นางภัทรินทร์
นาง นางภัทรินทร์ เหมียว จันทร์สุขโข

โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


การเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์

ความหมายและคุณค่าของโครงงานและเทคโนโลยี

        เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า   จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน  คือ  การฝึกให้ในเรียนมีความสามารถในการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาประดิษฐ์คิดค้น  หรือค้นหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง  วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดวิธีหนึ่งที่จะฝึกนักเรียนให้มีความสามารถดังกล่าวได้   คือ  การให้นักเรียนได้มีโอกาสทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ซึ่งก็คือกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง   ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู  อาจารย์  หรือผู้ทรงวุฒิ  ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า  ดำเนินการวางแผนออกแบบ  ประดิษฐ์   สำรวจ  ทดลอง  เก็บรวบรวมข้อมูล  รวมทั้งการแปลผล  สรุปผลและการเสนอผลงานกล่าวอีกนัยหนึ่ง  กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้-          เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี-          นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มหรือเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ-          เป็นกิจกรรมที่มีผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าตลอดจนดำเนินงานการปฏิบัติทดลอง  เก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น  รวมทั้งแปลผล  สรุปผล  และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  โดยมีครู  อาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ  เป็นผู้ให้คำปรึกษา      การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีขอบเขตกว้างขวาง   มีตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ  ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยาก  สลับซับซ้อน  ตั้งแต่เรื่องที่ใช้เวลาสั้น ๆ ในการทำจนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือมากกว่าหรือเรื่องที่เสียค่าใช้จ่ายเพียงไม่กี่บาทจนถึงนับพันบาท       

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          จากความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น    จะเห็นได้ว่าโครงงานวิทาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความหมายกว้างขวางมาก   กิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและลงมือศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์   ไปช่วยในการศึกษาค้นคว้านั้น ๆ ถือเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  อาจแบ่งโครงงานได้เป็น  4  ประเภท  คือ -          โครงงานประเภทการทดลอง -          โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล-           โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์-           โครงงานประเภททฤษฎี โครงงานประเภท     การทดลอง      ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้คือ    เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่ต้องการศึกษา   โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ  ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาหรือกล่าวเป็นนัย   โครงงานที่จัดเป็นประเภทนี้  จะประกอบด้วย    การกำหนดปัญหา   การตั้งจุดประสงค์โดยทั่ว ๆไป   ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้   จะประกอบด้วย  การกำหนดปัญหา  การตั้งจุดประสงค์หรือสมมติฐาน  การออกแบบการทดลอง    การดำเนินการทดลอง   การรวบรวมข้อมูล  การแปลผลและการสรุปผล โครงงานประ เภท     การสำรวจรวมข้อมูล         โครงงานประเภทนี้แตกต่างจากประเภทแรกที่ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาเหมือนโครงงานประเภทการทดลอง  โครงงานประเภทการสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้  ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น        การสำรวจและการรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้หลายรูปแบบ  เช่นการออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  ที่ต้องการในท้องถิ่นหรือสถานที่ต่าง   ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้ทันทีมในขณะที่ออกไปปฎิบัติการนั้น  โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการอีกตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ได้แก่Ø   การสสำรวจประชากรและชนิดของสิ่งต่าง   เช่น  สัตว์  พืช  หิน แร่  ฯลฯ  ในท้องถิ่นหรือบริเวณที่ต้องการศึกษาคู่มือการและกาสรจัดงานแสดงผลงานØ   การสำรวจทิศทางและอัตราเร็วลมในท้องถิ่นต่าง ๆØ   การสำรวจการผุกร่อนของสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินอ่อนในแหล่งต่าง ๆ    ฯลฯ โครงงานประเภท     สิ่งประดิษฐ์          โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ  เครื่องใช้   หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดประดิษฐ์ของใหม่   หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้  โครงงานประเภทนี้รวมไปถึงการสร้างแบบจำลอง  เพื่ออธิบายแนวความคิดต่าง ๆ ด้วย  ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้  ได้แก่  โครงงานเรื่องกระสวยอัดอากาศ  ลิฟต์  พลังงานโน้มถ่วง  เครื่องจักรพลังงานแม่เหล็ก  เครื่องอบมันสำปะหลัง  แบบจำลองบ้านพลังงานแสงอาทิตย์  หุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน    แบบจำลอง  การใช้พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ  ฯลฯ    


"+0">    

ขั้นตอนของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินงานหลายขั้นตอน  ขั้นตอนในการทำโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นท้าย  อาจสรุปได้ดังนี้ v   การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานv  การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องv  การจัดทำเค้าโครงของโครงงานv  การลงมือทำโครงงานv  การเขียนรายงานv  การแสดงผลงาน การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง           การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในที่นี้รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง    ที่เกี่ยวข้องด้วย        หลังจากที่นักเรียนได้หัวข้อเรื่องกว้าง     ที่เขามีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าขั้นตอนต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรแนะนำ  คือแหล่งที่นักเรียนจะสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เขาสนใจนั้น  การศึกษาเอกสารต่าง   ที่เกี่ยวข้องหรือการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒินี้    อาจารย์ที่ปรึกษาต้องแนะนำให้นักเรียนรู้จักจดบันทึกไว้ในสมุดให้เป็นหลักฐานเรียบร้อย   ผู้ทำโครงงานทุกคนจำเป็นต้องมีสมุดบันทึกประจำวันซึ่งควรจำไปแสดงในวันแสดงโครงงานด้วย                 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยให้นักเรียนได้แนวความคิดที่จะกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น   จะได้ความรู้ในเรื่องที่จำทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น    จนสามารถออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม    อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรอนุญาตให้นักเรียนลงมือทำโครงงานโดยไม่ศึกษาความรู้ในเรื่องเหล่านั้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอเสียก่อน                   การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้นักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้ห้องสมุด    จึงเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องแนะนำเทคนิคและวิธีการต่าง     ในการค้นเอกสารจากห้องสมุดซึ่งอาจแนะนำให้นักเรียนไปปรึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้    นอกจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจต้องให้ความช่วยเหลือในการติดต่อห้องสมุดอื่น   ในท้องถิ่นให้นักเรียนสามารถเข้าไปใช้บริการไว้ด้วย การเขียนเค้าโครงของโครงงาน                    หลังจากที่นักเรียนได้หัวเรื่องทำโครงงานที่เฉพาะเจาะจงและได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่าง    อย่างเพียงพอแล้ว    ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนเค้าโครงงานของโครงงานเสนอต่างอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินขั้นต่อไป                        เค้าโครงงานของโครงงานโดยทั่ว   ไปจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวคิด     แผนและขั้นตอนของการทำโครงงานนั้น      ซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้1.  ชื่อโครงงาน2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน    อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้   โครงงานเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร    มีหลักการหรือทฤษฏีอะไรที่เกี่ยวข้อง    เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้เคยศึกษา    ค้นคว้าทำนองนี้ไว้บ้างแล้ว    ถ้ามี    ได้ผลเป็นอย่างไร     หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล5.   จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า6.   สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า  ( ถ้ามี )  7.   วิธีดำเนินงาน7.1  วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้       ระบุว่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง    จะได้วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมาจากไหนวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะต้องจัดซื้อ    อะไรบ้างที่จัดทำเอง    อะไรบ้างที่ขอยืมได้    7.2   แนวการศึกษาค้นคว้า        อธิบายว่าจะออกแบบการทดลองอะไร    อย่างไร    จะสร้างหรือประดิษฐ์อะไร   อย่างไรจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง     บ่อยครั้งและมากน้อยเพียงใด8.    แผนปฏิบัติงาน       อธิบายเกี่ยวกับเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน9.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ10.  เอกสารอ้างอิง การลงมือทำโครงงาน        เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็เสมือนว่างานของนักเรียนเสร็จไปแล้วมากกกว่าครึ่งหนึ่ง    ต่อไปก็เป็นขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในเค้าโครงที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษา     ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้1.   เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลอง2.   มีสมุดบันทึกกิจกรรมประจำวันได้ทำอะไรไป   ได้ผลอย่างไร    มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร3.   ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ   และบันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นหลักฐานเป็นระเบียบครบถ้วน4.   คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน5.   พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรก     และอาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้าง   หลังจากที่ได้เริ่มต้นดำเนินงานไปแล้ว   ถ้าคิดว่าจะทำให้ผลงานดีขึ้น6.   ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุด7.   ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อย    และทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป8.   ควรทำงานส่วนที่เป็นหลักสำคัญ    ให้เสร็จก่อน    จึงจะทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมแต่งโครงงาน9.   อย่าทำต่อเนื่องจนเมื่อยล้า    จะทำให้ขาดความระมัดระวัง10.   ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถือความคงทน    แข็งแรงและขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์นั้น         ความสำเร็จของการทำโครงงานมิไดขึ้นอยู่กับผลการทดลองที่ได้ตรงกับความคาดหวังหรือไม่แม้ผลการทดลองที่ได้จะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็ถือว่ามีความสำเร็จในการทำโครงงานนั้นเหมือนกับเช่นถึงพบว่าซังข้าวโพดสามารถใช้เพาะเห็ดนางรมได้ดีตามคาดหวัง  ก็สามรถแนะนำให้ใช้ซังข้าวโพดในการเพาะเห็ดนางรมได้  พบว่าซังข้าวโพดไม่สามารถใช้เพาะเห็ดนางรม   ดังนี้เป็นต้น   จะเห็นได้ว่าผลที่ได้จากการทำโครงงานไม่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ก็มีคุณค่า   ทั้งนั้น   ข้อสำคัญคือนักเรียนจะต้องทำโครงงานจนสำเร็จครบขั้นตอนตามที่ได้วางแผนไว้  อย่าท้อถอยหรือเลิกกลางคัน                            การเขียนรายงาน           เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล   ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งแปลผลและสรุปผลแล้ว  งานขั้นต่อไปที่ต้องทำก็คือการเขียนรายงาน       การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงานเป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง  เพื่อให้คนอื่น   ได้เข้าใจถึงแนวความคิด  วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า  ข้อมูล  ผลที่ได้ตอลดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง   ที่เกี่ยวกับโครงงานนั้น           การเขียนโครงงานควรจะใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น ๆ และตรงไปตรงมา โดยให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง   ดังต่อไปนี้1.  ชื่อโครงงาน2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน3.  ชื่อที่ปรึกษา4.  บทคัดย่อ          อธิบายที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์  วิธีดำเนินการ  และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง    อย่างย่อ    ประมาณ   300 350  คำ5.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน           อธิบายความสำคัญของโครงงาน    เหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้และหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน  เรื่องที่ทำนี้ได้ขยาย  เพิ่มเติม  หรือปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นได้ทำไว้อย่างไรบ้าง  หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อตรวจสอบผล6.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า7.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า   ( ถ้ามี )8.  วิธีดำเนินการ          อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียดตลอดจนวัสดุอุปกรณ์    และสารเคมีต่าง    ที่ใช้9.  ผลการศึกษาค้นคว้า          นำเสนอข้อมูล    หรือผลการทดลองต่าง    ที่สังเกตรวบรวมได้   รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย10.  สรุปและข้อเสนอแนะ                 อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน      ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้   นอกจากนั้นควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์   อุปสรรคของการทำโครงงาน   หรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้   รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไ ข    หากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปนี้ในอนาคตด้วย11.   คำขอบคุณ            ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายาฝ่าย   ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ   จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง   ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จไปด้วย12.   เอกสารอ้างอิง              อ้างอิงหนังสือ    หรือเอกสารต่าง   ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหาข้อมูลและรายละเอียดต่าง   ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้  ทีกล่าวมานี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนรายงานเท่านั้น    ซึ่งเป็นแบบการเขียนรายงานในลักษณะทั่ว   ไป     รูปแบบดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะสมกับโครงงานทุกประเภทก็ได้      ทั้งนี้แล้วแต่ละลักษณะของโครงงานอย่างไรก็ตาม     ไม่ว่าเป็นโครงงานประเภทใด     สิ่งสำคัญที่สุดผู้เขียนรายงานควรตระหนักไว้อยู่เสมอก็คือควรเขียนรายงานให้ชัดเจน    ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง      ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและครอบคลุมประเด็นสำคัญ    ทั้งหมดของโครงงาน      แสดงผลงาน         การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่ง     ของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เป็นการแสดงผลิตผลของเวลา    ความคิดและความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไปและเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น   มีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดการแสดงผลงานที่มีความสำคัญเท่า   กับการทำโครงงานนั้นเองผลงานที่ทำขึ้นจะดียอดเยี่ยมเพียงใด     แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงความยอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง          การออกแบบและการวางแผนเพื่อนำผลงานมาแสดงนั้น      ดูเสมือนว่าทำได้ง่าย   แต่ความจริงมักไม่เป็นเช่นนั้น      การวางแผนดังกล่าวต้องอาศัยเวลาพอสมควร     ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ    ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งต้องคำนึงถึงผู้ชมหรือผู้ฟัง            การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ กัน  เช่น    การแสดงในรูปนิทรรศการ  ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงปละการอธิบายด้วยคำพูด    หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีคำอธิบายประกอบหรือในรูปแบบการรายงานปากเปล่า     ไม่ว่าการจัดแสดงผลงานแบบใดควรจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้1.  ชื่อโครงงาน     ชื่อผู้ทำโครงงาน       ชื่อที่ปรึกษา2.   คำอธิบายย่อ   ถึงเหตุจูงใจในการจัดทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน3.   วิธีการดำเนินการ   โดยเลือกขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ4.   การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง5.   ผลการสังเกตและข้อมูลที่เด่น   ที่ได้รับจากการทำโครงงาน 


หมายเลขบันทึก: 88476เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอโครงงานหน่อย

  • สวัสดีครับอาจารย์ภัทรินทร์ คนเก่ง
  • รร.นี้มีแต่อาจารย์เก่งๆ
  • สอนนักเรียนดี มีคุณภาพ
  • ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนแย่กันมาเข้า
  • ทุกปี  ได้เติมเต็มเรื่องโครงงาน
  • ขอบคุณ
โครงงานเกี่ยวกับพืชและสัตว์

ช่วยหาให้ด้วยนะค่ะด่วนที่สุด

ขอถามหน่อยเถอะครับขอให้คุณครูช่วยทำเว็บนอกจากจะป็นวิธีการทำโครงงานแล้วยังมีอีกคือก่อนการทำโครงงานก็ต้องมี การเขียนโครงร่างผมเขียนไม่เป็นขอคุณครูเขียนหน่อยนะครับ

นักรียนโรงรียนสันทรายวิทยาคม

อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

ขอบคุณสำหรับความรู้เกี่ยวกับ โครงงานวิทยศาสตร์มากๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท