ความพยายามไม่ใช่การตระหนักรู้


ความรู้สึกตัวคือการรับรู้ “สิ่งที่เป็นอยู่จริง” โดยไม่มีการบิดเบือน

        สิ่งที่ผมนำมาถ่ายทอดไว้ในบันทึกของวันนี้ เป็นคำพูดที่ท่าน กฤษณมูรติ พูดไว้ที่เมืองมัทราส ประเทศอินเดีย เมื่อว้นที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถึงเวลาจะผ่านไปถึงหกสิบปี แต่สิ่งที่ท่านพูดไว้นี้ ก็ยังแฝงไปด้วยคุณค่า ลองค่อยๆ ทำความเข้าใจไปอย่างช้าๆ ดูนะครับ... 

        ความพยายามหมายถึงการดิ้นรนขวนขวายเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นอยู่นี้ ให้เป็นสิ่งที่ยังไม่เป็น หรือให้เป็นสิ่งที่คิดว่าควรจะเป็น เรามักจะหลบหลีกจาก สิ่งที่เป็นอยู่นี้ โดยพยายามไปเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงมัน

        เมื่อใดก็ตามที่เราขาดการตระหนักรู้อย่างแจ่มแจ้งต่อ สภาพที่เป็นอยู่นี้ ความพยายามหมายมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น ความพยายามไม่ใช่การตระหนักรู้ การตระหนักรู้จะเปิดให้เห็นสาระสำคัญของ สิ่งที่เป็นอยู่จริง และการยอมรับอย่างสิ้นเชิงต่อสาระจริงแท้นั้นจะนำมาซึ่งอิสรภาพ        

        ดังนั้นความรู้สึกตัวจึงไร้แรงพยายาม ความรู้สึกตัวคือการรับรู้ สิ่งที่เป็นอยู่จริง โดยไม่มีการบิดเบือน การบิดเบือนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการใช้ความพยายาม (จากหนังสือ เผชิญความจริง หน้า 43 จัดพิมพ์โดยมูลนิธิอันวีกษณา)

หมายเลขบันทึก: 91408เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2007 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณ คุณผึ้ง สำหรับการตกแต่งโฉมใหม่ของ beyondKM ครับ

 เรียนรู้ "ความพยายามไม่ใช่การตระหนักรู้"  ...แต่การตระหนักรู้ก็เป็นตัวเตือนให้ความพยายามเป็นไปได้หรือสำเร็จได้

ชื่นชม... Graphic & Background ใหม่ของอาจารย์ครับ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ครับ

ขอบคุณครับ

ความรู้สึกตัวจึงไร้แรงพยายาม ความรู้สึกตัวคือการรับรู้ "สิ่งที่เป็นอยู่จริง"

ผมจะทำอย่างไร ถ้าในที่สุด ผม(หรือว่าเป็นเรา)ยังคงพยายามที่จะรู้สึกตัว เพราะ สิ่งที่เป็นอยู่จริง ตอนนี้คือ "เราไม่รู้สึกตัว"

สรุปก็คือ

สิ่งที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ สิ่งที่เป็นจริง

หน้าตาหล่อขึ้นเยอะเลยค่ะ เราเสริมความงามจากสถาบันเดียวกัน

ค่ะ การตระหนักรู้ปัจจุบัน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเกิดขึ้นก่อน เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงในลำดับต่อมา และยังต้องตามดู ตามรู้ในทุกขณะของความพยายามอีกด้วยว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

สาธุ สาธุ สาธุ สำหรับแง่คิดดีๆที่คัดเลือกมาฝาก

ขอบคุณค่ะ

ถ้าเรารู้ว่า "เราไม่รู้สึกตัว" ก็แสดงว่า "เรารู้สึกตัว" แต่ถ้าเรากำลัง "พยายามอย่างยิ่งยวด" ที่จะรู้สึกตัว ครูบาอาจารย์มักจะพูดว่า นั่นเป็นการ "หลง"  ตั้งแต่เริ่มออกเดินแล้ว

คุณอุทัย มีความสนใจเรื่องเต๋า หากช่วยเสริมเรื่องหลัก "อกรรม" ในเต๋า ให้พวกเราฟังด้วยก็จะขอบคุณมากครับ

ขอบคุณ คุณนายดอกเตอร์ และ คุณสายน้ำแห่งความคิด ที่ตามติดเรื่งนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท