สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง


เรื่องราวที่ได้เรียนรู้อีกเรื่องหนึ่งจาก Meeting Room 4 ในช่วงเช้าวันที่ 16 มีค. 50 ได้แก่ ประเด็น กิ้งกือยังตกบ่อ รูปหล่อยังพลาดรัก (สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง)ซึ่งเป็นวลีเปรียบเปรยบทเรียนที่ Surveyorด้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนำมาให้ได้เรียนรู้เพื่อจะไม่พลาดอีกโดย ศ.นพ.สุชาติ อินทรประสิทธิ์  ผู้เยี่ยมสำรวจจาก พรพ.

พญ สมพิศ รักเสรีย์  ผู้เยี่ยมสำรวจจากศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น

พญ.กรรณิการ์ บางสายน้อย  ผู้เยี่ยมสำรวจจากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

พญ.เสาด๊ะ  ยุทธสมภพ   รพ.หาดใหญ่ เล่าบทเรียนที่ได้เรียนรู้ในฐานะผู้ถูกAUDIT 

ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

โรงพยาบาลขนาดใหญ่มักตกม้าตาย เกี่ยวกับ conceptการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่  และจะเชื่อมโยงออกไปสู่ชุมชนได้อย่างไร          

                  เรื่อง Holistic care  แบบเสื้อโหล  มีเพียงแบบฟอร์มที่มีประเด็นการประเมินครบถ้วนกาย จิต สังคม แต่อยู่เพียงในใบประเมินไม่ถึงผู้ป่วย

                    Empowerment     ด้วยการให้สุขศึกษา ซึ่งมีหลายระดับซึ่งไม่สามารถแทนคำว่า Empowerment ได้ทั้งหมด 

                      Health education ประเภทข้อมูลอยู่บนบอร์ด บนเสา เต็มไปหมด

กรณีนโยบายต่างๆจากส่วนกลางที่ลงไปสู่พื้นที่ ต้องตีให้แตกเพื่อนำไปปรับ และบูรณาการให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล เช่น ประเด็นการแพทย์แผนไทย ส่งเสริม self care เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ไม่ใช่ กลายเป็นว่าข้าราชการกลายเป็นคนขี้เมื่อยมากขึ้นเพราะมีการเบิกจ่ายด้านการนวดในเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะเป็น role model ตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง ประเด็นความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้รับบริการ ไม่ค่อยได้นำมาวิเคราะห์ใช้ให้เหมาะกับบริบท เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางกลุ่ม

ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 

         โรงพยาบาลขนาดใหญ่ส่วนมากไม่เข้าใจความหมาย ชุมชนมักจะนำเสนอเป็น โครงการที่นำลงไปสู่ชุมชน โดยไม่ได้สนใจบริบทของชุมชน รวมถึงเครือข่ายที่เราควรไปส่งเสริมสนับสนุน  การที่โรงพยาบาลเป็นแหล่งเรียนรู้นั้นต้องขยายแนวคิดไปยังชุมชนด้วย

         ในส่วนโรงพยาบาลชุมชนจะมีภาพชุมชนที่ชัดเจนกว่า  แต่ความร่วมมือกับเครือข่ายยังไม่ได้เชื่อมกันด้วยใจ ยังไม่แน่น

       มีโรงพยาบาลชุมชนด่านซ้ายที่เป็นตัวอย่างที่ดี  ให้เจ้าหน้าที่ใหม่ทุกคนทุกระดับเข้าไปอยู่ในชุมชนระยะหนึ่งเพื่อเรียนรู้และกลับมาสรุปบทเรียนให้เพื่อนๆฟัง

 ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพบุคลากร

        มักจะนำเสนอกิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี  แต่บอกไม่ได้ว่า Role Model อยู่ที่ไหน อัตราการสวมหมวกกันน๊อคของเจ้าหน้าที่เป็นเท่าไหร่  บางแห่งสนับสนุนการดื่มสมุนไพรแทนกาแฟ แต่ขาดความตระหนักด้านการบริโภคน้ำตาลเพิ่ม ผู้บริหาร มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ไม่เป็น Role Model ทำให้คนทำงานลำบากใจ  เป็นต้น    การสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมควรเริ่มต้นที่การสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรก่อน เพื่อจะได้เป็น Role Model แต่พบว่าหลายแห่งบุคลากรมีปัญหาสุขภาพมาก

  บุคลากรมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับบริการพึ่งตนเองได้โดยไม่ตัดเสื้อโหล แต่ต้องเฉพาะคน เฉพาะกลุ่ม โดย Identified ปัจจัยเสี่ยงให้ได้ กลุ่มไหนต้อง Holistic care กลุ่มไหนไม่ต้อง Holistic care

   HPHA  เกี่ยวข้องกับทุกคนทุกส่วนในโรงพยาบาล เกี่ยวข้องกับ Holistic care และ Empowerment ต้องทำ PDCA ที่ Work with ไม่ใช่ Work for เราต้องส่งเสริมกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน/ผู้รับบริการ ให้เกิด Health Literacy(รายละเอียดที่นี่ ) 

ทีมงานต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ชัดเจน เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

Holistic care  กับ  การรักษา ส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ

 Empowerment       กับ    Health education

จัดบริการเพื่อการเรียนรู้      กับ    ให้สุขศึกษารายกลุ่ม

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้    กับ    บอร์ดสอนสุขศึกษา

เตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองในชุมชน กับส่งต่อชุมชน/สอ.

Work with    กับ    Work for

ชุมชนเรียนรู้ พึ่งพาตนเอง กับ  ทำกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรคในชุมชน

หมายเลขบันทึก: 85026เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีจังเลยที่พี่ปิ่งนำเรื่องนี้มาให้ได้อ่าน เพราะเล้กไม่มีโอกาสได้เข้าห้องนี้ เอ..แล้วสถาบันเราจะเป็นกิ้งกือตกบ่อมั๊ยน้า...? คงไม่หรอกเนอะ เพราะพี่ปิ่งคงต้องหาฝามาปิดทัน.5555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท