ตัวอย่างอัตตัรบียะฮฺ(การศึกษา)ในอัลกุรอาน


ในสูเราะห์ ลุกมาน

                อัลกุรอานได้ชี้แนะแก่บรรดาพ่อแม่และครูอาจารย์ ในเรื่องการอบรมสั่งสอนลูกหลาน โดยให้เห็นถึงความสำคัญของการให้การศึกษาหรือการอบรมสั่งสอนลูกหลาน ด้วยการยกตัวอย่างประวัติการอบรมลูกหลานของบุคคลในยุคต่าง เพื่อเป็นบทเรียน และเป็นแบบอย่างที่ดีที่ต้องคำนึงถึง

لَقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لأُوْلِي (يوسف : 111)

                  ความว่า : โดยแน่นอนยิ่ง ในเรื่องราวของพวกเขา เป็นบทเรียนสำหรับบรรดาผู้มีสติปัญญา (สูเราะห์ ยูซุฟ อายัตที่ 111)

                ในสูเราะห์ ลุกมาน อายัตที่ 13-19 อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

وَإِذْ قَالَ لُقْمَانُ لابْنِهِ وَهُوَ يَعِظُهُ يَا بُنَيَّ لاَ تُشْرِكْ بِاللهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ (13) وَوَصَّيْنَا الإِنسَانَ بِوَالِدَيْهِ حَمَلَتْهُ أُمُّهُ وَهْنًا عَلَى وَهْنٍ وَفِصَالُهُ فِي عَامَيْنِ أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ إِلَيَّ الْمَصِيرُ (14) وَإِن جَاهَدَاكَ عَلى أَن تُشْرِكَ بِي مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ فَلا تُطِعْهُمَا وَصَاحِبْهُمَا فِي الدُّنْيَا مَعْرُوفًا وَاتَّبِعْ سَبِيلَ مَنْ أَنَابَ إِلَيَّ ثُمَّ إِلَيَّ مَرْجِعُكُمْ فَأُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ (15) يَا بُنَيَّ إِنَّهَا إِن تَكُ مِثْقَالَ حَبَّةٍ مِّنْ خَرْدَلٍ فَتَكُن فِي صَخْرَةٍ أَوْ فِي السَّمَاوَاتِ أَوْ فِي الأَرْضِ يَأْتِ بِهَا اللهُ إِنَّ اللهَ لَطِيفٌ خَبِيرٌ (16) يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلاةَ وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنكَرِ وَاصْبِرْ عَلَى مَا أَصَابَكَ إِنَّ ذَلِكَ مِنْ عَزْمِ الأُمُورِ (17) وَلا تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلا تَمْشِ فِي الأَرْضِ مَرَحًا إِنَّ اللهَ لا يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ (18) وَاقْصِدْ فِي مَشْيِكَ وَاغْضُضْ مِن صَوْتِكَ إِنَّ أَنكَرَ الأَصْوَاتِ لَصَوْتُ الْحَمِيرِ (19)

         ความว่า : 13. และจงรำลึกเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่าโอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน 14. และเราได้สั่งการแก่มนุษย์เกี่ยวกับบิดา มารดาของเขา โดยที่มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาอ่อนเพลียลงครั้งแล้วครั้งเล่า และการหย่านมของเขาในระยะเวลาสองปี เจ้าจงขอบคุณข้าและบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้นคือการกลับไป 15. และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังเขาทั้งสอง และจงอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดี และจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า แล้วข้าคือหนทางกลับของพวกเจ้า และ(ในวันนั้น)ข้าจะบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ 16. “โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง (หากว่าความผิดนั้น) มันจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง มันจะซ่อนอยู่ในหิน หรืออยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย หรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮฺก็จะทรงนำมันออกมา แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง” 17. “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจงใช้ให้กระทำความดี และจงห้ามปรามการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า เพราะมันคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง 18. “และเจ้าอย่าหันหน้าของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มรรยาท  แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด” 19. “และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณ และจงลดเสียงของเจ้าลง แท้จริง เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง(ร้อง) ของลา

                 อัลลอฮฺได้สอนวิธีปฏิบัติและมารยาทการอยู่ในสังคมอย่างสันติสุข โดยใช้ตัวอย่างการสอนลูกของลุกมาน อัลฮากีม และในอายัตที่กล่าวมาข้างบนนั้นพอที่จะสรุปเนื้อหาสำคัญๆในการอบรมสั่งสอนลูก หรืออาจกล่าวได้ว่าสาระสำคัญของเนื้อการศึกษาที่พ่อแม่หรือครูบาอาจารย์ควรสั่งสอนลูกหลานหรือลูกศิษย์ คือ

  1.  สอนเรื่องความเป็นเอกะของพระเจ้า ไม่ตั้งภาคีคือเชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์หรือมีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์ เพราะการตั้งภาคีนั้นนับเป็นการสร้างความอยุติธรรมอย่างใหญ่หลวง เพราะต้นไม้ จอมปลวก หรือรูปปั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆในการกำหนดสภาวะของมนุษย์หรือความเป็นไปของโลก ดั้งนั้นการที่เชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีส่วนในการทำให้เป็นโดยการไปกราบ บูชา จึงเป็นการกระทำผิดที่  
  2. ในสำนึกในบุญคุณที่อัลลอฮฺได้สร้างเรามา และบิดามารดาที่ให้กำเนิดและเลี้ยงเรามาให้มีชีวิตได้จนถึงทุกวันนี้
  3. ถ้าบิดา มารดา สอนให้เราตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ หรือสอนให้เรากระทำในสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับศาสนาของอัลลอฮฺ ก็ไม่ต้องเชื่อฟังหรือปฏิบัติตาม
  4. จงทำตามผู้ที่เป็นประจักษ์แล้วว่าเขาเป็นคนดี และปฏิบัติตามที่อัลลอฮฺต้องการ
  5. จงนึกเสมอว่า ชีวิตบนโลกนี้มีเพียงชั่วคราวเท่านั้น และท้ายที่สุดทุกคนจะต้องกลับไปหาอัลลอฮฺ ในวันนี้ใครได้กระทำอะไร อัลลอฮฺจะแจ้งพฤติกรรมของเขาไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้
  6.   ความผิดใดๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กเท่าอนูของโมเลกุล อัลลอฮฺก็ทรงรู้และจะนำมาชั่งในวันกิยามะฮฺ เพื่อตัดสินความดีความสอบหรือการลงโทษแก่ผู้กระทำ 
  7. จงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็ละการละหมาดไม่ได้ เพราะการละหมาดจะนำเราสู่การกระทำดีและหลีกห่างจากการกระทำชั่ว
  8. จงชักชวนในการทำดี และห้ามปรามผู้ทำชั่ว แต่ถ้าไม่สามารถห้ามปรามด้วยกำลังได้(กลัวเป็นอันตรายแก่ตัวเอง) ก็ต้องห้ามด้วยคำพูด แต่ถ้าไม่สามารถห้ามด้วยคำพูดได้อีก ก็จงห้ามด้วยใจ ในใจเราสำนึกอยู่เสมอว่า สิ่งนั้นมันไม่ดี แต่การห้ามด้วยใจนั้น นับเป็นการกระทำของผู้ที่อิมานที่อ่อนแอที่สุด 
  9. เมื่อประสบสิ่งใดขัดขวางการกระทำดีของเรา หรือได้รับการโต้ตอบอย่างร้ายๆ ก็ให้อดทน จงรู้ไว้ด้วยการอดทนนั้นเป็นการกระทำที่ยิ่งใหญ่ 
  10. สุดท้ายอัลลอฮฺสอนเรื่องมารยาทการอยู่ในสังคม เช่น
  • เวลาคุยกับใครแล้วต้องไม่หันข้างให้ 
  • เวลาเดินอย่างเดินอย่างคนโอ้อวด จองหอง 
  • อย่าส่งเสียงดัง เป็นต้น

               นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนเด็กหรือที่เราเรียกว่า อัตตัรบียะฮฺ(การศึกษา) ที่มีอยู่ในอัลกุรอาน และยังมีอีกหลายตัวอย่าง จะได้มาพูดกล่าวในภายหลัง

หมายเลขบันทึก: 91663เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท