การวาดภาพสีน้ำมันตอนที่ 6


การวาดภาพดอกลีลาวดี ภาพสีน้ำมัน


การวาดดอกลีลาวดี เป็นดอกไม้ที่วาดง่ายที่สุด ในบรรดาดอกไม้ที่วาดๆ กันในปัจจุบัน แถมวาดออกมาแล้วสวยด้วย

วาดต่อจากครั้งที่แล้ว เป็นภาพสีลาวดีสีขาว สีขาวนี่เป็นสีที่วาดยาก ที่ยากคือการหาสีที่นำมาเป็นแสงเงามากกว่า เช่นดอกที่ออกดูสีเขียวๆ นี่เป็นเพราะเงาสะท้อนออกมา เรียกว่าแสงเงา ไม่ไช่ว่าดอกสีเขียวนะ ดอกก็ยังเป็นสีขาวอยู่เหมือนเดิม แต่เขียวเพราะแสงสะท้อนบ้าง มีเงาบ้าง การเลือกสีที่เป็นแสงหรือเงา ก็ใช้สีของ background บ้างสีของใบบ้างให้กลมกลืนกัน แต่ไม่ใช่เป็นเงา แล้วต้องใช้สีดำผสมนี่ ไม่ถูกต้อง สีจะเพี้ยนไปเลย ภาพนี้ยังมือใหม่วาดดอกยังไม่เป็นดอก ยังดูเป็นดอกแบนๆ


ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการวาด ไปดูอาจารย์มาวาดให้ดูเงียบๆ แต่สังเกตุเอาว่าเป็นแบบนี้ และบรรยายเอง โปรดใช้วิจารณญานในการอ่านครับ

การวาดกลีบดอก

1. การวาดกลีบดอก ให้วาดส่วนที่เข้มก่อนแล้วเว้นสีอ่อนไว้ เป็นที่ว่างเพื่อจะได้ทราบว่าจะลงอ่อนในตำแหน่งไหน ส่วนที่เป็นสีขาวให้เว้นไว้เลยอย่าเอาสีอะไรมาลง ผมสังเกตุขณะอาจารย์ลงสี  เช่น กลีบดอกในขณะลงสีเข้มลงจากด้านนอกเข้ามามีเนื้อสีมากแล้วใช้พู่กันวาดจนเนื้อสีเกือบหมดเมื่อเข้ามาด้านในตรงตำแหน่งที่เป็นสีอ่อนกว่า มีเนื้อสีบางๆ จนแทบจะไม่มี แล้วเมื่อใช้สีอ่อนลงสีจะไม่ผสมกันไปมามากนักส่วนที่เชื่อมต่อกันจะเกลี่ยสีให้เข้ากันง่าย ใล่โทนสีได้  ไม่วาดโดยใส่สีเดียวทั้งหมดแล้วค่อยเอาสีอื่นมาลงทับจะวาดได้ยาก
2.และการตัดเส้นขอบให้เป็น ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เช่น ดอกกุหลาบที่เพื่อนผู้เรียนวาดมา อาจารย์ได้ใช้สีแดงของกลีบดอกที่เข้มกว่าตัวกลีบเป็นตัวตัดขอบด้านนอก ในบางตำแหน่งเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ภาพดูมีมิติ ขึ้นทันตาเห็นเพียงแต่เพิ่มน้ำหนักสีบางตำแหน่งเท่านั้น ส่วนเส้นขอบที่อยู่ลึกก็วาดสีเขัมลงไปอีกเช่นกัน นอกจากนี้ก็มีการแต่งเติมหยดน้ำเข้าไปให้ดูเป็นธรรมชาติและสดชื่นขึ้น ในชั่วโมงก่อนก็มีภาพของผู้เรียนบางภาพนำกลับไปบ้านแล้วลูกที่บ้านเห็นบอกว่า แม่ภาพเปียกจะเอาผ้ามาเช็ดให้ ก็เป็นเรื่องที่นำมาเล่ากัน

 

วาดภาพใบไม้ของดอกลีลาวดี
วาดใบไม้ไม่ยากนัก(แต่ผมก็ว่า ยังยากอยู่นะ) ให้ผสมสีให้ได้ก่อน วาดใบเป็นสีตัดแยกกัน แต่ต้องดูแสงเงา เห็นว่าแต่ละใบสีจะไม่เหมือนกัน มีความอ่อน ความเข้ม ทำให้ดูใบสูงต่ำกว่ากัน วาดพื้นใบไปทั้งหมดก่อน แล้วลงเส้นใบ ส่วนระหว่างก้านใบบางที่จะเห็นว่ามีสีที่ต่างกับพื้นใบในส่วนอื่น ดูตรงปลาย ทำโดยการแต้มสีที่ผสมสีน้ำตาล สีแดง แล้วค่อยๆแต้มใบระหว่างเส้นใบทำให้ใบมีความรู้สึกขึ้นมา ไม่ราบเรียบจนเกินไป
ปล.ยังผสมสีไม่สวยนัก บางใบออกเป็นสีน้ำเงินอยู่เลย

การวาดเส้นใบมักจะใช้สีอ่อนเป็นตัวผสม และต้องผสมน้ำมันมากกว่าธรรมดา เพื่อขณะวาดเส้นจะได้ไม่ขาด อันนี้เป็นเทคนิกของอาจารย์ในการวาดนะ และใช้พู่กันเล็กๆ เป็นตัววาดจะดีกว่า ส่วนการลงเส้นขอบบางที่ต้องรอให้สีแห้งหน่อยๆ เพื่อให้เส้นที่ลงจะได้ไม่ผสมกับสีพื้นที่เราลงไปแล้ว ซึ่งจะทำให้เส้นขอบไปผสมกับสีพื้นที่ไม่แห้ง ทำให้ดูเส้นขอบได้ไม่เด่นชัด ขาดความคมไป

การใช้สีวาดลำต้น ใช้สีน้ำเงินเข้ม ผสมสีน้ำตาล หรือ เหลือง จะให้ลำต้นที่สวย
ใบไม้ ใช้สีน้ำเงินเข้ม ผสมกับสีเหลืองอ่อน สามารถให้สีใบไม้ออกมาได้ตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบเข้ม  อย่าใช้สีเขียวที่บีบจากหลอดโดยตรงเพราะจะทำให้ได้ใบไม้ที่ดูเขียวอือ ไม่เป็นธรรมชาติ และไม่สามารถปรับแต่งโทนสีได้
ส่วนในกรณีที่ใบแก่จัด หรือเป็นใบที่หลบเป็นเงาอยู่ด้านหลัง จะออกสีเข้มมาก ก็ใช้สีน้ำเงิน ผสมกับสีน้ำตาล ผสมเพิ่มเข้าไปหรือใช้ สองสีนี้ผสมกันก็ได้แล้ว ไม่ใช้สีดำผสมให้มันดูเข้มจะใช้ไม่ได้ หรือ ถ้าต้องการสีอ่อนก็ไม่ใช้สีขาวผสม ให้ใช้สีเหลืองอ่อนเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 89716เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2007 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีใจจังคะ เพิ่ง มีโอกาสมาเห็นบล็อก วันนี้

สนใจเรื่องวาดรูปคะ  จะตามอ่านคะ 

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากเลย พรุ่งนี้ ต้องลงมือทำแล้ว ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท