อาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาปริญญาเอก


produce original research

วันนี้ไปอ่าน The New York Times ออนไลน์มาเจอ เรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่งครับ ถ้าอยากรู้ลองไปตามลิงค์นี้ดูครับ

http://www.nytimes.com/2007/03/27/science/27dark.html?_r=1&ref=science&oref=slogin

อ่านเรื่องนี่แล้วอมยิ้มคิดถึงเรื่องสองเรื่องครับ

แล้วที่นี่ก็ดูเหมือนจะเหมาะกับเรื่องนี้มากที่สุด เพราะว่าในนี้นั้นมีนักเรียนปริญญาเอก ทั้ง Ph.D. students และ Ph.D. candidates รวมไปถึงอาจารย์ด็อกเตอร์หลายๆท่าน แล้วผมก็เดาเอาว่าคงจะมี Ph.D. advisors หรือ Thesis advisors สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัยหรือ Graduate students ด้วย

เรื่องของเรื่องก็คือมีคนทำหนังคนหนึ่งครับ เอาเรื่องจริงเมื่อปี 1991 มาทำ แล้วก็ได้รับเลือกไปฉายที่ Sundance Film Festival อ่านแล้วก็คงจะสงสัยว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการศึกษาระดับปริญญาเอก

คำตอบอยู่ที่ว่า เรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องของด็อกเตอร์ที่จบมหาดๆใหม่ๆคนหนึ่งเอาปืนไปยิงอาจารย์ที่ปรึกษาและก็หัวหน้าภาควิชาที่ตัวเองเรียนทิ้งครับ

สำหรับคนที่ไม่เคยเรียนปริญญาเอกอาจจะไม่ทราบว่ามันจะอะไรกันนักหนา เอาเป็นว่าผมยกตัวอย่างคำพูดคนที่เคยเรียนจบปริญญาเอกที่ผมรู้จักให้ฟังนะครับ

คนที่หนึ่งบอกว่า คุณกับอาจารย์ที่ปรึกษานะ รู้จักกันและจำกันได้ไปจนตาย ขนาดคุณหรือเขาเผาเหลือแต่กระดูกยังจำได้เลย ถึงแม้จะสำนวนหนังจีนไปหน่อย แต่ถ้าไปถามคนที่จบปริญญาเอกมา ก็คงจะได้คำตอบไม่ต่างกัน

อีกคนบอกว่า อาจารย์เขาบอกว่าอาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียนเหมือนกับสามี ภรรยา ความสัมพันธ์ดีลูกก็ออกมาหน้าตาดี ใช้ชีวิตในครอบครัวมีความสุข ความสัมพันธ์แย่ก็ต้องทนกันไป

ในบทความนั้นก็มีการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาหลายแบบ แต่ที่แน่ๆ นักศึกษานั้นจะไม่มีสิทธิในการต่อรองอะไรกับอาจารย์มากนัก ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอาจารย์ทั้งนั้น โดยเฉพาะการ defense

ไม่รู้ว่าในนี้จะมีความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษากันแบบไหน (แต่ถ้าเปรียบเทียบเหมือนการแต่งาน สำหรับผมแล้ว ผมเซ็นใบหย่าไว้แล้วครับ รออาจารย์ผมเซ็นเนี่ยแหละ ไม่ยอมเซ็นซักที)  นั่นเป็นเรื่องแรกที่จะพูดถึงครับ

เรื่องที่สองที่จะพูดถึงนั้น เกี่ยวกับปรัชญาการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกครับ จริงๆแล้วผมไม่ค่อยอยากจะพูดเรื่องนี้ครับ เพราะว่ากลัวจะไปกระทบใครนะครับ (อีกอย่าง ผมก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จซะเหลือเกิน) แต่ที่ผมนึกเรื่องนี้ขึ้นได้ เพราะว่าในบทความนั้น มีคำพูดคำหนึ่งครับว่า "learn how to produce original research" 

ถ้าลองไป google เกี่ยวกับการเรียนปริญญาเอก จะเจอคำนี้บ่อยมากครับ ว่าเรียนปริญญาเอกไปนั้นเพื่อที่ทำให้เราสามารถที่จะสร้าง original research ได้ 

มีอาจารย์ผมท่านหนึ่งเคยบอกว่า  ปริญญาเอกนั้นเป็นแค่ใบใบหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความสามารถทำวิจัยที่มีประโยชน์ได้ ใช่ครับอ่านดีๆ ทีตัวหนาบอกว่า มีความสามารถนะครับ ไม่ได้บอกว่า ทำได้ (ซึ่งมันต่างกันมาก)  เพราะวิทยานิพนธ์คุณนั้นมันแค่เรื่องๆเดียวเท่านั้นแหละ (ถึงแม้ว่ามันจะแตกไปได้เป็นสามบทความเป็นอย่างน้อยก็เหอะ)

ความสมบูรณ์ของปริญญาเอกก็คือการที่คุณสามารถทำงานวิจัยที่มีความหมาย มีประโยชน์ได้ด้วยตนเอง  (ไม่มี "มี" แล้วครับ) ดังนั้นความสมบูรณ์ของปริญญาเอกอยู่ที่การวิจัยต่อ สร้างสรรค์งานวิจัยที่มีความเป็น original เป็นประโยชน์และเผยแพร่ไป มันเหมือนบังคับกลายๆไหมครับว่า คือคุณต้องตีพิมพ์

ผมชอบสงสัยคำว่า original research ผมไม่แน่ใจว่ามีใครจะสงสัยเหมือนผมไหม เพราะผมเคยนั่งอ่าน literature หลายๆอัน ผมก็จะรู้สึกมันคล้ายๆกันหมดว่า ไอ้ที่เขาทำๆกันมันก็คล้ายๆกันทั้งนั้นเลย หรือว่าสาขาที่ผมเรียนมามันสร้างอะไรที่มันเหมือนๆกันก็ไม่รู้ครับ เพราะว่างานวิจัยหลายชิ้นที่ผมอ่าน ตัวปัญหาก็จะคล้ายๆ ได้ผลก็จะคล้ายๆกันแต่เปลี่ยนแค่วิธีการหาคำตอบเท่านั้น แต่ทุกคนก็จะบอกว่างานของตัวเองนั้นเป็น original paper ผมเลยสนใจนะครับว่าเรานิยามคำว่า original paper ที่ตรงไหน

แค่อยากทราบครับว่าแต่ละท่านนั้นคิดอย่างไร

ท้ายที่สุด เป็นกำลังใจให้กับคนที่เรียนปริญญาเอกครับ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในกระบวนการไหนของการศึกษาระดับนี้

ถ้าคุณคิดจะเรียน คิดถึงคำว่า "produce original research" ครับ

ถ้าคุณเพิ่งเริ่ม ยังมีความท้าทายมากมายรออยู่ แค่การหัวข้อบางทีก็ยากแบบอย่างรากเลือดแล้ว เพราะไอ้ที่ยากก็คือ "produce original research" เพราะไอ้คำว่า original ของแท้และดั้งเดิมนี่แหละครับ แต่ยังไงก็ขอให้หาให้เจอและให้อาจารย์ยอมรับ (approve) เร็วๆครับ

สำหรับคนที่อยู่ในระหว่างการทำงานและทำการทดลอง ขอให้สนุกกับการวิจัยครับ  

สำหรับคนที่เขียน ขอให้สนุกกับการเขียนครับ และคนที่เตรียมตัว defense ขอให้ตอบคำถามให้ได้ครับ

และสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ขอให้สนุกกับนักเรียนของตัวเองครับ

 

หมายเลขบันทึก: 87002เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)
  • ตามมาขอบคุณ
  • เหมือนจะรู้ใจ
  • ชอบคำนี้เหมือนกัน
  • original research
  • ขอทำงานก่อน คาดว่าจะทำงานวิจัยดีๆๆออกมาได้ครับ
  • มาตามอ่านด้วยคน ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

ขอบพระคุณที่เข้ามาทักทายครับอาจารย์

ขอให้อาจารย์ขจิตมีสุขภาพจิตดีๆ จะได้สร้าง original research ดีๆ มีคุณภาพ ตามที่ใจต้องการนะครับ :D

สวัสดีครับอาจารย์เก๋

ด้วยความยินดีและเต็มใจครับ ขอให้อาจารย์เก๋ defend ผ่านด้วยความราบรื่นนะครับ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนนะคะ 

การเรียนปริญญาโทและเอก สำหรับตัวเองแล้ว สิ่งที่ได้มาหลักๆ เลยคือ การเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาใด และความเพียร ความอดทนไม่ท้อถอยค่ะ

อันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ ของแต่ละคนอาจจะเจอไม่เหมือนกันค่ะ เพราะความสำเร็จในการนี้จะขึ้นอยู่กับ advisor และตัวเราเองค่ะ

คนทำหนังเรื่องที่เล่ามานี่ ต้องเรียน ปริญญาเอกมานะคะ

ถึงอิน กับ การทำวิทยานิพนธ์ ขนาดนี้.....

..................น่าสนใจคะ แต่ไม่ได้เรียนอะไรกับเขาหรอกคะ 

สวัสดีครับอาจารย์ด็อกเตอร์กมลวัลย์

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ได้มาแลกเปลี่ยน :D หวังว่าอาจารย์คงเข้ามาบ่อยๆครับ

ประสบการณ์การเรียนปริญญาเอก เป็นประสบการณ์หนึ่งที่พิเศษสำหรับคนที่เรียนเสมอมั้งครับ

ผมเชื่อว่าในขณะเรียนทุกคนก็จะเจออะไรประหลาดๆต่างกันไปครับ และก็คงต้องอาศัยความเพียร ความอดทน เหมือนอย่างที่อาจารย์บอกครับ

แต่มีรุ่นพี่ผมคนหนึ่งบอกว่า มันต้องอาศัยคำว่า "บ้าทนถึก" ครับ :D

 

 

สวัสดีครับพี่หน่อย (ขออนุณาตนะครับ)

ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ทำหนังนั้นเรียนถึงปริญญาเอกหรือเปล่า เพราะในนั้นบอกแค่ว่าจบปริญญาโทจาก New York University ครับ

ผมว่าคนเรียนปริญญาเอกก็ต้องอินกับการทำวิทยานิพนธ์ครับ เพราะถ้าไม่อินมันไม่จบครับพี่ :D

โชคดีของผมครับพี่ต้น ที่ไม่ได้ไปเรียนเอก 555 เพราะยังไม่ได้เรียนโทเลย เอาเป็นว่าไม่ค่อยอยากเรียนแล้ว แม้ว่าหลายๆคนเคยพยายามอยากให้ไปเรียน

  ของแบบนี้อยู่ที่ใจครับ ผมรู้จักตัวเองดีว่ามีความสามารถแค่ไหน เท่านั้นน่าจะพอ

   ขอบคุณครับที่นำเรื่องราวดีๆมาแลกเปลี่ยนเสมอๆครับ

สวัสดีครับน้องเดอ

ของแบบนี้ไม่เรียนไม่รู้ครับ นอกจากมีแฟนเรียนถึงจะรู้ว่าเป็นยังไง :D

ทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนเอกได้อยู่แล้วครับ ขอแค่เรามีความมุ่งมั่นครับ 

 

สวัสดีคะ่ ...คุณต้น

  ถึงแม้ว่ากำลังเรียนโทและอยู่ในช่วงทำวิทยานิพนธ์อยู่ แต่ก็รู้สึกได้ว่า การทำthesis ในสาขาที่โรสเรียนอยู่นี่ทำไมมันยากจังนะ ทะเลาะกับอาจารย์ทุกวัน แต่ยังไงเค้าก็เป็นคนเซ้นต์ให้เราจบ แต่ว่าถ้าจะเรียนต่อเอกนี่ต้องคิดหนัดหน่อยเพราะเข็ดอาจารย์ที่ปรึกษาเสีนจริงค่ะ..

สวัสดีค่ะ

  •  แวะมาอ่านบทความดี ๆ ค่ะพี่ P ไปอ่านหนังสือ ยกให้เป็นพี่ละกันนะคะ :D
  • เพราะรู้ว่าอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นคนสำคัญ เมื่อตอนสมัครเรียนเอกไว้ 2-3 ที่ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเรียนที่ไหน ได้มาเจอกับอาจารย์ที่เคมบริดจ์ พูดคุยด้วยแล้วถูกชะตา เลยตัดสินใจทำงานวิจัยป.เอกกับอาจารย์คนนี้
  • ตอนนี้ผ่านมาได้ครึ่งปี รู้สึกดีใจว่าเลือกอาจารย์ไม่ผิด แต่ที่เหลือต้องคอยดูกันต่อไป
  • งานวิจัยที่ทำไม่รู้จัดว่าเป็น original research รึเปล่า เพราะยังไม่แน่ใจคำจำกัดความของคำนี้ แต่ที่แน่ ๆ คือ ณ เวลานี้ เรามีความสุขกับงานวิจัยที่กำลังทำ และรู้สึกท้าทายที่ได้รู้อะไรใหม่  ๆ
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเรียนอยู่นะคะ
..ณิช..

งาน original research แบบไทยๆ ที่ผมเจอคือ original เพราะ sample เป็นไทย ครับ ส่วน concept หรือคำถามหา original ได้ค่อนข้างยาก ยิ่งในระดับป.โท แล้วยิ่งหาได้น้อยไปอีก

คุณ ไปอ่านหนังสือ มีความเห็นยังไงบ้างที่ม.มหิดล กำหนดให้นศ.ตั้งแต่ป.โททำ thesis เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้บรรลุความเป็น inter?

สวัสดีครับคุณโรส

Thesis นั้นสมควรที่จะยากครับ เพราะถ้าไม่ยากก็ไม่เรียกว่า Thesis สิครับ ในเมื่อ Thesis เป็นการรวบรวมความรู้ที่เราเรียนมา (และอาจารย์คิดว่าเรามีและคาดว่าคนที่เรียนโปรแกรมนี้ต้องมี) นำเสนอเป็นเรื่องเป็นราวเป็น Thesis 

คงไม่แปลกหรอกครับที่จะต้องบ่นว่ายาก แต่ก็อย่าถึงขั้นเอาปืนไปยิงอาจารย์ล่ะกัน (แต่ไม่แน่ว่าสงกรานต์ อาจารย์อาจจะยอมให้มีปืนฉีดน้ำมายิงนะครับ) :D

เป็นกำลังใจให้ครับ

 

สวัสดีครับคุณน้องณิช

พี่ก็พี่ครับ

ดีแล้วครับที่ได้มีโอกาสคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เพราะยังไงเขาก็สำคัญที่สุดครับ นอกจากว่าคุณณิชเลือกคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ (committee) พลาดครับ

เพราะนอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาจะเข็นเราไปขึ้นเขียงกับ committee แล้ว committee ก็จะเอาเรามาแล่ด้วยครับ ดังนั้นก็ระวังเรื่องเลือก committee ดีๆ ล่ะกันนะครับ

คือพูดยากครับ ถ้าสนใจเรื่องจบง่าย ก็เลือก committee ที่หน้าใหม่หน่อย แต่ถ้าเลือกอาจารย์ที่เก่งมากในฟิลด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก turn tenure เป็น professor แล้วล่ะก็ ก็อาจจะยากนิดหนึ่ง แต่ก็จะท้าทายมาก เพราะว่าอาจารย์เหล่านี้ก็เหมือนที่รับรองคุณภาพครับ

เรื่อง original research นั้น พูดยากครับ เพราะเราไม่มีทางที่จะไปค้น literature ทั้งหมดได้ แล้วก็มาสังเคราะห์เป็นหัวข้อเราครับ

เอาเป็นว่า ถ้าอาจารย์เราเห็นว่าเรื่องใหม่ committee มองว่าเรื่องใหม่แล้วก็ส่งไป review แล้วเขารับพิมพ์ ก็คงจะการันตีได้ระดับหนึ่งแล้วครับว่าเป็น original paper ครับ

เป็นกำลังใจให้ครับผม :D

กราบสวัสดีครับอาจารย์หมอมาโนช

ขอบพระคุณมากครับสำหรับเวลาในการมาอ่าน เข้ามาตอบคำถามคาใจผม แล้วก็กรุณาตั้งคำถามที่ผมว่ามันต้องสนุกในการตอบแน่นอนครับ

เริ่มกันเรื่อง originality ของบทความกันก่อนนะครับ

ผมว่ามันคงจะยากจริงๆครับที่จะบอกว่า orginality มันอยู่ตรงไหน ยกตัวอย่างสาขาที่ผมเรียนนะครับ คือ Optimization

วิธีการหาคำตอบเนี่ยมีหลากหลายมากครับแล้วก็ยืมมาจากหลายสาขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นชีววิทยาเช่น Genetic algorithm, Ant colony optimization หรือวิชา Thermodynamics ที่เอา concept ของ Entropy มาใช้ หรือว่าจะเอาโลหะวิทยาที่เอา Simulated annealing ขึ้นมาใช้ นี่ยังไม่นับพวก Pure Math ที่ใช้หากันอีกนะคับ 

แต่ที่สำคัญคือ วิธีพวกนี้นั้นมีมานานมากแล้วครับ แต่ว่าก็ยังมีการตีพิมพ์เอามาประยุกต์กับปัญหาพวกโน้น ปัญหาพวกนี้ แล้วก็ ปรับเสริมปรุงแต่งวิธีการหาคำตอบ กันนะครับอาจารย์หมอ

แล้วแต่ละคนก็บอก original paper ทั้งนั้น :D

เรื่องที่สองครับ คุณหมอได้ให้เกียรติผมมากเลยนะครับ ที่ได้ถามผมเรื่องความเป็น "inter" โดยการเขียนปริญญานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตวิทยาลัย

เรื่องนี้ผมขอให้สมองอันเล็กน้อยออกความเห็นดังนี้ครับอาจารย์หมอ

ผมเฉยๆครับอาจารย์หมอ

ทำไมผมถึงเฉยๆ ผมขออนุญาตคุณหมอนิยามคำว่า "inter" ก่อนนะครับ แล้วผมจะอธิบายให้เห็นทีหลังว่าทำไมผมถึงเฉย

ผมนิยามคำว่า "inter" ได้สองอย่างครับ

อย่างแรกก็คือ คำว่า "inter" ในความหมายว่า ทำให้ดัง ทำให้แพร่หลาย ทำให้เป็นที่นิยมทั่วไป

ถ้านิยามเป็นแบบนี้ ผมขอให้คำตอบว่ามันไม่ค่อยจะมีโอกาสนะครับ เพราะว่าอะไรนะหรือครับ

เพราะว่าไม่ค่อยมีคนอ่านวิทยานิพนธ์ครับ ในเมื่อไม่มีคนอ่านแล้วมันจะแพร่หลาย แล้วมันจะดัง ได้อย่างไรใช่ไหมครับ

อาจารย์อาจจะหาว่าผมโม้ ผมยกตัวอย่างผมนะครับ ในวิทยานิพนธ์ที่ผมเขียนอยู่ผมอ้างอิงประมาณ 395 บทความครับ (เพราะเรื่องที่ผมทำนั้นกว้างยิ่งกว่ามหาสมุทรอีกครับ เลยต้องอ้างอิงเยอะ) ใน 395 บทความ ไม่มีวิทยานิพนธ์ที่ผมยกมาอ้างเลยครับ

แต่ไม่ใช่ว่าผมไม่เคยอ่านวิทยานิพนธ์นะครับ ผมอ่านสองเล่มครับ แล้วเท่าที่ผมเช็คดูนะครับ เล่มแรกพิมพ์ปี 1985 มีคนยืมไปไม่ถึง 10 คนครับ อีกเล่มปี 1996 ผมนี่ประมาณคนแรกคนที่สองครับ

แต่ก็มีช่วงหนึ่งที่ผมชอบไปยืนเปิดวิทยานิพนธ์ของคนอื่นเล่นครับ ผลที่ผมพบก็คือวิทยานิพนธ์นั้นสิงสถิตย์อยู่ ณ ที่ใด มันก็มักจะอยู่ที่นั้นแหละครับ ถ้าบรรณารักษ์ไม่ได้กรุณาหยิบมันขึ้นมาปัดฝุ่น

อาจารย์หมออาจจะบอกว่า ผมเหมาเอาจากมหาวิทยาลัยของผม ซึ่งผมก็ไม่เถียงครับ แต่ครั้งหนึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาผม จบจาก Stanford ถามผมว่า รู้ไหมว่าทำไมต้องตีพิมพ์ แล้วกรุณาตอบให้เสร็จครับ หนึ่งในเหตุผลคือ เพราะว่าไม่มีใครอ่านวิทยานิพนธ์เราหรอก ก่อนที่จะย้อนถามผมว่า ผมเคยอ่านหรอ ผมก็บอกว่ายืมสองเล่ม (อ้อ สองเล่มที่ยืม เล่มหนึ่งมาจาก GATECH อีกเล่ม U of Michigan ครับ)

ดังนั้น sample ที่ผมมีจาก 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรม ก็คงพอจะปะล่อมปะแล่มบอกได้นะครับว่า ไม่ค่อยมีคนยืมวิทยานิพนธ์อ่านกันหรอก

(นอกจากว่า อาจารย์จะโยนวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่ ที่อาจารย์ต้องการจะ extend ต่อนะครับ ถ้าอันนั้นก็มีครับ แต่ก็เล่มหนึ่งนะครับ)

อาจารย์อาจจะกรุณาโต้แย้งมาว่า ผมนี่เชยจริงๆ ไม่ทันสมัยเลย เดี๋ยวนี้เขามีอินเตอร์เน็ตแล้ว ดาวโลดกันโชะๆๆ ปัญหาก็เหมือนเดิมครับอาจารย์ คือไม่ค่อยมีคนไปดาวโลดหรอกครับ ถ้าเทียบกับบทความ

ผมเองก็เคยไปดาวโลดด้วยเหมือนกันครับ ใน Hard Drive ของผมนี่มีของหลายที่หลายเล่มเลยครับ แต่ผมอ่านอย่างมากก็บท สองบทครับ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น 

โดยความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า เพราะมันหนาครับ มันยากที่เราจะตั้งสมาธิอ่านมันตั้งแต่ต้นจนจบได้รอบเดียว ผิดกับ paper ที่เราอ่านได้จบภายในหนึ่งรอบ แล้วก็ ไม่เข้าใจก็มาทวนหลายๆรอบได้แบบ ไม่เสียเวลามากนักครับ

อีกประการหนึ่งครับ อาจารย์คิดว่าคนที่จะมาอ่านวิทยานิพนธ์ของมหิดลส่วนมากจะเป็นใครและเป็นชนชาติอะไรครับ (อันนี้คิดกันเล่นๆนะครับ)

นั่นเป็นนิยามแรกนะครับ

คราวนี้นิยามที่สองของคำว่า "inter" ของผมครับ ผมนิยามคำว่า "inter" ว่าสากลครับ สากลแบบที่ชาวบ้านใครๆเขาก็ทำ

ถ้าอาจารย์นิยามว่ามันเป็นสากล ทำเพื่อให้เป็นสากล ถ้าอย่างนั้น ผมก็ต้องบอกครับว่า แน่นอนครับการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษนั้น เป็นสากลแน่นอน เพราะหลายต่อหลายประเทศนั้นทำกันเขียนกันครับ

แต่แล้วจริงๆทำไมผมถึงเฉยๆ

ผมเฉยๆเพราะว่าเรากำลังสนใจแค่กระพี้ครับ เราไม่ได้สนใจแก่นของปัญหาครับ (ตามความคิดของผมนะครับ) 

แก่นของปัญหาคือการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพครับ มี originality นำไปประยุกต์ใช้ได้ แก่นนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่านักศึกษาจะเขียนด้วยภาษาอะไร

เพราะว่าถ้างานวิจัยไม่มี originality ไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะพิมพ์ด้วยภาษาอะไรก็ตาม มันก็ไม่ควรคู่กับคำว่าวิทยานิพนธ์ครับ

แล้วเราจะไปสนใจไยกับเรื่องกระพี้หล่ะครับ

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยที่ผมได้ยินข่าวนี้ใหม่ ผมได้อ่านเนชั่นสุดสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ได้เขียนโดยอาจารย์ด็อกเตอร์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ในบทความท่านเขียนว่า ท่านได้ถามอาจารย์จาก Cornell ท่านหนึ่งว่า เนี่ยถ้ามีเด็กไทย ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองไทย แต่เรียนที่ Cornell จะเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทยได้ไหม อาจารย์ Cornell ท่านนั้น บอกว่าได้ครับ แต่ในคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีผู้รู้ภาษาไทยอยู่ด้วย (รายละเอียดนี่ผมพยายาม google ดูแล้วแต่หาไม่เจอครับ แต่ผมคิดว่าผมจำไม่ผิดครับ)

นี่แหละครับคือสองเหตุผลที่ผมเฉยๆครับอาจารย์หมอ ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษาอะไร ขอให้เป็นภาษาที่มีคนเข้าใจ ผมว่าก็เหมือนกันครับ ถ้าดีจริง เดี๋ยวก็มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษเองครับ (ไม่เชื่อดูนิยายแปลสิครับ)

แต่ถ้ามหิดลอยากโกอินเตอร์จริง ด้วยศักยภาพของบุคลากรมหิดลนั้น ผมว่าโกอินเตอร์ได้สบายๆอยู่แล้วครับ ไม่จำเป็นต้องมาบังคับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยให้เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษหรอกครับ

หรือถ้าจะบังคับจริง ผมก็มองว่ามันก็ไม่น่าจะไปบรรลุผลตามที่มหิดลนั้นมุ่งมั่นปรารถนาและตั้งใจไว้ครับ

วิธีเดียวที่จะโกอินเตอร์จริงๆ (เอาแบบดังยิ่งกว่าทาทานะครับ) ผมว่าก็คงหนีไม่พ้นการวิจัยเรื่องใหม่ของแท้ดังเดิมชนิดที่เรียกว่า orginalสุดๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง การค้นพบใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโลก แล้วนำลงไปตีพิมพ์ใน top notch journal อย่างเช่น JAMA ในวงการแพทย์ อันนี้เนี่ยแหละครับ ผมว่าจะทำให้มหิดลโกอินเตอร์แบบที่ต้องการ (แต่อันนี้ผมก็คงไม่บังอาจสอนหนังสือสังฆราชหรอกครับ เพราะผมว่าอาจารย์หมอก็ทราบดีอยู่แล้วครับ)

หรือถ้ามหิดลต้องการจะให้ลูกศิษย์ร่วมดังด้วย ก็บังคับตีพิมพ์สิครับ เพราะโอกาสของบทความนั้นจะแพร่หลาย ก็มีสูงกว่าวิทยานิพนธ์อยู่แล้ว

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมว่าก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ผู้เรียนด้วยครับว่า ต้องการอะไร ถ้าเป็นคนที่เรียนปริญญาโท ที่ต้องการแค่จะปรับภูมิความรู้ ไม่สนใจจะเป็นนักวิจัยหรือต่อไปถึงปริญญาเอก

ผมว่าการจะให้เขามาทนกระบวนการเอางานไปตีพิมพ์ ทำวิจัย ผมว่ามันก็ดูจะข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้าไปนิดนึงนะครับ ก็ในเมื่อเขาไม่ใช้ จะไปบังคับทำไม (แต่หลายคนอาจจะถามว่า แล้วเลือกมหิดลทำไม หนึ่งในหลายเหตุผลก็คืออาจารย์และ courseworks (รายละเอียดวิชา)ที่น่าสนใจ หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยอื่นไม่ม ก็ได้)

ดังนั้นผมคิดว่ามันอาจจะจำเป็นต้องมีหลายโปรแกรมในหลักสูตรเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาด้วยครับ เช่น Master of Engineering (ME) กับ Master of Science (MS) สำหรับที่ที่ผมเรียนนี่ ถ้าเรียน ME ก็รู้ไปเลยว่าไม่ต้องทำ thesis หรือ research แต่ MS ต้องทำ ดังนั้น MS ก็ภาษีดีกว่า ME หน่อยๆครับ

แต่ถ้าเป็นนักศึกษาปริญญาเอก กระบวนการการไปตีพิมพ์ ทำวิจัย คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ เพราะเราต้องการสร้างและพัฒนานักวิจัยที่ทำวิจัยที่มี originality และมีประโยชน์ต่อสังคมชาติและสังคมโลกได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ไม่เกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอะไรอยู่ดีครับ เพราะถ้าเราบังคับให้เขาเขียนส่งวารสารชั้นนำ โดยรายชื่อก็คงจะมีแต่รายชื่อวารสารที่รับเฉพาะภาษาอังกฤษอยูแล้ว

ดังนั้นถ้านักศึกษาคนนั้นจะลงทุนเขียนสองรอบเป็นภาษาอังกฤษรอบ ภาษาไทยรอบ ก็ตามแต่นักศึกษาจะสะดวกครับ เพราะยังไง มันก็ win-win situtation อยู่แล้วครับ เพราะมหิดลก็ได้ชื่อจากการที่นักศึกษาตีพิมพ์บทความ นักศึกษาก็มีทางเลือกว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอะไรได้ครับ

สรุปแล้วดีกว่าครับเดี๋ยวจะยาวครับ

  1. กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอมากครับที่ได้กรุณาทิ้งปัญหาชวนคิดให้ผม สนุกดีครับผมชอบ
  2. อยากให้คุณหมอกลับมาอ่านคำตอบนี้ด้วยครับ แล้วจะเป็นเกียรติมากครับ ถ้าคุณหมอได้กรุณาออกความคิดเห็นอีก (ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปนักครับ)
  3. Originality ก็คงจะเป็นนิยามที่นักวิจัยขวนขวายกันต่อไปครับ
  4. ผมเฉยๆครับว่ามหิดลนั้นจะบังคับนักศึกษาปริญญาโทขึ้นไป เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษครับ เพราะว่าเขียนเป็นภาษาอะไรถ้าไม่มี originality ไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ มีค่าเท่ากันครับ แล้วก็ไม่ค่อยมีคนมาอ่านวิทยานิพนธ์หรอกครับ

กราบขอบพระคุณคุณหมออีกรอบนะครับที่กรุณามาเยี่ยมครับ แล้วผมก็หวังว่าผมตอบคำถามได้ชัดเจนนะครับ :D

ต้น

 

 

 

 

 

P

ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปหลายครั้งแล้ว....

ชอบใจความเห็นที่คุยกับคุณหมอมาโนช...

พอดีนึกบาลีได้ว่า...

อสาเร สารมติโน สาเร อสารมติโน

ถือเอาในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ (แต่) ถือเอาในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ

เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ

กราบขอบพระคุณมากครับที่พระคุณเจ้าได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยียนครับ :D

ขอบพระคุณสำหรับคำสอนครับ

แต่ผมว่ายากนะครับ ที่เราจะรู้ว่าอะไรคือสาระ และอะไรไม่เป็นสาระ มันเหมือนเส้นผมบังภูเขานะครับ

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

สวัสดีค่ะพี่ต้น

  • เรื่องที่จะเลือก committee นี่คงจะยากค่ะ เพราะที่นี่ ทางภาควิชาจะกำหนดมาให้เอง เฮ้ออออออออ
  • ขออนุญาตอาจารย์หมอมาโนชและพี่ต้น ร่วมแจมเรื่องเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษของมหิดล ในฐานะศิษย์เก่าป.โทมหิดลนะคะ
  • ขึ้นอยู่กับเหตุผลว่าทำไมต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าต้องการให้เป็นอินเตอร์ อันนี้ขอเห็นด้วยกับพี่ต้น วิทยานิพนธ์ถูกเก็บอยู่ในห้องสมุด ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับงานที่เราทำ โอกาสน้อยนักที่เราจะไปหยิบมาอ่าน
  • แต่ถ้าต้องการเพิ่มทักษะการเขียนงานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นวิธีฝึกที่ดีอย่างหนึ่ง
  • สรุปแล้ว อยู่ที่ว่ามหิดลมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องการให้ตัวมหาวิทยาลัยเองมีความเป็นอินเตอร์ หรือต้องการให้เด็กมีทัีกษะการเขียน มหิดลควรตอบคำถามนี้ก่อนค่ะ
  • ขอบคณอาจารย์มาโนชและพี่ต้นนะคะ
..ณิช..

สวัสดีครับคุณน้องณิช

ขอให้โชคดีกับ committee ครับ บางทีมันก็ขึ้นอยู่กับดวงจริงๆครับ :D

เรื่องการเขียนปริญญานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษนั้น ผมว่ามันต้องมีที่ให้กับทุกๆคนครับ

แต่ถ้าเป็นผมนะครับ ผมจะไม่บังคับเขียนภาษาไทยครับ แต่บังคับส่งพิมพ์ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่างที่บอกแหละครับ ก็คงต้องสร้างโปรแกรมขึ้นมาสำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะเรียนต่อถึงปริญญาเอก

ถ้ายังไงเข้ามาบ่อยๆนะครับ สวัสดีครับ

ต้น  

สวัสดีอีกครั้งค่ะพี่ต้น

  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดี ๆ นะคะ แต่ยังไม่เข้าใจที่พี่บอกว่า สร้างโปรแกรมขึ้นมาสำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะเรียนต่อถึงปริญญาเอก   อันนี้ยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่สองประเด็นค่ะ
  • อย่างแรกคือทำไมต้องสร้างโปรแกรมนี้
  • อย่างที่สองคือ คนที่เรียนโทมีทั้งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้น ว่าจะเรียนเอก และมีทั้งที่เรียนโทก่อนเพื่อตัดสินใจเรียนเอกทีหลัง และก็คนที่พี่ต้นว่าไม่ได้ตั้งใจจะเรียนเอก ทำไมเราต้องมีโปรแกรมพิเศษสำหรับคนต่างกลุ่มค่ะ
  • อันนี้ออกจะนอกเรื่องไปหน่อย ไม่ค่อยเกี่ยวกับประเด็นบล็อกนี้ของพี่ต้นสักเท่าไหร่ ไม่ต้องตอบก็ได้ค่ะ ไม่เป็นไร
  • จริง ๆ แวะไปอ่านบทความพี่ต้นหลายเรื่องแล้วนะคะ แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น วันนี้นั่งรอเพื่อนที่ร้านกาแฟ ก็นั่งอ่านเรื่องประเทศจีนและอินเดีย อ่านจบแล้วยังแอบเอาไปเล่าให้เพื่อนคนจีนฟังด้วย ขออนุญาตละกันนะคะพี่ต้น :D
..ณิช..

สวัสดีครับคุณน้องณิช

เรื่องทำไม  สร้างโปรแกรมขึ้นมาสำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะเรียนต่อถึงปริญญาเอก  

จริงๆแล้วอันนี้ขึ้นอยู่กับปรัชญาการเรียนปริญญาโทครับ ถ้าเห็นบางที่หรืออาจารย์บางท่านจะไม่มีปริญญาโท จะมีแต่ตรีกับเอก

ถ้าไม่มีปริญญาโท แล้วปริญญาโท หมายความว่าอย่างไร สำหรับบางที่ บางมหาวิทยาลัย ปริญญาโท นั้นมีปรัชญาสองแบบครับ

  • เตรียมตัวเรียนต่อเอก
  • ต้องการความรู้ทางทฤษฏีเพื่อไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ

จริงๆแล้วคำว่า สร้างโปรแกรมนั้น ไม่ได้หมายความว่าแยกกันเรียนนะครับ แต่หมายถึงใบปริญญาเรียกต่างกัน (เริ่มสงสัยว่าใช้คำผิดหรือเปล่า)

ได้ยกตัวอย่างในคำตอบที่ได้ตอบอาจารย์หมอไว้แล้วว่า ที่ที่พี่เรียนมีทั้ง Master of Engineering แล้วก็ Master of Sciences

วิชาที่เรียนก็แล้วแต่เด็กจะเลือกลงครับ แต่ว่าความแตกต่างระหว่างสองตัวนี้ก็คือทำ Thesis หรือเปล่า แค่นั้นเองครับ นอกนั้นวิชาก็เหมือนๆกัน บางทีก็ลงด้วยกัน เช่น core courses ที่บังคับลงกันทั้งคู่นะครับ

แต่ถ้าจะทำแบบนี้ได้ courseworks ต้องเยอะครับ เพราะว่าวิชาในรายละเอียดที่คนตั้งใจเรียนปริญญาเอก กับคนตั้งใจจะเรียนเพื่อเอาไปใช้งาน มันต่างกันอย่างมากนะครับ

ขอบคุณมากครับที่ได้ให้เกียรติมาอ่านครับ หวังว่ามาอ่านบ่อยๆนะครับ ทักทายๆได้เสมอครับ หวังว่าคงตอบปัญหาได้กระจ่างนะครับ

ต้น

 

สวัสดีค่ะคุณไปอ่านหนังสือ (คุณต้น)

ตามมาอ่านค่ะ

ถึงยังไงก็ยังไม่คิดจะยิงซุปล่ะคะ เราเป็นมิตรกัน ฮิฮิ ซุปบอกไว้เหมือนกันว่า มีอะไรก็บอก...เพราะสามปีนี้มันก็เหมือนเป็นสามี ภรรยากัน (ขนาดนั้น)

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ นะคะ

^___^

คุณต้นครับ  ผมชอบครับที่แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา และข้อโต้แย้งมีน้ำหนักครับ

คุณต้นบอกว่า "ผมเฉยๆครับอาจารย์หมอ"
ส่วนผมอยากจะบอกว่า "ผมต่อต้านครับ" 
ผมรู้สึกว่ามันเป็นการกระทำที่สิ้นคิดมาก

1. นศ. เขียนภาษาอังกฤษผิดๆ ถูกๆ เพราะเวลาสอนอาจารย์ก็ไม่ได้สอนภาษาอังกฤษ ถ้าอยากจะอินเตอร์ก็ต้องอินเตอร์ตั้งแต่ต้นน้ำ

2. อาจารย์เองตามก็แก้ไม่ไหว เพราะเล่นเขียนประโยคแบบถอดจากภาษาไทยดื้อๆ อ่านแล้วไม่เข้าใจ มีให้แก้ทุกหน้า หน้าละหลายๆ จุด  ก็เลยโยนให้ นศ. เธอไปเขียนมาใหม่

3. นศ.ก็ไปจ้างคนแปล มีอาจารย์จากบางที่หรือมีคนรู้จักกันรับแปล แปลทั้งเล่ม  แต่อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะไม่ใช่ field เขา

4. แปลเสร็จแล้วก็ขึ้นหิ้ง นศ.อื่นๆ มาอ่านก็อ่านไม่แตก อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะเป็นภาษาอังกฤษ อ่านภาษาไทยง่ายกว่าเยอะ เพราะฉะนั้นแทนที่จะแพร่หลายอ่านง่ายสำหรับนศ.ไทยซึ่งเป็น user หลักกลับยิ่งทำให้ยุ่งยากขึ้นไปอีก

5. อยากเป็นอินเตอร์แต่ก็ไม่เห็นฝรั่งมาอ่าน อ่านก็ไม่ค่อยเข้าใจ แค่อ่าน abstract ก็รู้ว่าไม่น่าสนใจ เลยไม่รู้จะหาอ่านทำไม

6.อย่าว่าแต่ช่าวต่างประเทศเลย ชาวไทยเองส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้งานตรงนี้ เพราะถ้าเป็นนักวิชาการ จริงๆ เขาก็ใช้ข้อมูลจาก peer review journal มากกว่า การสืบค้นก็ง่ายกว่า การอ่านก็ใช้เวลาสั้นกว่าได้สาระทันที
ลองดูสิครับมีผลงานวิชาการไหนบ้างที่อ้างอิง thesis ของนศ. เยอะๆ  นอกจากนศ.ด้วยกันเอง  นักวิชาการเขาไม่อ้างกันหรอกครับ นอกจากจำเป็นจริงๆ หาข้อมูลอื่นไม่ได้จริงๆ เพราะเขารู้ดีว่าน้ำหนักทางวิชาการมันน้อย

6. แล้วโครงการนี้อินเตอร์ตรงไหน ตรงที่เป็นภาษาอังกฤษ ? โครงการนี้มี contribution ตรงไหนกับโลกวิชาการ ถ้าเทียบกับการทำ thesis ภาษาไทย

7. คำว่าอินเตอร์ตามความเห็นของผม น่าจะหมายถึงสิ่งที่ทำมีข้อมูลที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นแก่วงการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ไม่ใช่การมีข้อมูล junk ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 

8. สิ่งที่ทำๆ กันมาลำบากลำบนทั้งนศ. (เขาเป็นทุกข์ใจกับภาษามากกว่าตัวงานวิจัยนะ ผมว่า) ทั้งอาจารย์ (หรือเปล่า?)

แล้วจะทำกันไปทำไม?

ถ้าอยากจะทำจริงๆ แบบว่าให้มีหลักฐานว่ามีงานชิ้นนี้ในโลกนี้ (ในสายตาของชาวต่างประเทศ)  ผมว่าแค่เขียนสรุปทำนอง executive summary คือยาวกว่า abstract แต่ไม่ต้องทั้งหมด แค่ 10 หน้าแบบเดียวกับการเตรียมส่งวารสารก็เหลือเฟือ

สวัสดีครับคุณ IS
ดีใจด้วยนะครับที่พบอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี ขอให้ความสัมพันธ์ราบรื่นไปตลอดนะครับ

กราบสวัสดีครับอาจารย์หมอ

ขอบพระคุณมากครับที่ได้ให้เกียรติเข้ามาอ่านคำตอบครับ :D

อ่านความคิดเห็นของอาจารย์หมอแล้ว ผมก็เข้าใจได้ครับ ผมเห็นด้วยความข้อคิดเห็นของอาจารย์ทุกข้อครับ

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับที่อาจารย์บอกว่า "ถ้าเป็นนักวิชาการ จริงๆ เขาก็ใช้ข้อมูลจาก peer review journal มากกว่า การสืบค้นก็ง่ายกว่า การอ่านก็ใช้เวลาสั้นกว่าได้สาระทันที" เพราะผมเองก็คิดเช่นนั้นเหมือนกันครับ

แต่อาจารย์ครับ ถ้าอาจารย์ต้องทำ executive summary 10-15 หน้า อาจารย์จะไม่บอกนักศึกษาให้ทำเพิ่มอีกหน่อยแล้วไปลงตีพิมพ์หรอครับ :D ถึงจะไม่ใช่ top notch journal แต่ก็ดีกว่า ทำเก็บไว้เฉยๆที่ห้องสมุดครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอมากครับสำหรับเวลา :D

ต้น

คุณต้นครับ ถ้าเป็นไปได้ผมก็จะให้ทุกคนส่งตีพิมพ์นะ จะวารสารอะไรก็ได้ ไล่ไปตามลำดับคุณภาพของผลงาน แต่ ..

นักศึกษาไม่อยากตีพิมพ์ แค่ทำจบก็ดีใจแล้ว ไม่คิดว่าการตีพิมพ์จะได้อะไรขึ้นมาอีกเท่าไร อาจารย์ก็บังคับไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในกฎ

ผมไม่เคยเป็น advisor หลักครับ เคยแต่คุมสอบกับเป็น advisor นอก เพราะของระบบ training แพทย์ไม่มีทำ thesis แบบ นศ.ป.โท เอก  คือมีทำวิจัยเหมือนกันแต่ไม่เน้นมากนัก เป็นเรื่องรองมากกว่าการฝึกงาน

กราบสวัสดีครับอาจารย์หมอ

จริงๆแล้วที่อเมริกาก็มีหลายแบบนะครับ อาจารย์บางคนก็เฉยๆ ผมโชคดี(มั้ง)ครับที่อาจารย์นั้นบังคับแกมขู่เข็ญให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ ทำให้ผมรู้ว่ากระบวนการมันเป็นยังไงนะครับ

อยากกราบเรียนถามอาจารย์ครับว่า แล้วอาจารย์ว่าถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่ประเทศไทยจะเปิดโปรแกรม Ph.D. โดยตรงสำหรับคุณหมอครับ

กราบขอบพระคุณคุณหมอมากครับที่ได้สละเวลาเข้ามาเยี่ยมครับ :D

 

  • มาขอบคุณคุณต้นอีกรอบ
  • ได้ข้อมูลเพิ่มที่เป็นประโยชน์
  • แค่อ่านเรื่องที่คุยกับคุณหมอก็มีประโยชน์แล้วครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

ขอบพระคุณมากที่ได้กรุณาติดตามครับ

 

ผมเคยฟังเสียงของไอน์สไตน์บรรยายแนวคิดเรื่อง E=mc^2 แล้วคิดว่าตรงกับกรณีนี้เลยครับ (หาฟังได้จากอินเตอร์เนตครับ โดยใช้ "albert einstein clip sound mp3" ค้นผ่าน google) เป็นสำเนียงภาษาอังกฤษที่ทำร้ายหูคนฟังมาก

สงสารไอน์สไตน์ครับ เพราะถ้าเอามาตรฐานภาษามาประกบ ไอน์สไตน์ก็ไอน์สไตน์เถอะ คงเอาตัวไม่รอดเหมือนกัน

กราบสวัสดีครับอาจารย์ wwibul

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ได้กรุณาให้ข้อคิดมา

ผมจะลองไป google ดูครับว่าภาษาอังกฤษสำเนียงไอนสไตน์เป็นอย่างไร แต่อาจารย์ทำให้ผมตั้งคำถามว่า แล้ววิทยานิพนธ์อไนสไตน์เขียนด้วยภาษาอะไรครับ :D

้บันทึก hot มากน้องต้น
ตามไปอ่าน link nytimes แล้ว

ฆาตกรนั่นก็ท่าจะไม่มี life skill จริงๆ

พี่โชคดีมากได้อ.ที่ปรึกษาดีใจหาย สงสัยทำบุญมามาก ยังไงพี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้ต้นต่อไปละกันนะ 

ปล. ที่นี่ต้องตีพิมพ์ ไม่งั้นไม่จบ

 

สวัสดีครับพี่มัท

ขอบพระคุณมากครับสำหรับกำลังใจครับ

จริงๆแล้วต้นไม่ค่อยติดใจเรื่อง life skill ของฆาตกรเท่าไรครับพี่ แต่ที่ชอบก็ตอนที่มีการพูดถึงความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาครับ 

ของต้นนี่ ไม่บังคับครับ มีหลายคนเหมือนกันที่จบโดยไม่ได้ตีพิมพ์หมายถึง journal นะครับ แต่ proceeding นี่ก็มีกันทุกคนอยู่แล้วครับ (สาขาต้น proceeding ลงง่ายกว่า journal ครับ เท่าที่รู้มีบางสาขา proceeding จะลงยากกว่าครับ) แต่อาจารย์ของต้นบังคับ journal ครับ

ขอบคุณมากครับพี่ได้กรุณาสละเวลามาอ่านครับ

-สมาชิกใหม่ครับ
-อ่านแล้วได้ประโยชน์ครับสำหรับ หัวข้อนี้ ขอบคุณ
และ อินไปด้วย
-จะได้ย้ำในความคิดไว้ ด้วยว่า ต้อง "พยายาม ใจเย็น อดทน" ที่สำคัญ ทำไปเรื่อยๆ อย่าเครียดจนเส้นเลือดในสมองแตกตายซะก่อน 55 (ว่าไป ... อันที่จริงผมก็ผ่าตัดท้องเพราะป.เอกนี้แหละเลยนึกได้ว่าเครียดแค่ไหน จริงใจแค่ไหน อย่าลืมห่วงสุขภาพตัวเราเองนะคร๊าบบ เพราะยังมีคนที่เป็นห่วงเราเสมออีกหลายคน)
-ว่าไปแล้ว กลับมาตั้งหลักเขียนจังๆอีกทีดีกว่า หลังจากล้มไปหลายรอบ
คราวนี้ คง เสริช เอมเมอรัล กะวิลสัน นานหน่อย
  • มาตามอ่านอีกรอบครับโดยเฉพาะความเห็นคุณหมอมาโนชกับคุณไปอ่านหนังสือ อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลยครับ
  • เรื่องตีพิมพ์ใน peer-review นี่ผมก็เห็นด้วยเช่นกันครับโดยเฉพาะระดับปริญญาเอก เพราะการตีพิมพ์จะทำให้งานวิจัยของเราแพร่หลายมากกว่า (มีคนอ่านมากกว่า) จริง ๆ น่าจะเป็นข้อบังคับของทุกมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาเอกด้วยซ้ำ ถ้าเป็นหลังสูตรภาษาอังกฤษก็ตีพิมพ์ใน international referee journal ถ้าภาษาไทยก็ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของไทยที่ได้รับการยอมรับ (แต่ต้องไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยของตัวเอง)
  • ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ

งานของไอนสไตน์ที่ถือว่ารุ่น "เนื้อว่าน (1905)"  เป็นภาษาเยอรมันเป็นหลัก  แต่ยุคหลังไม่แน่ใจครับ 

  1. http://einstein-annalen.mpiwg-berlin.mpg.de/home 
  2. http://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Einstein#The_Annus_Mirabilis 
  3. http://einstein-annalen.mpiwg-berlin.mpg.de/annalen/fulltexts

ผลคือ เวลาไอน์สไตน์พูดภาษาอังกฤษ ผมฟังแล้วจะนึกถึง Master yoda จาก Star Wars ทุกที

 

อ่า Drucker ก็ เริ่มงานเสมียนตอนยังเยาว์ที่ ฮัมบูรก์ เช่นกัน ก่อนที่ ฮิตเลอ จะเข้ายึดเมือง จึงย้ายไปอังกฤษ

สวัสดีครับคุณนิรันดร์

ขอบคุณมากนะครับที่ได้กรุณาสละเวลาเข้ามาอ่าน

เรียนปริญญาคงต้องใจเย็น อดทน แต่ที่สำคัญผมว่าต้องปล่อยวางบ้างครับ อย่าให้เป็นเหมือนในหนังนะครับ

ขอให้โชคดีและสนุกกับการทำวิจัยครับ ผมเชื่อว่าใน gotoknow นั้นคงเป็นกำลังใจให้กับทุกๆคนครับ

แล้วถ้ามีอะไรก็อย่าลืมแชร์ประสบการณ์ให้กันฟังบ้างนะครับ :D

สวัสดีครับอาจารย์เก๋

ขอบพระคุณมากครับที่ได้ให้เกียรติเข้ามาอีกรอบ หวังว่างานเขียนและการเตรียมตัวสอบ Defense ราบรื่นนะครับอาจารย์

โดยความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็สมควรที่จะเขียนบทความส่งวารสารต่างประเทศนะครับ เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ครับ แล้วก็จะได้ดูด้วยว่างานเรานั้น original หรือเปล่าครับ

 

กราบสวัสดีครับอาจารย์ wwibul

ขอบพระคุณมากครับสำหรับลิงค์ของไอน์สไตน์ครับ :D

 

สวัสดีค่ะน้องต้น  ไปอ่านหนังสือ

  • ครูอ้อยเพิ่งจะเริ่มเรียนไปได้แล้ว 2 ภาคเรียนค่ะ
  • ครูอ้อยโชคดีที่มีประธานที่ปรึกษาที่ดี  และ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดีด้วย  เหลืออีก1ท่าน  ไม่ทราบว่าจะเป็นท่านใด
  • ไม่มีปัญหาอะไรมากนักในระยะนี้ค่ะ..เพราะยังใหม่อยู่
  • ต่อๆไม่แน่ อาจจะดีกว่านี้  หรือไม่ก็...โอยไม่อยากคิดค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับประสบการณ์

สวัสดีครับคุณครูอ้อย

ขอบพระคุณมากนะครับที่สละเวลามาอ่าน 

ขอให้คุณครูอ้อยมีความสุขกับการเรียนปริญญาเอกครับ ผมเชื่อว่าในนี้มีผู้มีภูมิหลายท่านที่พร้อมจะช่วยครูอ้อยทำวิจัยได้ครับ

ขอให้มีความสุขและความสำเร็จกับการเรียนครับ :D

สวัสดีค่ะคุณ ไปอ่านหนังสือ 

ดิฉันชอบนามแฝงของคุณมากค่ะ ฟังแล้วจูงใจให้ไปอ่านหนังสือดี อ่านบันทึกของคุณแล้ว..รู้สึกสนุกมาก  ตั้งใจว่าจะสื่อสารบ้าง แต่ความรู้ไม่พอ ก็เลยอ่านอย่างเดียวเพลินไป...  และเลือกตอบเงียบๆที่บันทึกนี้

ดิฉันเคยเห็นพี่ๆน้องๆที่เรียนปริญญาเอก มีความมุ่งมั่นในการศึกษาค้นคว้า  ขณะเดียวกันก็ทุกข์กายทุกข์ใจ  ในการตรากตรำให้ได้มาซึ่งใบรับรองความสามารถ  ......หลายคนที่ต้องล้มป่วยด้วยโรคนานาชนิด อันมีสมุฏฐานมาแต่ความเครียด  บางทีก็รู้สึกเป็นทุกข์แทนเขา  แต่ก็ยังเชื่อว่าทุกคนที่มีความพยายามและตั้งใจจริง จะประสบความสำเร็จในที่สุด

ดิฉันทึ่งวิธีคิดในการศึกษาหาความรู้ ด้วยกระบวนการภาคบังคับให้อ่านเยอะๆ และหาคำตอบด้วยการวิจัย  แล้วถูกวิพากษ์อย่างหนัก   และเขียนแล้วแก้ (กลับไปกลับมา ตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาเห็นสมควร :) )จนสังเคราะห์ออกมาได้  ซึ่งเป็นการฝึกให้ผู้เรียนอดทนมุ่งมั่น  และสร้างออริจินั่ลซัมติงที่น่าภูมิใจ

ดิฉันเพียงแต่หวังอยู่ลึกๆว่าในที่สุด ......การมีใบรับรองความรู้ และการได้ตระหนักว่าเป็นผู้รู้เหนือผู้อื่นนั้น  จะไม่พรากเอาความรักเพื่อนมนุษย์ให้ตกกระจายหายไปเสียด้วย........  

......คือดิฉันก็พูดไม่ค่อยเป็น  แต่มีโอกาสได้เห็นผู้รู้จำนวนมาก   ที่ท่านหยั่งเห็นว่า "เราทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น" และปฏิบัติต่อผู้อื่นโดยเมตตา   อย่างผู้ที่เห็นธรรมดาโลกชุดนี้แล้ว.....

.......เห็นแล้วรู้สึกเย็นกายเย็นใจดีน่ะค่ะ...... :)

 

สวัสดีครับคุณดอกไม้ทะเล

ขอบพระคุณมากครับที่ได้กรุณาสละเวลามาอ่านครับ จริงๆแล้วอยากจะเขียนอะไรก็ตามสะดวกเลยครับ เพราะว่าผมเองก็คงจะไม่ได้รู้เรื่องมากไปกว่าทุกๆคนในนี้เท่าไรเลย

การเรียนปริญญาเอกต้องอาศัยความมุ่งมั่นนะครับ แต่ผมว่าการเรียนปริญญาเอกโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และไม่รักษาตัวเองก็คงจะไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมมากนักนะครับ

การศึกษาหาความรู้นั้นมีหลายวิธีครับ ถ้าอ่านเยอะๆเป็นเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้น การวิพากษ์วิจารณ์ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆมากมาย แต่ original something มันเป็น relative term ครับ คือมันเป็นสิ่งสัมพัทธ์ 

ความรู้ใหม่ๆอาจจะได้มาจากการเอาความรู้จากสาขาต่างๆกันได้ แต่มันก็มีอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ นั้นนอกจากสร้าง original something แล้ว ผมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนำไปใช้ครับ ต่อให้ original something จะดีขนาดไหน ถ้านำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีผลครับ

คิดดูสิครับว่า ดีเอ็นเอ จะมีความหมายอะไร ต่อให้เราหาได้ ถ้าไม่รู้ว่ามันเอาไปใช้อะไรได้บ้าง

ผมเข้าใจในสิ่งที่คุณดอกไม้ทะเลพูดครับที่ว่า "การมีใบรับรองความรู้ และการได้ตระหนักว่าเป็นผู้รู้เหนือผู้อื่นนั้น  จะไม่พรากเอาความรักเพื่อนมนุษย์ให้ตกกระจายหายไปเสียด้วย" ผมว่านี่เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด สำหรับคนที่มีการศึกษาสูง ในโลกนี้ไม่มีคนที่รู้ไปหมดทุกอย่างครับ ดังนั้นเราสมควรจะเป็นคนผู้ถ่อมตนและศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา อย่างน้อย ก็ต้องหาความรู้ให้ตัวเองรู้และเข้าใจในสภาพโลกปัจจุบันบ้าง

ขอบพระคุณคุณดอกไม้ทะเลมากครับที่ได้สละเวลามาให้ความเห็น :D

 

ดิฉันเข้ามาอ่านไปยิ้มไปอย่างมีความสุขอีกหนค่ะ  :)

สวัสดีครับคุณดอกไม้ทะเล

ขอบคุณนะครับที่เข้ามา เข้ามาบ่อยๆนะครับ :D
ต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท