ฝน .. (ตอนที่ 1)


         ไม่ได้เขียนเรื่องวิทยาศาสตร์กับอิสลามมานาน วันนี้เลยขอนำเรื่องเกี่ยวกับฝนที่ได้กล่าวในอัลกุรอานซึ่งเป็นความรู้หลักที่ทำให้เราเข้าใจในปรากฏการณ์ในธรรมชาติ
            
เมื่อก่อน 1400 กว่าปี ไม่มีใครบันทึกเกี่ยวกับการเกิดฝน ไม่มีใครเข้าใจ ปรากฏการณ์นี้ว่าเกิดขึ้นอย่างไร จนกระทั่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาผ่าน ศาสดา(ซึ่งไม่ได้แปลว่าผู้สร้างศาสนา) สั่งสอนมนุษย์การใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง ในเข้าใจปรากฏการณ์ที่มนุษย์เคยเข้าใจผิด และมนุษย์บางกลุ่มก็เข้าใจการเกิดฝน แต่ความรู้ลักษณะนี้ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครนำอธิบายขยายต่อ ให้เข้าใจง่าย ตามหลักวิทยาศาสตร์  
             และเมื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้เกิดขึ้น
100 กว่าปีนี้เอง ได้บันทึกสังเกตการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ ได้พิสูจน์ ทดลองและสรุปเป็นทฤษฎีและกฎเกณฑ์ ทำให้เราเข้าใจการบังเกิดของปรากฎการณ์ต่างได้อย่างกระจ่าง จนบางครั้งทำให้เราลืมว่า จริงๆ ความรู้ลักษณะนี้เคยมีบันทึกมาแล้วเมื่อ 1400 กว่าปีก่อนหน้านี้
               
ผมขอยกอายัตอัลกุรอาน เกี่ยวกับฝน ที่เป็นอายัตหลัก ๆ ดังนี้

 أَلَمْ تَرَ أَنَّ اللَّهَ يُزْجِي سَحَاباً ثُمَّ يُؤَلِّفُ بَيْنَهُ ثُمَّ يَجْعَلُهُ رُكَاماً فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ وَيُنَزِّلُ مِنَ السَّمَاءِ مِن جِبَالٍ فِيهَا مِن بَرَدٍ فَيُصِيبُ بِهِ مَن يَشَاءُ وَيَصْرِفُهُ عَن مَّن يَشَاءُ يَكَادُ سَنَا بَرْقِهِ يَذْهَبُ بِالْأَبْصَارِ [النور : 43] 

ความว่า : เจ้ามิได้เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงให้เมฆลอย แล้วทรงทำให้ประสานตัวกันแล้วทรงทำให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้น และพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจากฟากฟ้า มีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ แล้วพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์จะทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง[1] 

  اللَّهُ الَّذِي يُرْسِلُ الرِّيَاحَ فَتُثِيرُ سَحَاباً فَيَبْسُطُهُ فِي السَّمَاء كَيْفَ يَشَاءُ وَيَجْعَلُهُ كِسَفاً فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ فَإِذَا أَصَابَ بِهِ مَن يَشَاءُ مِنْ عِبَادِهِ إِذَا هُمْ يَسْتَبْشِرُونَ [الروم : 48] 

ความว่า : อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ส่งลมทั้งหลาย แล้วมันทำให้เมฆเคลื่อนที แล้วพระองค์ทรงให้มันแผ่กระจายไปตามท้องฟ้า เท่าที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงทำให้มันเป็นกลุ่มก้อน แล้วเจ้าจะเห็นฝนตกลงมาจากท่ามกลางมัน เมื่อมันได้ตกลงมายังผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ เมื่อนั้นพวกเขาก็ดีใจ[2] 

 وَأَرْسَلْنَا الرِّيَاحَ لَوَاقِحَ فَأَنزَلْنَا مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَسْقَيْنَاكُمُوهُ وَمَا أَنتُمْ لَهُ بِخَازِنِينَ [الحجر : 22] 

ความว่า :  และเราได้ส่งลมผสมกัน แล้วเราได้ให้น้ำลงมาจากฟ้า แล้วเราได้ให้พวกเจ้าดื่มมัน และพวกเจ้าก็มิได้แป็นผู้สะสมมันไว้ [3]

وَجَعَلْنَا فِيهَا رَوَاسِيَ شَامِخَاتٍ وَأَسْقَيْنَاكُم مَّاء فُرَاتاً [المرسلات : 27] 

ความว่า : และในแผ่นดินเราได้ตั้งภูเขาไว้สูงตะหง่าน และเราได้ให้พวกเจ้าดื่มน้ำจืดสนิท[4] 

              อายัตเหล่านี้ประจักชัดว่า การก่อนเกิดฝนจนเป็นน้ำที่จืดสนิทที่หล่อเลี้ยงชีวิตทุกชนิด เริ่มต้นจากไอน้ำที่ก่อตัวเป็นเมฆ และกลั่นตัวเป็นหยดน้ำที่มีน้ำหนักพอที่ตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงเป็นหยดน้ำฝนสร้างความชุ่มฉ่ำแก่สิ่งมีชีวิต วัฏจักรอันนี้ทุกคนสามารถสังเกตเห็นในทุกที่และทุกเวลาที่เกิดฝน   



[1] อัลกุรอาน สูเราะห์ อัน-นูรฺ 24/43

[2] อัลกุรอาน สูเราะห์ อัร-รูม 30/48

[3] อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-ฮะญะรฺ 24/22
[4] อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-มุรซาลาต 77/27
หมายเลขบันทึก: 87243เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ครับ ผมได้ฟังมาว่า ท่านอธิการเองเวลาเขียนท่านไม่ใช่คำว่า ศาสดา กับท่านนบีครับ เหมือนอย่างที่อาจารย์ระบุนั่นแหละ ดังนั้นในหนังสือของท่านอธิการจึงใช้คำว่า ศาสนฑูตครับ ซึ่งตอนนี้ผมเองก็เปลี่ยนมาใช้คำนี้แล้วครับ

ผมว่าอาจารย์รวมเล่มเป็นหนังสือได้แล้วนะครับ

I'll try to read about your blog soon (สู้ๆๆ ครับ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่า
ศาสดา [สาดสะดา] น. ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง 6, คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา
ศาสน์ น. คำสั่ง, คำสั่งสอน
ทูต น. ผู้นำข้อความไปแจ้ง, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยัง...
ดังนั้น ศาสนทูตจึงหมายถึง ผู้นำข้อความศาสนาหรือคำสอนไปแจ้ง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนนำคำสั่งสอนศาสนาไปแจ้ยัง... ซึ่งตรงกับความหมายภาษาอาหรับว่า مبلغ الرسالة หรือ الرسول (messenger)  นั่นเอง

นบี = prophet
prophet (พรอฟ-เอ็ท) n. 1. ผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงดลใจให้มาสั่งสอนประชาชน...เช่น พระมะหะมหมัด, ผู้เผยแพร่

(พรอฟ'ฟิท) n. ผู้ทำนาย,ผู้พยากรณ์,ผู้ที่พระเจ้าดลใจมาสอนมนุษย์,ผู้เผยแพร่,

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท