ต้มไข่ ก็ต้องใช้สารสนเทศ


งานบางเรื่อง ในสายตาคนทั่วๆไป มองดูเหมือนกับง่าย ขณะที่งานบางอย่างมองดูเหมือนยาก จะรู้ว่าง่ายหรือยาก จะต้องเข้าไปสัมผัสกับงานนั้นอย่างแท้จริง การวิพากษ์วิจารณ์มันง่าย แต่การปฏิบัติตามที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ยากกว่ามากนัก

    สมัยที่เรียนหนังสือจำได้ว่าเวลาไปกินข้าวราดแกงที่โรงอาหาร ของคณะนิเทศน์ ชอบสั่งไข่ต้มมากิน เพราะอร่อย ต้มให้ไข่แดงไม่สุกเท่าไร มีน้ำปลา ซอยหอมแดงราดมานิด อร่อยมาก เวลาผ่านมาเกือบ 30 ปี ได้มาเกี่ยวข้องกับการต้มไข่ประจำ และต้มครั้งละมากๆ ตอนต้นก็คิดว่า ไม่เห็นจะยากอะไรเลย เอาน้ำตั้งไฟ เอาไข่ใส่ลงไป พอนำเดือดสักครู่ ก็ยกลง เทไขลงนำเย็น แกะเปลือกออก  พอทำเข้าจริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเกิดปัญหาทันที

  • จะรู้ได้อย่างไร ว่า ต้มไข่นานเท่าไร จึงจะสุกพอดี หรือขนาดไหน ไข่แดงจึงจะเป็นยางมะตูม ต้มครั้งแรกใช้ไม่ได้ ต้องเริ่มสังเกตว่าใช้เวาเท่าไร จึงจะพอดี เช่น ถ้าต้มเพื่อนำไปทำไข่พะโล้ ต้องให้ไข่แดงสุก ต้องใช้เวลาเท่าไร กระบวนการทดลองเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว การเก็บข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดและประเมินผลเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ วัดความสุกของไข่แดงโดยการสังเกตว่าขนาดไหนสุกพอดี นี้แค่ผลที่ต้องการเรี่อเดียว ก็ต้องมีกระบวนการของข้อมูล และสารสนเทศ เข้ามาเกี่ยวข้อง กว่าจะทำได้พอดี ก็ทดลอง 2-3 ครั้ง 
  •  เวลาต้มเปลือกไข่แตก ทำให้ไข่ขาวไหลออกมา ก็ต้องทดลองว่า ใช้ไฟแรงแค่ไหน เปลือกไข่จึงจะไม่แตก ต้องคอยสังเกตอีกแล้ว ว่าต้องเปิดไฟแรงแค่ไหน
  •  ไข่แดงไปกองอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อปอกออกมา ไข่แดงโผล่ออกมาจากไข่ขาว ต้องหาสาเหตุว่าเพราะอะไร ตั้งสมุติฐานว่า ไขวางอยู่เฉยๆ ไข่แดงที่หนักกว่าไข่ขาวจึงไปอยู่ด้านล่าง แก้ปัญหา โดยการพลิกไข่ โดยคนเบาๆ ระหว่างที่ต้ม หรือการวางเรียงไข่ในขณะที่ต้มเรียงอย่างไร เอาทางด้านใดไว้ข้างบน ข้างล่าง
  • แกะเปลือกไม่ออก เพาะไข่ขาวติดกับเปลือก เกี่ยวข้องกับไข่ใหม่ ไข่เก่า จะรู้ได้อย่างไร ว่า ไข่ฟองไหนใหม่ หรือเก่า ถ้าเอาลอยน้ำ แล้วไข่ที่ลอยน้ำ กับไข่ที่จมน้ำ ต่างกันอย่างไร

  ที่ยกตัวอย่างนี้ขึ้นมาและลองเข้ามาเปรียบเทียบกับงานสารสนเทศ หรือความสำคัญของสารสนเทศ มีเรื่องน่าคิดหลายประการเช่น

  1. ชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับข้อมูล เกี่ยวข้องกับสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา แต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่า สิ่งนี้แหละ เขาเรียกว่าข้อมูล สิ่งนี้เรียกว่า สารสนเทศ เพราะเป็นคำศัพท์ของพวกนักวิชาการเขาเรียกกัน หรือบางคนอาจจะเรียนรู้มา และบริโภคข้อมูลทุกวัน จนเคยชิน และจนลืมความสำคัญของมันไปแล้ว เหมือนกับที่เราหายใจอยู่ทุกวินาที จนลืมความสำคัญของอากาศ ลืมความสำคัญของการหายใจ จะนึกถึงมันอีกทีก็เมื่อไม่มีอากาศหายใจ หรือเมื่อระบบหายใจล้มเหลว 
  2. เรื่องบางเรื่องเขามีคนเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปข้อค้นพบต่างๆ ไว้แล้ว ถูกต้องแล้ว เอาไปใช้ได้เลย ไม่ต้องไปหาใหม่อีกแล้ว เช่น เคล็ดลับการต้มไข่ให้อร่อย ไม่ต้องไปทดลองอีก อ่านเคล็ดลับแล้วทำตามได้เลยไม่เสียเวลา ดังนั้นทำอย่างไร ที่จะทำให้ คนเราไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องนี้ โดยมีเรื่องที่สรุปให้ไปปฏิบัติได้เลย แบบการต้มไข่ ให้แต่ละคนได้รู้ และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่ได้ค้นพบไว้แล้ว เพราะทุกวันนี้ บางทีอยากจะทำอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้ว่า จะทำอย่างไร หาข้อมูลไม่ได้ ก็เลยไม่ทำ หรือจะทำก็ทดลองทำเสียเวลากว่าจะได้ข้อสรุป
         เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีการที่จะช่วยทำให้ข้อมูล หรือสารสนเทศ สามารถเผยแพร่ และเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง และเมื่อการสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น จึงนำเอาเทคโนโลยีของสารสนเทศ และเทคโนโลยีของการสื่อสาร เข้ามาช่วย เพื่อให้คนเราสามารถเข้าถึงข้อมูล หรือบริโภคข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงเกิด ICT หรือ Information and Communication Technology ขึ้นมา
คำสำคัญ (Tags): #สารสเนทศ
หมายเลขบันทึก: 93165เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท