ผลกระทบจากเทคโนโลยี : กรณีศึกษาการบล็อกเว็บ


ระบบอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลกระทบอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการหมิ่นประมาทแสดงข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม แต่ครั้งนี้เป็นสิ่งที่รับไม่ได้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผิดทั้งกฎหมายและคุณธรรมจริยธรรม ผลกระทบจากเทคโนโลยีอีกมุมหนึ่ง

ระบบอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างมากมาย  แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลกระทบอย่างมหาศาล โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการหมิ่นประมาทแสดงข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม  แต่ครั้งนี้เป็นสิ่งที่รับไม่ได้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผิดทั้งกฎหมายและคุณธรรมจริยธรรม ผลกระทบจากเทคโนโลยีอีกมุมหนึ่ง

 ผลกระทบเรื่องนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างการทำผิดกฎหมาย กับเสรีภาพในการแสดงออก

รายละเอียดติดตามด้านล่างนี้   แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยความระมัดระวัง  เนื่องจากเป็นประเด็นใหญ่และละเอียดอ่อน

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 4 เม.ย.2550 กระทรวงไอซีทีได้สั่งการให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท เอกชนผู้ให้บริการเกตเวย์ต่างประเทศรายอื่นๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี ในประเทศไทยทั้งหมดปิดกั้นเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมโดยไม่มีกำหนดหลังจากปรากฏคลิปวิดีโอในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างร้ายแรง และนิ่งเฉยที่จะถอนคลิปดังกล่าว หลังจากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้ประสานงานไปแล้ว

รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า กระทรวงไอซีทีอาศัยอำนาจตามประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ฉบับที่ 15 ที่ให้อำนาจกระทรวงไอซีทีปิดกั้นเว็บไซต์ยูทิปว์ดอทคอมไปจนกว่าจะมีการถอนคลิปวีดีโอในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งนี้ ขณะเดียวกันยังจะประสานงานไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศให้เจรจากับผู้ดูแลเว็บไซต์ยูทิวป์อีกครั้ง และประสานงานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อหาวิธีการเอาผิดกับผู้สร้างและเผยแพร่คลิปวีดีโอดังกล่าว แม้จะเป็นเรื่องที่ยากมากๆ

นายสิทธิชัย กล่าวอีกว่า แม้กระทรวงไอซีทีจะได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ให้บริการเกตเวย์ต่างประเทศและไอเอสพีปิดกั้นเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมแล้ว แต่ยอมรับว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าชมเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมผ่านทางอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศและผ่านเครือข่ายเช่าแบบลีสไลน์ต่อตรงได้ ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องเร่งเจรจากับผู้ดูแลเว็บไซต์ให้ลบภาพออก เพราะเป็นเรื่องที่คนไทยรับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใดที่มีดาวน์โหลด หรือ เก็บภาพคลิปวีดีโอดังกล่าว ไว้ ห้ามเผยแพร่ต่อและให้ลบทิ้งทันที เพราะผิดกฎหมายเช่นกัน

ด้าน พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2550 ที่เริ่มปรากฎคลิปวีดีโอหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอม ดีเอสไอได้ทำการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐาน พร้อมประสานงานไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมและหน่วยงานในต่างประเทศให้ถอนคลิปวีดีโอดังกล่าว แต่ยังไม่มีการตอบรับใดๆ ดังนั้น ดีเอสไอ กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานต่างๆ จะ ต้องช่วยกันจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

สำหรับการติดตามผู้โพสต์คลิปวีดีโอนี้ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ ดีเอสไอ กล่าวว่า จากการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานพบว่า มีประโยชน์ต่อการดำเนินการมาก โดยมีบุคคลที่เข้าข่ายต้องสงสัยจำนวน 2 คน แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดต่างๆ แม้กระทั่งว่า อาศัยอยู่ในประเทศ หรือ ต่างประเทศได้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการติดตามผู้โพสต์คลิปวีดีโอนี้ อย่างไรก็ตาม ขอเตือนให้ผู้ที่ดาวน์โหลด หรือ เก็บภาพคลิปวีดีโอดังกล่าว ไว้ ห้ามเผยแพร่ต่อ และครอบครองไว้เพราะมีความผิด

ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า การปิดกั้นเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมของทางการไทยครั้งนี้ คำนึงถึงการจาบจ้วงต่อองค์พระมหากษัตริย์เป็นสำคัญและไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก โดยตัวคลิปมีความยาว 44 วินาที มีผู้เข้าชมคลิปประมาณ 16,000 ครั้ง (นับถึงกลางดึกวันที่ 3 เม.ย.2550) ก่อนทางการไทยจะสั่งปิดกั้น ส่วนเหตุผลที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ยูทิวป์ดอทคอมไม่ยอมถอดคลิปวีดีโอตามที่ทางการไทยร้องขอนั้น เพราะใช้มาตรฐานเดียวกันกับคลิปวีดีโอล้อเลียนบุคคลสำคัญคนอื่นๆ ของโลกเช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ไทยรัฐ
 ปีที่ 58 ฉบับที่ 17972 วันศุกร์ ที่ 6 เมษายน 2550
 http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology03b&content=42688
ไอซีที สั่งบล็อกเว็บยูทิวป์ไม่มีกำหนด เหตุคลิปหมิ่นฯ โผล่ [6 เม.ย. 50 - 06:28]

หมายเลขบันทึก: 88837เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
สมศักดิ์ จังตระกุล

ในแง่ความมั่นคงของประเทศและในแง่คุณธรรม จริยธรรมในสังคมที่แตกต่างกันทำให้เกิดความไม่เหมาะสมในการใช้เทคโนโลยีที่รวดเร็วและทันสมัย เช่น internet ซึ่งข้อมูลข่าวสารทั้งที่ดี หรือไม่ดี ทั้งที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกpost เกิดการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  เมื่อรู้ตัวก็ไม่ทันเสียแล้ว ดังบทความนี้ในช่วงเวลาไม่นานมีผู้ดูถึงหมื่นกว่าครั้ง ซึ่งว่าไปแล้วในแง่กฎหมายไทยเป็นการหมิ่นประมาทโดยการเผยแพร่โดยเฉพาะบุคคลสำคัญเช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ตามกฎหมายบัญญัติห้ามบุคคลใดละเมิดมิได้ แต่เจ้าของweb ก็ไม่รับรู้เนื่องจากปัญหายังไม่มีกฎหมายที่กำหนดให้เป็นสากลทั่วโลก  ดังนั้นควรมีการผลักดันกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นกฎที่ต้องยอมรับและมีบทลงโทษทั่วโลกเป็นมาตรฐานเดียวกัน  องค์กรที่ดูแลเทคโนโลยีโลกเองก็ยังไม่มีความสามารถในการบังคับอย่างชัดเจน  ดังนั้นจึงควรเป็นมติของนานาชาติในการออกระเบียบควบคุมขึ้นมาเสีย โดยอาจจะมีการประชุมนานาชาติเพื่อกำหนดระเบียบโลกเกี่ยวกับความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมา

ผู้ที่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นกรณีแสดงคิดเห็นนะครับ

สมศักดิ์  จังตระกุล

นายทวี นริสศิริกุล 493010 Christian University

การบล็อกเวปมีความเห็นว่าขึ้นอยู่กับเหตผลในแต่ละครั้งว่ามีผลเสียต่อสาธารณะชนหรือประเทศชาติบ้านเมืองหรือไม่ ต้องยอมรับเหตุผลตรงนี้ว่าเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม

             ไม่ถือว่าเป็นการปิดกั้นสื่อ เพราะสื่อและเทคโนโลยี่คิดค้นพัฒนาก็เพื่อสังคม จึงต้องมีจริยธรรมหรือกฎหมายมาควบคุมกำกับในการบล็อกเวปได้ตามกฎหมาย

ในความคิดของผม ผมเห็นด้วยกับข้อความดังนี้

 "ผลกระทบเรื่องนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างการทำผิดกฎหมาย กับ เสรีภาพในการแสดงออก"

Web ก็เหมือนกับสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากทำผิดกฎหมายก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้น ๆ หาก Web ใดไม่ได้ทำผิดกฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่สมควรไปปิดกั้นเขา หากทำผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการเท่าที่กฎหมายกำหนดอำนาจให้กระทำได้

หากมีช่องว่างใด รัฐก็ต้องออกกฎหมายใหม่มาควบคุมการกระทำใด ๆ ที่ไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ภายในประเทศของเรา

หากใครทำอะไรไม่ผิดกฎหมาย ก็ต้องปล่อยให้เขามีเสรีในการออกความคิดเห็น หากประชาชนคนไทยคนใดทำผิดกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจตามกฎหมายต้องจับมาลงโทษ เท่านั้นเอง

Web ใดไม่ทำตามกฎหมาย เจ้าหน้าทีก็ต้องปิดหรือบล็อกไว้สุดความสามารถ

Web ใดทำถูกกฎหมาย ก็ควรได้รับอิสระเเสรี

การแสดงความคิดเห็น ควรต้องผ่านการเซ็นเซ่อร์

ของ เจ้าของ Web หรือ Web Master แบบเดียวกับ

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดชอบด้วยครับ

ขอบคุณครับ

ฉัตรพล

นางสาวยุพา ทองช่วง

ทุกครั้งที่มีการบล็อกเว็บ แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างคน 2 ฝ่าย  ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างมีเหตุผลของตน ทุกคนต้องการอิสระในการแสดงความคิดเห็นหรือการกระทำ แต่ควรยอมรับในสิทธิของผู้อื่นด้วย  มนุษย์เป็นสัตว์สังคม  จะทำอะไรควรตระหนักถึงกติกาของสังคมท่ดำรงอยู่ด้วย  ถ้าคนใช้เทคโนโลยีมีจิตสำนึกที่ดีงาม ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น 

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบล็อกเว็บ นั้น น่าจะต้องแบ่งส่วนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การกระทำของกลุ่มคน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดของตน  กลุ่มที่ 2 กลุ่มของผู้ที่มีหน้าที่ในการใช้สิทธิทางกฎหมาย  ซึ่งแต่กลุ่มต่างมีเหตุผลของตนเอง  แต่ในการใช้เหตุผลใดๆก็ตามควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 
ธีระ เทิดพุทธธรรม

กรณีของการบล็อกเว็บ (www.youtube.com) มีสาเหตุมาจาก"โลกไซเบอร์ไร้พรมแดน" บวกกับความ "รู้ไม่เท่าทัน" เทคโนโลยีที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ของข้อมูลข่าวสารในโลกไซเบอร์ หากมองในแง่เสรีภาพของการเป็นสื่อสารมวลชน ต้องกล่าวว่าไม่ใช่ แต่เป็นการใช้สื่อในทางที่ขัดต่อจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเผยแพร่คลิปปวิดีโอในลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ดังนั้นทางเจ้าของเว็บไซด์ควรออกมาแสดงความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกับรัฐบาลซึ่งดำเนินการสั่งบล็อกเว็บควรที่จะต้องตอบประชาชนด้วยว่า การกระทำดังกล่าวขัดต่อสิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในประเทศหรือไม่ นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจาก "โลกไซเบอร์" ต้องคัดกรองข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วยความเป็นกลางและความบริสุทธิ์ยุติธรรม และนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในทางที่ถูกที่ควร   

ประเทศไทยเป็นประเทศที่กว้างในเรื่องเสรีภาพการแสดงออก, ความคิดเห็น ถือเป็นจุดแข็ง การปิดหรือการบล๊อกเวปจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรกระทำ  ยกเว้นกรณีพิเศษจริงๆ

เวปประเภทที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นหนึ่งสาเหตุของคดีร้ายแรงต่างๆเช่นการข่มขืนกระทำชำเรา หรือ ปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย ถือเป็นการยั่วยุและชักจูงเยาวชนไปสู่ถนนสายอบายมุข

ในประเทศตะวันตก การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันมหากษัตริย์หรือแม้แต่ศาสดาเป็นเรื่องที่สังคมถือว่าปกติ รัฐบาลไม่มีสิทธิไปก้าวก่ายได้ กรณีการ์ตูนล้อเลียนพระศาสดาของศาสนาหนึ่งที่รัฐบาลเดนมาร์กปฏิเสธการควบคุมสื่อมีผลให้เกิดการประท้วงและประทุษร้ายชาวเดนมาร์กทั่วโลก

นี่เป็นบทเรียนที่ราคาแพง ผู้มีอำนาจต้องเข้าความแตกต่างด้านความเชื่อและวัฒนธรรม

สวัสดีค่ะ

         ดิฉันมีความคิดว่าการบล็อกเวปนี้มีเหตุผลดีเนื่องจากประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไม่สมควรที่จะมาทำเช่นนี้ได้ ที่ต่างประเทศทำได้เนืองจากมีการเลือกตั้ง  สรุปวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

นายธนเดช นัชธนวินท์

จากกรณีการสั่งบล็อกเว็บยูทิวป์ เนื่องจากการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในความเห็นของประชาชนชาวไทยที่รักยิ่งในสถาบันพระมหากษัตริย์ นับว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะทำการบล็อกเวปนี้ และไม่เพียงแค่ที่จะบล็อค ควรจะต้องตามจับตัวการเผยแพร่และนำมาลงโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายกำหนดตามโทษานุโทษ เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่จะทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อไป ในส่วนของเจ้าของเวปนี้ทางรัฐบาลไทยต้องเร่งทำความเข้าใจว่าวัฒนธรรมของเราแตกต่างกันจะเอามาตราฐานเดียวกันกับที่ใช้ในผู้นำของประเทศอื่นนั้นเป็นการไม่สมควร และขอร้องให้ทำการยกเลิกโดยเร็วที่สุด 

ธนเดช นัชธนวินท์ CTU

สมควรแล้วครับที่บล็อกเว็ปยูทิวป์ เพราะเป็นสื่อกลางที่เป็นแหล่งมั่วสุมทางความคิดของบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคนไทยทั้งชาติ

จำนวนคลิปบน YouTube มีเป็นล้าน
มีคลิปหมิ่นอยู่หลักสิบ
ต้องบล็อกกันทั้งเว็บ

ถ้าเมืองไทยมีคนชั่วอยู่ซักสิบคน
ต้องเอาระเบิดนิวเคลียร์มาบอมบ์ให้ตายตกตามกันไปทั้งชาติไหม ?

รักในหลวงกันแบบนี้
ท่านเดือดร้อนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท