ความเหมือนของสัญญายืมใช้คงรูปกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง


เปรียบเทียบความเหมือน

ความเหมือนของสัญญายืมใช้คงรูปกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 

1.       สัญญาย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

2.       มีฝ่ายผู้ยืมและผู้ให้ยืมเป็นคู่กรณีแห่งสัญญา

3.       ผู้ให้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการยืมอาจโดยทางตรงหรือโดยอ้อม

4.       วัตถุของสัญญานั้นคือทรัพย์สิน

5.       เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน

6.       สัญญายืมเป็นสัญญาที่สามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมได้โยตรงและโดยปริยาย

7.       เมื่อสัญญายืมบริบูรณ์ผู้ยืมย่อมเป็นลูกหนี้เสมอ

8.       ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย

9.       ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย

 10.    เมื่อผู้ให้ยืมตายย่อมไม่ทำให้สัญญาระงับ               

อธิบายความเหมือนของสัญญายืมใช้คงรูปกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 

1.       สัญญาย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมสัญญานั้นมีหลายประเภทซึ่งอาจจะเป็นสัญญาที่กฎหมายได้กำหนดหลักและชื่อเอาไว้ในประมวลกฎหมาย สัญญานั้นก็จะชื่อว่าสัญญามีชื่อ แต่หากสัญญาใดที่กฎหมายมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และชื่อของสัญญาเอาไว้สัญญานั้นก็จะเรียกว่า สัญญาไม่มีชื่อ ซึ่งหากเป็นสัญญาที่กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้นั้นก็ย่อมที่จะมีความแตกต่างกันในแง่ของวิธีการที่จะทำให้สัญญานั้นสมบูรณ์เพราะความสมบูรณ์ของสัญญานั้นมีผลต่อคู่สัญญาโดยตรงดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้สัญญาแต่ละชนิดที่มีชื่อ มีความสมบูรณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สัญญาที่สมบูรณ์ด้วยการส่งมอบ อันได้แก่ ยืม ค้ำประกัน จำนำ ฝากทรัพย์ เป็นต้น ,สัญญาที่สมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนาสอดคล้องต้องตรงกัน เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เป็นต้นดังนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจักขออธิบายในส่วนของสัญญายืมซึ่งจัดเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยการส่งมอบ ซึ่งคำว่าส่งมอบนั้นอาจจะแยกออกดังเช่นการแสดงเจตนาได้เป็น 2 วิธี คือการส่งมอบโดยตรง ได้แก่ การหยิบยื่นวัตถุแห่งสัญญาให้ เป็นต้น หรือ การส่งมอบโดยปริยาย ซึ่งการส่งมอบโดยปริยายนั้นผู้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นจะต้องไม่ยื่นวัตถุแห่งสัญญาให้ผู้รับมอบ แต่จะใช้วิธีการอย่างอื่นแทน เช่น อนุญาตให้ใช้สอยทรัพย์สินต่อได้(ขณะนั้นผู้รับมอบครอบครองทรัพย์สินอยู่) หรือ ผู้ส่งมอบอาจจะมอบวัตถุอย่างอื่นอันเป็นตัวแทน สัญลักษณ์ของวัตถุแห่งสัญญา เช่น ส่งมอบกุญแจรถก็เท่ากับการส่งมอบรถ เป็นต้น ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า การส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นบ่อให้เกิดความสมบูรณ์ของสัญญายืมนั้นมีได้ 2 วิธีหลักๆดังได้กล่าวไปแล้ว แต่ก็มีข้อพิจารณาอยู่ว่าการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมนั้น จำเป็นหรือไม่ว่าทรัพย์สินที่ยืมกันจะเป็นรูปธรรมเสมอไป ในข้อไขดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าคิดว่าทรัพย์สินที่ไม่เป็นรูปธรรมนั้นก็อาจจะยืมกันได้ เพราะในมาตรา640 และ 650 นั้นได้ใช้คำว่าทรัพย์สินมาตรา 640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว มาตรา 650 อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น ซึ่งความหมายของคำว่าทรัพย์สินนั้นกฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 138 ว่า   “ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น ลิขสิทธิในหนังสือ หรือ หุ้น ถึงแม้จะไม่อาจจับต้องได้ หรือไม่อาจจะมองด้วยตาได้ แต่ก็อาจมีราคาได้ และจัดเป็นวัตถุแห่งสัญญาในสัญญายืมใช้คงรูปได้ เช่น การขอสิทธิในการจัดพิมพ์หนังสือที่ผู้เขียนได้จดลิขสิทธิแล้วเพื่อใช้ในงานทางวิชาการนั้น หากผู้ที่ต้องการจัดพิมพ์มิได้ขออนุญาตจากผู้เขียนก่อนที่จะจัดพิมพ์ก็ย่อมเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการจัดพิมพ์นั้นก็จะต้องขออนุญาตจากผู้เขียนให้ถูกต้องเสียก่อน(การขอจัดพิมพ์นั้นผู้เขียนจะต้องไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ) ซึ่งจะเห็นได้ว่าในตัวอย่างนี้อาจจะเข้าองค์ประกอบในเรื่องการขออนุญาตทำซ้ำได้(ใช้กับการขออนุญาตผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำทรัพย์สินที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์)สรุปว่าในความเห็นของข้าพเจ้านั้นวัตถุแห่งสัญญานั้นจะต้องเป็นทรัพย์สิน และถึงแม้จะไม่มีรูปร่างกล่าวคือสิทธิต่างๆ(ดังที่ได้กล่าว)นั้นก็ย่อมสามารถเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้

ตัวอย่าง  นายหมูต้องตกลงยืมแมวสิบสีของนายกาเพื่อนำไปจัดแสดงในงานสัตว์โลก เมื่อนายกาได้ยินดังนั้นจึงบอกแก่นานหมูว่าตนนั้นอนุญาต แต่นายหมูจะต้องดูแลแมวตัวนี้ให้ดีดังที่ตนดูแลเพราะแมวตัวนี้มีตัวเดียวในโลก เมื่อทั้งสองตกลงกำหนดวันคืนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายกาก็ได้มอบกุญแจของกรงขังแมวตัวดังกล่าวและบอกแก่นายหมูว่ายกไปได้เลยกรงของแมวอยู่ด้านหลังครัว เมื่อนายหมูได้ยินดังนั้นก็มุ่งตรงเข้าไปยกกรงแมวขึ้นรถและกล่าวขอบคุณนายกาที่ให้ยืม  จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าสัญญายืมดังกล่าวนั้นคือสัญญายืมใช้คงรูปดังนั้นการส่งมอบทรัพย์สินย่อมทำให้สัญญาสมบูรณ์ ในที่นี้ก็คือ สัญญายืมใช้คงรูปย่อมสมบูรณ์นับแต่เวลาที่นายหมูได้รับมอบกุญแจจากนายกานั่นเอง  

2.มีฝ่ายผู้ยืมและผู้ให้ยืมเป็นคู่กรณีแห่งสัญญาเนื่องจากการยืมนั้นจัดว่าเป็นการทำนิติกรรมที่เรียกว่าสัญญายืมนั่นเอง ดังนั้นการที่สัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องประกอบไปด้วยฝ่ายผู้เสนอและผู้สนอง และทั้งคู่มีเจตนาสอดคล้องต้องตรงกัน เพราะฉะนั้นเมื่อกลับมาพิจารณาในส่วนขิงสัญญายืมก็เช่นกันที่จะต้องมีทั้งผู้ยืมและผู้ให้ยืม คือจะมีเพียงผู้ยืมอย่างเดียวก็ไม่อาจทำให้สัญญายืมสมบูรณ์ได้เพราะว่าไม่มีผู้ให้ยืม ถึงแม้ผู้ยืมนั้นได้รู้ว่าตนมีเจตนาที่ต้องการจะยืมอะไร แต่หากผู้ที่มีทรัพย์สินนั้นอยู่ไม่ยอมให้ผู้ยืมได้ยืมทรัพย์สินนั้นหรือไม่มีใครมีทรัพย์สินนั้นเลยก็ย่อมหมายความว่าเจตนาในการทำสัญญาของผู้ที่จะยืมนั้นขาดความสมบูรณ์ในแง่ไม่มีผู้รับการแสดงเจตนาหรือขาดความสมบูรณ์ในองค์ประกอบของสัญญายืมนั่นเอง

ตัวอย่าง จากตัวอย่างในข้อ 1 นั้นเราสามารถแยกฝ่ายของผู้แสดงเจตนาทั้งสองออกเป็นสองฝ่ายได้คือ นายหมูผู้แสดงเจตนาขอยืมทรัพย์สินต่อนายกานั้นจะเรียกว่า ผู้ยืม ส่วนนายกาซึ่งเป็นผู้ส่งมอบทรัพย์สินที่นายหมูขอยืมนั้นเรียกว่า ผู้ให้ยืม     

3. ผู้ให้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการยืมอาจโดยทางตรงหรือโดยอ้อมเนื่องจากในมาตรา 640 นั้นกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว ดังนั้นย่อมหมายความว่าผู้ยืมย่อมสามารถที่จะยืมทรัพย์สินจากผู้ให้ยืมโดยได้เปล่า มิต้องเสียค่าตอบแทนแต่อย่างใด ทั้งนี้การที่กฎหมายได้วางหลักไว้เช่นนี้ก็น่าจะสัณนิฐานได้ว่าการยืมใช้คงรูปนั้นเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทรัพย์สินแก่กัน เพราะทรัพย์สินนั้นย่อมมิได้มีกรทุกคน ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้ยืมนั้นไม่มีเงินที่จะซื้อ หรือหาซื้อไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นจึงทำให้มีการยืมใช้สอยทรัพย์สินในสัญญายืมใช้คงรูปกันนั่นเอง เราจะเห็นได้ว่าในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นผู้ยืมคือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการยืม เพราะดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ให้ยืมจะเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะหากผู้ให้ยืมเรียกร้องค่าตอบแทนเพื่อนำเอามาเป็นวัตถุประสงค์ของการให้ยืม สัญญาดังกล่าวก็หาใช้สัญญายืมใช้คงรูปไม่แต่จะกลายเป็นสัญญาประเภทอื่น เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น แต่ในสัญญายมใช้สิ้นเปลืองนั้นกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้งแต่อย่างใดว่าผู้ให้ยืมจะเรียกค่าตอบแทนจากการยืมไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของผู้ให้ยืมที่จะตกลงกับผู้ยืมว่าจะเรียกค่าตอบแทนหรือไม่อย่างไร แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้ยืมก็ยังถือว่าได้รับประโยชน์จากการยืมอยู่นั่นเอง เพราะหากตนไม่ได้รับประโยชน์เขาก็คงไม่ยืมเป็นแน่ แต่จะได้รับมากหรือน้อยเท่าไหร่นั้นเอ็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ยืมจะต้องนำมาคิด การที่ผู้ยืมตกลงทำสัญญากับผู้ให้ยืมไม่ว่าจะเป็นสัญญายืมใช้คงรูปหรือสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ล้วนแล้วแต่เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยแก่ผู้ยืมทั้งสิ้น แต่หากในกรณีที่เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น ผลขอลการส่งมอบทรัพย์สินย่อมทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้รับโอน(ผู้ยืม) ดังนั้นผู้ยืมก็ย่อมมีสิทธิที่ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเองหรือให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับเอาไว้  

4.วัตถุของสัญญายืมนั้นคือทรัพย์สิน           เมื่อพิจารณาจากมาตรา  640 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว จะเห็นได้ว่ากฎหมายใช้คำว่า ทรัพย์สิน นั่นก็หมายความว่าเจตนาของกฎหมายนั้นมุ่งให้นำความหมายในเรื่องทรัพย์สินมาพิจารณาว่าสิ่งใดจะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมได้หรือไม่ จากมาตรา 138 ทรัพย์สินนั้น หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้นจากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าทรัพย์สินที่ยืมนั้นอาจจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือเป็นรูปธรรม เช่น หมู ไก่ เงิน ทอง น้ำดื่ม แก็ซหุงต้ม(บรรจุถัง) หรือไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือเป็นนามธรรม เช่น ลิขสิทธิ์ หุ้น เป็นต้น ทรัพย์สินที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างมานั้นย่อมสามารถนำมาเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมได้ทั้งสิ้น เป็นเข้าองค์ประกอบของทรัพย์สินที่ว่า อาจมีราคา และอาจถือเอาได้นั่นเอง การที่จะมาตีความว่าสิ่งใดไม่มีตัวตนนั้นย่อมไม่สามารถส่งมอบได้ ดังนั้นจะนำมาเป็นสัญญายืมไม่ได้นั้น ดูแล้วอาจฟังไม่สมเหตุสมผล เพราะเนื่องจากการส่งมอบนั้นหาได้มีเพียงการหยิบยื่นแก่กันไม่ แต่ผู้ให้ยืมย่อมสามารถส่งมอบทรัพย์สินนั้นๆโดยปริยายได้ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ดังนั้นถึงแม้ว่าสิทธิต่างๆที่ยกตัวอย่างมาจะไม่สามารถหยิบยื่นให้แก่กันได้ แต่ก็ถือว่ามีราคาเช่นกัน เพราะหุ้นหรือลิขสิทธิ์นั้นไม่มีตัวตน ไม่มีใครสามารถมองเห็นได้ แต่ทุกคนเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งนั้นๆคือชื่ออันเป็นสัญลักษณ์แทนตัวสิทธิ ที่มีผู้มีเจ้าของเรียกว่าผู้ทรงสิทธิดังนั้นบุคคลอื่นจะละเมิดมิได้  

5.สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนเหตุที่ทำให้ทราบว่าสัญญายืมมิได้เป็นสัญญาต่างตอบแทนก็คือตัวบทกฎหมายที่ได้เขียนบอกไว้โดยนัยนั่นเอง ซึ่งอันได้แก่ตัวบทในมาตรา 640 และ650 นั่นเอง เพราะในมาตรา640 กฎหมายใช้คำว่า ...ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า...นั่นก็ย่อมหมายความว่าผู้ให้ยืมจะต้องไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆจากการยืมทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อผู้ยืมกระทำการชำระหนี้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญายืมใช้คงรูปหรือสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองให้แก่ผู้ให้ยืมแล้วสัญญายืมย่อมระงับลง ในส่วนของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นการที่ผู้ให้ยืมอาจมีค่าตอบแทนได้นั้น อาจจะเป็นการทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเพราะเมื่อผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืมแล้วผู้ยืมได้ส่งมอบค่าตอบแทนให้ในภายหลัง แต่แท้ที่จริงแล้วการที่ผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเพื่อให้ผู้ยืมได้นำไปใช้สอยตามวัตถุประสงค์ที่ยืมนั้นหาได้เป็นการชำระหนี้ไม่ แต่เป็นเพียงการแสดงเจตนาของผู้ให้ยืมเพื่อให้สัญญายืมนั้นสมบูรณ์ตามหลักแห่งการยืมนั่นเอง ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้ให้ยืมจะเรียกค่าตอบแทนจากผู้ยืมก็ตาม เมื่อผู้ยืมคืนทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืมก็ย่อมเป็นการชำระหนี้ตามปกติที่ผู้ยืมได้ก่อไว้นับแต่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมกัน และการที่ผู้ยืมได้ส่งมอบค่าตอบแทนให้ผู้ให้ยืมอีกทีหนึ่งนั้นก็ยังถือว่าเป็นการที่ผู้ยืมชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในข้างต้นอีกเช่นกัน 

6.สัญญายืมเป็นสัญญาที่สามารถส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมได้โยตรงและโดยปริยายจากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการส่งมอบทรัพย์สินทั้งจากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืมและจากผู้ยืมไปยังผู้ให้ยืมนั้นมีด้วยกัน 2 วิธี คือการส่งมอบทรัพย์สินโดยปริยาย และการส่งมอบทรัพย์สินโดยตรง ดังนั้นข้าพเจ้าจักขออธิบายไว้โดยคร่าวๆดังนี้ว่า การส่งมอบทรัพย์สินนั้นมีผลเป็นการเปลี่ยนมือผู้ครอบครองทรัพย์สินั้นแน่นอน แต่จะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือมานั้นต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป โดยในการส่งมอบทรัพย์สินในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยปริยายก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ของผู้ให้ยืมโอนไปยังผู้ยืมด้วยการส่งมอบแต่อย่างไร เป็นเป็นเพียงการโอนการครอบครองเท่านั้น ซึ่งต่างกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองที่มีลักษณะของการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมและทรัพย์สินอื่นที่นำมาแทนทรัพย์สินที่ยืมนั้นเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทันทีที่มีการส่งมอบ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบโดยปริยายหรือโดยตรงก็ย่อมเป็นกรามโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้รับมอบทรัพย์สินเสมอ  

7.เมื่อสัญญายืมบริบูรณ์ผู้ยืมย่อมเป็นลูกหนี้เสมอจากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสัญญายืมนั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมแล้วย่อมถือว่าหนี้อันเกิดจากสัญญายืมได้ก่อขึ้นแล้วไม่ว่าสัญญายืมนั้นจะเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองหรือเป็นสัญญายืมใช้คงรูปก็ตาม โดยผู้ให้ยืมจะตกเป็นเจ้าหนี้ทันทีเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมและผู้ยืมก็จะตกเป็นลูกหนี้ทันทีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเช่นกัน ดังนั้นสัญญายืมจะมีผลให้ผู้ยืมอยู่ในฐานะ เจ้าหนี้เท่านั้น ส่วนผู้ยืมนั้นก็จะอยู่ในฐานะลูกหนี้เท่านั้นเช่นกัน ซึ่งในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นการที่ผู้ให้ยืมได้ทำการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืมก็ไม่เป็นการทำให้ผู้ให้ยืมกลายเป็นลูกหนี้จากการส่งมอบทรัพย์สินนั้นๆแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแสดงเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเพื่อให้การยืมนั้นบริบูรณ์และสมแก่เจตนาของผู้ยืมที่ได้รับมอบทรัพย์สินที่ยืมเพื่อนำไปใช้สอย และการที่ผู้ใช้ยืมได้เรียกค่าตอบแทนในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นก็ย่อมเป็นการทำให้ตนเองเป็นเจ้าหนี้ของผู้ยืมในหนี้ 2 รายคือผู้ยืมจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืม และผู้ยืมจะต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นค่าตอบแทนจากการยืมในคราวนั้นด้วย                

8.ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสียดังที่กล่าวไปแล้วว่าสัญญายืมนั้นย่อมให้ประโยชน์แก่ผู้ยืมเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสัญญายืมใช้คงรูปหรือสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ตาม โดยเฉพาะสัญญายืมใช้คงรูปที่กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ยืมสามารถยืมทรัพย์สินได้โดยเปล่า ดังนั้นเมื่อผู้ยืมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการยืมแล้วก็ย่อมไม่เป็นการเป็นธรรมที่จะให้ผู้ให้ยืมออกเงินอันเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอันเกี่ยวกับสัญญายืมอีก เช่น ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืม เป็นต้น  ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ยืมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในสัญญายืมใช้คงรูปหรือค่าใช้จ่ายในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็หาได้เป็นการปิดกั้นถึงเสรีภาพในการแสดงเจตนาของคู่กรณีไม่เพราะหลักการอันเป็นหัวใจของการทำสัญญาคือการตกลงต้องตรงกันของคู่สัญญา ดังนั้นหากคู่สัญญาในสัญญายืมตกลงกันว่าให้ผู้ให้ยืมเป็นผู้ออกค่าใช้ทั้งหมดหรือออกกันคนละครึ่งหรือเป็นประการอื่นก็ย่อมได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศัลธรรมดันดีของประชาชนไม่

ตัวอย่าง นายหมูซึ่งอาศัยอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกได้โทรศัพย์เพื่อขอยืมเครื่องบินส่วนตัวของนายกาซึ่งอาศัยอยู่ที่จังหวัดตรัง แต่ทั้งนี้นายหมูได้บอกแก่นายกาว่าตนติดภารกิจจึงช่วยรบกวนให้นายกาเป็นผู้ขับเครื่องบินลำดังกล่าวมามอบให้ตนที่สนามบินพิษณุโลกด้วย เมื่อนายกาได้ยินดังนั้นจึงตอบตกลงแล้วก็ขับเครื่องบินไปเติมน้ำมันเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท เมื่อนายกามาถึงก็ได้ส่งมอบกุญแจเครื่องบินให้แก่นายหมูจากนั้นก็กล่าวแก่นายหมูว่าให้นายหมูคืนเครื่องบินให้แก่ตนโดยขับไปคืนที่จังหวัดตรังเอง นายหมูก็รับปากตามนั้น แต่ก่อนที่จะกลับนายกานึกขึ้นได้ว่าก่อนที่ตนจะมานั้นตนได้เติมน้ำมันเครื่องบินเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท ดังนั้นจึงต้องทวงคืนจากนายหมู เมื่อนายกามาทวงกลับได้รับคำปฏิเสธจากนายหมูโดยนายหมูอ้างว่าในเมื่อคนขับคือนายกาดังนั้นนายกาคือผู้ใช้จึงต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายนั้นเอง ตนหาต้องรับรู้ด้วยไม่ เมื่อฟังคำกล่าวอ้างของนายหมูแล้วพิเคราะห์จะเห็นได้ว่าคำกล่าวอ้างนั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการที่นายหมูจะอ้างได้เช่นนั้น นายหมูและนายกาจะต้องตกลงกันไว้ก่อนว่าค่าน้ำมันเครื่องบินเพื่อนการส่งมอบทรัพย์สินนั้นนายกาจะเป็นผู้ออกเองแต่ในกรณีนี้คู่กรณีทั้งสองหาได้ตกลงกันไว้ก่อนไม่ดังนั้นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งมอบทรัพย์สินนั้นก็คือผู้ยืม เพราะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นนายหมูจึงต้องจ่ายเงินให้แก่นายกาเป็นเงินจำนวน 1,000 บาท  

9.ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย ในความแตกต่างในข้อนี้นั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของผู้ยืมไว้ชัดเจนในสัญญายืมใช้คงรูปมาตรา 647ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย แต่ในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้โดยชัดแจ้งทั้งนี้ก็เพราะในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเท่ากับเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไปด้วยในตัว ดังนั้นเมื่อผู้ยืมเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมเอง คงเป็นไปไม่ได้ที่ตนจะปัดความรับผิดชอบอันเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทั่วๆไปของทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นพึงอนุมานจากวิญญูชนทั่วไปได้ว่าผู้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นมีหน้าที่ในการดูแลค่าใช้ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืม ในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นการที่กฎหมายได้กำหนดให้หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น เป็นของผู้ยืม เหตุผลก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกับในข้อ 8 กล่าวคือสัญญายืมใช้คงรูปนั้นย่อมให้ประโยชน์แก่ผู้ยืมในการได้สิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้นเมื่อผู้ยืมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการยืมแล้วก็ย่อมไม่เป็นการเป็นธรรมที่จะให้ผู้ให้ยืมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้นอีก ถึงแม่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ให้ยืมก็ตาม

ตัวอย่าง นายหมูตกลงยืมรถมอเตอร์ไซต์จากนายไก่เพื่อไปซื้อของที่แม็คโคร โดยนายหมูรับปากนายไก่ว่าตนจะคืนรถให้นายไก่เมื่อกลับมาจากแม็คโครโดยทันที ปรากฎว่าเมื่อนายหมูขับรถไปถึงวัดจุฬามณี รถมอเตอร์ไซต์เกิดควันดำและกระตุก นายหมูจึงหยุดรถและนำเข้าอู่เพื่อเช็คความผิดปกติ ช่างผู้เช็คเครื่องได้ตอบแก่นายหมูว่ารถมิได้มีปัญหาอะไรร้ายแรง แต่เพียงแค่น้ำมันเครื่องของรถถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนถ่าย เมื่อนายหมูได้ยินดังนั้นจึงตกลงตามนำแนะนำของช่าง จากนั้นเมื่อซ่อมเสร็จรถมอเตอร์ไซต์ก็ใช้งานได้ปกติ เมื่อนายหมูกลับมาจึงเล่าเรื่องดังกล่าวให้นายไก่ฟัง อีกทั้งยังขอเงินค่าน้ำมันเครื่องที่ตนเป็นคนเติมจากนายไก่ด้วย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากนายไก่โดยนายไก่ยกข้อต่อสู้ว่าค่าเติมน้ำมันเครื่องนั้นมันเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมดังนั้นเมื่อตนมิได้ตกลงกับนายหมูไว้ก่อนว่าตนจะเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพราะฉะนั้นมันก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดคือผู้ยืมต้องเป็นผู้เสียนั่นเอง 

 10.เมื่อผู้ให้ยืมตายย่อมไม่ทำให้สัญญาระงับความเหมืนในข้อนี้นั้นข้าพเจ้ายกมาจากการหลักของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 648 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม ดังนั้นเมื่อตีความกลับกันก็ย่อมจะได้ว่า เมื่อผู้ให้ยืมตายย่อมไม่ทำให้สัญญายืมใช้คงรูประงับ ซึ่งหลักนี้ก็สอดคล้องกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองด้วยเพราะในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองไม่ได้กำหนดถึงการระงับของสัญญาด้วยการมรณะของฝ่ายใดๆ ดังนั้นก็ย่อมหมายถึงว่าหากผู้ให้ยืมตายก็ไม่ทำให้สัญญาระงับด้วย ซึ่งเหตุผลที่สัญญายืมใช้คงรูปได้กำหนดถึงการระงับลงของสัญญาว่าในระหว่างที่อยู่ในระยะเวลาของสัญญานั้นหากผู้ยืมตายลงจะทำให้สัญญายืมใช้คงรูประงับลงทันทีก็เนื่องจาก สัญญายืมใช้คงรูปนั้นถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสำคัญ โดยผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิที่จะพิจารณาว่าจะให้ผู้ขอยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินหรือไม่ ซึ่งผู้ให้ยืมก็ย่อมใช้เหตุผลและวิจารณญาณ ส่วนตนเพื่อพิจารณาได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสัญญายืมใช้คงรูปนั้นมุ่งให้เป็นสัญญาที่ผู้พันตัวผู้ยืมเป็นสำคัญ หากผู้ยืมตายลงจึงต้องให้สัญญายืมใช้คงรูประงับลงไปด้วย โดยที่ทายาทของผู้ตายจะกล่าวอ้างถึงมรดกที่เป็นสิทธิและหน้าที่ที่ตนได้รับมาหาได้ไม่เพราะกฎหมายถือว่าเจตนาในการยืมใช้คงรูปนั้นเกิดจากเจตนาภายในของผู้ยืมที่ต้องการใช้สอยทรัพย์สินนั้นด้วยตนเอง และเพื่อตนเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากผู้ให้ยืมยังคงยินยอมให้ทายาทยังคงใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมต่อไปได้อีกเป็นระยะเวลาหนึ่งโดยทั้งๆที่

หมายเลขบันทึก: 88200เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท