ปลาทูขยายพันธุ์แล้วในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตอน 2)


ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของการใช้การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


เมื่อเห็นการนำ KM ไปใช้ในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วน่าชื่นใจ เลยอยากบันทึกต่อ แบบย่อๆ ถึง ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของการนำไปใช้ ซึ่งได้จากการฟังการนำเสนอของทั้ง 4 หน่วยงานดังนี้

1) การใช้ KM ที่เนียนไปกับงาน – จริงๆแล้วประเด็นนี้ทาง สคส. ก็เน้นมาก แต่ทั้ง 4 หน่วยงานนี้ทำดีจริงๆ คือไม่ทำให้คนทำงาน รู้สึกว่า KM เป็นภาะเพิ่มจากงานประจำ มีอยู่หน่วยงานหนึ่ง คุรครูแอบไปจัดกลุ่ม ลปรร. กันเอง แล้วไปทดลองทำตามสิ่งที่ได้รับจากการประชุม แล้วค่อยนำมาบอกกับทางโรงเรียน

2) บทบาทของคุณเอื้อ – มีความสำคัญมาก คือการอำนวยความสะดวกในการให้เกิด ลปรร. ในโรงเรียน ให้เวลา อนุญาติให้จัดเวที เพื่อแลกเปลี่ยน ไม่ทำให้คนในองค์กรรู้สึกตระหนก แต่ตระหนักถึงความสำคัญ

3) ไม่ติดกรอบ แต่มีการวิเคราะห์ตนเอง และประยุกต์ใช้เอง – ส่วนตัวผมชอบอันนี้มาก เพราะเห็นว่าการจะที่จะใช้ KM ไม่ต้องตาม ทฤษฎี แต่เข้าใจหลักสำคัญ จะทำให้คนทำงานเกิดความสนุกและอยากทำ

4) มีแกนนำ – เป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายผลได้ดี มีการให้ความรู้ จัดอบรมแกนนำ และให้แกนนำไปขยายผลต่อในกลุ่ม หรือ ในหน่วยงานของตน

สุดท้ายสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดคือ การเห็นหลายโรงเรียน มีการขยาย หรือ แนะนำ KM ไปให้กับโรงเรียนอื่น ที่มีการติดต่อกัน สิ่งนี้จะเป็นการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และร่วมกันพัฒนาในทุกๆด้านได้
 

ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่หลายท่านคุยกันรื่อง การปฏิรูปการศึกษา......และบอกว่า KM ช่วยได้....ผมว่าตัวผมเองเริ่มเห็นจุดเริ่มต้นแล้ว.......แต่การเดินทางครั้งนี้ยังอีกไกล คงต้องช่วยกันในหลายๆฝ่าย....

 

หมายเลขบันทึก: 90718เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์

ได้อ่านความก้าวหน้าของKM จากที่นำเสนอมาน่าสนใจมาก อยากทราบว่า คุณครูและนักเรียนมีความพึงพอใจในการทำKMมากน้อยอย่างไรและมีความเห็นว่าในกรณีที่มีกลุ่ม(COPs)จำนวนคนเท่าใดจึงจะดีครับ

อยากให้มีข้อมูลเรื่องการขยายพันธ์ของปลาทู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท