เวทีแลกเปลี่ยนหลังรายงานความก้าวหน้างานวิจัย(ตอนที่๓ )


สิ่งที่ต้องคิดคือทำเพื่ออะไร (เจตนา) สำคัญกว่า
ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์  ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า  ตัวอย่างเช่น การที่ตอนนี้มีแนวทางการทำแผนชุมชน บางพื้นที่สำเร็จ บางพื้นที่ไม่สำเร็จ ที่ไม่สำเร็จเนื่องจากไม่เข้าใจ จริงๆแล้วเจตนาคือเกิดกระบวนการเรียนรู้
ข้อมูลสำคัญอย่างไร ดูงานแล้วตัดสินใจทำหรือไม่ทำ ทำอย่างไร ไม่ใช่แค่เพียงตั้งองค์กรได้เพียงอย่างเดียว บางที่มีแผนชุมชนแต่ไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ สิ่งที่รับรู้ไปไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้จริง ยกตัวอย่าง การเรียนรู้ที่จะทำเก้าอี้ แต่ไม่ได้คิดว่าจะทำเก้าอีให้เหมาะกับใคร หรือเก้าอี้ทำออกมาดูสวยแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง หากเป็นอย่างนั้นไม่นานก็ต้องเลิกทำ
อีกตัวอย่างการทำบัญชีครัวเรือน ที่ ธกส. ดำเนินการอยู่ไม่ work เพราะคนที่ทำไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม ? ตอนนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ กลต. คิดจะทำเล่มลงบัญชีครัวเรือนให้คนเมือง เพราะตอนที่ ธกส.ทำก็ทำเฉพาะคนในชนบททำเกษตรกรรม แต่จริงๆแล้วสิ่งที่ได้จากการทำบัญชีครัวเรือนจริงๆคือ ความรู้ การเรียนรู้ ไม่ใช่เล่มบัญชีที่ทำ
การจะดำเนินการใดๆต้องตอบสนอง need ไม่ใช่มีไว้ show หากมีการทำอย่างต่อเนื่องก็จะมีพัฒนาการ (ตรงนี้ดึงความรู้ออกมาได้ว่า เพราะอะไร) ต้องดึงออกมาให้ได้ เช่นเขาครามทำไมทำน้ำปลา ทำอย่างไรจึงจะได้กำไร เลือกที่จะให้หมู่ไหนทำ เพราะอะไร อะไรเป็นจุดพลิก จุดเปลี่ย ต้องดึงประเด็นตรงนี้มาศึกษา หรือยกตัวอย่างเก้าอี้ต่อว่า ทำไมเลือกทำเก้าอี้แบบนี้ ต้องให้เหตุผล ไม่ใช่เพียงแค่ศึกษาวิธีการทำเก้าอี้ หรือประเด็นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ ในหลวงทรงตรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องรู้ว่าทำอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 8734เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2005 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท