beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่า “เขียน blog อย่างไรให้ต่อเนื่อง"


สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง และสร้าง "ฉันทะ"

      ได้รับโจทย์จากที่ประชุม BAR มาเมื่อบ่ายวานนี้..."เขียนบล็อกอย่างไรให้ต่อเนื่อง"  ต้องรีบทำการบ้านเสียหน่อยเดี๋ยวพอใกล้ๆ เวลาแล้วจะลืมครับ

      ก่อนอื่น..ต้องขอกล่าวถึง ที่มาของชื่อ "beeman" ก่อนนะครับ เพราะมีนิสิตคนหนึ่งถามมา...

  • ก่อนหน้านั้น ผมสมัครสมาชิก GotoKnow สร้างบล็อกและเขียนบันทึก เมื่อ ๑๙ ก.ค. ๒๕๔๘ ตั้งใจเขียนเกี่ยวกับเรื่องผึ้ง..พอเขียนไปสักพักก็เขียนไม่ออก...อย่างหนึ่งคือ..รู้สึกว่าคนอ่านน้อย..และบางวันก็ไม่ค่อยมีอารมณ์จะเขียนเรื่องผึ้ง
  • ผมจึงมาสมัครสมาชิก และเปิดบล็อกใหม่อีกอันหนึ่ง (๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘) แสดงความเป็นตัวตนของผมเอง คือ มีงานอะไรก็เขียนไป เขียนไปเรื่อยๆ การเขียนก็พัฒนาขึ้น...แต่จะใช้นามแฝงอะไรดี
  • อ.สมบัติ นพรัก ชอบเรียกผมว่า "พ่อผึ้ง" ผมก็ลองมาคิดถึงตัวเองว่า..ผมชอบ(น้อง)ผึ้ง ดังนั้นเพื่อแสดงความเป็นตัวตน..จึงตั้งชื่อนามแฝงตัวเองว่า "beeman" (คล้ายๆ Superman พระเอกในดวงใจ)
  • นามแฝงนี้ ยังคงอยู่คู่กับ GotoKnow และขยายวงออกไป...เรื่อยๆ..จาก beeman ธรรมดา กลายเป็น "beeman เมืองไทย" ไปเสียนี่

---------------------------------------------

"เขียนบล็อกอย่างไรให้ต่อเนื่อง

  1. สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง....ผมเขียนบันทึกแรกของ บล็อก beemanNUKM ที่นี่ เกิดเป็นคน(ไทย)ต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน(ไทย)
  2. สร้างฉันทะ "การเขียนบันทึก" ให้กับตัวเองให้ได้..ทุกวันนี้ผมตื่นขึ้นมา นึกถึงเรื่องเขียนบันทึกก่อน...วันนี้เขียนบันทึกหรือยัง..วันนี้จะเขียนบันทึกเรื่องอะไร
  3. อย่าอายที่จะเขียนบันทึก..ก็เราไม่ได้ทำผิดอะไรสักหน่อย...และเรื่องที่นำมาเขียน..ควรเขียนเรื่องที่เป็น Positive. ถ้าเขียนเรื่องที่เป็นปัญหา..ต้องแสดงให้เห็นกระบวนการหรือวิธีการแก้ปัญหา..ด้วย
  4. กำหนดเป้าหมายให้ตัวเอง..จะเขียนสัปดาห์ละกี่บันทึก...เดือนละกี่บันทึก..เป้าหมายของผมคือ ปีละ 365 บันทึก  เดือนละ 30-45 บันทึก... เริ่มต้นจากเป้าหมายน้อยๆ แล้วทำให้ได้.. ดีกว่าเป้าหมายใหญ่แล้วทำไม่ได้
  5. เขียนบันทึกจากความเป็นตัวตนของเราดีที่สุด..วันนี้เราสวมหัวโขนทำหน้าที่อะไรเราก็เล่าเรื่องนั้น..(ให้ตัวเองฟัง) แต่ Share ให้คนอื่นได้อ่านด้วย
  6. ไม่ต้องรอให้เขียนบันทึกดีเสียก่อน ถึงจะ Post... เขียนจากความนึกคิดที่อยากจะเขียนที่มันเป็น Original นั่นแหละดี..ไม่ต้องอายที่จะ Post (ค่อยหาเวลามาแก้.. อีกครั้งหรือหลายครั้ง)
  7. เมื่อเริ่มต้นเขียน..ไม่มีใครเขียนดีหรอกครับ... เขียนไปเรื่อยๆ ฝึมือจะพัฒนาไปเองครับ
  8. เขียนดีหรือไม่ดี..ผู้อ่านเป็นผู้ตัดสิน...
  9. เวลาในการเขียนบันทึก...แรกๆ บันทึกละ ๒ ชั่วโมง...ต่อไปเหลือไม่ถึงบันทึกละ ๓๐ นาที่ (ทำบ่อยๆ ก็คล่องขึ้น) บางบันทึกเขียนแค่ ๑๐ นาที
  10. ถ้าอยากเขียนบันทึก อย่าบอกว่าไม่มีเวลาหรืองานยุ่ง เพราะการเขียนบันทึกนี้คืองานสำหรับทุกคนเลยทีเดียว... คนที่จะมีพัฒนาการ ต้องหมั่นเอางานเดิมมาวิเคราะห์หาจุดบกพร่อง.. ดังนั้นการเขียนบันทึกนี้ ผมถือว่า เป็นการสร้างขุมความรู้ให้กับตัวเองเลยทีเดียว
  11. หาเพื่อน "คอเดียวกัน" ชื่นชมซึ่งกันและกันเวลาเขียนบันทึก โทรไปบอกให้ช่วยอ่านหน่อย
  12. เขียนบันทึก Stock ไว้บ้างก็ดี.. วันไหนไม่มีข้อมูลเขียนบันทึก..ก็เอาบันทึกที่ Stock ไว้มานำลง..บันทึกที่ Stock ไว้ เป็นการเขียนข้อมูลในวันนั้นๆ เราลงวันที่ (เวลาด้วยยิ่งดี) เอาไว้ด้วย
  13. อย่าลงบันทึก...เกินหนึ่งบันทึกต่อวัน..เพื่อเว้นระยะเวลาให้มีคนเข้ามาอ่าน และเข้ามาลปรร.กับเราบ้าง (หากมีบันทึกมาก ค่อยๆ ทยอยนำลง)
  14. เน้นที่ความต่อเนื่องนะครับ.. ลงบันทึกสัปดาห์ละ ๕ วัน.. วันหยุดเขียนบันทึก Stock ไว้ เขียนเรื่องที่เราชอบดีที่สุด

"เขียนบล็อกอย่างไรให้ต่อเนื่อง

  1. สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง....ผมเขียนบันทึกแรกของ บล็อก beemanNUKM ที่นี่ เกิดเป็นคน(ไทย)ต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน(ไทย)

  2. สร้างฉันทะ "การเขียนบันทึก" ให้กับตัวเองให้ได้..ทุกวันนี้ผมตื่นขึ้นมา นึกถึงเรื่องเขียนบันทึกก่อน...วันนี้เขียนบันทึกหรือยัง..วันนี้จะเขียนบันทึกเรื่องอะไร

  3. อย่าอายที่จะเขียนบันทึก..ก็เราไม่ได้ทำผิดอะไรสักหน่อย...และเรื่องที่นำมาเขียน..ควรเขียนเรื่องที่เป็น Positive. ถ้าเขียนเรื่องที่เป็นปัญหา..ต้องแสดงให้เห็นกระบวนการหรือวิธีการแก้ปัญหา..ด้วย

  4. กำหนดเป้าหมายให้ตัวเอง..จะเขียนสัปดาห์ละกี่บันทึก...เดือนละกี่บันทึก..เป้าหมายของผมคือ ปีละ 365 บันทึก  เดือนละ 30-45 บันทึก... เริ่มต้นจากเป้าหมายน้อยๆ แล้วทำให้ได้.. ดีกว่าเป้าหมายใหญ่แล้วทำไม่ได้

  5. เขียนบันทึกจากความเป็นตัวตนของเราดีที่สุด..วันนี้เราสวมหัวโขนทำหน้าที่อะไรเราก็เล่าเรื่องนั้น..(ให้ตัวเองฟัง) แต่ Share ให้คนอื่นได้อ่านด้วย

  6. ไม่ต้องรอให้เขียนบันทึกดีเสียก่อน ถึงจะ Post... เขียนจากความนึกคิดที่อยากจะเขียนที่มันเป็น Original นั่นแหละดี..ไม่ต้องอายที่จะ Post (ค่อยหาเวลามาแก้.. อีกครั้งหรือหลายครั้ง)

  7. เมื่อเริ่มต้นเขียน..ไม่มีใครเขียนดีหรอกครับ... เขียนไปเรื่อยๆ ฝึมือจะพัฒนาไปเองครับ

  8. เขียนดีหรือไม่ดี..ผู้อ่านเป็นผู้ตัดสิน...

  9. เวลาในการเขียนบันทึก...แรกๆ บันทึกละ ๒ ชั่วโมง...ต่อไปเหลือไม่ถึงบันทึกละ ๓๐ นาที่ (ทำบ่อยๆ ก็คล่องขึ้น) บางบันทึกเขียนแค่ ๑๐ นาที

  10. ถ้าอยากเขียนบันทึก อย่าบอกว่าไม่มีเวลาหรืองานยุ่ง เพราะการเขียนบันทึกนี้คืองานสำหรับทุกคนเลยทีเดียว... คนที่จะมีพัฒนาการ ต้องหมั่นเอางานเดิมมาวิเคราะห์หาจุดบกพร่อง.. ดังนั้นการเขียนบันทึกนี้ ผมถือว่า เป็นการสร้างขุมความรู้ให้กับตัวเองเลยทีเดียว

  11. หาเพื่อน "คอเดียวกัน" ชื่นชมซึ่งกันและกันเวลาเขียนบันทึก โทรไปบอกให้ช่วยอ่านหน่อย

  12. เขียนบันทึก Stock ไว้บ้างก็ดี.. วันไหนไม่มีข้อมูลเขียนบันทึก..ก็เอาบันทึกที่ Stock ไว้มานำลง..บันทึกที่ Stock ไว้ เป็นการเขียนข้อมูลในวันนั้นๆ เราลงวันที่ (เวลาด้วยยิ่งดี) เอาไว้ด้วย

  13. อย่าลงบันทึก...เกินหนึ่งบันทึกต่อวัน..เพื่อเว้นระยะเวลาให้มีคนเข้ามาอ่าน และเข้ามาลปรร.กับเราบ้าง (หากมีบันทึกมาก ค่อยๆ ทยอยนำลง)

  14. เน้นที่ความต่อเนื่องนะครับ.. ลงบันทึกสัปดาห์ละ ๕ วัน.. วันหยุดเขียนบันทึก Stock ไว้ เขียนเรื่องที่เราชอบดีที่สุด

 

BeeMan

นกเพนกวิน penguin 

BeeMan

PenGuin

 

หมายเลขบันทึก: 88816เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 07:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ขอบคุณท่านอ.บีแมนมากครับที่ช่วยแนะนำ ต่อไปผมจะพยายามเขียนให้มากขึ้นครับ
  • ขอบคุณครับ คุณทวีสิน ที่เข้ามา share ให้เห็นว่าบันทึกนี้พอมีประโยชน์
มีประโยชน์แน่นอนค่ะ อ.Beeman เป็นคำแนะนำที่ยอดเยี่ยมและเป็นรูปธรรมมากๆ ใครๆก็ทำได้ค่ะ ขอบคุณแทนบล็อกเกอร์ทุกๆท่านนะคะ
ขอบคุณมากๆ ค่ะ จะพยายามนำเคล็ดลับนี้ไปใช้ค่ะ
  • อ.beeman คะ มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ
  • ขออนุญาตนำเอาไปเผยแพร่นะคะ เพราะอนาคตจะเริ่มกระบวนการฝึกทักษะ ให้ชาวประชากรมอนามัยได้มีการบันทึก ทาง G2K ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • เป็นวิธีการที่ง่าย และไม่ต้องคิดมาเลยนะค่ะ
  • อาจารย์บีแมนทำให้เห็นภาพว่า การเขียนบล็อกไม่ได้กระทบกับงานประจำ
  • แต่บางทีอาจจะยังไม่มั่นใจในสิ่งที่เขียนไปเลยอาจจะมีการแก้ไขบ่อย บางทีก็ไม่กล้าโพส
  • นี่เป็นแนวทางให้นักเขียนหน้าใหม่ ที่เพิ่งเริ่มเขียนบล็อกเป็นอย่างดีเลยนะค่ะ อ.บีแมน

                              

ขอบคุณค่ะ อ.จ. ช่วยกรุณาแนะนำ มีประโยชน์มากค่ะ

ดิฉันเพิ่งเริ่มเป็นสมาชิก และสนใจเรื่อง good  life ,good living  และ health ทั้งปวง และยังมี คลังข้อมูลอยู่ประจำบ้าน ถามได้ อ้างอิงได้ ไม่ต้องกลัวเรื่องลิขสิทธิ์

ดิฉันจบอักษรศาสตร์จุฬา และ ต่อบริหารธุรกิจ ชีวิตส่วนใหญ่ อยู่กับเรื่องธุระกิจ ฝ่าฟันมามาก สมัยทำอุตสาหกรรมอาหาร 10ปี เกี่ยวข้องกับเกษตรกร มาก เพราะ เราทำ contract farming มาก และทำการตลาดเอง นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปีที่ 4 ซึ่งดูแล้ว  อาจจะไม่เหมาะที่จะเขียนที่นี่

เลย ตั้งใจ  จะเขียนแต่เรื่องเบาๆ  ซึ่งก็ชอบอีก

อ.จ.คะ ในตัวของคนๆหนึ่ง มีหลายมุมจริงๆนะคะ ทำงานพร้อมๆกันเสียด้วย อ.จ.ว่าจริงไหมคะ    

โอโห !..ตอนแรกบันทึกนี้ทำท่าไม่คึกคัก..เพราะเขียนในช่วงดึกๆ ของวันใกล้วันหยุดยาว..

  • มีคุณทวีสินเข้ามาปลุกกระแส
  • ตามมาด้วยคุณโอ๋-อโณ ที่นานๆ แวะมาเยี่ยม ครั้ง..และมาให้กำลังใจก่อนใคร (นอกมน.)
  • และเป็นปลื้มมาก ที่ยอดคุณเอื้ออำนวย..ท่านอาจารย์หมอปารมี..เข้ามาเยี่ยม..ผมชื่นชอบวิธีการบริหารภาควิชาฯ ของท่านอาจารย์หมอปารมีมากเลยครับ
  • ท่านอาจารย์หมอนนทลี ก็มาเยี่ยม..ผมยังมีคดีติดค้างยังไม่ตอบท่านอาจารย์หมอนนทลีเลยครับ..เอาเป็นว่าในคำถามนั้น..ท่านอาจารย์ได้ตอบคำถามให้ผมแล้วในข้อคิดเห็น..เพราะว่าผมไม่มีอะไรใหม่กว่านั้นครับ
  • ส่วนคุณแก่นจัง เดี๋ยวนี้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ beeman เลย ติดตามทุกบันทึก และเลือกที่จะให้ข้อคิดเห็นในบางบันทึก..ซึ่งเป็นกำลังใจให้ beeman เขียนบันทึกต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง
  • ต้องขอขอบคุณทุกท่านครับ

และเข้าไปเยี่ยม บล็อก GotoKnow ของ คุณsasinanda  แล้วครับ..ลอง Screen ดู คร่าวๆ ครับ ยังไม่ได้อ่านอย่างจริงจัง...แต่คิดว่าเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและทรงคุณค่าใน G2K แน่ๆ เลย

  • บล็อกและบันทึก น่าสนใจ
  • เรื่องธุรกิจ ก็น่าสนใจที่จะศึกษา...ถ้าอยากช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง..beeman คงมีเรื่องคุยด้วยยาวมาก
  • ในตัวคนหนึ่งๆ มีหลายมุมมองแน่นอน..
  • อย่างคุณ sasinanda มีแง่มุมที่น่าสนใจมากมาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท