* ความต่อเนื่องในการร่วมกันหาหอยเชอรี่มาหมักในถังหมัก โดยวันนี้มี
พี่เนกและอาฉลอง
ได้ทำหน้าที่หมุนเวียนนำหอยเชอรี่มาหมักที่ถังหมักที่ นจท.เตรียมไว้
เอาแรงก่อนที่จะไปซื้อวัตถุดิบอื่นที่เราไม่มี
โดยทั้งคู่เพิ่งเกี่ยวข้าวเสร็จไป 2-3 วัน
ก็เตรียมแปลงนาทำนาอยู่โดยได้ไล่น้ำเข้าออกโดยใช้สูตรย่อยสลายหมักฟาง
ไล่น้ำเข้าออกจึงมีหอยเชอรี่มารวมกันเยอะจึงเก็บหอยมาใส่ได้ไปตก 10
กิโลกรัม ที่กลุ่มศูนย์รวมหนองทางหลวงในถังหมักหมักรวม
ที่เหลือนำไปหมักใช้กันเองในแปลงนา
เพราะช่วงนี้เป็นปลายฝนค่อนข้างที่จะมีหอยเชอรี่วางไข่เยอะก่อนจะถึงหน้าหนาวซึ่งจะงดออกไข่
ไปจนถึงหน้าฝนถึงมีบ้างก็เล็กน้อย
ผลของการสะท้อนความคิดเห็นจึงได้ความว่า
ทุกคนไม่คิดถึงเรื่องเห็นแก่ตัวแต่กลับคิดว่าดีเสียด้วยซ้ำจะได้ลดปริมาณหอยในนาลงและได้นำไปใช้ร่วมกัน
ที่สำคัญเริ่มต้นผลิตปุ๋ยจากการมีส่วนร่วมแบบนี้ทำให้คิดว่าเราสร้างกำลังใจให้กัน
เดินสู่จุดที่ทำซื้อและขายเพื่อชุมชน
* จากนั้นช่วงสายๆ
นจท.ก็เดินทางต่อเข้าโรงเรียนวัดไชยภูมิเพื่อนำพันธุ์ผักไปให้เด็กๆปลูก
และนำปุ๋ยชีวภาพไปให้ครูดำรงไว้ใช้สอนเด็กๆ โดยเริ่มแรกตัว
นจท.เองจะต้องเข้ามาสอนเด็กๆเอง ในขณะที่รอให้พืชผักเช่น คะน้า
กวางตุง ผักบุ้งโตในระยะ 2-3 อาทิตย์ก่อนๆที่จะเริ่มใส่ปุ๋ย
จึงจะจัดกิจกรรมมาสอนเด็กทำแปลงเกษตรเลย ช่วงอาทิตย์หลังๆ
ในการนำพันธุ์ผักและปุ๋ยมาให้เด็กๆเพาะปลูกในครั้งนี้
เพื่อช่วยส่งเสริมด้านอาหารกลางวันเด็กและรายได้เสริมแก่เด็กๆ
เมื่อถึงปีใหม่ก็มีเงินเก็บกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่
ที่สำคัญเด็กๆยังได้ความรู้ในการลดต้นทุนการผลิตไปฝากพ่อแม่จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบนี้
ถือเป็นการจัดการความรู้ในระดับเยาวชนของชาติ
วันนี้วัตถุประสงค์เพื่อมาขอคุยกับครูดำรงเรื่องการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเด็กๆอยากให้เป็นวันเสาร์-อาทิตย์
เพราะจะได้ไม่รบกวนการเรียนการสอนของครูและเพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้อย่างเต็มที่
และครูบอกว่าก็ดีเหมือนกันเพราะว่า วันเสาร์
อาทิตย์เด็กๆว่างไม่ได้ทำอะไรเลย
จึงเสนอว่าจะเรียนในบริเวณโรงเรียนและวัดก่อนที่จะเคลื่อนพลออกนอกโรงเรียนไปตามชุมชน
ขั้นตอนต่อไปจะได้ขออนุญาตและกำหนดความสามารถในความดูแลเด็กๆได้
เป้าหมายที่สำคัญที่จะพัฒนาเด็กๆ
ไม่ใช่เพราะอยากให้เด็กเรียนรู้อย่างเดียว
แต่อยากให้เด็กๆกลุ่มนี้ซึ่ง นจท.ได้บันทึกจุดอ่อน จุดแข็งแล้ว
จะเป็นกำลังที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนที่ต้องการมาศึกษาหาความรู้ในแหล่งเรียนรู้ที่เด็กๆและเกษตรกรจะสร้างร่วมกัน
การฝึกจึงต้องเน้นที่การสร้างภาวะผู้นำด้านเกษตร
และดึงศักยภาพของแต่ละคนวิเคราะห์เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างบทบาทหน้าที่ของเด็กๆให้สอดคล้องกับกลุ่มได้จริง
โดย พิมพ์พร ช้างทองคำ
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย
จังหวัดอ่างทอง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย K. Songpol Jetanavanich ใน โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาบันการจัดการความรู้ชุมชนท้องถิ่น
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก