ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ
ทพญ. ฉลอง ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ เอื้องสุวรรณ

ตื่นรู้กับไพ่ใบเก่าที่นำมาใช้อย่างกระทันหัน


เรามักจะหาเหตุผลดีๆให้กับการกระทำของตนเองได้เสมอ แต่ถ้าคนอื่นทำแล้วหละก้อ เราจะรู้สึก .จิ๊ด

                                           9  มีนาคม  2550   
                วันนี้ดูแลผู้ป่วยเด็กคนหนึ่งซึ่งเป็นป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  แพทย์เจ้าของไข้โทรศัพท์มาบอกว่าให้ช่วยรักษาให้เสร้จสิ้นเพราะจะให้ผู้ป่วยกลับบ้านวันนี้
                     หลังจากตรวจสภาพในช่องปาก  พบว่ามีฟันต้องถอน 2 ซี่   อยู่ด้านล่างซ้าย 1 ซี่  ด้านขวา 1 ซี่  ปกติแล้วการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว  สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ เรื่องเลือดออกไม่หยุดหลังการถอนฟัน   แม่ของเด็กถามว่า ถอน 2 ซี่ได้ไหม ?   ฉันตอบว่า ขอถอนดู 1 ซี่ก่อน  ถ้าเด็กให้ความร่วมมือดีและไม่ทรมานมากนัก หรือไม่มีเลือดออกมาก  ก็อาจจะทำได้
                      เด็กไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไรนัก  ร้องไห้ และขยับศีรษะบ่อยมาก  อย่างที่บอกว่าเราต้องระวังไม่ให้เกิดบาดแผลมากเพื่อลดการที่เลือดไหลไม่หยุด  แต่บังเอิญว่าตัวฟันเปื่อยยุ่ยหมดแล้ว  และส่วนของรากฟันก็อาจจะถอนยากถ้าเด็กไม่นิ่ง  ต้องช่วยกันจับมัดเด็กให้นิ่งที่สุด  รายนี้อนุญาตให้แม่นั่งจับมือ, ขา เด็กได้  เพราะงอแงต้องการแม่  อีกอย่างการที่เด็กไม่นิ่งอาจทำให้เศษฟันตกลงไปในลำคอหรือหลอดลมได้  พยายามเอาผ้าก๊อซกั้นไว้ก็พอช่วยได้บ้าง  เมื่อถอนรากหนึ่งออกไปแล้ว  เหลืออีกรากที่แนบสนิทกับหน่อฟันแท้ ทำให้ถอนลำบาก ยิ่งถ้าเด็กขยับศีรษะบ่อยอาจทำให้โดนหน่อฟันแท้ได้  ทำให้เครียดพอสมควร 

                        ทันใดนั้นได้ชักไพ่ใบเก่าที่ทิ้งไปนานหลายปีขึ้นมา  บอกกับเด็กว่า “เงียบ” และนิ่งที่สุดห้ามขยับศีรษะ  พร้อมทั้งปฏิบัติการเอามือปิดจมูกและปาก  แม่เด็กรีบบอกกับลูกว่า “หยุดร้องนะ หมอโกรธแล้วนะ”  เด็กยังร้องไม่หยุด  ว่าแล้วก็มีคุณหมอคนเก่งแวะมาดู โดยอาสาช่วยถอนฟันโดยเราเองเป็นผู้ช่วยแทน  ทำหน้าที่เอาก๊อซกั้นที่ลำคอและใช้ท่อดูดน้ำลายจ่อไว้ที่เศษฟัน คือ ถ้าแคะหลุดมาก็ดูดทันที  ในที่สุดก็เอารากฟันแท้ออกมาได้โดยที่หน่อฟันแท้ขยับเล็กน้อย
                    เหมือนแม่เด็กจะรู้คำตอบว่า “ถอนซี่เดียวก็พอแล้ว”  ฉันจึงบอกกับแม่เด็กว่า ขอถอนฟันเพียง 1 ซี่ เพราะจะได้ให้เด็กเคี้ยวอาหารทางด้านขวา ไม่เช่นนั้นเด็กจะลำบากในการรับประทานอาหารมาก  เราไม่ต้องการให้มีแรงใด ๆ มาโดนหน่อฟันแท้ที่กำลังจะโผล่ขึ้นมา    อีกอย่างเราต้องการตามดูอาการเลือดออกไม่หยุดหลังการถอนฟันด้วย  เพราะถ้ากลับบ้านไปแล้วจะกลับเข้ามาคงลำบาก เพราะอาจมีปัญหาเรื่องเตียงเต็มก็ได้   แม่เด็กจึงพอใจกับเหตุผลว่าทำไมถอนฟันเพียง 1 ซี่  และทำไมต้องนอนโรงพยาบาลต่อเพื่อมาถอนวันจันทร์อีก 1 ซี่
                    จบการถอนฟันแล้ว ได้เน้นย้ำกับแม่และเด็กว่า  ต่อไปนี้ไม่ควรกินลูกอม ขนมซอง หรือน้ำหวาน อาหารเหนียว ๆ ที่ติดฟันได้ง่าย  หากกินแล้วควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทันที ประการที่สอง ให้แม่แปรงฟันให้เด็กก่อนนอนทุกคืน
                   ฉันย้อนนึกถึงอาการเอามือปิดจมูกและปาก แล้วสั่งให้เงียบ เป็นเทคนิคสุดท้ายที่ใช้ในการจัดการกับเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาโดยส่วนตัวแล้วจะไม่ชอบใช้วิธีนี้ และได้ทิ้งไปนานมากแล้ว  ทำไมถึงหยิบมาใช้  ประการแรก คงเป็นเพราะเรากลัวฟันจะหลุดเข้าคอ  และกลัวจะไปโดนหน่อฟันแท้ที่กำลังแคะราก เนื่องจากเด็กร้อง และไม่ฟัง จึงต้องพูดเสียงดัง  แต่ก็ไม่ได้ผลต้องมีตัวช่วยอื่นประกอบ  ความรู้สึกหลังปฏิบัติการ รู้สึกเสียใจที่ใช้วิทยายุทธ์ขั้นสุดท้ายด้วยความโกรธเล็กน้อย  แต่เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและฟัน  ทำให้เราเสียความรู้สึกของตนเองไปบ้างคงไม่เป็นไร  ดีกว่าให้ฟันหรือชีวิตเขาเสียไป   แต่ขอบอกว่าใช้เป็นไม้สุดท้ายจริง ๆ
                 การกระทำที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นการตื่นรู้เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของโรงพยาบาล  “จิตสำนึกของความปลอดภัย”   นั่นเอง
  

หมายเลขบันทึก: 92234เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วอึ้งค่ะ สงสารหมอหลองจัง สถานการณ์แบบนี้เป็นเครื่องพิสูจน์การตัดสินใจจริงๆค่ะ สงสัยว่าหนูน้อยคนนี้อายุเท่าไหร่คะ และ "คุณหมอคนเก่ง-พระเอกหรือนางเอกม้าขาว" ก็ถอนไปทั้งๆที่หนูน้อยยังทำฤทธิ์อยู่หรือเปล่าคะ และทำได้เพราะมีหมอหลองเป็นผู้ช่วยใช่ไหม

และคำถามสุดท้ายคือ ถ้าไม่มีพระเอกขี่ม้าขาวมาเป็นคุณหมอคนเก่ง เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรคะ

ขอบคุณที่นำเรื่องที่น่าจะเป็นบทเรียนให้พวกเราหลายๆคนได้มาเล่าต่อนะคะ คิดว่าหมอหลองทำได้ดีที่สุดแล้ว ความตั้งใจดีคือจุดที่สำคัญที่สุดค่ะ การแสดงออกสามารถแปลได้หลายอย่าง เราไม่สามารถจะทำให้ใครเข้าใจความตั้งใจของเราได้เสมอไป แต่การบอกเล่าสิ่งที่เราคิด ทำให้คนอ่านเข้าใจเวลาเราเห็น "คุณหมอโกรธ" ได้ดีขึ้นแน่ๆค่ะ  

อายุประมาณ หกขวบแต่แรงเยอะมาก  เขาน่าสงสาร

หากไม่มีพระเอกมาช่วยคงต้องเหนื่อยกันอีกนานค่ะ

ขอบคุณที่เข้าใจความโกรธของหมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท