GotoKnow

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

Dr. choomsak intarak
เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2548 21:00 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2555 13:42 น. ()
เทคนิคการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research- Based Instruction )

             ๑.ความหมาย  เป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ คิดค้นหาคำตอบ และตัดสินใจในการเรียนรู้ของตนเอง

             ๒.หลักการ   จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และเรียนตามศักยภาพของตนเอง

                                กระบวนการวิจัย ประกอบด้วย ๑)การกำหนดปัญหา ๒)การตั้งสมมติฐาน

                                ๓)การเก็บรวบรวมข้อมูล ๔)การวิเคราะห์ข้อมูล ๕)การสรุปผล

             ๓.แนวทาง    มี ๔ แนวทาง

                                  ๓.๑ ผู้สอนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน

                                  ๓.๒ ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนรู้

                                  ๓.๓ ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน

                                  ๔.๔ ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

awannee
เขียนเมื่อ

เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ดีมาก  เมื่อไหร่ท่านจะใส่รายละเอียดให้มากกว่านี้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของวงการศึกษาไทยต่อไป.

July
เขียนเมื่อ

กำลังคอยอ่านตอนต่อไปอยู่นะคะ เมื่อไหร่จะเพิ่มเติมเนื้อหา

July
เขียนเมื่อ

กำลังคอยอ่านตอนต่อไปอยู่นะคะ เมื่อไหร่จะเพิ่มเติมเนื้อหา

ศุภมาส เคี้ยนหิ้น
เขียนเมื่อ

ได้เข้ามาอ่านข้อมูลแล้วเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ถ้าโรงเรียนได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

เสนีย์ ใจเย็น
เขียนเมื่อ

อ่านแล้วดีมาก

awannee
เขียนเมื่อ

       ขออนุญาตมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่อง  การวิจัยในชั้นเรียนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งถ้าครูนำกระบวนการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน  หรือนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี       

       การวิจัยในชั้นเรียนเกิดจากครูผู้สอนในห้องเรียน  ทำการแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน  ในขณะที่การเรียนการสอนกำลังเกิดขึ้น  ด้วยวิธีการวิจัยที่มีวงจรการทำงานแบบ   PAOR  คือ P (Plan) ,A (Action) , O (Observe) , R(Reflect)  ขั้นตอน  Reflect (สะท้อนกลับ ) เป็นขั้นตอนที่เด่นทำให้การวิจัยในชั้นเรียนต่างจากการวิจัยอื่น การวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการวิจัยที่ทำได้รวดเร็ว  โดยครูผู้สอนนำวิธีการแก้ปัญหาที่ตนเองคิดขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียนและสังเกตผลการแก้ปัญหานั้น  มีการสะท้อนผลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนครู เป็นการวิจัยแบบร่วมมือ ( Collaborative research ) ทั้งนี้จุดหมายสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนก็คือพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน

      หากผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมประการใด  อาจารย์โปรดชี้แนะจักขอบพระคุณยิ่ง

       

July
เขียนเมื่อ

      อ่านแล้วหลายครั้ง มีประโยชน์มาก เสียดายรายละเอียดมีน้อยไปหน่อย   

awannee
เขียนเมื่อ

          ท่านเป็นครูที่สมควรได้รับการยกย่อง    ดั่งคำขวัญวันครูประจำปี 2549 ที่ว่า " ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน  ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู " (พรรณา  คงสง จังหวัดตรัง  ) เนื่องในโอกาสวันครู  16 มกราคม  2549  ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุข  ความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป  เพื่อเป็น"ครูดี"  และ "เป็นศรีแผ่นดิน" ไปตราบเท่านาน                                                                                                                         

Awannee
เขียนเมื่อ

ติดตามผลงานของท่านมาตลอดตั้งแต่ ปี 2548 ได้พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่สิ่งที่อยากเห็นมากกว่านี้คือการเคลื่อนไหว การโต้ตอบของเจ้าของผลงานและผู้ที่เข้าชม อยากให้นักวิชาการทั้งหลายได้แสดงความคิดเห็นเยอะ ๆ ทั้งนี้ก็หวังว่าจะได้เพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองทุกครั้งที่เข้ามาเยี่ยมชมใน เว็บไซด์นี้

Yusuf
เขียนเมื่อ

วันนี้ผมสอบวิชาทักษะการจัดการในสถานศึกษา
เสร็จแล้วครับ
เรื่อง SBM ผมชอบมากครับ
อยากอ่านงานวิจัยของอาจารย์ชิ้นนี้
ผมหาไม่เจอซักที

เข้ามาอัพบล็อกเยอ ๆ นะครับ
---> http://learners.in.th/blog/yusuf

มัสกอตอ
เขียนเมื่อ

ดีมากเลยครับอาจารย์ ได้ km มากมายครับ เยี่ยมครับ

                                               รอมือลี มัสกอตอ

BangDull
เขียนเมื่อ

  สวัสดีครับอาจารย์

 

porplaa
เขียนเมื่อ

อยากรู้เทคนิคดีๆสำหรับ “ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน”จังเลยค๊าบ

สุดยอดๆๆๆๆๆๆ

น่าจะยกตัวอย่างประกอบ  และเพิ่มเติมเนื้อหาอีก

ขอขอบพระคุรอาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอนศิษย์มาหลายรุ่นแล้ว ขอให้อาจารยืมีความสุขมากๆ งานวิจัยนั้นมีความสำคัญมากสำหรับนักบริหารการศึกษาทุกคน

ลาวน้อย
เขียนเมื่อ

   ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะค่ะ จากที่หนูได้อ่านเนื้อหาที่อาจารย์ส่งม่รู้สึกว่าเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจมากเพราะว่าในฐานะที่หนูก็เป็นครูผู้สอนที่อยากทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดผลกับผู้เรียน และเนื้อหาที่อาจารย์นำเสนอเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่านำไปใช้ในโรงเรียนได้ดีทีเดียว และหนูหวังว่าอาจารย์คงจะมีอะไรดีๆมาแนะนำอีกนะค่ะ   

ลาวน้อย......

ฟ้าหลังฝน
เขียนเมื่อ

เป็นความรู้ใหม่และน่าสนใจ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความสนใจในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพของครูและนักเรียนต่อไป

ขอให้อาจารย์นำความรู้ใหม่ ๆ มาถ่ายทอดบ่อย ๆนะค่ะ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้ที่ไม่รู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์

ดิฉันจะติดตามผลงานของอาจารย์ทางเว็บนี้น่ะค่ะ

หากบุคลากรในสถานศึกษารู้ถึงความสำคัญของการวิจัย ผลผลิตของสถานศึกษานั้นย่อมเป็นที่ต้องการ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้อให้ความรู้  และการสนับสนุนอย่างเต็มที่

ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์มากเลยคะ จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

aman
เขียนเมื่อ

ผมมีความคิดเห็น ในขั้นสุดยอด จะเล่าให้อาจารย์ฟังครับ

สตีวี่ป๊อป
เขียนเมื่อ

ถูกต้องนะคร๊าบ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ก๊อบแก๊บ
เขียนเมื่อ

เป็นความรู้ที่น่าสนใจมากค่ะ  บอกรายละเอียดทั้งความหมาย  หลักการและแนวทาง   และหวังว่าอาจารย์จะนำความรู้ใหม่ๆมาบอกต่อนะคะ  

ก๊อบแก๊บ..

ถูกต้องนะค่ะ

rusee
เขียนเมื่อ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ฐานการวิจัยเป็นฐานกับ KM ต่างกันอย่างครับ

ขอบคุณมากสำหรับควารู้ที่ได้รับวันนี้ค่ะ เป็นประโยน์ต่อการเรียนมากค่ะ

BangDull
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับอาจารย์  kotoknow  นี้คือแหล่งความรู้ที่สำคัญสำหรับนักการศึกษา ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนที่แสดงออกมาจากความรู้ที่ไม่เคยเผยแพร่ออกมาเป็นหนังสือ  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่เราได้พูดคุยด้วย  จากที่เราไม่รู้ ได้รู้  จากที่เรารู้และรู้มากขึ้น

เห็นด้วยกับแนวคิของท่านอย่างยิ่ง

มาแล้วค่ะ นึกว่าไม่ทันซะแล้ว

สุดหล่อสาวกรี๊ด
เขียนเมื่อ

เยี่ยมจริงๆๆลูกพีผมเอง

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน  เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ  และมีประโยชน์มากค่ะ

Mr. Bolya Raicharoen
เขียนเมื่อ

การจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นนวัตกรรมใหม่  พวกเรานักบริหารการศึกษา ม.อ. ตานี 49ยังรอคอย รายละเอียดในเรื่องนี้จากท่านอาจารย์อยู่  นะครับ.....ชื่นชมท่านที่มีสิ่งใหม่มานำเสนอ

จูน
เขียนเมื่อ

อ่านแล้วทำให้เข้าใจการทำวิจัยมากขึ้น

Mr. Tohiron Hayeelohmae
เขียนเมื่อ

I would like to say that I am very glad to have an opportunity to study with you. Today I have got so many useful ideas that I can take home. Thanks for your best knowledges that you given us.

เรียงราษฎร์
เขียนเมื่อ

ต่อไปจะตั้งใจทำวิจัยให้ดีที่สุดค่ะ

จูน
เขียนเมื่อ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ อ่านแล้วรู้สึกดีมาก ๆ เลยค่ะ คิดว่ามีประโยชน์มากสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ ขอบคุณมากค่ะ

นรารัตน์
เขียนเมื่อ

การวิจัยนี้มีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาพิเศษในปัจจุบันแล้ว ยังทำให้เกิดแนวคิด จากการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาพิเศษระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ซึ่งอาจนำประสบการณ์จากต่างประเทศมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการศึกษาพิเศษของไทยให้ดีขึ้น โดยไม่ทำผิดซ้ำอีกเหมือนดังที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ งานวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักการศึกษาชั้นนำ นักบริหารชั้นสูง นักกฎหมาย นักการเมือง ตลอดจนผู้ปกครองและผู้สนใจ ที่จะนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปสู่แนวคิดและกรอบของการนำไปสู่การออกกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษขึ้นมาบังคับใช้ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษอีกหลายแสนคนทั่วประเทศมีโอกาสได้รับการศึกษา

rusee
เขียนเมื่อ

การบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา คือ การแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ได้กล่าวถึง การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การส่งเสริมสนับสนุนให้ครูทำการวิจัย ตามมาตรา 30 นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ครูศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้แล้วนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรสถานศึกษากำหนด จากการบริหารงานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา ครูที่ทำการวิจัยส่วนใหญ่ ทำเพื่อมุ่งการปรับปรุงตำแหน่งของตนมากกว่าการพัฒนาประสิทธิภาพของงาน ขาดการเสริมแรงหรือแรงจูงใจ ทั้งนี้อาจเนื่องจากทิศทางสนับสนุนการทำวิจัยของสถานศึกษาไม่ชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถานศึกษามีการรองรับสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อเป็นทุนอุดหนุนในการทำวิจัยภายในสถานศึกษาน้อยมาก และไม่มีการจัดหาทุนจากภายนอกหน่วยงานเพื่อการวิจัยในสถานศึกษาโดยเฉพาะ ครูที่จะดำเนินงานวิจัยต้องอาศัยงบประมาณของตนเอง ไม่มีการจัดตั้งศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือทางด้านการวิจัยและด้านประเมินผลการวิจัยที่ชัดเจน รวมถึงไม่มีศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน

ปัญหาจากการบริหารงานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ยังส่งผลกระทบให้สถานศึกษามีปัญหาในการบริหารงานพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และปัญหาการบริหารงานพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามไปด้วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)

aimon
เขียนเมื่อ

น่าสนใจมาก อยากเห็นแนวทางหรือตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย