หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน CBM ( 2 )


เนื้อหาของหลักสูตรก็จะไม่เน้นองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคนิคการจัดการขยะมูลฝอย แต่จะเน้นเรื่องสิ่งที่ประชาชนควรรู้และปฏิบัติ จริงๆต้องใช้คำว่าต้องรู้และต้องปฏิบัติ วิธีการอบรมก็จะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานและมีความสุข

หลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน CBM ( 2 )  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        เนื้อหาของหลักสูตรก็จะไม่เน้นองค์ความรู้ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคนิคการจัดการขยะมูลฝอย  เช่นรายละเอียดเรื่องการสร้างบ่อฝังกลบขยะแบบถูกหลักสุขาภิบาล   เตาเผาขยะ  การกำจัดขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย  วิธีการดำเนินงานฝังกลบขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล  เทคนิคการบำบัดน้ำชะขยะ</p><p>         แต่จะเน้นเรื่องสิ่งที่ประชาชนควรรู้และปฏิบัติ  จริงๆต้องใช้คำว่าต้องรู้และต้องปฏิบัติ  ซึ่งประกอบด้วย</p><p>         1.    ของขายได้ </p><p>         2.    การทำปุ๋ยหมัก</p><p>         3.    ถังขยะของตัวเอง</p><p>         4.    ถนนหรือชุมชนปลอดถัง</p><p>         5.    การลดความถี่ในการเก็บรวบรวมขยะ </p><p>         6.    การจ่ายค่าธรรมเนียมขยะมูลฝอย</p><p></p><p> CBM   </p><p>                        </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        วิธีการอบรมก็จะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมเป็นสำคัญ  มีการบรรยายน้อยมาก  วิทยากรจะบรรยายและเสริมเนื้อหาที่จำเป็นเท่านั้น  นอกนั้นจะเป็นการระดมสมองและเรียนรู้ร่วมกันอย่างสนุกสนานและมีความสุข</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ได้ทำการทดสอบหลักสูตร 2 ครั้ง ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 โดยเชิญเทศบาลใกล้เคียงที่สนใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยมาเข้ารับการอบรม ( ทม.บางมูลนาก จ.พิจิตร  ทม.สุโขทัย  ทต.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย  ทม.ตาก  ทม.ชัยนาท  ทม.สวรรคโลก จ.สุโขทัย )</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2547  ทดสอบกับผู้บริหารและพนักงานของเทศบาลนครพิษณุโลก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      โดยมีข้อแม้ว่าเทศบาลที่จะเข้ารับการอบรมต้องเข้ารับการอบรมทั้ง 3 ระดับ  ถ้าระดับผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ  ไม่ร่วมมือในการอบรม ทางโครงการก็ขอยกเลิกการอบรมระดับต่อไปของเทศบาลนั้นๆ  เพราะจัดไปก็ไม่มีประโยชน์ถ้าผู้บริหารไม่สนใจ  ไม่ให้ความสำคัญ</p><p>         ในการทดสอบฝึกอบรมทั้ง 2 ครั้ง  ก็ได้มีการปรับปรุงเนื้อหา  ตารางการอบรม  ขั้นตอนการอบรม  เอกสารต่างๆที่ใช้ในการอบรม  กิจกรรม  แบบฝึกหัด  ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น         </p><p>         ปัญหาต่อไปก็คือ  โครงการการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเมือง เทศบาลเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นโครงการที่เทศบาลนครพิษณุโลกได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานให้ความร่วมมือทางวิชาการของสหพันธรัฐเยอรมัน – GTZ  จะสิ้นสุดโครงการในเดือน กรกฎาคม 2550 นี้  ทำอย่างไร  จึงจะมีการใช้หลักสูตรนี้ขยายผลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆต่อไป  </p>

หมายเลขบันทึก: 93059เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จาก อบต.เมืองเก่า  จ.ขอนแก่นครับ

ไอเดียดี ๆ แบบนี้นี่เองจึงทำให้เมืองพิษณุโลกน่าอยู่
ผมเคยไปดูงานเมื่อกว่า 4 ปีก่อน  ผมอยากให้ผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารเข้าอบรมมาก   เห็นด้วยกับ keyword นี้ "เทศบาลที่จะเข้ารับการอบรมต้องเข้ารับการอบรมทั้ง 3 ระดับ  ถ้าระดับผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ  ไม่ร่วมมือในการอบรม ทางโครงการก็ขอยกเลิกการอบรมระดับต่อไปของเทศบาลนั้นๆ  เพราะจัดไปก็ไม่มีประโยชน์ถ้าผู้บริหารไม่สนใจ  ไม่ให้ความสำคัญ"

มองปัญหาในเชิงแก้ไขนะครับ  ต่อไป อบต.เมืองเก่าเป็นเทศบาล  ผมว่าต้องรีบหาพันธมิตร  หาแหล่งเรียนรู้ดี ๆ แล้วรีบมาพัฒนาเทศบาลเราให้น่าอยู่กันเถอะครับ  เริ่มต้นที่เราทุกคน

ขอบคุณสาระดี ๆ ทีเปิดเวทีให้แลกเปลี่ยน
http://envisan.blogspot.com 
http://gotoknow.org/blog/rakkhonkaen

  • ยินดีรู้จักครับ  ขอบคุณที่มาเยี่ยม
  • ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆที่แนะนำ

ตามมาจากลิงค์ หัดแยกขยะเพื่อมูลค่าเพิ่ม ค่ะ

ถ้าผู้บริหารไม่สนใจก็ไม่จัดอบรม..โห..ชอบๆๆ ....^___^

  • ขอบคุณมากครับที่มาเยี่ยม 
  • ดีใจครับที่ อ. สร้อย ชอบๆๆๆ
  • อย่าลืมทำการบ้านนะครับ  อิอิ

คิดถึงพิดโลกจังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท