”นามนั้น สำคัญไฉน” เอามาใช้กับBrand name สินค้าไม่ได้เด็ดขาด


นามนั้นสำคัญจริงๆ เรากำลังจะกล่าวถึง ยี่ห้อของสินค้าหรือ Brand Name

Wisdom%20on%20design

            มีคำกล่าวที่เราคุ้นหูกันเก่แก่ คือ  นามนั้น สำคัญไฉน  แต่ประมาณ 20ปีมานี้ คำกล่าวนี้  ไม่ค่อยมีคนใส่ใจแล้ว     ยิ่งมาถึง ปัจจุบัน คำกล่าวนี้ ล้าสมัยโดยสิ้นเชิง 

         นามนั้นสำคัญจริงๆ    ทำไมจะไม่สำคัญ     เรากำลังจะกล่าวถึง   ยี่ห้อของสินค้าหรือ   Brand  Name  ซึ่งจะเป็นชื่อคน   หรือจะเป็นเจ้าของลายเซ็น  ชื่อจะสะท้อนบุคลิกภาพ  หรือจะตั้งให้บ่งบอกประโยชน์หรือหน้าที่ ของสินค้า ก็ได้           การสร้างแบรนด์ เป็นหัวใจของการทำการตลาด  แบรนด์เป็นสิ่งบ่งบอกถึงตัวตน ไม่ใช่แค่ตัวสินค้า แต่เป็น แรงบันดาลใจที่มีลักษณะเฉพาะตัว  เลียนแบบกันยาก นี่คือสิ่งที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง  แบรนด์จะถูกจารึกไว้ในจิตใจของคน และจะคงอยู่ตลอดไป นานมาก    ถ้าสินค้านั้น ได้รับการเอาใจใส่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดไป

            ในช่วงที่ดิฉันทำอุตสาหกรรมอาหารอยู่ เราคิดแบรนด์ ขึ้นมาในตอนแรก 2แบบ คือแบรนด์สำหรับขายต่างประเทศ ซึ่งต้องเป็นคำที่ ชาวต่างประเทศชินหูอยู่แล้ว และรู้จักดีมาก   ส่วแบรนด์ในประเทศ ดิฉันเดินเล่นตอนเย็นในลานหน้าบ้าน ก็เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมา  โดยตั้งตามคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์ และไปจดชื่อไว้ที่กระทรวงพาณิชย์ในวันรุ่งขึ้น 

       ไม่ใช่แค่นี้นะคะ ต้องคิดเพิ่มอีก 3-4 ชื่อ  แล้วไปจ้างบริษัทมืออาชีพ เสียเงินไปเยอะ  ทำการsurvey ว่า ชื่อไหน จะโดนใจคนมากที่สุด  แล้วจึงตัดสินใจ ทำการตลาดในชื่อนั้น  เรื่องอย่างนี้ สำคัญมาก รีบไม่ได้เลยค่ะ 

      ต่อมาคิดเพิ่มอีก2-3 แบรนด์ เพราะมีสินค้าเพิ่ม  แตก Line  ออกไปอีก  และทุกแบรนด์ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 

         แบรนด์ทุกแบรนด์เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงค่ะ ถ้าติดตลาดแล้ว  ลูกค้าจะมีความผุกพันกับแบรนด์ของเรา   การค้าจะรุ่งหรือจะดับ ก็อยู่ที่ความแข็งแกร่งของแบรนด์นี่ละ  ถ้าพลาด    โอกาสจะกู้กลับก็ยากมากๆ  เพราะลูกค้าขาดความเชื่อถือแล้ว          แต่แบรนด์ดังๆก็พลาดได้ง่ายๆเช่นกัน จากแนวคิด   การขยายขอบเขตมากไป     หรือการประชาสัมพันธ์ที่ผิดพลาด เป็นต้น

      แต่สรุปคือ ความสำเร็จของสินค้า มีองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ความผิดพลาดมักเกิดจากข้อผิดพลาดที่สำคัญเพียงอย่างเดียว

        มีตัวอย่างมากมาย ที่เราคุ้นๆเช่นโกดัก เป็นกล้องถ่ายรูปด้วยฟิลม์  เห็นสีเหลืองของกล่องฟิลม์มาลอยอยู่ตรงหน้าแล้ว  แต่สมัยนี้  คนจะใช้แต่กล้องดิจิทอลเพราะสะดวกและประหยัด  แทนที่โกดักจะทุ่มเทกับกล้องดิจิทอล กลับไปมุ่งพัฒนาระบบการถ่ายภาพแบบเดิมแทน  และกลับมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นมาอย่างน่ากลัว นอกเหนือจากฟูจิ  เช่น แคนนอน มินอลต้า โซนี่  พานาโซนิค  เป็นต้น

      ขณะนี้ โกดักกำลังพบกับความลำบากมากในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรดี  ต้องคอยดูกันต่อไป   ในขณะที่โกดักไปลงทุนเรื่องการถ่ายในระบบเก่า ซึ่งแม้จะมีการพัฒนาการขึ้นมา แต่เป็นการลงทุน ในช่วงที่ ตลาดกำลังหันไป"เล่น"กล้องแบบ Digital กัน

     กล้องโพลารอยด์ก็เช่นกันไม่สามารถทานกระแสของเทคโนโลยี่สมัยใหม่ได้  ได้ปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2001       ตลาดคือสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง  ความแน่นอนของการตลาดคือ การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการตลาดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่      แบรนด์บางแบรนด์อาจจะมีอายุเก่าแก่เป็น 100 ปี แต่ถ้า ไม่ปรับตัวให้ทันกระแส โอกาสล้มหายตายจากไปจากโลกก็ย่อมมีทั้งนั้น  เป็นไปตามกฏธรรมชาติ

        แบรนด์ มีอายุขัยของมันเหมือนกัน  ทุกแบรนด์ มีช่วงการก่อร่างสร้างตัว  เวลารุ่งโรจน์ และเวลาที่ต้องปิดตัวลง   ใครจะรู้ว่า วันหนึ่ง โค้ก และ แมคโดนัล อาจต้องพบกับปัญหาก็ได้ ถ้ากระแสผู้บริโภคตื่นตัวด้านการรักษาสุขภาพ มากขึ้น มากขึ้นกว่านี้                                         

     อ้างอิงจากหนังสือ  Re-imagine ! โดย Tom Peters 

หมายเลขบันทึก: 90678เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (46)
แล้วกรณีรถโอลด์สโมบิล ตอนนี้ไปไหนแล้วคะ เงียบไป

ยังอยู่ค่ะ แต่แผ่วไปมาก กำลัง fade away แต่ก็มีชุมชนคนรักรถนี้อีกมากที่ให้กำลังใจ ไม่อยากให่ปิดลงไป ยังอยู่ค่ะ

การโฆษณา ถ้าเกินจริง ก็เป็นผลให้คนไม่เชื่อถือนะคะ

แบรนด์ ก็ติดกับช่วงของอายุคนเหมือนกันนะครับ แต่ละยุคจะมีลักษณะของการใช้งานที่แตกต่างกัน คุ้นกับสิ่งของที่ใช้ต่างกันเช่น Levi 501 จะฮิตในคนรุ่นหนึ่งแต่จะไม่มีผลกับคนอีกรุ่น...

เสียดาย โกดักนะครับ เมื่อตอนอยู่มัธยมก็ใช้แต่ฟีลม์โกดัก แต่เดียวนี้จะหาฟีลม์มาถ่ายรูปยังยากเลยครับ พูดถึงการถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เหมือนเอาแต่ปริมาณนะครับ ถ่ายแล้วไม่ค่อยได้อะไร ไม่เหมือนตอนถ่ายด้วยฟีลม์ 36 รูปในหนึ่งม้วนจะพิถีพิถันในการหามุม ปรับแสง ฯลฯ ยิ่งตอนล้างเองยิ่งต้องลุ้น

ผมเก็บกล้องและฟีลม์เอาไว้ให้ลูกดูครับ...

สวัสดีครับ

ผมติดใจคำว่าแบรนด์มีอายุไขของมันนะครับ จริงๆมันก็ถูกครึ่งไม่ถูกครึ่งนะครับ อย่างเช่น จีอี ซึ่งก็ใช้ชื่อนี้มาตั้งนานแล้ว แล้วผมว่าก็คงจะยืนหยัดต่อไป เนื่องจากการ diversify business cores ของตัวเองออกไปทั้งทางกว้างและทางลึก

ผมคิดว่าการที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งนั้นไม่สามารถรักษาสภาพตัวเองได้ ก็เนื่องจากการไม่สามารถเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของตลาดที่ดีพอครับ

เช่นจีอี ซึ่งโตมาจากการเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ตอนนี้ diversify ตัวเองไปแทบที่จะเรียกว่าทุกอุตสาหกรรมแล้วครับ

แต่อ่านเรื่องที่อาจารย์เขียนแล้ว นึกถึง google ครับ ที่ google ฟ้อง webster (ไม่แน่ใจนะครับว่าใช้ webster หรือเปล่า) ที่บัญญัติคำว่า google ลงไปใน dictionary version ใหม่

ทั้งๆที่ดูเหมือน google จะได้ประโยชน์จากการบัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ เพราะว่าได้รับการโฆษณาฟรีลงใน dictionary ไม่ใช่ใครๆก็ทำได้นะครับ

แต่ก็เพราะการเป็นศัพท์ใหม่นี่แหละที่ทำให้ google คิดว่า ตัวเองนั้นหมดความขลังไป

ทั้งที่จริงๆคนรุ่นใหม่เวลาหาอะไรบนอินเตอร์เน็ต ก็เรียกว่า googling หมดแล้ว

หลายคนอาจจะไม่คิด แต่นึกถึงกรณีเมืองไทยก็ได้ครับ ที่เราเรียกผงซักฟอกว่าแฟ้บ เรียกผ้าอนามัยผู้หญิงว่าโกเต็ก เมื่อแบรนด์หมดความขลังลงไป ก็ทำให้ผู้บริโภคหมดความรู้สึกถึงความพิเศษของแบรนด์นั้นๆ นี่เป็นกรณีเดียวกับ google ครับ

แต่ที่ผมสนใจครับ คือแล้วถ้าเราเจอกรณีนี้ เราจะทำยังไงครับ เมื่อแบรนด์เรากลายเป็นคำเรียกโดยทั่วไปซะแล้ว?

อีกเรื่อง เรื่องโกดัก จริงๆแล้วโกดักตอนนี้ก็พยายามรุกตลาดกล้อง digital มากขึ้นนะครับ แต่ช้าไปแล้ว แต่ที่สำคัญก็คือตลาดคนเล่นกล้องมืออาชีพที่ใช้ฟิล์ม กลับกลายเป็นของโกดักแทบจะสิ้นเชิง เพียงแต่ตลาดมันเล็กลงไปอย่างน่าใจหายเท่านั้นเองครับ :D

ขอบพระคุณครับ

 

 

แบรนด์จะอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการปรับตัวทางธุรกิจด้วยค่ะ เช่นยาสระผมยี่ห้อ แฟซ่า ถ้ามองถึงProduct life Cycle ยาสระผมยี่ห้อนี้เคยหายไปจากตลาดหลายปี และก็กับมาพร้อม ๆกับการเปิดตัวที่เน้นสุขภาพที่เป็นสมุนไพร หรือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เพราะตลาดต้องการ และปัจจุบันก็น่าจะทำยอดขาดได้ติด Top 5 เสียด้วย  จริง ๆแชมพูหรือสบู่ก็เป็นอีกหนึ่ง กรณีศึกษาที่น่าติดตามไม่น้อยค่ะ ขอบคุณที่นำเรื่องดี ๆ มา ลปรร ค่ะ
เอะ แต่บางยี่ห้อทำเป็นจะบางตาลงไป  แต่ก็ยังทำขึ้นมาใหม่  เช่น  สบู่นกแก้ว  จริงไหมค่ะ
ไม่มีรูป
กฤษณา
การโฆษณามีเป้าหมายให้ขายสินค้าได้ดีขึ้น  และให้คนไม่ลืม แต่ถ้าโฆษณาเกินจริง ก็จะมีผลเสียมาก คนขาดความเชื่อถือ บางทีทางราชการก็ต้องออกมาปรามก็มีบ่อยๆค่ะ มีตัวอย่างให้เห็นหลายอย่าง เช่น การโอ้อวดเกินจริงของสินค้าพวกแม่เหล็ก
ไม่มีรูป
กฤษณา

สบู่ตรานกแก้ว 

 แบรนด์เก่าแก่มานาน และซบเซาไปพักหนึ่ง ก็ไม่ได้ตายนะคะ มีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ยังจงรักภักดีอยู่ เขาก็เลยนำสบู่เดิมนี่ มาปรับปรุงโฉมใหม่ ให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งก็มีคนหันกลับมาลองใช้อีกเหมือนกันค่ะ

P

สวัสดีค่ะ

Levi 501 จะฮิตในคนรุ่นหนึ่งแต่จะไม่มีผลกับคนอีกรุ่น...

จริงเลยค่ะ ยุคสมัยเปลี่ยน ยี่ห้ออะไรที่เคยฮิตๆสมัยหนึ่ง เด็กรุ่นนี้ไม่สนใจแล้ว ถึงแม้กางเกงยีนส์จะเป็นยอดฮิตเหมือนเดิม

กล้องดิจิตอล ปัจจุบันน่าจะดีเกือบเท่ากล้องใช้ฟิลม์นะคะ เพราะพัฒนาไปมากๆเช่นกล้องNikon D200 เป็นกล้องใหญ่ การใช้ยากเหมือนกัน และกล้องหนัก พะรุงพะรังมาก แต่ถ่ายออกมาสวยมากค่ะ

P

สวัสดีค่ะ อาจารย์คะ คิดถึงคุณหว้า ยังไม่กลับจากสงกรานต์หรือคะ

เห็นด้วยค่ะอาจารย์ แฟซ่า เป็นแบรนด์เก่าดังมานาน ตกไปพักหนึ่ง  แข่งกับน้องใหม่ไม่ค่อยได้ เช่น ซันซิล ซึ่งขยันออกนวัตกรรมมาปรุงแต่งสินค้าอย่างไม่ว่างเว้น

ทางผู้ผลิต บริษัท คาโอ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด   จึงตัดสินใจ re- brandใหม่ สร้าง

บุคคลิกใหม่ให้แฟซ่า หมดเงินไปเยอะ ปรับtarget group จากครอบครัวและผู่หญิงวัยกลางคน มาเป็นผู้หญิงวัย 18 ขึ้นไป และทำงานในเมืองใหญ่

ส่วนแบ่งตลาดมีเหลือเพียง 5% ในปัจจุบันค่ะ จาก30-40%เมื่อ20ปีที่แล้ว

ไม่มีอะไรแน่นอนค่ะ 

ส่วนแบ่งคร่าวๆของแชมพูนะคะ

ส่วนแบ่งการตลาด ตลาดแชมพูเพื่อความงาม 7,000 ล้านบาท (by brand)
- ซันซิล 28%
- แพนทีน 12%
- โดฟ 10%
- รีจ้อยซ์ 7%
- แฟซ่า 5%
- อื่นๆ 38%



P

สวัสดีค่ะ อยู่ดึกมากๆเลยนะคะ

คุณมีความรู้ดีทีเดียวค่ะ

ต้องแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆแล้ว ดิฉันเองทำการตลาดด้วยตัวเองมาค่อนข้างมาก บางทีก็เน้นที่products  บางทีก็เน้นที่การบริการ

บางทีเน้นทั้งคู่  การตั้งชื่อแบรนด์ ไม่ใช่ง่าย ต้องคิดหลายด้าน และต้องจ้างบริษัทมาทำsurveyก่อนจะนำเสนอออกไป แล้วต้องดูfeed backด้วย

ตอนนี้ เน้นการตลาดบริการเป็นหลัก

เรื่องของอายุของbrandนั้น จริงๆมันก็มีอายุนะคะ ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถือว่าติดตลาดแล้ว

แต่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คนคาดหวังอะไรมากขึ้นกว่าเดิม และคู่แข่งก็มากเหลือเกิน ถ้าG.E.ถ้ายังคงเป็นบริษัทเครื่องไฟฟ้าเหมือนเดิม คงแย่ เพราะตลาดอิ่มตัว  แต่เขามองการณ์ไกล พัฒนาตลาดใหม่ สินค้าใหม่  รีบหนีคู่แข่งไปเสียไกล หลายช่วงตัว เป็นตัวอย่างที่ดีค่ะ

อย่างที่ Tom Peters ยกคำพูดของGeneral Eric Shinseki,Chief of Staff, U.S.Army  ไว้ว่า If you don't like change,you're going to like irrelevance even less

ที่คุณพูดว่า"แต่ที่ผมสนใจครับ คือแล้วถ้าเราเจอกรณีนี้ เราจะทำยังไงครับ เมื่อแบรนด์เรากลายเป็นคำเรียกโดยทั่วไปซะแล้ว?"กรณีอย่างนี้ คล้าย Xeroxที่กลายเป็นคำกิริยาไปแล้ว

ความเห็นของดิฉันอาจผิดนะคะ::

แสดงว่าผู้บริโภครับรู้และฝังใจไปกับยี่ห้อสินค้า จนเอาไปเรียกเป็นคำเรียกทั่วไป เรียกได้ว่า ประสบความสำเร็จ ที่คนขึ้นใจกับตราสินค้าเรามาก แต่อาจจะเป็นอุปสรรค เวลาจะพัฒนา หรือแตกไลน์สินค้าออกไป คนอาจไม่ยอมรับสินค้าใหม่ของเรานัก เพราะฝังใจกับexperienceเก่าของเขา

นึกขึ้นมาได้---Program Word ของGoogle ก็ไม่เป็นที่นิยมนะ สู้Microsoft ไม่ได้ คนชอบGoogleตรงเขาเป็นsearch engineมากที่สุด แต่นั่นแหละ อะไร ก็ไม่แน่ อาจจะพัฒนาจนดีกว่า Microsoft ก็ได้

ไม่ทราบถูกใจไหม ก็รู้ตามประสบการณ์ค่ะ

 

ผมเคยอ่านหนังสือ เรื่อง 100 Brand ล้มดังครับ

 

ขนาดแค่ ชื่อ  ก็มีความสำคัญมากในด้านการดึกดูดความสนใจ  ชื่อไม่ได้  ออกแบบไม่สวย  ก็ทำให้ล้มได้แล้วอะครับ

 

 

Oneman_Oneshow

สวัสดีค่ะที่มาเยี่ยม

P
ใช่ค่ะ ชื่อแบรนด์ไม่โดนใจ  ออกแบบก็ไม่สวย คงอยู่ยาก ที่สมัยนี้อะไรๆ ก็จะแพ้เทคโนโล,ยี่ไปหมด โดยเฉพาะทางคอมพิวเตอร์  อีกหน่อย Blog ก็จะhit  มากว่านี้ เพราะมันอิสระดี ก็แล้วแต่ที่webไหนด้วย แต่ที่นี่ เรียบร้อยหน่อยดีกว่า สุภาพๆดีกว่าค่ะ

ขอบคุณที่เข้าไปอ่านตั้ง 2 เรื่องอ่ะครับ คุณพี่sasinanda   ผมไม่อยากเขียนเรื่องที่ต้องใช้สมองมาก  เพราะทุกวันนี้เราก้เครียด กับ เรื่อง รอบ ๆ ตัวอยู่แล้ว    ก็เลย คิดว่าเขียนอะไร แนว ๆ นี้ดีกว่าครับ

เอาแบบว่า เบาสมอง ได้ความรู้ อะครับพี่  กระชับอ่านแล้วสนุกครับ   แต่บางครั้งก็มีเรื่องเกร็ดความรู้ ต่าง ๆ มาแทรกด้วยนะครับ

ขอบคุณจากใจอีกครั้งครับ

Oneman_Oneshow

P
ดีค่ะ เปลี่ยนหลายๆแนว ไม่ซ้ำดี ชอบความหลากหลายค่ะ

สวัสดีค่ะ..

ขอบคุณนะคะที่มีบทความที่ให้ความรู้  เพิ่มรอยหยักของสมองดีจัง..จะติดตามอ่านต่อไปนะคะ..ขอบคุณค่ะ

ชื่อเราเองยังให้ความสำคัญเลยนะครับ พ่อแม่ให้มาก็ย่อมดี มีความหมาย

ตอนลูกผมเกิดก็ยังต้องให้พระท่านตั้งชื่อให้เลยนะครับ ก็เป็นความเชื่อที่ทำแล้วสบายใจ...

ชื่อคนก็เป็นยุคเหมือนกันนะครับ..เช่น สมหญิง สมชาย ฯลฯ พอบอกลักษณะของเจ้าของชื่อได้บ้างไหมครับ... 

สวัสดีค่ะ
P

เรื่องนี้ ไม่ค่อยทราบค่ะ แต่ทราบว่า ส่วนใหญ่พระจะตั้งชื่อให้ตามเวลาตกฟาก วันเดือน ปี เกิด

เป็น อายุ เดช ศรี  มนตรี มูละ อุตสาหะ

นิยมตั้งชื่อเด็กชาย ใหเมีอักษรเป็น เดช นำหน้า

เด็ก หญิง อักษร ศรี นำหน้า

แต่หลานดิฉัน เราตกลงกันว่า ให้อักษรมนตรี นำหน้า เพราะเขามีดาวอาทิตย์นำอยู่ และจันทร์เป็นเดช เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ ใหเอ่อนๆหน่อยดีกว่า

มนตรี แปลว่า มีบริวาร มียศ ตำแหน่งค่ะ

ตัวดิฉันเอง อักษร ที่เป็น ศรี นำหน้า คือ ศศินันท์

ขอบคุณครับ...

 

เวลาตกฟาก เดี๋ยวนี้กำหนดผ่าออกกันเยอะนะครับ ไม่ค่อยได้ตกตามที่ควรจะเป็น...ลูกผมก็ผ่าออก แต่เป็นเพราะคลอดก่อนกำหนด น้ำเดินและสายรกพันคอไปสองรอบ(ดูจากอัลตราซาวน์)... ชื่อ โภชกร ครับ ตามพ่อและท่านเจ้าคุณที่วัด ตั้งให้ทั้งพ่อและลูก

โอชกร

ขอแสดงความยินดีมากๆค่ะ กับลูกชาย ของขวัญจากสวรรค์  มิ่งขวัญของพ่อแม่ อ่านซีคะ

http://gotoknow.org/blog/goodliving/90604

เวลาตกฟาก คือวินาทีที่ลูกออกมาชมโลกวินาทีแรก ถ้าลูกเราจะต้องออกมาด้วยวิธีนี้ จะต่างอะไรกับการออกธรรมชาติ

บุญกรรมติดตัวมาแล้ว นับแต่ปฏิสนธิ ไม่มีใครไปเปลี่ยนอะไรได้อีก ต่อไปนี้ ก็คือ การต้องถูกเลี้ยงให้เติบโตป็นเด็กดี เป็นเยาวชนที่ดี ของครอบครัว ของประเทศต่อไปค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยม และชมด้วย

ก็เป็นประสบการณ์ที่ทำมา และตอนนี้ก็ยังทำธุรกิจ แต่เบาไปแยะ มีผู้ช่วยดีๆ เลยได้พักบ้าง กำลังคิดอีกเรื่องค่ะ ที่เกี่ยวข้องกัน

สวัสดีครับอาจารย์

ผมว่าอาจารย์ให้เกียรติผมมากเกินไปนิดนึงนะครับ เพราะว่าผมนั้นความรู้กระจึ๋งเดียวเองครับ ไม่ได้มากมายอย่างที่อาจารย์คิดแน่นอนครับ

ผมกำลังคิดว่าการตั้งชื่อนั้นสำคัญจริงหรือ และสำคัญขนาดไหน

ผมคิดว่าไม่น่าจะสำคัญขนาดนั้นนะครับ ถ้าเราสามารถตั้งชื่อให้สอดคล้องกับสินค้า เป็นมงคล ไม่ซ้ำใคร ผมว่าก็น่าจะโอเคแล้ว

แต่ผมว่าสิ่งที่ยากและท้าทาย คือการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดและรักษาแบรนด์นั้นไว้ครับ ผมว่านี่เป็นสิ่งที่ท้าทายมากกว่าการตั้งชื่อครับ ผมให้สูตรปุ๋ย 20-40-40 ล่ะกันครับ ชื่อ-สร้างแบรนด์ให้ติดตลาด-และรักษาแบรนด์ในตลาด

คือชื่อ 20% และการสร้างแบรนด์กับการรักษาแบรนด์เท่ากันอย่างละ 40%

ผมว่าการที่ชื่อแบรนด์กลายเป็นคำธรรมดา ไม่มีความขลังนั้น ผมว่าน่ากลัวนะครับ 

เพราะว่าถ้าผมเป็นบรีส ผมคงไม่สนหรอกครับ ว่าคนจะเรียกผงซักฟอกว่า ผงซักฟอก แฟ้บ บรีส หรือเปา แต่ขอให้ซื้อบรีสเหอะ เรียกยังไงก็ไม่ว่ากันอยู่แล้ว

เพราะถ้าการสร้างแบรนด์ให้กลายเป็นคำเรียกขานธรรมดาแล้วดีจริง ผมคิดว่าป่านนี้ เราคงเห็นลอรีเอะ พยายามทำให้คุณผู้หญิงเรียกผ้าอนามันว่าลอรีเอะ และบรีสทำให้คุณแม่บ้านเรียกผงซักฟอกว่าบรีสครับ

ในขณะเดียวกัน ถ้าผมเป็นผู้บริหารแฟ้บ หรือโกเด็ก ผมก็คงจะคิดหนักว่า จะทำยังไง ให้คนบอกว่าไปซื้อแฟ้บแล้วไปหยิบแฟ้บ ไม่ใช่บอกว่าไปซื้อแฟ้บแต่ไปหยิบบรีส โอโม เปา หรือผงซักฟอกยี่ห้ออื่นๆ อาจจะต้องเขียนกล่องว่าแฟ้บตัวโตๆหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ หรือว่าเขียนว่า ผงซักฟอก=แฟ้บ (คิดเล่นๆนะครับ ไม่ได้คิดจริงจัง)  

ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจเท่าไรที่ Google ต้องฟ้อง Webster เท่าไรครับ เพราะถ้าทำให้ชื่อ Google หมดความขลังไป คนก็อาจจะบอกว่า I am googling แต่ใช้ yahoo แทน มันก็ไม่มีความหมายอะไรกับ Google นะครับ

อาจารย์กรุณายกตัวอย่างซีร็อกซ์ อันนี้ผมก็ไม่ทราบจริงๆครับว่า ในตลาดเครื่องถ่ายเอกสารนั้น ซีร็อกซ์ยังเป็นเจ้าของตลาดอยู่หรือเปล่า

แต่ผมว่าที่อาจารย์ยกตัวอย่างมานั้น ตลาดมันต่างกันครับอาจารย์ เพราะว่าตลาดของ Google ผงซักฟอก หรือผ้าอนามัยนั้น มุ่งไปที่คนทั่วไปครับและใช้กันทุกวันครับ

แต่เครื่องถ่ายเอกสารนั้นไม่ใช่ครับ ตลาดของเครื่องถ่ายเอกสารมุ่งไปที่สำนักงานเป็นส่วนมาก ไม่ได้มุ่งที่คนทั่วไปอย่างเรา ตัวเครื่องถ่ายเอกสารนั้นมีเทคโนโลยีที่ซับซ้อน อีกทั้งบริษัทเครื่องถ่ายเอกสารนั้นมีวิธีที่จะเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าสินค้าหรือบริการที่เราพูดถึงเช่น กูลเกิ้ล ผงซักฟอก หรือผ้าอนามัย โดยผ่านการบริการ หรือการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร และการขายน้ำหมึก (เขาเรียกแบบนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)

แต่ก็อีกนั่นแหละครับอาจารย์ ผมว่าซีร็อกซ์ก็คงไม่สนใจหรอกครับว่า คนทั่วไปอย่างเราจะเรียกการถ่ายเอกสารว่าอะไร ถ้าสำนักงานทุกแห่งทั่วประเทศไทย ซื้อเครื่องถ่ายเอกสารของซีร็อกซ์

แต่ผมเห็นด้วยกับอาจารย์นะครับที่อาจารย์บอกว่า ถ้าเกิดชื่อนั้นติดตัวไปแล้ว กลายเป็นคำเรียกทั่วไปแล้ว คนจะติดภาพลักษณ์และทำให้เราทำสินค้าชนิดอื่นลำบาก (นี่ไงครับที่รถถึงต้องมีหลายรุ่น แอปเปิ้ลต้องเรียกคอมว่าแม็ค เรียกไอพอดว่าไอพอด)

นั่นคือความเห็นของผมนะครับ แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกถ้าเกิดเราเจอกรณีที่แบรนด์เราเป็นชื่อทั่วไป เราจะพยายามรักษาความขลังของแบรนด์เราได้ยังไง (ทำยังไงให้บอกว่าไปซื้อแฟ้บ แล้วก็หยิบแฟ้บไปเคาเตอร์จ่ายเงินนะครับ)

อ่านที่คุณ โอชกร เขียนเรื่องชื่อคน เป็นยุคสมัย อ่านแล้วคิดถึงหนังสือที่ชื่อเรื่องว่า Freakonomics ในหนังสือเล่มนี้นั้นบอกว่า พ่อแม่ที่มีฐานะไม่ค่อยดีนั้นจะตั้งชื่อลูก ตามลูกของคนที่มีฐานะดีกว่าครับ

ดังนั้นชื่อเลยมีเป็นยุคครับ แล้วก็ค่อนข้างเป็นไซเคิลด้วยครับ หนังสือนั้นยกชื่อบางชื่อซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นชื่อฮิตของเด็กที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลาง แต่อีกสิบปีต่อมา ก็กลายเป็นชื่อฮิตของครอบครัวที่มีฐานะยากจนครับ (จริงๆก็ไม่มีอะไรหรอกครับ เห็นว่าตลกดีเลยเล่าสู่กันฟังครับ)

ขอโทษนะครับ เขียนตอบซะยาวเลยครับ

ขอบพระคุณครับ

ต้น

สวัสดีครับอาจารย์

กลับมาอ่านอีกรอบ แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าผมลืมอะไรไปครับ ผมลืมถามอาจารย์ไปว่า

ไม่ทราบว่าอาจารย์เคยลองอ่านหนังสือชื่อ Influence หรือยังครับ

หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเทคนิคการโน้มน้าวใจคน (เทคนิคการตลาดนั่นแหละครับ) โดยมองจากมุมจิตวิทยาครับ ผมว่าอาจารย์น่าจะชอบเล่มนี้นะครับ หนังสือเล่มนี้เป็นไบเบิลของพวกวิชา negotiations ครับ (แต่ผมว่าเหมาะมากกับคนทำพวกการตลาดครับ)

ขอบพระคุณครับ

ต้น

P

 ที่คุณcomment    "อ่านที่คุณ โอชกร เขียนเรื่องชื่อคน เป็นยุคสมัย อ่านแล้วคิดถึงหนังสือที่ชื่อเรื่องว่า Freakonomics ในหนังสือเล่มนี้นั้นบอกว่า พ่อแม่ที่มีฐานะไม่ค่อยดีนั้นจะตั้งชื่อลูก ตามลูกของคนที่มีฐานะดีกว่าครับ "

อาจมีส่วนค่ะ

ยุคแรกๆ คงตั้งชื่อง่ายๆ เรียกง่ายๆ พยางค์เดียว

ด่อมาคนที่เรียนมากขึ้นก็อยากตั้งชื่อลูกให้วิจิตรขึ้นมาอีกหน่อย  แต่ไม่รู้จะตั้งชื่ออะไร ส่วนใหญ่ มักไปให้พระตั้งชื่อ  พระเรียนภาษา บาลีมา มีความรู้เรื่องภาษาบาลี สันสกฤติ์ มากกว่า  การตั้งชื่อ จึงตั้งได้เพราะและมีความหมาย

คนอื่นๆเห็นเพราะ ก็เลยตั้งตามๆกันไป

ชื่อของดิฉันและพี่น้อง คุณพ่อตั้งให้   ชื่อลูกชาย ดิฉันก็ตั้งเอง ไม่ยาก ซื้อหนังสือมาอ่าน อย่าให้มีกาลกิณี ก็แล้วกัน และดิฉันเรียนจบอักษรศาสตร์ด้วย ตั้งชื่อให้ลูกเพื่อนมาหลายคน

ส่วนชื่อหลานนั้น  ยุคสมัยเปลี่ยนมาก ตอนนี้นิยมตั้งชื่อเรียกง่าย มีความหมายดี ออกเสียงเรียกเป็นภาษาอื่นแล้ว ความหมาย ยังดีอยู่

เช่น หลานชายดิฉัน ชื่อ ศีล เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Sean อ่านว่า ชอน

ที่ตั้งแบบนี้เพราะ กะ ส่งไปเรียนต่างประเทศ เวลาถูกเรียกแล้ว เสียงและความหมายไม่เพี้ยนค่ะ

คุณมีความเห็นว่าไงคะ แลกเปลี่ยนกันค่ะ

เรื่องอื่นด้วยค่อยตอบ เดี๋ยวยาวไปค่ะ

  • ตามมาขอบคุณใช้น้องนิกรอยู่ครับ
  • ขอบคุณครับ

กำลังเริ่มสนใจด้านการตลาดพอดี ได้ความรู้ดีจังขอบคุณครับผม

 

 : D  

 

สวัสดีค่ะ ราณีเคยเห็นบันทึกหนึ่งเรื่อง ความเชื่อ เลยอยากให้พี่ลองเข้าไปดูนะค่ะ  http://gotoknow.org/blog/buddhaza/90701

P
อ่านแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  เข้ามาcomment บ่อยๆนะคะ ชอบค่ะ

ผมเจอเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เขาตั้งบริษัทชื่อ แบรนด์ดีนี้ Branddeenee ทำการตลาดให้กับลูกค้าแบบครบวงจร แค่ชื่อบริษัทเขาก็น่าสนใจแล้วครับ ....แต่ปัจจุบันไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรแล้ว...

คนเราก็น่าจะสร้าง ชื่อเสียง ไว้นะครับ เป็นคุณงามความดีที่อยู่กับแผ่นดิน เช่น นายจัน หนวดเขี้ยว ดูชื่อแล้วก็เห็นภาพเลยนะครับ

ชื่อบริษัทสถาปนิกในต่างประเทศที่เคยเห็นจะใช้ชื่อตัวสถาปนิกมาเป็นชื่อบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Tadao Ando , I.M. Pei, Frank Gehry ฯลฯ  งานเหล่านี้จะบอกแบรนด์นะครับ ว่างานจะเป็นแบบไหน ในบ้านเราก็จะมี เช่น  A49 , สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ, แปลน แอสโซซิเอทส์ ฯลฯ อีกมากมาย ...ก็บ่งบอกลักษณะของงานที่ทำ ที่ออกแบบไว้(น่าจะพอเห็นภาพ)....หรือแม้แต่บ้านจัดสรร ที่พอเห็นชื่อแล้วก็อาจจะเห็นภาพบรรยากาศของบ้านที่อยู่ในโครงการ...

ที่ยกตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมกับสถาปนิกที่ออกแบบ ผมคิดว่าคนที่ออกแบบมีลักษณะส่วนตัวในการทำงาน และงานที่ทำไว้จะเป็นขยะคอนกรีตหรือเป็นงานสถาปัตยกรรมก็ได้ และทุกงานมีผลกระทบต่อผู้คน ผู้อยู่อาศัยนะครับ...

สงสัยออกนอกประเด็น  : -D

P

ตอบค่ะ

ที่คุณบอกว่า.....ออกแบบมีลักษณะส่วนตัวในการทำงาน และงานที่ทำไว้จะเป็นขยะคอนกรีตหรือเป็นงานสถาปัตยกรรมก็ได้ และทุกงานมีผลกระทบต่อผู้คน ผู้อยู่อาศัยนะครับ...

ก็คือ เขาพยายามสร้างแบรนด์ของเขาค่ะ จะเป็นลายเซ็นต์ของเขา หรือลักษณะเด่นของกิจการ  จะเป็นชื่อผู้ก่อตั้งก็ได้  พยายามให้แตกต่างจากคนอื่น และให้คนอื่นจดจำด้วย

การตั้งชื่อที่ดี ก็สามารถถ่ายทอดความดีนั้นไปยังผลิตภัณฑ์ด้วยค่ะ  อย่างเช่นชื่อ แรกที่คุณยกตังอย่างค่ะ

การตั้งชื่อ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องคิดให้ดีก่อน และไม่ควรเปลี่ยนไป เปลี่ยนมาบ่อยๆค่ะ

P
ขอบคุณค่ะ เรามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็ได้ค่ะ
P

คุณต้นคะ คิดขึ้นมาได้ว่า ยังมีที่ยังไม่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับคุณอีกข้อหนึ่ง พอดี ที่ทำงานมีปัญหาเล็กน้อย เลยยุ่งหน่อย o.kแล้วค่ะ  คุณพูดว่า

แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกถ้าเกิดเราเจอกรณีที่แบรนด์เราเป็นชื่อทั่วไป เราจะพยายามรักษาความขลังของ

แบรนด์เราได้ยังไง (ทำยังไงให้บอกว่าไปซื้อแฟ้บ แล้วก็หยิบแฟ้บไปเคาเตอร์จ่ายเงินนะครับ

กรณีที่แบรนด์เราขายดี จนชื่อสินค้าเข้าไปอยู่ในใจคน ก็เป็นเรื่องที่ดี เป็นความสำเร็จที่เราสามารถผลักดันยี่ห้อเราให้เข้าไปอยู่ในหัวใจคนได้ เรียกจนติดปาก 

 แต่การค้าต้องมีคู่แข่งแน่นอน แบรนด์ใหม่จึงเกิดขึ้นได้ แต่เพราะความที่ลุกค้าติดปากแบรนด์เรา เขาจึงยังเรียกเป็นชื่อเราอยู่เป็นอัตโนมัติ แม้ตั้งใจจะลองสินค้าอื่นบ้าง เราห้ามลูกค้าไม่ได้ ธรรมชาติของคนชอบลองของใหม่ค่ะ แต่ถ้าไม่ดีจริงก็กลับมาตายรัง

กรณี แอบเปิ้ล คอมพิวเตอร์ เขาขายน้อย มีส่วนแบ่งตลาดไม่มาก และราคาแพง การออกแบบสวยงามกว่า จึงต้องแพง แต่ก็วางตัวเอง เป็น premium brand  ไม่เหมือน ไมโครซอฟท์ ราคาเราซื้อได้ ขายเอาปริมาณและเป็นเจ้าตลาด  ก็เลยดูไม่ค่อยขลังเท่าใด

อย่างนาฬิกาcomplex watch แพงๆ สวยๆ มีสินค้าไม่มากนัก แต่ขลังมากๆ หลายคนชอบซื้อเก็บเป็นการลงทุน เพราะไม่ใช่ของโหล บางเรือนแพงมากค่ะ

Google คงอยากยกระดับตัวเองให้ดูเหนือชั้นคนอื่นตลอดเวลา ไม่อยากเป็นของโหล  คล้ายๆMac แต่ก็ขยายตลาด ขยายสินค้าไม่ได้หยุด แต่ยังไงตอนนี้ก็ยังขลังกว่าคนอื่นอยู่แล้วค่ะ

บางทีความขลังของบางสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่มักแพงกว่าและdesignสวย   ก็ทำเงินสู้สินค้า mass productsไม่ได้ อยู่ที่เราจะเลือกอะไรค่ะ

ไม่ทราบคุณว่าไงคะ

ผมว่าการแข่งขันในตลาดนี้ก็แปลกนะครับ...บางทีถ้ามีอยู่อย่างเดียว คนก็ไม่ซื้อ ...ถ้ามีให้เลือกก็จะซื้อง่ายกว่าเพราะได้เกิดการเปรียบเทียบ

สินค้าบางชนิดมาจากโรงงานเดียวกัน แต่มาเปลี่ยนแบรนด์ ตีตราที่แตกต่าง สามารถทำราคาต่างกันได้นะครับ ...

การตัดสินใจที่จะบริโภคสินค้าก็ขึ้นกับความชอบและประสพการณ์ของคนนะครับ...ผมจำได้ว่าตอนที่ซื้อ Toyota Vios เพียงเพราะหน้าปัดอยู่ตรงกลางคอนโซล...ไม่ได้ทดลองอะไรมากเลยครับ...ดังนั้นปัจจัยในการตัดสินใจอาจจะเป็นเพราะจุดเล็กๆที่ชัดเจนก็ได้ครับ...

สวัสดีครับอาจารย์

อาจารย์ครับนิดนึงครับ แอปเปิ้ลกับไมโครซอฟต์ ตลาดคนละตลาดครับ

Apple ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ Microsoft ขาย software ครับ ตลาดกันต่างกันครับ

Apple ช่วงที่ออก Mac ออกมานั้น เปลี่ยน target market ครับ (เปลี่ยนไปเลยครับ ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ) Mac ออก look มาให้ดูโฉบเฉี่ยวกว่า แล้วก็เน้นไปที่กลุ่มที่ใช้ทำ graphic และออกแบบครับ

 แต่ตอนแรก Mac ก็ยังไม่เป็นที่นิยม (นิยมเฉพาะพวกที่เน้น graphic design เท่านั้น) เพราะว่า Mac นั้น โปรแกรมบางอย่างเช่น word นั้น ถ้าออกมาจาก Mac เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา ที่ไม่ใช่ Mac อ่านไม่ออกครับ

เมื่อ Mac ทำตลาดได้ที่ target market ที่ตัวเองต้องการ แล้ว Mac ค่อยมาขยายตลาดครับ (Mac ไม่ได้ต้องการที่โฟกัสแต่แค่ตลาดพวก graphic design ครับ) แล้ว Microsoft ก็เริ่มออก MS Office ให้มันใช้ได้ทั้งกับ Mac และ PC ที่ใช้ Windows ครับ แต่ Mac ก็ยังถูกเรียกว่า computer อยู่ดีครับ

แต่อาจารย์ทำให้ผมนึกถึง ipod ครับ ipod เป็นคำเรียกทั้งชื่อตัวสินค้า และยี่ห้อ แต่ทุกคนพอพูดถึง ipod ก็นึกถึงแต่ ipod ของ Apple ครับ

อาจจะเป็นไปได้ว่า ipod นั้นออก รุ่นประหลาดๆมาตลอดเวลา พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

แต่ในทางกลับกัน Palm Pilot (ซึ่งลักษณะคล้ายกัน) ก็เจ๊งกะบ้งไปแล้ว แต่ช่วงหลังๆ Palm Pilot ก็เจอ Vizer ตีตลาด PDA รวมไปถึง Palm ก็ไม่ค่อยจะมีอะไรน่าตื่นเต้นซะด้วย (ทั้งตลาดเลย)

ตัวสุดท้ายที่ผมคิดถึงคือเกมส์ครับ play station, xbok, wii พอเราพูดถึงพวกนี้ เราแยกความแตกต่างออกเลย เป็น brand loyalty ไปเลย เป็นคำเรียกทั้งชื่อแบรนด์และตัวสินค้า

ผมว่าผมเห็นความแตกต่างอย่างหนึ่งครับ คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนซื้อกับคนขาย ผ่านตัวสินค้า

ผมคิดว่าปฏิสัมพันธ์นี่แหละครับที่ทำให้ คนที่เรียกชื่อแบรนด์แทนสินค้าทั่วไป แล้วยังระลึกถึงสินค้าเราอยู่ และไปซื้อสินค้าเรา

เพราะว่า ipod นั้น เราสามารถ update เพลง หนัง ผ่าน เว็ปไซท์ของ apple ได้ ส่วน Palm นั้น ทำได้ แต่ก็ไม่มากมายเท่า แถมไม่จำเป็นด้วย หรือเกมส์ ที่ต้องเป็นเกมส์ที่ออกมาเฉพาะเครื่องแต่ละประเภท ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ Xerox มีเหมือนกันใช่ไหมครับ

เรื่อง Google นั้น ผมมองไม่ออกจริงๆครับ เพราะว่า เป็นการบริการครับ ไม่ใช่สินค้า แต่ผมว่าเมื่อไรก็ตามที่ Google เป็นคำเรียกขานธรรมดา ผมว่าก็คงแย่เหมือนกันครับ เพราะว่า google ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริการ ผู้ใช้ และผู้ขายนะครับ

เพราะถ้ากลายเป็นคำเรียกขานโดยทั่วไป แล้วไม่มีคนมาใช้ ก็มองไม่ออกเหมือนกันครับว่า แล้วใครจะมาโฆษณากับกูเกิ้ล :D

P

อีกนิดค่ะ คิดเหมือนกันว่าbrand ที่ติดตลาด แต่คนยังเลือกซื้อตลอด เพราะมีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง  ยังเด่นกว่าทุกยี่ห้อ คนก็ไม่ตีจาก เหมือน coke/  pepsi ก้ยังเหนียวแน่น RC.หรืออะไรออกมา ก็ตีไม่สำเร็จ

ipod พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  จึงอยู่ได้ดี

ส่วนgoogle เป็นบริการที่เด่นมากและมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดเหมือนกัน ช่วง ไตรมาสนี้กำไรอีกเพิ่มอีก69% เขาจึงยังต้องการตำแหน่งเจ้าตลาดที่โดดเด่น ไม่ยอมให้ตัวเองตกไปเป็นเหมือนของโหล เป็นking of search engine  ให้นานที่สุด ก็คงอยู่อย่างนี้อีกนานค่ะ

การโฆษณาสินค้าสักชิ้น ก็ต้องมีตรายี่ห้อ เพื่อคนที่ดูจะได้จำได้  การจะโฆษณาก็ต้องดูให้เหมาะสมกับสินค้า ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง  และต้องสื่อออกมาให้ดึงดูดด้วย  เป็นที่น่าสนใจ  สินค้าบางอย่างโฆษณาเกินความจริงมากไปหน่อย  เหมือนเอาเปรียบผู้บริโภคใช่ไหมค่ะ
ไม่มีรูป
กฤษณา

สวัสดีค่ะ

การโฆษณา สินค้าอะไร คงต้องไม่ให้เกินความเป็นจริง มิฉะนั้น จะมีปัญหาแน่นอนค่ะ

ตราแบรนด์ เป็นส่วนสำคัญ คนส่วนใหญ่เลือกบริโภคที่มีตราแบรนด์กันทั้งนั้น เพราะติดตลาด คนยังเลือกซื้อตลอด มีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ลูกค้าติดใจในสิ้นค้านั้นๆ
ไม่มีรูป
ดาวเรือง

สวัสดีค่ะ

ส่วนใหญ่ สินค้าไหน คนใช้ดีก็ติดยี่ห้อ นอกจากสินค้าhouse holdบางอย่างเช่น ข้าว กระดาษทิชชู น้ำดื่มเป็นต้นค่ะ คนไม่แคร์เท่าไร ดูที่ราคาถูกค่ะ

การปรับตัวที่ว่า...

เหมือนกับน้ำยาอุทัย ที่หันมาเอาใจวัยรุ่นหรือเปล่าครับ

  

P

สวัสดีค่ะ

   กรณี น้ำยาอุทัย เป็นสินค้าเก่ามาก แบรนด์เก่า แต่คนรู้จักกันดีน้ำยาอุทัยทิพย์มีขายมาตลอดกว่า 60 ปี ไม่ได้หายไปไหน

   และเมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมายิ่งขายดีเพราะ “พฤติกรรมการใช้เปลี่ยนไป” โดยมีการนำไป “ใช้ทาแก้ม-ทาปาก...ให้แดงระเรื่อ !!” ซึ่งดูแล้วเป็นธรรมชาติ

“สีแดง” ของน้ำยาอุทัยสกัดจาก “สีของไม้ฝาง”

 “ผิดวัตถุประสงค์” แต่ก็ได้รับความนิยมสูง
ก็เป็นเรื่อง “แปลกแต่จริง” ของ “น้ำยาอุทัย” ค่ะ

สวัสดีค่ะ

เรื่องน้ำยาอุทัยนี่ แปลก แต่จริงค่ะ งงกันเป็นแถว

P

สวัสดีค่ะ

พอดี เป็นสมัยนิยมของผู้บริโภควัยรุ่น ซึ่งชอบปากและหน้าแดงระเรื่อเป็นธรรมชาติค่ะ และทำมาจากธรรมชาติด้วย จึงบูมขึ้นมาอีกครั้ง แต่คยทั่วไปก็ยังนิยมเอไปผสมน้ำแก้กระหาย และขื่นใจดีค่ะ

All people deserve wealthy life and <a href="http://lowest-rate-loans.com/topics/business-loans">business loans</a> or small business loan would make it much better. Because freedom relies on money state.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท