บทบาทของ สคส. ต่อการสนับสนุนบุคลากรด้าน KM


คอยยุยงส่งเสริม
บทบาทของ สคส.  ต่อการสนับสนุนบุคลากรด้าน KM
                จากเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ สคส.  ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดบุคลากรด้านการจัดการความรู้ เพื่อให้บุคลากรด้านการจัดการความรู้เหล่านี้สามารถดำเนินการจัดการความรู้ได้อย่างเป็นระบบ  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้องค์เหล่านั้น พัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด  สคส. จึงได้ดำเนินยุทธศาสตร์สร้างขีดความสามารถควบคู่กับการสร้างกระแส  โดยเน้นการสร้างขีดความสามารถทางด้านการจัดการความรู้ของบุคลากรและองค์กร  พร้อมไปกับการสร้างความเคลื่อนไหวให้สังคมได้เห็นถึงคุณค่าของการจัดการความรู้  โดยได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้มาโดยตลอด  ได้แก่
·                        การสนับสนุนเป็นรายหน่วยงาน  คือ  การเป็นวิทยากรนำกระบวนการจัดการความรู้เชิงปฏิบัติการในตลาดนัดความรู้ให้กับบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ  เพื่อที่จะให้บุคลากรของหน่วยงานเหล่านั้น  สามารถพัฒนาตนเองเป็นบุคลากรทางด้านการจัดการความรู้ขององค์กรรวมทั้งเพื่อทำหน้าที่ขยายและพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้ของเครือข่ายหรือภาคีของหน่วยงานนั้นๆ  ต่อไปได้   เช่น  กรมอนามัย, กรมสุขภาพจิต,  สภาการศึกษา,  สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา  (สพบ.)  เป็นต้น  
·                        การเชื่อมโยงเครือข่ายตามประเด็นและตามพื้นที่  โดยการแนะนำวิทยากร,  ที่ปรึกษาหรือผู้ที่มีประสบการณ์จากหน่วยงานหรือเครือข่ายต่างๆ  ให้กับหน่วยงาน, เครือข่ายหรือพื้นที่ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและต่อยอดด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้ต่อไป   เช่น  การแนะนำวิทยากรของเครือข่ายการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง  ให้กับโรงพยาบาลหรือเครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ  เป็นต้น  
·                        การสนับสนุนบุคลากรด้านการจัดการความรู้ โดยใช้ความเคลื่อนไหวทางสังคม  เพื่อให้เพื่อให้เกิดการตื่นตัว, เกิดแรงจูงใจ และเห็นคุณค่าในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ โดยการให้รางวัลต่างๆ    ได้แก่ 
- รางวัลสุดคะนึง  ซึ่งเป็นรางวัลของนักเขียน  Blog  ดีเด่น หรือผู้บันทึก
   การแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกได้ยอดเยี่ยมของ gotoknow.org  โดยจะมี
   คณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์, การพิจารณาตัดสินและมอบ
   รางวัลเป็นประจำทุกเดือน  ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน  2548  จนถึง
   ปัจจุบัน เช่น

รางวัลสุดคะนึงประจำเดือนมิถุนายน 2548  คือ ดร. วัลลา  ตันตโยทัย  โรงพยาบาลเทพธารินทร์

รางวัลสุดคะนึงประจำเดือนกรกฎาคม  2548  คือ  คุณภีม  ภคเมธาวี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลสุดคะนึงประจำเดือนสิงหาคม  2548  คือ ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  มหาวิทยาลัยนเรศวร

 


-          รางวัลจตุรพลัง  เป็นรางวัลแก่ผู้ที่ทำหน้าที่ยอดเยี่ยมประจำเดือน ใน 4  บทบาทหลักของการจัดการความรู้  ได้แก่  คุณเอื้อ,  คุณอำนวย,  คุณกิจ  และคุณลิขิต  โดยมีคณะกรรมการกำหนดเกณฑ์, เฟ้นหาผู้ที่เหมาะสมเพื่อพิจารณาตัดสินและมอบรางวัลเป็นประจำทุกเดือน  ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม  2548  จนถึงปัจจุบัน  เช่น
    โดยจะมีการตัดสินและมอบรางวัลจตุรพลังแห่งปีอีกครั้ง  หลังจากที่มี
      การตัดสินและมอบรางวัลจตุรพลังประจำเดือนจนครบ 12  ครั้งไป
      แล้วต่อไป
 
                                                             
คำสำคัญ (Tags): #demand#–#side#km#creativity
หมายเลขบันทึก: 8516เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2005 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท