เท้าแบบนี้ควรเลือกซื้อรองเท้าแบบไหน


ดูก่อนแนะนำผู้ป่วยไปซื้อครับ

      guildline ในการเลือกรองเท้าที่เหมาะสมแบบมีรูปภาพด้วยครับ

ผมจะแบ่งเท้าเบาหวานเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับความเสี่ยง โดยใช้

        *การตรวจเท้าด้วย Monofilament 10 กรัม

        * ดูความผิดรูปของเท้า,

        *แผล หรือเคยเป็นแผล

       *ประวัติการตัดนิ้วหรือบางส่วนของเท้า

                    แถมให้ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมในการนัดตรวจเท้าซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจเท้าทุกครั้งที่มาตามนัด เรารู้...แต่ละวันคุณต้องตรวจ OPD เป็นร้อยสองร้อยคน บางทีให้ตรวจเท้าทุกครั้ง มันก็ไม่ไหวใช่ไหมครับ (มันจะเหนื่อยตอนคัดกรองครั้งแรกเท่านั้นเองครับ ครั้งต่อไปก็สบายแล้ว)   สู้ๆๆครับ เพื่อคนไข้ของเรา

ระดับที่1 เท้าปกติ (Normal)

           จิ้ม monofilament แล้วรู้สึก ไม่มีนิ้วงอ นิ้วจิก กางหุบนิ้วได้ เดินรองเท้าไม่หลุด

          Sensation intact, no deformity and good intrincsic muscle power

                       spread  

          . 

รองเท้าที่เหมาะสม 

          ทุกแบบ ทุกสไตล์ ตามแฟชั่น แต่มีข้อแม้ ต้องคุมน้ำตาลในเลือดดีๆ หากกลายเป็นระดับ 2 จะอดสวย อดหล่อ แน่ๆ ต้องใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพ เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าสุขภาพมันสวนทางกับแฟชั่น

ระยะเวลาการตรวจเท้าซ้ำ          ทุก 1 ปี ครับ

 

ระดับที่2 กลุ่มเสี่ยง (Risky group)

                 จิ้ม monofilament แล้วไม่รู้สึก กางหุบนิ้วไม่ได้ เดินรองเท้าหลุดแต่ยังไม่มีนิ้วงอ นิ้วจิก 

                 loss of protective sensation and poor intrincsic muscle power. but no deformities        

..              

  

รองเท้าที่เหมาะสม

               หากเป็นรองเท้าแตะต้องพื้นนุ่ม  ขนาดพอดีเท้า มีสายรัดส้น

                             

              ส่วนรองเท้าทำงานต้องปิดหุ้ม หนังไม่แข็งเกินไป ที่สำคัญ ต้องปรับได้ เช่นเชือกผูกหรือตีนตุ๊กแก ดังรูปข้างล่าง

(เพราะ potective sensation เสียเราเลยต้องปิดๆหุ้มไว้ เพราะผู้ป่วยเหยียบแก้ว เตะโต๊ะก็ไม่รู้สึกครับ กันๆไว้)

                           ht

              รองเท้ากีฬาสามารถใช้ทั่วไป ได้ ยังไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร

ระยะเวลาการนัดตรวจเท้าซ้ำ   ประมาณ 6 เดือนตรวจทียังไหวครับ

 

ระดับที่3 กลุ่มเสี่ยงสูง

              จิ้ม monofilament แล้วไม่รู้สึก กางหุบนิ้วไม่ได้ เดินรองเท้าหลุด มีนิ้วงอ นิ้วจิก  หรือความผิดรูปของเท้าหรือนิ้วเท้า

            loss of protective sensation and poor intrincsic muscle power and  deformities can be seen.

      ed       jl

                               ภาพประกอบจากinternet

          พวกนิ้วจิก งอ( claw toe) นิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าหานิ้วชี้(Bunion) หรือความผิดปกติอื่นๆ มักส่งผลให้เกิด แรงกดสูงขึ้นในบางจุด ระดับนี้อาจต้องทำอุปกรณ์พิเศษบางอย่าง เพื่อลดจุดกดบริเวณดังกล่าวครับ

รองเท้าที่เหมาะสม

           รองเท้าแตะต้องพื้นนุ่ม  ขนาดพอดีเท้า อาจหล่อขึ้นจากเท้าผู้ป่วยเองเลย มีสายรัดส้น ใส่ในบ้านและนอกบ้าน

              รองเท้าทำงานต้องปิดหุ้ม หนังไม่แข็งเกินไป ที่สำคัญ ต้องวัดและตัดตามเท้าเรา ไปเดินห้างแล้วสวยๆซื้อมาไม่ได้เด็ดขาดเพราะแบบนั้นเค้าทำมาสำหรับเท้า มาตรฐาน ควรปรับได้ เช่นเชือกผูกหรือตีนตุ๊กแก มีแผ่นรองพิเศษที่หล่อขึ้นตามรูปเท้าผู้ป่วย

         67        ewr

             ส่วนรองเท้ากีฬาต้องใช้ที่มีแผ่นรองพิเศษที่หล่อขึ้นตามรูปเท้าผู้ป่วย

ระยะเวลาการนัดเพื่อตรวจเท้า  3 เดือน

 

ระดับที่ 4 กลุ่มความเสี่ยงสูงมาก (Very high risk)

         เท้าชา เคยมีแผลที่แผลหายแล้ว มีแผลเป็น เคยมีประวัติการตัดนิ้วหรือบางส่วนของเท้า เท้าที่เปลี่ยนรูปร่างไป

  numbness and have history of ulcer or amputation, charcot or fracture bone of foot.

               ;l            kj

     ภาพประกอบจาก internet

รองเท้าที่เหมาะสม

        รองเท้าแตะต้องหล่อขึ้นจากเท้าผู้ป่วยเองเลย พื้นนุ่ม  ขนาดพอดีเท้า อาจ มีสายรัดส้น ใส่ในบ้านและนอกบ้าน

        ในกรณีเป็นแผลอย่างเดียวรองเท้าอาจคล้ายๆระดับที่ 2 แต่หากมีการหักของกระดูกเท้าหรือข้อเท้า (Charcot foot) รองเท้าทำงานต้องปิด สูงหุ้มข้อ โดยตัดตามเท้าผู้ป่วยโดยเฉพาะ หนังไม่แข็งเกินไป ที่สำคัญ ต้องปรับได้ เช่นเชือกผูกหรือตีนตุ๊กแก มีแผ่นรองพิเศษที่หล่อขึ้นตามรูปเท้าผู้ป่วย

               t

              รองเท้ากีฬา หุ้มข้อเพื่อช่วยประคองข้อเท้ามีแผ่นรองพิเศษที่หล่อขึ้นตามรูปเท้าผู้ป่วย

                  te

ระยะเวลาการนัดเพื่อตรวจเท้าซ้ำ  ทุก 1 เดือน

               บางทีสิ่งที่ดีที่สุดอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ครับ อย่างเช่น ลักษณะการทำงานที่เน้นในเรื่องบุคลิกภาพ แต่ให้ใส่รองเท้ากีฬาหุ้มข้อ อะไรทำนองนี้ เราอาจต้องให้ผู้ป่วยมีสิทธิออกความคิดเห็นและเลือกรองเท้าร่วมกัน ไม่งั้นรองเท้าเราจะใหม่ตลอดเวลาเพราะกลับไปคนไข้ไม่ใส่เลย ใส่มาเอาใจเราเฉพาะในวันนัดเท่านั้น

เท้ามีแผล

   ผู้ทำการรักษาควรรักษาตามความเหมาะสม แผลหายก่อนค่อยจัดหารองเท้าให้ (จัดเป็นเท้ามีความเสี่ยงสูงมาก)

  จะนัดกี่วันแล้วแต่ผู้ทำการรักษาครับ

          รูป บางรูป นำมาจากอินเตอร์เนต โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนกำลังพยายามเปลี่ยนรูปให้เป็นภาพถ่ายของผู้เขียนเอง โปรดรออีกซักระยะ

อาจไปดูสรุปคร่าวๆได้ที่  http://gotoknow.org/blog/footclinic/8999  ครับผม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 93117เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบแนน คุณครับ

สวยมาก เห็นภาพครับ

ขออนุญาติเก็บนะครับ

 ส่งข่าวว่า จะรวบรวมให้เจ้าหงา เพื่อนแนนด้วย  ไม่รู้ลาคลอด 3 เดือน แล้วหลงลืม อะไรไปมั่งครับ  555

เบาหวานดอยสะเก็ด
ขออนุญาตเผยแพร่ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดอยสะเก็ด  ได้เรียนรู้ด้วยนะครับ
ยินดีครับ อีกซักระยะจะเปลี่ยนเป็นรูปถ่ายผมเอง เพื่อจะได้ไม่ติดลิขสิทธิ์เวลาเผยแพร่ให้ผู้อิ่น
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ครับ

ข้อมูลมีประโยชน์มากเลยค่ะ ขออนุญาตนำข้อมูลเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้นะคะ

ขอบคุณมากครับ ได้รอยหยักเพิ่มเเล้ว

มีประโยชน์มากเลยครับ สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท