เยาะเย้ยถากถาง เสี่ยงโรคหัวใจ


ท่านอาจารย์เสาวลักษณ์นำข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับเรื่องกรรมติดจรวดของพวกชอบเยาะเย้ย ถากถางตีพิมพ์ในวารสารชีวจิต

Phone Shocker

ท่านอาจารย์เสาวลักษณ์นำข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับเรื่องกรรมติดจรวดของพวกชอบเยาะเย้ย ถากถางตีพิมพ์ในวารสารชีวจิต ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ…

คำเยาะเย้ย ถากถางนี่... ถ้ากล่าวต่อหน้า ท่านจัดเป็น "ผรุสวาจา(คำหยาบ)" หรือการกล่าวคำหยาบ ถ้ากล่าวลับหลังเพื่อให้คนอื่นเสียหาย หรือแตกแยกกัน ท่านจัดเป็น "ปิสุณาวาจา(ส่อเสียด)"

วาจาหยาบหรือผรุสวาจา... แม้เป็นคำไพเราะ ถ้ากล่าวด้วยจิตโทสะ(โทสมูลจิต) หรือจิตที่แข็งกระด้าง ปรารถนาร้าย คำกล่าวนั้นก็สงเคราะห์เป็นวาจาหยาบเหมือนกัน...

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐฯ ทำการศึกษาในอาสาสมัคร 6,814 คน อายุ 45-84 ปี

ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามประเมินความเสี่ยงจากโรคเครียดเรื้อรัง โรคซึมเศร้า และตรวจเลือดหาสารบ่งชี้การอักเสบ 3 ตัว (ไฟบริโนเจน, ซี-รีแอคทีฟ, ไอแอล-6)

ผลการศึกษาพบว่า พวกปากเยาะเย้ย ถากถางสูงมีสารบ่งชี้การอักเสบสูง 3 ตัว พวกที่มีความเครียดเรื้อรังมีสารบ่งชี้การอักเสบสูง 2 ตัว(ซี-รีแอคทีฟ + ไอแอล-6) พวกที่เป็นโรคซึมเศร้ามีสารบ่งชี้การอักเสบสูง 1 ตัว(ไอแอล-6)

สารบ่งชี้การอักเสบมักจะเพิ่มในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ ฯลฯ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่น่าสนใจ ความสะใจที่ได้จากการเยาะเย้ย ถากถางคนอื่นนั้นเป็นยาพิษที่มีรสหวานเพียงชั่วครูเท่านั้น

เราๆ ท่านๆ หันมาสำรวมวาจา ไม่เยาะเย้ย ถากถางใคร… ไม่ยินดีในความสุขที่ได้จากการเหยียบย่ำ ทำร้านคนอื่นน่าจะดี

สำรวมวาจาแล้วคงจะยังไม่พอ… อย่าลืมกล่าวชมคนรอบข้างให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และค่อยๆ เพิ่มเป็นวันละ 5-10 ครั้ง เพื่อให้ "คลื่นแห่งความสุข(เมตตา)" แผ่ไปยังคนรอบข้าง…

ความสุขจากการชื่นชม (appreciation) นั้น… ถึงชมคนอื่น ทว่า… คนที่จะมีความสุขจากการชมจริงๆ ก็คงหนีไม่พ้น "คนที่ได้ยินคำชมทุกครั้ง" นี่ละ

คงไม่ต้องบอกนะครับว่า เวลาเราชมคนอื่น… ใครได้ยินคำชมทุกครั้ง

ขอกราบอนุโมทนา และอนุโมทนากับท่านผู้อ่านทุกท่านที่สำรวมวาจา และกล่าวชื่นชมคนรอบข้างแม้เพียงวันละครั้งครับ… สาธุ สาธุ สาธุ

    แหล่งที่มา:

  • ขอขอบพระคุณ (thank / courtesy of) > ท่านอาจารย์เสาวลักษณ์. ระวัง! ชอบเยาะเย้ยถากถาง เสี่ยงโรคหัวใจสูง. ชีวจิต (www.cheewajit.com) > ฉบับ 203 ปี 9 (16 มีนาคม 2550). หน้า 18. (ที่มา: สำนักข่าวรอยเตอร์ > www.reuters.com).
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์สุภา เกียรติก้องแก้ว นักโภชนาการ ศูนย์มะเร็งลำปาง > เอื้อเฟื้อตารางเกณฑ์โรคอ้วน-น้ำหนักเกินในคนไทย.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ IT + พต.ศรัณย์ มกรพฤฒิพงษ์ โร > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๓ เมษายน ๒๕๕๐.
  • เชิญอ่าน "บ้านสาระ" ที่นี่ > [ Click - Click ]
หมายเลขบันทึก: 88336เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอขอบคุณ... คุณบ่าววีร์และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • เรียนเชิญพวกเราช่วยกันชมเชยการทำดีของคนรอบข้าง และไม่เยาะเย้ย-ถากถางคนอื่นครับ...

เรียน คุณหมอวัลลภ

ได้มีประสบการณ์เจอคนหน้าตาดี แต่งตัวงาม มีหน้าที่การงานดี แต่ใจคับแคบ ยกตนข่มผู้น้อย พูดจากระทบกระเทียบ และ เป็นคนจมไม่ลงด้วย
ก็ได้แต่ยินดีในสิ่งที่เขามีพร้อมเพราะใช้บุญเก่า ของเขาอยู่ แต่หากเขาไม่ได้สั่งสมความดี หรือ ทำดีน้อยกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ ถือว่ากำลังก่อกรรมไว้ค่ะ
ได้แต่ปลอบเพื่อนร่วมงานที่ต้องอยู่กับคนประเภทนี้ให้ขันติ อย่าไปขันแตก กับเขา เพราะ จิตที่ขุ่นมัว ในตัวเขาจะเผาผลาญตัวเขาเอง เรามองเขาเป็นตัวอย่างและตั้งปณิธานว่าจะไม่เป็นแบบเขานั่นแหละดีที่สุด 

ขอขอบคุณ... คุณหุยและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีใน "บุญเก่า" ของท่านผู้นั้นคือ
  1. หน้าตาดี... ผลจากการเป็นคนไม่มักโกรธ + ทำความสะอาดพระเจดีย์หรือของสงฆ์ + การถวายผ้า(จีวร) หรือทำบุญอื่นๆ ที่ปรารถนารูปงาม
  2. แต่งตัวงาม... ผลจากการให้ทานคือ ให้ผ้า(จีวร) + การงดเว้นจากอทินนาทาน(ไม่ลักทรัพย์ หรือทำลายเสื้อผ้า) + ไม่ตระหนี่ผ้า(จีวร)
  3. หน้าที่การงานดี (ยศใหญ่)... เป็นผลจากการอ่อนน้อม(อปจายนะ) เช่น กราบไหว้พระเจดีย์-สงฆ์ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ฯลฯ

แนะนำให้อ่าน...

  • "ทำบุญอะไร ถึงได้งาม(หล่อหรือสวย)"
  • [ Click - Click ]

พวกเรา...

  • ขอแสดงความชื่นชมคุณหุยที่แนะนำให้ใช้ "ขันติ" และให้ระวัง "ขันแตก"

บุญเก่า...

  • บุญเก่า + นำมาต่อบุญใหม่ > จะทำบุญใหม่ได้มากกว่าคนที่มีบุญเก่าน้อย
  • ตัวอย่างเช่น คนที่เลือดข้นมีโอกาสบริจาคเลือดได้มากกว่าคนที่เลือดจาง ฯลฯ

บุญเก่า...

  • บุญเก่า + นำมาต่อบาปใหม่ > จะทำบาปใหม่ได้มากกว่าคนที่มีบุญเก่าน้อย
  • ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารที่ชอบกลั่นแกล้งคนดี โอกาสตกนรก หรือเป็นเปรตประเภททุกข์ทรมานจะสูงกว่าคนทั่วไปที่ชอบกลั่นแกล้งคนดี เพราะผู้บริหารทำดี หรือทำชั่วได้มากกว่าคนทั่วไป ฯลฯ

พระโพธิสัตว์...

  • พระสัมมาสัมโพธิสัตว์สมัยที่เป็นพระราชา (ชาติก่อนเป็นพระเตมีย์ใบ้ 2 ชาติ)...
  • ทรงเป็นผู้พิพากษา ตัดสินโทษคนอื่น 20 ปี
  • ชาติถัดไปตกนรก 80,000 ปี (ปีนรกนานกว่าปีมนุษย์)
  • เมื่อทรงระลึกชาติได้ในชาติที่เป็นพระเตมีย์ใบ้ จึงทรงน้อมไปเพื่อการออกบวช ไม่ยอมเป็นพระราชา

ขอสนับสนุนให้พวกเราน้อมไป เพื่อความตั้งมั่นใน "ขันติ" และไม่มี "ขันแตก" แม้จะถูก "เจาะขัน" อยู่บ่อยๆ ครับ...

ขอบคุณคุณหมอให้ความกระจ่าง

เพื่อนท่านนึง ได้บอกว่า เขาได้ดีในชาตินี้ จากบุญเก่า แม้ว่าชาตินี้ได้กินบุญเดิม และยังต่อบุญใหม่ คือยังทำบุญอยู่สม่ำเสมอ แต่จิตใจนั้น ยังมีอารมณ์โกรธ ขุ่นมัว ตลอดเวลา ชาติหน้าก็ได้เป็นเทวดา ตามบุญที่เขาสั่งสม แต่ก็คุ้มดีคุ้มร้าย เดี๋ยวแปลงเป็นยักษ์ เดี๋ยวเป็นเทวดา สลับกันไป 

หรือ ถ้าไม่ได้สั่งสมบุญต่อ เกิดมาเป็นคน จะมีผิวหมองคล้ำ หน้าตาหงิกๆ ปากเหม็น (ชอบด่าว่าคน)

ดังนั้น เวลาที่เผชิญหน้าตนเหล่านี้ กันไม่ให้ขันแตก ก็จะนึกภาพเขามีเขางอก เขี้ยวงอก เหมือนยักษ์มาร ความเกรี้ยวกราดจากจิตใจที่ร้อนรุ่มในตัวเขาเองนั่นเอง ทำลายความงามภายนอกเขาหมดสิ้น อนิจจัง แท้ๆ ถ้าเราไม่ไปอิงกับเขา นึกเสียว่าปีศาจตน หนึ่งกำลังร่ายรำ อยู่ คิดเล่นๆ ก็เหมือนดูงิ้ว เลยค่ะ

ขอขอบคุณ.... คุณหุยและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • คนเราส่วนใหญ่ (ยกเว้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีกิเลสทุกประการเลย) มีดีมีร้ายปนๆ กัน
  • เราคงจะไปเปลี่ยนอะไรคนอื่นไม่ได้ (ยกเว้นท่านที่มีเมตตา หรือบารมีบางอย่างมากเป็นพิเศษ)

แนวทางแก้ไข...

  1. แนวทางแก้ไข 90% อยู่ที่ตัวเราเอง
  2. ถ้าพยายาม 90% แล้ว อีก 10% อยู่ที่คนอื่น หรือสิ่งแวดล้อม ถึงตรงนี้คงต้อง "ทำใจ" ครับ...

ที่ทำงานผมก็มีคนพาลเยอะครับ...

  • เปลี่ยนอะไรเขาไม่ได้เหมือนกัน
  • ได้แต่เชื่อมั่นว่า "กรรมมีจริง บาปมีจริง บุญมีจริง"
  • ถ้าคุณหุยเปลี่ยนคนพาลในที่ทำงานผมให้ดีขึ้นได้ ผมจะกราบคุณหุยเลย...
อ.จ.คะ บางคนชอบถากถางคนอื่นเป็นนิสัย ไม่ค่อยพูดให้เขาดี ถ้าไม่ชอบเพราะอิจฉา ก็เป็นโรคหัวใจ แต่รักษษหายค่ะ แปลกไหมคะ เรื่องจริงค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • การให้ผลของกรรมในพระพุทธศาสนามีปัจจัยสำคัญ 4 ประการได้แก่
  1. คติ (ที่เกิด)
  2. กาละ (เวลา)
  3. อุปธิ (รูปร่างกาย)
  4. ปโยคะ (ความประพฤติ + ความพยายาม)

ตัวอย่างเช่น...

  1. คติหรือที่เกิดดี เช่น เกิดมามีพ่อแม่ดี > พ่อแม่ช่วยส่งเสริมให้ "เป็นคนดี(บุญใหม่)" หรือ "ได้ดี(ผลจากบุญเก่า)" ได้มากกว่าคนอื่น
  2. กาละหรือเวลา เช่น เกิดมาในยุคนี้ > ถึงมีโรคหัวใจ... ส่วนหนึ่งก็ยังมีโอกาสผ่าตัดเส้นเลือด หรือทำบอลลูน(ลูกโป่ง)ขยายได้
  3. อุปธิหรือรูปร่างกาย เช่น เกิดมารูปงาม (หล่อหรือสวย) > มีโอกาสในชีวิตเพิ่มขึ้นหลายอย่างเมื่อเทียบกับคนรูปไม่งาม และโอกาสจะดีกว่าคนพิการมากมาย
  4. ปโยคะ ความประพฤติ + ความพยายาม เช่น เกิดมาจน > ขยัน + ใส่ใจเล่าเรียน > ก้าวหน้าได้เหมือนกัน

วาจาถากถาง...

  • วาจาถากถาง + ต่อหน้าคนอื่น > เป็นผรุสวาจา (คำหยาบ หรือคำไพเราะแต่มีรากฐานมาจากใจหยาบ) > นำเกิดได้ และให้ผลหลังเกิดได้ โดยให้เสียงที่ไม่น่าชอบใจ เช่น เสียงขู่ตะคอก เสียงคำด่า เสียงแตรรถ ฯลฯ
  • วาจาถากถาง + ลับหลัง > เป็นปิสุณาวาจา (ส่อเสียด) > นำเกิดได้ และให้ผลหลังเกิดได้ โดยทำให้แตกแยก หรือไม่สามัคคีกัน เช่น ไปที่ไหน วงแตกที่นั่น(ทะเลาะกัน) ฯลฯ

โรคหัวใจ + รักษาหาย...

  • โรคหัวใจเป็นผลจากเศษกรรมสายปาณาติบาต (เบียดเบียนคนอื่น)
  • รักษาหายเป็นผลจากเศษกรรมสายดี เช่น ให้ยาคนอื่นเป็นทาน ช่วยชีวิตคนอื่นหรือสัตว์อื่นมาก่อน (ชาติไหนก็ได้) ฯลฯ

กรรม...

  • การให้ผลของกรรมซับซ้อนมาก
  • ทว่า... กรรมที่เราทำไว้ดีย่อมตามให้ผลดีไปดุจญาติสนิทมิตรสหายที่คอยต้อนรับ (ข้อความจากพระสูตร)
  • ทำดีไว้... วันหนึ่งย่อมได้ผลดีแน่นอนครับ

 

คุณหมอวัลลัภ คะ

มิกล้ารับ ค่ะ คงไม่เก่งพอที่จะไปเปลี่ยนคนพาลได้ หันไปคบบัญฑิต (ที่นิสัยดีๆ ) จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าไปสีซอ กระมัง คะ  

ขอขอบคุณ... คุณหุยและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ดีแล้วครับ... สาธุ สาธุ สาธุ
  • การไม่คบคนพาบเป็นมงคลธรรมข้อ 1 (ตามมงคลสูตร)
  • การคบบัณฑิตเป็นมงคลธรรมข้อ 2

คนพาล...

  • เรื่องคนพาลทำให้ผมนึกถึงคำกล่าวของเด็กๆ ที่ว่า "พูดไปก็ Lifebuoy"...
  • เด็กๆ เขาเล่นคำ นำชื่อสบู่ (ไลฟ์บอย) มาใช้
  • ความหมายของสำนวนนี้คือ "พูดไปสองไฟเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ทำนองนั้น
  • คนพาลนี่... พูดยาก ฟังยาก(เวลามันพูด.. เราไม่อยากฟัง)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท