกองทุนหมู่บ้านก็จะมีทุนหมุนเวียนมากกว่าที่คิด ที่สำคัญหากเราสร้างรูปธรรมกลุ่มปุ๋ยต่อไปนี้ หน่วยงานราชการก็จะลงมาสนับสนุนทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องทุนสนับสนุน โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่แผนอำเภอ เทศบาล จังหวัดต้องพัฒนาเรื่องแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์อยู่ด้วยแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่เหมายที่จะนำสบู่ดำมาลงควบคู่กับ กลุ่มปุ๋ยที่ผลิต
การสร้างเครือข่ายเพื่อดึงทุนกลับมาให้ชุมชน ทั้งเครือข่ายการเรียนรู้เครือข่ายความรู้ที่ต่างๆ เป็นโอกาสดีที่สมาชิกกลุ่มหัวเชื้อทุกคนจะได้เรียนรู้ก่อนใคร เป็นกลุ่มเกษตรกรก้าวหน้าต่อไป โอกาสกำลังมาถึงต้องรีบสร้างรูปธรรมให้เกิดเพื่อตอบการเป็นสถาบันการจัดการเรียนรู้ของชุมชน ในการไปศึกษาดูงานที่มหาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน และนำมาลงในแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ด้วย

โดย พิมพ์พร  ช้างทองคำ
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
(21พ.ย.48)

หมายเลขบันทึก: 9364เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2005 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปิดตัวเว็บไซด์สบู่ดำครบวงจรครับ ที่ http://www.dynamicseeds.com ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท