กำลังใจชุมชน


            ออกสำรวจความคิดเห็นต่อเรื่องการเกิดกลุ่มเกษตรกรออมทรัพย์ เพื่อใช้เวลาทำงานให้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย และวิเคราะห์ความคิดเห็นการเกิดกลุ่มออมทรัพย์ เพราะเวทีแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือ เวทีที่สร้างให้ทุกคนมีส่วนร่วมนั้นคือหน้าที่ของคุณอำนวย ก่อนที่จะมาเปิดเวทีประชุมใหญ่ หรือไม่ต้องเปิดเลยเพราะสำรวจแล้วไม่มีใครเห็นด้วย เราจึงต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายก่อนที่สำคัญ
            โดยในวันนี้น้าหมูนำหอยเชอรี่มาใส่ถังอีกเป็นรอบสุดท้ายแล้วเพราะเตรียมไถ่และว่านข้าวแล้ว เหมือนกับน้าเนียนนา 4 ไร่อยู่ใกล้เลยนำหอยเชอรี่มาหมักใส่ถังไว้ วันนี้จึงพอดีเป็นคิวของน้าหมูและน้าเนียน ที่จะต้องวิเคราะห์การเรียนรู้ของแต่ละคน
            ได้สำรวจความคิดเห็นของทั้งคู่พร้อมกัน โดย นจท.เล่าเรื่องความเป็นทาของการเกิดกลุ่มออมทรัพย์จาก สมาชิกกลุ่มหลายคนสะท้อนมาว่าน่าจะเกิดเพราะต้องร่วมทุนกันจัดซื้อวัตถุดิบ และเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อไป น้าหมูจึงกล่าวว่า “ น้าเห็นด้วยเพราะถ้าเราไม่ทุนหมุนเวียนที่เป็นรูปตัวเงินแล้วเราจะผลิตจำหน่ายจะเอาวัตถุดิบที่ไหนมาทำปุ๋ยอัดเม็ด เพราะพวกเราก็มีแค่วัตถุดิบท้องถิ่นที่เราทยอยกันมาหมักไว้ ส่วนผสมอื่นที่สำคัญไม่มี พวกแกลบ มูลวัว มูลไก่อื่นๆ จะเอาที่ไหนมาลงทุน จะเดือดร้อนแต่ นจท.เองก็ไม่ได้เพราะมันเป็นเรื่องของทุกๆคน ต้องร่วมกันรับผิดชอบเพราะมันเป็นอาชีพของพวกเรา ทำเลยนัดประชุมเมื่อไรก็บอกเพื่อตกลงกัน” เช่นเดียวกับน้าเนียนกล่าวว่า “ หากเราจะแก้ปัญหาด้านต่างๆให้ได้จริงโดยเฉพาะเรื่องของการเลิกใช้สารเคมี กอล์ฟต้องระดมทุนกลุ่มเพื่อสร้างรูปธรรมด้านเกษตรอินทรีย์ พอเขาทำใช้กันเองเขาก็จะเลิกซื้อสารเคมีไปเอง แต่ถ้ายังไม่เริ่มอยู่อย่างนี้ก็จะทำให้ เขายังใช้สารเคมีอยู่บ้าง ถ้าหลายคนก็หลายความคิด รู้แหล่งตรงโน้นตรงนี้ช่วยกันจัดการนำทุนมาผลิตร่วมกัน กลุ่มก็โตเดียวราชการก็เข้ามาสนับสนุนทุนเพิ่มเอง”
            เช่นเดียวกับลุงชัย พี่ปลา ลุงกริ่มที่แวะไปหามาก็จะพูดแบบเดียวกันและพร้อมแล้วที่จะสร้างประโยชน์เพื่อตนเองและกลุ่ม “พึ่งตนเองก่อนๆที่จะไปพึ่งคนอื่น”
จะเห็นว่ากำลังใจไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นคนในชุมชนนี้เองที่จะกับมาสร้างสัมพันธ์ภาพที่แน่นแคว้นยิ่งขึ้น คืนวิถีการดำรงอยู่อย่างไทยต่อไปเพื่อลูกหลานเพื่ออนาคตของเกษตรกรผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาตินี้เอง


โดย พิมพ์พร  ช้างทองคำ
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

หมายเลขบันทึก: 9358เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2005 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท