เป็นวันที่เตรียมความพร้อมในการระดมกำลังหาวัตถุดิบตามแปลงนา แปลงสวน
แปลงผัก
โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจในการหาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาไว้ใส่ถังหมักเพื่อเตรียมความพร้อมในการเกิด
โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆออกจำหน่ายและใช้ในแปลงเกษตรและแปลงสาธิตของกลุ่มเอง
โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนนี้เพราะ
ขั้นแรกต้องเตรียมหมักปุ๋ยน้ำหมักมักชีวภาพก่อนที่จะเริ่มผลิตปุ๋ยอัดเม็ด
โดยชาวกลุ่มสมาชิกโรงเรียนเกษตรกร
วันนี้เริ่มทยอยกันนำมาใส่ถังโดย นักจัดการความรู้ท้องถิ่น (นจท.)
และกำนัน
น้าหมู
แผนนี้คิดขึ้นมาจากการมองเห็นทุนร่วมกันจากศัตรูพืชในนาข้าว
ที่เคยสร้างแต่ปัญหาและไม่มีทางออกให้เกษตรกรนอกจากการใช้ยาปราบศัตรูพืช
และแปลงเกษตรพวกหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่
รวมไปถึงพืชสมุนไพรต่างๆตามบ้าน
โดยการได้ใช้วิชาความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้มาระยะแรกในการเรียนห้องเรียนเกษตรกร
โดยเริ่มต้นการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นและไม่ยึดติดกับการเรียนรู้แบบห้องเรียนและกิจกรรม
แต่มุ่งเน้นที่การเรียนรู้ที่จะลงมือปฏิบัติทดลองจริง จากการผ่านมือ
สมอง ความคิด ความรู้ที่ถูกสั่งสมเป็นประสบการณ์
เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและความคิดใหม่ที่เกิดจากผลที่เกิดขึ้นจริง
การจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะปัญญาปฏิบัติที่เกิดจากการกระตุ้นความรู้ภูมิปัญญาด้านการเกษตร
โดยการเริ่มต้นจากการวิพากษ์วิจารณ์จากสมาชิกแต่ละคนว่าไม่รู้จะทำอย่างไรกับปัญหาหอยเชอรี่กัดกินต้นข้าว
ที่มีเยอะมากๆในแปลงนา
แต่ตอนนี้พอได้เรียนรู้ไปแล้วกลับมีทิศทางในการนำศัตรูพืชไปปุ๋ย
และเชื้อจุลินทรีย์ทำให้เกิดประโยชน์ย้อนกลับมาสู่แปลงนา
คือสามารถนำมาทำปุ๋ยบำรุงต้นข้าวเร่งการเจริญเติบโต
แถมด้วยฮอร์โมนไข่หอยเชอรี่ยังมีสรรพคุณช่วยตัดวงจรการเจริญเติบโตของไข่หอยอีกด้วย
คือเข้าไปทำลายไข่ระยะฟักตัวนั้นเอง คล้ายๆกับการปั้นดินให้เป็นดาว
โดยใช้ภูมิปัญญาที่ นจท.ได้นำมาผสมผสานกับความรู้เก่า
โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่คุ้มค่ามากที่สุด
เมื่อเห็นประโยชน์ที่ไม่ต้องลงทุน
สมาชิกแต่ละคนก็ต่างคนต่างนำวัตถุดิบ ทั้งตัวหอยเชอรี่
และไข่หอยที่พบมากตามแปลงนา
มาใส่ไว้ในถังหมักในแต่ละวันที่เก็บได้ตลอดทั้งเดือนนี้เป็นต้นไป
ใครเก็บได้ก็มาหมักไว้
เพราะนจท.ได้เตรียมกากน้ำตาลและน้ำใส่ในถังหมักไว้แล้ว
เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใส่ได้เลย
โดยสถานที่ศูนย์รวมการผลิตอยู่ที่หนองทางหลวงห้องเรียนเกษตรกรที่จะสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนตำบลไชยภูมิ
และนี้เองที่จะเป็นที่มาของการเกิดกลุ่มออมทรัพย์เกษตรกร
ที่เริ่มต้นจากการสร้างการมีส่วนร่วมก่อนที่จะสร้างอาคารสถานที่
คือต้องสร้างแปร้นบ้านร่วมกันก่อน ที่เกิดจากการวางแผนร่วม
วิเคราะห์ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ในความเป็นไปได้ที่จะเกิดกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายเริ่มต้นจากคนในกลุ่มก่อน
และขยายสู่เกษตรกรในตำบลและขยายตลาดออกไปเรื่อยๆ
เพื่อที่อนาคตจะไปเชื่อมโยงช่องทางการตลาดจากแหล่งสนับสนุนต่างๆได้
จึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มก่อน
และจากการที่วิเคราะห์จากลุ่มใกล้ตัวก่อนแล้วก็สามารถสร้างการมีส่วนร่วมจากการผลิตร่วมและร่วมรับผิดชอบโดยการนำไปใช้
เพื่อคุณภาพชีวิตของแต่ละคนและที่สำคัญคือจะเกิดการขยายผลจากการที่กลุ่มนำไปปฏิบัติใช้ได้ผลและเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรรายอื่นๆต่อไป
เพื่อผลประโยชน์ของการทำการเกษตรที่ยั่งยืนของเกษตรกรๆไทย
ตรงนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มที่ดีในการนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานต่อไป
โดยพิมพ์พร
ช้างทองคำ
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย
จังหวัดอ่างทอง