การศึกษากับหลักเศรฐกิจพอเพียง


เรียนรู้จากการทำจริง
แม้ว่าจะเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่อยู่ห่างไกลความเจริญแม่ใช่อุปสรรคในการพัฒนาการนำ 3 องค์ประกอบของความพอเพียงมาใช้ในการศึกษาได้ส่งผลให้โรงเรียนบ้านเนินพลวง อำเภอโพประทับช้าง จังหวัดพิจิตร กาวสู่สาธารณชนด้วยผลงานที่ประจักษ์ต่อสายตาคนในระดับประเทศ

  

รางวัลกุล่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ รองชนะเลิศอันดับ 2 ซึ่งเตรียมเข้ารับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 5 พฤษภาคม(วันพืชมงคล) ณ. ท้องสนามหลวงเป็นสิ่งที่ภูมิใจยิ่ง

       

 นายสาธิต สัญชัยชาติ พนักงานราชการวัย 31 ปีผู้สอนและรับผิดชอบโครงการยุวเกษตรกรโรงเรียนได้เล่าให้ฟังว่าโรงเรียนได้เริ่มโครงการนี้เมื่อปี 2544 ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคณะครู นักเรียน ชุมชน และผู้นำส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่น จากการส่งเสริมของผู้บริหารโรงเรียน จึ่งได้เริ่มเข้าเป็นเครือข่าย มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร ทำเรื่องเกษตรปลอดสารพิษต่อมาสำนักงานเกษตร อำเภอโพประทับช้างก็เข้ามาส่งเสริม กิจกรรมอีกหลายด้าน เช่นการพานักเรียนไปศึกษาดูงานแล้วกลับมาปฎิบัติในแปลงทดลอง ดูแลแปลงซึ่งใช้พื้นที่ข้างโรงเรียน เช่นการทำข้าว การทำสบู่ดำ การแปรรูป การเรียนรู้ที่นี่จะเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานที่จริง

   

เรียนจากการทำจริง ที่สำคัญชุมชนและผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมยุวเกษตรกร  มีประธานกลุ่ม ดญ.เก็จแก้ว ชูชีพ เป็นประธานในการดำเนินงาน ครูเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีสาชิกกลุ่ม 50 คน ได้ร่วมประชุมกันทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานภายฬต้พื้นฐาน 3 องค์ประกอบของปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทานให้คนไทยใช้เป็นหลักและโรงเรียนได้นำมาใช้ คือ1. ความพอประมาณ ไม่สุดโต่งไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือซื้อของ 2. มีเหตุผล อธิบายได้ 3. สร้างระบบคุ้มกันที่ดี โครงการนี้สร้างภูมิคุ้มกันให้โรงเรียน เช่น ภูมิคุ้มกันต่อนักเรียนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออบายมุขเพราะใช้เวลาในการดูแลสิ่งที่รับผิดชอบ มีความสามัคคีเกื้อกูลกัน ภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องความปลอดภัยจากสารพิษที่อาจจะเกิดอันตรายในอาหารเพราะใช้ผักปลอดสาร เรื่องความสะอาดนักเรียนรู้ปัญหาโดยทำเป็นหมู่คณะ ที่สำคัญรู้จักออม เงินรายได้ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ คือไม้กวาดทางมะพร้าว ข้าวเกรียบถั่วงอก ข้าวเกรียบวอเตอร์เครต ฯลฯ รายได้นำไปทำประโยชน์ส่วนรวม เช่นการนำกลุ่มไปเรียนรู้นอกสถานที่การเตรียมนำเสนอผลงาน

      

เมื่อ24 มีนาคม2550ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานโครงการพัฒนาระบบการพัฒนาเด็กและเยาวชน ณ มหาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน จังหวัดนครปฐมและพาสมาชิกกลุ่ม ไปศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดประทุมธานี ความปลื้มปิติที่การันตีได้คือ รางวัลกลุ่มยุวชนดีเด่นแห่งชาติ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 สาขาอาชีพเกษตรกรรมสมาชิกในกลุ่มและอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มได้คัดเลือกเป็นอันดับที่ 2 ของภาคเหนือ กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ ข้าวปลอดสาร ถั่วงอกตัดราก ผักปลอดสาร เตาเผาถ่าน 200ลิตร การสอดแทรกปรัชญาเศรฐกิจพอเพียงในการศึกษา เป็นนโยบายที่พึงปฎิบัติ แต่นโยบายจะสำเร็จได้ต้องเกิดจาการเพียร ความตั่งใจจริง สาธิต   สัญชัยชาติ  ผู้อยู่ในวิชาชีพครูถือเป็นหนึ่งที่นำหลักปรัชญาเศรฐิกจพอเพียงมาใช้กับการศึกษาอย่างกลมกลืน และปัจจุบันกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านเนินพลวงมีกำหนดเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพฯเพื่อนำเสนอผลงานในเดือนมิถุนายน2550ที่จังหวัดนครนายยก

 

หมายเลขบันทึก: 88836เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกิจกรรมที่สนุกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ค่ะ

..................( ศิษย์เก่า )....................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท