พงศาวดารกรุงเก่าฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ : เมื่อพงศาวดารฉบับเก่าที่สุดเกือบถูกเผา


เรื่องนี้ผมได้อ่านผ่านตามานานแล้วครับ พอ ๆ กับที่ได้จดเอาไว้ในสมุดบันทึกมาอย่างยาวนานเช่นกัน จนเวลาผ่านไปนานหลายปี ผมหยิบสมุดบันทึก ๆ เก่า ๆ เล่มหนึ่งขึ้นมาจากซอกลืบของโต๊ะเขียนหนังสืออย่างไม่ได้ตั่งใจ จึงได้รู้ว่า บันทึกของผมนั้นได้ถูกซ่อนในซอกลืบแห่งความทรงจำมานานแสนนานมากจนเลือนไปว่าเคยมี เมื่อเปิดอ่านก็ตกใจ เพราะไม่น่าเชื่อว่า สมัยที่ผมเป็นเด็กนั้นได้เขียนอะไรไว้มากมาย ซึ่งในสมัยนั้นก็ไม่รู้ว่าผมจะบันทึกทำไม บางเรื่องที่เขียนบันทึกยังไม่รู้ความหมายของมันเลยด้วยซ้ำ และเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้นี้ผมได้คัดย่อมาจากหนังสือนิทานโบราณคดีเป็นนิทานเรื่องที่เก้าในเล่ม พระนิพนธ์ในกรมฯพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นฮีโรคนหนึ่งของผม เชื่อว่ามีความสำคัญมากสำหรับคนไทยที่ควรจะรู้ ผมจึงขออนุญาตนำมาเล่า ณ ที่นี้ครับ

 

ปก พงศาวดารกรุงเก่าฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ

(ที่มา i-yabooks.tarad.com/product.deta..._2649084)

      ในสมัยรัชกาลที่ห้า พระองค์ทรงให้มีการรวบรวมหนังสือต่าง ๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจายทั้งเมืองเพื่อมารวบรวมเอาไว้ในหอพระสมุดหรือหอหลวงที่ทรงตั่งขึ้นใหม่ในพระบรมมหาราชวัง จะได้เป็นแหล่งความรู้และเพื่อเป็นการเก็บรักษาหนังสือที่เก่าแก่ มีคุณค่าไม่ให้ต้องสูญหายไปเสียก่อน พระองค์ทรงเห็นว่าอาวุธที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดที่คนไทยจะใช้ในการต่อการกับอาวุธที่ทันสมัยของชาวต่างชาติได้มีอย่างเดียวคืออาวุธทางปัญญา พระองค์จึงทรงมีพระราชบัญชาให้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพมีหน้าที่รวบรวมหนังสือเหล่านั้นเพื่อเข้ามาเก็บไว้ในหอหลวง เหมือนครั้งในสมัยอยุธยาที่มีหอหลวงอยู่คู่พระนครเช่นกัน

หลวงประเสริฐอักษรนิติ (แพ ตาละลักษณ์)

(ที่มา http://gold.rajabhat.edu/phetchaburi/par.htm.)


      ครั้งหนึ่งพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์ – ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา) ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ไปเห็นยายแก่คนหนึ่งกำลังเอาสมุดดำรวมใส่กระชุที่บ้านแห่งหนึ่ง ท่านจึงถามยายคนนั้นว่าจะเอาไปไหน ยายแก่บอกว่าจะเอาไปเผาไฟทำสมุก (ภาชนะสานก้นสี่มุมมีฝา ใช้ใส่สิ่งของ,ถ่านหรือขี้เถ้าผสมขี้รัก ใช่ทาสิ่งของให้ดำ) สำหรับลงรัก หลวงประเสริฐจึงขออ่านดูก่อน ยายแก่ก็ส่งให้ทั้งกระชุ หลวงประเสริฐพบว่ามีหนังสือเก่าที่เขียนด้วยลายมือเรื่องราวเกี่ยวกับพงศาวดารเมืองไทยแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯรวมอยู่ในนั้นด้วย ท่านจึงเอ่ยปากขอหนังสือเล่มนั้น ยายก็ให้โดยที่ไม่หวงเหน หลวงประเสริฐจำนำถวายสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระองค์ทรงเห็นว่ามีการบอกศักราชและเรื่องราวที่อยู่ในประวัติศาสตร์ตรงและชัดเจน พระองค์จึงทรงให้เรียกชื่อหนังสือเล่มนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ค้นพบว่า พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ
      ลองคิดดูสิครับว่า ถ้ายายแก่คนนั้นเผาบันทึก ๆ เก่า ๆ ที่แกไม่รู้เลยว่าบันทึกเล่มนั้นได้เขียนอะไรไว้ลงไป ป่านนี้พวกเราคนไทยก็คงไม่มีทางรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในอดีตเป็นแน่

      ต้นไม้ใดไม่มีรากแก้วแล้วไซร้ ต้นไม้นั้นก็ไม่อาจยืนต้นตั่งตระหง่านได้เลย

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เ้รียบเรียง

ที่มา

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเพทฯ : ๒๕๕๑.

i-yabooks.tarad.com/product.deta..._2649084. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาตม ๒๕๕๓.

http://gold.rajabhat.edu/phetchaburi/par.htm. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาตม ๒๕๕๓.



ความเห็น (4)

ขอบคุณมากเลยค่ะที่นำเนื้อหาดีๆมาให้อ่าน

ข้อมูลดี ดนตรีเพราะ ส่งต้นฉบับให้ได้มั้ยครับ จะเอาไปใส่เว็บมั่ง ของหน่วยงานราชการนะครับ ไม่ได้ทำเพื่อการค้า ขอบคุณล่วงหน้าครับ

เนื้อหาเป็นประโยชน์มากๆค่ะ เพลงเขมรไทรโยคเพราะมากๆ หมายถึงน้ำตกไทรโยคที่ีจ.กาญจนบุรีบ้านเกิด และเป็นลูกหลานของตระกูลตาละลักษณ์ ด้วย ช่างได้อารมณ์แห่งความสุนทรียอักษรและบทเพลงอันซาบซึ้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท