KM Workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง


         วันนี้ดิฉันขอนำข่าวดีมากระซิบบอกชาว QA ในเขตภาคเหนือตอนล่างทุกท่านนะคะ  (ทำไมต้องกระซิบ ... ทำไมไม่ประกาศดังๆ ?)  ก็เพราะว่าขณะนี้อยู่ในช่วงที่ มน. กำลังรอคำตอบจาก สมศ. เกี่ยวกับการเสนอขอจัดโครงการ “KM Workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง”  ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่  18 พ.ค. 2550 ที่จะถึงนี้ค่ะ

         เนื่องจาก สมศ. ได้เริ่มมีการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบแรกตั้งแต่ปี 2544 - 2548  และในขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองซึ่งดำเนินการในระหว่างปี 2549 – 2553 โดยเกณฑ์การประเมินมีความแตกต่างจากรอบแรก  ดังนั้นเพื่อที่จะร่วมกันสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมินจากทุกสถาบันการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง  และอีกอย่างก็เพื่อก่อให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง (ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นเนื่องจากยังไม่เคยมีมาก่อน) โดยโครงการดังกล่าวขอรับการสนับสนุนจาก สมศ. และมีมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการประสานงานค่ะ 

        
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้ก็เพื่อ

         1.  บุคลากรจากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างได้รับทราบทิศทางและนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของ สมศ.

         2.  บุคลากรจากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินภายนอกของ สมศ.  และร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาให้ดียิ่งๆ ขึ้น

         3.  เป็นจุดกำเนิดเครือข่ายพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง  ซึ่งมีมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการประสานงาน  โดยมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับประเทศ คือ สมศ. และ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

         4.  เครือข่ายพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างเป็นกลไกสำคัญในการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป  เช่น การพัฒนาคุณภาพตามตัวบ่งชี้ ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)

         สำหรับสถาบันในเขตภาคเหนือตอนล่างที่ทาง มน. จะได้ประสานเพื่อเรียนเชิญเข้าร่วมโครงการหลังจากได้รับอนุมัติโครงการจาก สมศ. ประกอบด้วย

1.1  มหาวิทยาลัยนเรศวร
1.2  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
1.3  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
1.4  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
1.5  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
1.6  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
1.7  สถาบันการพลศึกษา  วิทยาเขตเพชรบูรณ์
1.8  สถาบันการพลศึกษา  วิทยาเขตสุโขทัย
1.9  วิทยาลัยชุมชนตาก
1.10 วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
1.11 วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี
1.12 วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
1.13 มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
1.14 มหาวิทยาลัยภาคกลาง
1.15 วิทยาลัยพิษณุโลก
1.16 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์
1.17 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  พุทธชินราช
1.18 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  อุตรดิตถ์
1.19 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
1.20 วิทยาลัยนาฎศิลปสุโขทัย
1.21 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร  ภาค 6

(ข้อมูลรายชื่อสถาบันจาก สมศ.)

         และนอกจากนี้จะได้เชิญผู้บริหาร / เจ้าหน้าที่จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)   และผู้บริหาร / ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)  เข้าร่วม ลปรร. และ สังเกตการณ์โครงการกับเราด้วยค่ะ

         ซึ่งหลังจากจบโครงการเราคาดว่าสถาบันที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับก็คือ

         1. 
ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและหลักการในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น
         
         2.  ความเข้าใจในมาตรฐานและเกณฑ์การประเมินภายและมีความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. รอบ 2  เพิ่มมากขึ้น

         นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่คาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดขึ้น คือ 

         1.  เกิดเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง  ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางโดยมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับประเทศ เช่นสมศ. และ สกอ.

         2.  เกิดกลไกในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างอันจะนำไปสู่การร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาด้านอื่นๆ ร่วมกันต่อไป

สำหรับ (ร่าง) กำหนดการ KM Workshop  มีดังนี้ค่ะ

วันศุกร์ที่  18  พฤษภาคม  2550

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 

09.00 – 09.30 น. กล่าวต้อนรับและพิธีเปิด
โดย  ศ.ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

09.30 – 10.30 น. บรรยายพิเศษ  เรื่อง  “ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษาและทิศทางการพัฒนา”โดย  ศ.ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์  ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

10.30 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 11.15 น. เกริ่นนำกระบวนการ
โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ  มหาวิทยาลัยนเรศวร

11.15 – 12.00 น. แบ่งกลุ่ม 9 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 ท่าน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  (ลปรร.) ในการทำความเข้าใจและพัฒนาคุณภาพตามตัวบ่งชี้  ดังนี้

         กลุ่มที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 – 1.6 
         กลุ่มที่ 2 ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 – 1.8 และ 2.1 – 2.3
         กลุ่มที่ 3 ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 – 2.7 และ 3.1 – 3.2
         กลุ่มที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 – 3.7 
         กลุ่มที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 – 4.4 และ 5.1 
         กลุ่มที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 – 5.7
         กลุ่มที่ 7 ตัวบ่งชี้ที่ 5.8 – 5.11 และ 6.1 
         กลุ่มที่ 8 ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 – 6.6
         กลุ่มที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 6.7 – 6.9 และ 7.1 – 7.2

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 

13.00 – 14.30 น. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอผลจากการ  ลปรร. ในแต่ละตัวบ่งชี้เรียงตามรายมาตรฐาน (กลุ่มละประมาณ 15 นาที) 

14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

14.45 – 15.45 น. นำเสนอผลจากการ ลปรร.ในแต่ตัวบ่งชี้เรียงตามรายมาตรฐาน (ต่อ)

15.45 – 16.00 น. อภิปรายและซักถาม

16.00 – 16.30 น. การทบทวนหลังกิจกรรม (AAR, After Action Review)  และพิธีปิด

         ถ้าหากมีความเคลื่อนไหวอย่างไรดิฉันจะรีบนำมาแจ้งให้กับทุกท่านให้ทราบอีกครั้งนะคะ

หมายเลขบันทึก: 88752เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2007 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณนะค่ะที่รายงานความก้าวหน้า อย่าลืมราณีคนนี้กับลูกหว้าคนสวยนะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท