การวิจัยและพัฒนา ICT ของ กศน.


เริ่มที่จะมีคำถามเข้ามามากขึ้นว่า ที่ผ่านมาเราได้ทุ่มงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนา ICT เป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่ว่า เราทำอะไรไปบ้าง ผลเป็นอย่างไร และจะพัฒนาอะไรกันต่อไป อย่างไร สิ่งต่างๆเหล่านี้ น่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือโดยใช้กระบวนการวิจัย ดังนั้น ปีนี้ จึงเป็นปีที่ 2 ที่มีการวิจัยที่จะหาคำตอบเพื่อนำไปสู่กระบวนการพัฒนา ICT

     ระหว่างวันที่ 19-20 เมษายน 2550 ทีมงาน ICT ของสำนักบริหารงาน กศน. ทั่วประเทศ ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ICT ของ กศน. โดยมี ผอ.บุญส่ง เป็นประธานการประชุม
     จากการประชุมครั้งมีเรื่องต่างๆที่ช่วยกันกำหนดแนวทางการพัฒนา ICT หลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่คิดว่า น่าสนใจคือ การวิจัย ICT โดยได้กำหนดแนวทางการวิจัยคร่าวๆ ดังนี้

  1. โครงการวิจัยนี้ ดำเนินการในทุกภูมิภาค โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคทั้ง 5 ภาคเป็นผู้ดำเนินการวิจัยร่วมกัน
  2. ลักษณะการวิจัย จะเป็นการวิจัยพัฒนา คือ นำเอาผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนางานทันที ดังนั้นรูปแบบกาารวิจัย จะเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
  3. การดำเนินการวิจัย จะดำเนินการวิจัยร่วมกันทั้ง 5 ภูมิภาค โดยใช้กรอบการวิจัยที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดของกิจกรรม ICT

ประเด็นในการวิจัย ได้กำหนดคำถามในการวิจัยเพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบเพื่อการพัฒนางาน ICT เพื่อการศึกษาดังนี้

  1. สภาพหรือสถานการณ์ของ ICT ปัจจุบันเป็นอย่างไร เมื่อเปรียนเทียบกับเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทด้าน ICT ยังห่งไกลจากเป้าหมายเพียงใด เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อมูลพื้นฐาน หรือ Based line date เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่กระบวนการพัฒนา โดยแต่ละภาคจะกำหนด Theme ของ ICT ที่จะศึกษาตามจุดเน้นของแต่ละภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการพัฒนาด้าน e-Training ก็จะเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพของ e-Training ในปัจจุบัน ดังนั้นรูปแบบการวิจัย จึงเป็นการวิจัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
  2. องค์ประกอบที่ส่งผลให้ งาน ICT บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด เป็นการวิจัยเชิงอธิบาย เกี่ยวกับปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือส่งผลให้กิจกรรม ICT สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ เป็นกระบวการวิจัยที่ต่อเนื่องจากข้อที่ 1 โดยเข้าไปศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า น่าจะหยิบเอาประเด็นใดเข้ามาสู่กระบวนการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน ICT เช่น ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงาน e-Training บรรลุผลตามที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory Research)
  3. พัฒนารูปแบบการดำเนินการและนำรูปแบไปทดลองใช้ เป็นกระบวนการทดลอง โดยนำเอาข้อมูลต่างๆ จากคำตอบที่ได้จากการวิจัยในข้อที่ 3 มาพัฒนารูปแบบ เช่น รูปแบบ e-Training แล้วนำไปทดลองจัดกระบวนการ e-Training พร้อมทั้งหาข้อสรุปจากการทดลองว่า รูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้น ใช้ได้ผลเพียงใดควรปรับปรุงตรงไหน โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Qusi Experimental Research)
  4. ติดตามผลการนำไปใช้จริง โดยนำเอารูปแบบที่ได้พัฒนาภายหลังจากการทดลองไปใช้ พร้อมทั้งมีการติดตามผลการจัดกิจกรรม ICT เพื่อเป็นการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่า รูปแบบดังกล่าวเป็นรูปแบบที่สามารถเผยแพร่ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยใช้การวิจัยติดตามผล (Follow up Research)

    จากประเด็นการวิจัยดังกล่าว จึงเป็นแนวทางที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคทั้ง 5 ภาคจะนำไปพิจารณาและกำหนดรายละเอียดอีกครั้งโดยจะประชุมร่วมกันที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2550 นี้

คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย ict
หมายเลขบันทึก: 91665เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แนวทางที่น่าจะดำเนินการ คือ การดำเนินการดังกล่าว ไม่น่าจะแยกออกมาเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทำอย่างไรจะให้งานวิจัยนั้น เป็นกระบวนการที่แฝงอยู่ในการปฏิบัติงาน ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ ก็น่าจะดีอย่างมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท