Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

แก้ไขปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติทั้งระบบโดยรัฐสภา : มีความเป็นไปได้ในประเทศไทยไหมหนอ ?


ในวันที่ ๔ เมษา ๒๕๕๐ ซึ่ง อ.แหววและครูแดงไปหาท่าน อ.มีชัยให้ความเห็นหลายอย่างที่น่าทะลุทางตันที่คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในประเทศไทยเผชิญในวันนี้ ท่านขอให้เรานัดท่านอีกครั้งเพื่อเสนอภาพรวมของปัญหาทั้งหมดของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติให้ท่านฟัง เร็วๆ นี้ในช่วงนี้ อ.แหววและครูแดงจึงกำลังตรึกตรองภาพรวมของปัญหา อย่างไม่ให้ตกหล่น มาช่วย อ.แหววคิดหน่อยค่ะ เราจะรวบรวมปัญหาไปเล่าให้ท่าน อ.มีชัยทราบอย่างไร ? ตอนนี้ นั่งคิดนอกคิดอยู่ ๓ เรื่อง กล่าวคือ (๑) ยังมีกฎหมายและนโยบายตรงไหนบ้างที่ยังไม่มีหรือไม่ดี (๒) ยังมีวิธีบังคับใช้กฎหมายและนโยบายตรงไหนบ้างที่ไม่มีหรือไม่ดี (๓) ยังมีทัศนคติของสังคมไทยตรงไหนบ้างที่ไม่มีหรือไม่ดี

          เรื่องจะแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติทั้งระบบเนี่ย เป็นความฝันสูงสุดของทั้งเจ้าของปัญหา และคนแก้ปัญหาอย่าง อ.แหวว เลยล่ะ 

         คนล่าสุดที่มาเสนอแนวคิดนี้ ก็คือ ท่าน อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งวันนี้ ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดังนั้น อ.แหววกับครูแดงจึงดีอกดีใจจนออกนอกหน้า หิ้วกระเป๋า แบกเอกสารไปยืนคอยท่าน อ.มีชัยในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐

           คนในวงการทำงานเพื่อคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติคงจำได้ว่า คนรองสุดท้ายที่เสนอตัวมาช่วยแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติทั้งระบบ ก็คือ คุณจาตุรน ฉายแสง และเป็นที่มาของยุทธศาสตร์จัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ อันทำให้การอนุญาตให้สัญชาติไทยแก่คนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยของ มท.๑ หรือการให้สิทธิอาศัยถาวรแก่คนไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยขยับบ้างในช่วงเวลาหลังๆ แต่ก็ยังช้าอยู่ดี

              สำหรับความดีงามของคุณจาตุรนที่เราไม่อาจลืม ก็คือ การเกิดขึ้นของนโยบายในการให้การรับรองความเป็นบุคคลตามกฎหมายแก่คนไร้รัฐ กล่าวคือ คนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก ความมุ่งมั่นของคุณจาตุรน และความเอาใจใส่ของคุณจิราพร บุนนาค รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นปัจจัยความสำเร็จของการยอมรับ คนไร้รัฐ ในระบบทะเบียนราษฎรไทย อันได้แก่ การยอมรับใน ท.ร.๓๘ ก.

             ในวันที่ ๔ เมษา ๒๕๕๐ ซึ่ง อ.แหววและครูแดงไปหาท่าน อ.มีชัยให้ความเห็นหลายอย่างที่น่าทะลุทางตันที่คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติในประเทศไทยเผชิญในวันนี้ ท่านขอให้เรานัดท่านอีกครั้งเพื่อเสนอภาพรวมของปัญหาทั้งหมดของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติให้ท่านฟัง เร็วๆ นี้

           ในช่วงนี้ อ.แหววและครูแดงจึงกำลังตรึกตรองภาพรวมของปัญหา อย่างไม่ให้ตกหล่น มาช่วย อ.แหววคิดหน่อยค่ะ เราจะรวบรวมปัญหาไปเล่าให้ท่านทราบอย่างไร ?

            ตอนนี้ นั่งคิดนอกคิดอยู่ ๓ เรื่อง กล่าวคือ

             (๑) ยังมีกฎหมายและนโยบายตรงไหนบ้างที่ยังไม่มีหรือไม่ดี

              (๒) ยังมีวิธีบังคับใช้กฎหมายและนโยบายตรงไหนบ้างที่ไม่มีหรือไม่ดี

              (๓) ยังมีทัศนคติของสังคมไทยตรงไหนบ้างที่ไม่มีหรือไม่ดี

              มาช่วยกันไปขอบคุณท่านกันหน่อย ก็ดีนะคะ อ.แหววไปขอบคุณมาแล้วค่ะ

              นอกจากนั้น มาช่วยกันคิดวิธีมองภาพปัญหาของคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติให้ชัดเจนมากขึ้นหน่อยนะคะ คิดออก แล้วแนะนำมาเลยค่ะ จะเป็นพระคุณอย่างสูง

----------------------------------------------------

แก้ไขปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติทั้งระบบโดยรัฐสภา

: มีความเป็นไปได้ในประเทศไทยไหมหนอ ?

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 88760เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนฝากประเด็นต่อไปนี้

ต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนท.ร.38/1 อย่างถูกต้องและอยู่เมืองไทยได้โดยไม่ได้กระทำผิดกฏหมายใดๆ ไม่เป็นภัยต่อราชอาณาจักรไทยเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 -3 ปี (แล้วแต่เห็นสมควร) ควรได้รับอนุญาติให้ออกนอกพื้นที่ได้อย่างไม่ต้องหลบๆซ่อนๆหรือแอบไปอย่างเช่นที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน

 ด้วยความเคารพ 

คนต่างด้าวใน ทร.๓๘/๑ เป็น "แรงงานต่างด้าว" ที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มักยังไม่มีความกลมกลืนอย่างแท้จริงกับประเทศไทย และที่สำคัญอาจจะไม่ใช่ "คนไร้รัฐ"

ปัญหาอาจจะมีเพียงไม่ได้แจ้งเกิดในทะเบียนราษฎรของรัฐต้นทาง

โดยหลักการในความตกลงทวิภาคีที่ประเทศไทยมีกับรัฐต้นทาง  คนต่างด้าวในลักษณะนี้จะต้องไปพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง ถ้าผ่าน ก็จะมีสถานะเป็น "คนสัญชาติ" ของประเทศต้นทาง และจะมีสถานะเป็น "คนต่างด้าวถูกกฎหมาย" ในประเทศไทย ซึ่งในสถานะนี้ สิทธิในการเดินทางในประเทศไทย ก็จะเหมือนคนต่างด้าวทั่วไป ที่ต้องขออนุญาตเข้าออกประเทศไทย แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ก็เคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

แม้ยังไม่พิสูจน์สัญชาติ ก็อาจเดินทางได้ แต่ต้องมีเหตุผลและต้องขออนุญาต

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท