กฏแห่งความสมดุล ตอนที่ 11 ตอนจบ


7.6.      แหล่งที่มาของกฎหมายอิสลามที่แน่นอนคืออัลกุรอานและอัลหะดิษ วิธีการปฏิบัติตามกฎหมายต้องอาศัยการอิจญîติฮาด อัลกุรอานและอัลหะดิษจะมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง (Static)ส่วนการอิจญîติฮาดจะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Dynamic)

7.7.      นะกัล  (หลักฐานจากอัลกุรอานและอัลหะดิษ) เป็นเรื่องการเชื่อมั่น (ยอมรับโดยจิตใจ) อะกัล  (สติปัญญา) เป็นเรื่องของความเชื่อ (การยอมรับโดยสติปัญญา) นะกัล จะมีลักษณะคงที่แน่นอน ส่วนอะกัล จะมีลักษณะสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะให้ อะกัล (สติปัญญา) เดินไปสู่ความจริง จึงจำเป็นต้องอาศัย นะกัล(หลักฐานจากอัลกุรอานและอัลหะดิษ)

7.8.      การส่งเสริมให้ประกอบการดีจะสมดุลกับการห้ามปรามการกระทำชั่ว อะมัลมะอฺรูฟ นะฮีมุงกัร (อัลกุรอาน 31:17) การใช้ให้กระทำและห้ามกระทำนั้นไม่เพียงแต่มุ่งต่อผู้อื่น แต่ต้องกระทำต่อญาติสนิทด้วย และไม่เพียงเท่านั้นตนเองก็อยู่ในข่ายนั้นด้วย

7.9.      ต่อโลกอันลี้ลับหรือสิ่งพ้นญาณวิสัย (อัลฆ็อย) โดยเฉพาะอาคิเราะฮฺ (ปรโลก) ผู้ที่มีความศรัทธาจะยอมรับในสิ่งที่ศาสนาสอนไว้โดยดุษฎี และต่อโลกที่เป็นอยู่ (โลกดุนยา) เขาและเธอจะเป็นคนที่มีเหตุผล (Rational) โดยการยอมรับวิชาความรู้

7.10.      กฎธรรมชาติ (ซุนนะตุลลอฮฺ) มาจากอัลลอฮฺ แต่มนุษย์เป็นผู้กระทำ

7.11.      การให้อภัยจะสมดุลกับการต่อต้านความชั่ว การให้อภัยต่อความชั่วที่ได้กระทำไว้มิได้หมายความว่า จะยอมปล่อยให้ความชั่วเกิดขึ้น มนุษย์จะต้องเป็นคนให้อภัย (มีใจเมตตา) แต่ต้องขจัดความชั่วทั้งหลาย

7.12.      การประทานลงมาของอัลกุรอานมีลักษณะเป็นไปตามเหตุการณ์ (Accidentail) แต่เนื้อหาเป็นฮะกีกี สาเหตุของการลงของอายะฮฺ (โองการอัลกุรอาน) แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของเหตุการณ์ แต่เนื้อหาของอายะฮฺ (โองการอัลกุรอาน) จะมีลักษณะเป็นสากล แสดงให้เห็นถึงสัจจธรรมของอัลกุรอาน

7.13.      ความสัมพันธ์ทางด้านสายเลือดระหว่างพ่อแม่กับลูกจะสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ ดังนั้น มิใช่แต่ลูกเท่านั้นที่เป็นผู้สืบทอดมรดก พ่อแม่ก็เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกเช่นกัน        

ตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นแนวคิดบางส่วนของความสมดุล อันเป็นสัจจธรรมของบทบัญญัติอิสลาม ในระเบียบการคิดแบบอิจญîติฮาด ตรรกวิทยาจะสมดุลกับวิภาษวิธี (Dialectic) ในการเผชิญกับสิ่งที่มีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (Static) อิจญîติฮาดจะใช้ตรรกวิทยา (Logic) ในทางตรงกันข้ามเมื่อเผชิญกับลักษณะที่เป็นพลวัตร (Dynamic) ก็จะมีการใช้วิภาษวิธี (Dialectic) ซึ่งเป็นการเผชิญกับสิ่งสองสิ่งหรือสองแนวความคิด (Concept) ที่ขัดแย้งกัน ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย หรือข้อบกพร่อง การใช้อิจญîติฮาดความคิดแบบวิภาษวิธี (Dialectic) จะก่อให้เกิด ทางสายกลาง อันเป็นแนวความคิดที่สาม ซึ่งจะรับเอาแต่ส่วนดีละทิ้งส่วนเสีย (บกพร่อง) การสรุปเช่นนี้เป็นการกระทำของสติปัญญา (อะกัล) โดยอาศัยการชี้นำของอัลกุรอานและอัลหะดิษ  (นะกัล) ณ ที่นี้จึงเกิดความแตกต่างระหว่างวิภาษวิธีวัตถุนิยม (Dialectic Materialism) กับวิภาษวิธีอิจญîติฮาด (Dialectic Ijtihad) ซึ่งประการหลังไม่เพียงแต่เป็น Dialectic Idealism แต่ยังเกินไปกว่านั้น Dialectic Ijtihad เป็น Dialectic Rabbani วะหยู (การวิวรณ์) ของอัลลอฮฺจะควบคุม Dialectic Ijtihad        

ความสมดุลจะนำสู่สันติ ความเหมาะสม (Harmony) เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสันติภาพ (อัสสลาม) เมื่อตาชั่งอยู่ในระดับที่สมดุล ตาชั่งก็จะนิ่ง เมื่อข้างหนึ่งหนักไปก็จะเกิดการเคลื่อนไหวกล่าวคือข้างหนึ่งจะลดตัว อีกข้างหนึ่งจะสูงขึ้น เมื่อข้างที่เบาถูกทำให้หนักก็จะเกิดลักษณะในทางตรงกันข้าม สูง-ต่ำ ขึ้น-ลง เป็นความเคลื่อนไหวแห่งความกระวนกระวาย ซึ่งจะไม่มีความสงบ (Peace) หากไม่มีความสงบในจิตใจหมายถึงไม่มีความสันติ

นี่แหละคือความสงบ ความสันติ  พลังสัจจธรรม และความปลอดภัย ล้วนอยู่ในรูปของ อัสสลาม ซึ่งสังคมมุสลิมจะบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติด้วยกฎแห่งความสมดุลสู่ทางสายกลาง ไม่ล้ำ หรือเอนเอียงไปทางซ้ายหรือขวา สังคมที่เดินไปทางสายกลางในการดำเนินชีวิตระหว่างการมีชีวิตและความตาย ดุนยา (โลกที่เราอยู่ปัจจุบันนี้) และอาคิเราะฮฺ (ปรโลก) คือ อุมมะตัน วะสะฏัน หรือประชาชาติสายกลาง การเกิดความสมดุลในความต้องการ ความจำเป็น แนวคิดของมนุษย์จะปู ทางอันเที่ยงตรง หรือ สิรอฏ็อลมุสตะกีม  ที่จะนำมนุษย์สู่เมืองแห่ง อัสสลาม (เมืองแห่งสันติสุขที่แท้จริง)

                                                 ตอนจบ
หมายเลขบันทึก: 90263เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2007 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท