บันทึกการเมืองไทย : ร่างรัฐธรรมนูญ 2550


         ผมเป็นคนไร้เดียงสาและไม่เอาถ่านด้านการเมือง   อ่าน นสพ.มติชน วันที่ 18 มี.ค.50  ว่าโครงสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 เนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงหลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540   ประกอบด้วย 15 หมวด   คือ 1. บททั่วไป  2. พระมหากษัตริย์  3. สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย  4. หน้าที่ของปวงชนชาวไทย  5. แนวนโยบายแห่งรัฐ  6. รัฐสภา  7. การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน  8. การเงินการคลังและการงบประมาณ  9. คณะรัฐมนตรี  10. ศาล  11. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ  12. การตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ  13. จริยธรรมนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  14. การปกครองส่วนท้องถิ่น  และ 15. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

         ทำให้ผมเกิดคำถามว่า กฎหมายสูงสุดของประเทศที่เน้นการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ภายในประเทศ  ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่โลกเชื่อมถึงกันหมด  และโลกอยู่ในยุคความรู้เช่นนี้   เป็นวิธีคิด (concept) ที่เหมาะสมแล้วหรือ   นี่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญตามจารีตเดิมหรือเปล่า    เป็นการเขียนที่ไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของสังคมโลกที่เปลี่ยนไปหรือเปล่า

         แต่สหรัฐอเมริกาและประเทศ G8 อื่น ๆ เขาก็ปรับเปลี่ยนสังคมของเขาไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ   แสดงว่าความราบรื่นภายในประเทศไม่ได้อาศัยเฉพาะรัฐธรรมนูญ   ต้องการองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลากหลาย

         เป็นคำปรารภเชิงตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบ

วิจารณ์  พานิช
 18 มี.ค.50
พิษณุโลก

หมายเลขบันทึก: 84985เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สถาบันหลักของชาติไทยมี 3สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

สถาบันศาสนา ยังไม่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ

สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจ 3 ทาง บริหารโดยคณะรัฐมนตรี นิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร

ขอเสนอให้อำนาจตุลาการขึ้นอยู่กับประธานของศาลทั้งหมด

โดยอำนาจทั้ง 3 นี้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันและให้แต่ละอำนาจมีคณะผู้ตรวจสอบของ 2 อำนาจที่เหลือตรวจสอบการใช้อำนาจ

 

อยากให้กฏหมายรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ผ็มีอำนาจในการตัดสินใจในแต่ละหน่วย เช่น ผู้ว่า นายอำเภอ หัวหน้าศุลกากร หัวหน้าศาล หัวหน้าอัยการและหัวหน้าอิ่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน แสดงทรัพย์สินทั้งก่อนเป็นในแต่ละที่และที่ใหม่ด้วย

 ควรเพิ่มข้อความในรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ปัญหาคอรัปชั่น

สส.อบจ.อบต.ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องแถลงทรัพย์สินก่อนตรงนี้เห็นด้วย แต่ควรเพิ่มข้อความอีก เมื่อ สส.อบจ.อบต.เมื่อครบวาระควรแจ้งที่มาของบัญชีทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาว่าทรัพย์สินมาจากที่ใด

 

ทำไม ประชาชนชาวไทย 94.5% นับถือศาสนาพุทธ 

 ยังไม่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเพราะเหตุใด

เหตุที่ต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาประจำชาติ 14  เมษายน 2550 ตั้งใจจะอุปถัมภก จะยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา จะรักษาประชาชนและมนตรี องค์ปฐมบรมกษัตริย์ ราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นแก่ราชอาณาจักรไทย ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราช ชาวไทยมิใช่ทาส  ด้วยทรงห่วงใยประชาชนและพระพุทธศาสนาที่คู่บ้านคู่เมืองไทยมาแต่โบราณ  ข้อความข้างต้น เป็นการแสดงพระราชปณิธานที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและพสกนิกรชาวไทยและแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ พระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนาและประชาชน ที่ประกอบกันเป็นประเทศไทย จะแบ่งแยกจากกันมิได้ ธงไตรรงค์มีสามสีฉันใด ประชาชน(แดง),พระพุทธศาสนา(ขาว)และพระมหากษัตริย์(น้ำเงิน)จะแบ่งแยกจากกันมิได้ฉันนั้น การมีพระราชโองการจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา จึงเป็นเสมือน การออกกฎหมายรับรองให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคง เพราะพระราชโองการคือกฎหมาย   ในสมัยนั้นองค์พระมหากษัตริย์ คือรัฐธรรมนูญ  การที่ทรงเป็นผู้เคารพ ปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเป็นการบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เป็นการสร้างความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง  การที่ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกที่สูญหายไปในระหว่างบ้านเมืองเป็นกลียุค ให้รวบรวมทบทวนตรวจสอบเนื้อหาของพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง จึงเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น แต่ยังมีประชาชนบางส่วนนับถือศาสนาอื่น ไม่ว่าจะเป็นคริสต์ อิสลาม แม้แต่ประเพณีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวจีนที่แตกต่างกับชาวไทยก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยสันติสุข ตลอดมา  แสดงให้เห็นว่าแต่เดิมก็มิได้เป็นการกีดกันศาสนาใดและมิได้เป็นการคับแคบแก่ศาสนาอื่นๆแต่ประการใด                                  เมื่อสมัยนั้นการออกกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีเป็นลายลักษณ์อักษร การรักษาความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาจึงอยู่ในพระราชอำนาจ พระราชวินิจฉัย แต่เมื่อปัจจุบันเป็นการใช้พระราชอำนาจผ่านรัฐสภาเพื่อตรากฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว  การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจึงจำเป็นยิ่ง  ด้วยเหตุผล ความมั่นคงอย่างเป็นทางการแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอันหนึ่งเดียวกับพระมหากษัตริย์และประชาชนในความเป็นประเทศไทย                                  ในการโปรคเกล้าโปรดกระหม่อมให้ธงชาติไทยเป็นธงไตรรงค์ในรัชสมัยในหลวงรัชกาลที่๖  ก็เช่นเดียวกัน     ธงไตรรงค์ นั้นคือ  ประเทศไทย  ซึ่งประกอบด้วย สีแดงคือชาติ(ประชาชน) สีขาวคือพระพุทธศาสนา สีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์  จะแบ่งแยกจากกันมิได้ดังนั้นการที่มีข้อคิดเห็นว่าเกรงความไม่สมานฉันท์ ศาสนาอื่นจะขัดเคือง  นั้นฟังไม่ขึ้น เพราะอดีตจนปัจจุบันไม่ว่าใครจะนับถือศาสนาใดก็ทราบอยู่แล้วว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย การบัญญัติในรัฐธรรมนูญจึงมิใช่สิ่งแปลกสำหรับศาสนิกชนต่างๆ จึงไม่เป็นเหตุผลว่าจะทำให้เกิดความไม่สมานฉันท์ แต่หากการไม่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะมีความสมานฉันท์เกิดขึ้น โดยเฉพาะใน๓จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อให้ระบุว่าศาสนาของผู้ที่วางระเบิดหรือฆ่าผู้บริสุทธิ์นั้นเป็นศาสนาประจำชาติก็ไม่ทำให้คนเหล่านั้นเลิกกระทำการดังกล่าวได้  เพราะเหตุแห่งความไม่สมานฉันท์นั้นมาจากเหตุอื่น  อีกทั้งการกล่าวว่าเกรงความไม่สมานฉันท์นั้น เสมือนกล่าวหาว่าศาสนิกชนอื่นๆนับถือศาสนาหาเรื่อง ทั้งที่ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดีรักสงบ  เพราะหากบัญญัติไปจะมีความไม่สมานฉันท์(แปลว่าเกรงศาสนิกชนในศาสนาอื่นๆจะหาเรื่อง)จึงไม่บัญญัติ             การเปิดประตูบ้านตนเองทิ้งไว้ในยามค่ำคืนก็ไม่เป็นการแสดงความสมานฉันท์กับเพื่อนบ้านเช่นกันการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ทำให้ชาวไทยนับถือพุทธเพิ่มขึ้นหรือเป็นคนดีขึ้น   คำพูดนี้ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่เป็นเหตุเป็นผลกันการระบุในกฎหมายว่า นายเป็นคำนำหน้าเพศชาย นั้น ไม่ทำให้คนเพศชายเป็น ชาย มากกว่าเป็น สมชาย หรือเป็นสุภาพบุรุษมากขึ้น การระบุคำว่า บิดา มารดา ในทะเบียนบ้าน ก็ไม่ทำให้ความเป็นบิดากับมารดามีมากกว่าที่เป็นอยู่  แต่เป็นการเขียนไว้เพื่อการจำแนกบุคคลอย่างเป็นทางการ  การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยจริงๆ  ไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรืออย่างไร? ก็หาเป็นการรับรองอย่างนั้นไม่การระบุในธนบัตรดอลล่าร์ ของสหรัฐอเมริการว่า “In God we trust” เป็นการระบุความนับถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อเรื่องพระเจ้า ก็ไม่เห็นว่าคนต่างศาสนาจะมีใครรังเกีบจธนบัตรฉบับนั้น การจดทะเบียนสมรสไม่ทำให้ความเป็นสามีภรรยามากขึ้น ความรักของสามีภรรยาก็ไม่มากขึ้นเพราะทะเบียนสมรส เช่นกัน  เหตุใดจึงต้องให้จดทะเบียนแสดงความเป็นสามีภรรยาเล่า   อีกทั้งกฎหมายยังระบุให้มีภรรยาได้เพียงคนเดียวยังขัดต่อกฎของอิสลามที่ให้มีภรรยาได้ถึง ๔ คน ทำให้ภรรยาคนที่ ๒-๔ ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย  ผู้นับถือศาสนาอิสลามก็ยังไม่มีใครบอกว่าเดือดร้อนไม่สมานฉันท์กับศาสนาอิสลามพระสงฆ์ เหตุใดต้องห่มเหลือง  การห่มเหลืองทำให้ศีลท่านบริสุทธิ์กว่าห่มเขียวหรืออย่างไร?  ก็ไม่ใช่ เพราะการห่มเหลืองนั้นเป็นไปตามพุทธบัญญัติมิได้เป็นการบ่งบอกความบริสุทธิ์แห่งศีลที่ท่านปฏิบัติ  ฉันใดก็ฉันนั้นการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญก็ไม่แสดงความเป็นคนดีของคนไทย  แต่บอกว่าประเทศไทยให้การรับรองความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระมหากษัตริย์และประชาชนในการประกอบกันเป็นประเทศไทยมาช้านาน โดยมิได้รังเกียจผู้นับถือศาสนาอื่น และยังมิได้เป็นการแสดงความคับแคบแต่อย่างใดเพราะผู้นับถือศาสนาพุทธไม่เคยรังเกียจความเป็นศาสนิกชนของศาสนาอื่น  ไม่เคยทำร้ายกันเพราะความเป็นผู้ต่างศาสนา  การที่พระสงฆ์บางรูปออกมาคัดค้านการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้แสดงว่าสมานฉันท์กับศาสนาอื่นๆ อีกทั้งไม่ใช่การแสดงความไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่กลับเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองทั้งนั้น และหากจะหาเรื่องกัน ก็ยังกล่าวได้ด้วยว่าพระรูปนั้นพูดจาทับถมศาสนาอื่นด้วยซ้ำว่าแม้นไม่บัญญัติก็เป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้ว (ศาสนาอื่นไม่ใช่)การระบุในรัฐธรรมนูญ เรื่องประชาธิปไตย ก็ไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้น การระบุในรัฐธรรมนูญเรื่องพระพุทธศาสนาก็ไม่ทำให้คนเป็นคนดีขึ้น  ฉันใดก็ฉันนั้น  แต่เป็นเรื่องความเป็นประเทศและความมั่นคงของประเทศความมั่นคงที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้ความมั่นคงแก่สิ่งที่กล่าวถึงอย่างเป็นทางการฉันใด ความมั่นคงของชาติ พระพุทธศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ก็จำเป็นต้องระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญฉันนั้น  จึงเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศที่ต้องรักษาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ใดบ่อนทำลายชาติ พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์  มีความผิดฐานทำลายความมั่นคงของประเทศ และหากจะให้การรับรองศาสนาอื่นๆด้วยในฐานะศาสนาที่รัฐต้องส่งเสริมให้ความมั่นคงก็สมควรยิ่งการไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น เปรียบเสมือนธงชาติไทยที่ไร้ซึ่งแถบสีขาว  หากธงชาติไทยยังมีแถบขาวแห่งพระพุทธศาสนาแล้วไซร้ และหากประชาชนคนไทยยังให้ความสำคัญในความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา รัฐธรรมนูญจึงควรต้องมีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  หากไม่บัญญัติแล้ว  ก็จงเอาแถบขาวซึ่งหมายถึงพระพุทธศาสนาออกไปด้วยเถิด    คณะทำงานร่วม  7  องค์กรเพื่อพระพุทธศาสนา                                                                                พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ     (จักรธรรม ธรรมศักดิ์)      (อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์)
"อยากให้กฏหมายรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ผ็มีอำนาจในการตัดสินใจในแต่ละหน่วย เช่น ผู้ว่า นายอำเภอ หัวหน้าศุลกากร หัวหน้าศาล หัวหน้าอัยการและหัวหน้าอิ่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน แสดงทรัพย์สินทั้งก่อนเป็นในแต่ละที่และที่ใหม่ด้วย" ต้องย้อนหลังไปตั้งแต่เกิดเลยครับ

'พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำใจ' มิใช่หรือ การกำหนดในรัฐธรรมนูญ มีผลทำให้พุทธบริษัททั้งหลาย ประกอบแต่กรรมดีกระนั้นหรือ ?? ก็เปล่า

ในฐานะที่เป็นเยาวชน  ประชาชน  และพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งอยากบอกบอกไม่ว่าพุทธศาสนาจะอยู่หรือไม่ในรัฐธรรมนูญนั้นมิใช่ปัญหา  แต่ปัญหาคือคนในสังคมที่เรียกตัวเองว่าพุทธศาสนิกชนนั้นจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้มีความปรองดองกันมากที่สุด  ศาสนาอยู่ที่ใจ

ในฐานะพุทธศาสนิก    ผมเชื่อว่าพุทธศาสนาอยู่ที่การปฏิบัติของแต่ละคน    และการปฏิบัติร่วมกันของพุทธศาสนิก     ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ

ในฐานะคนไทย    ผมเคารพคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นด้วย     และต้องการให้คนไทยทุกศาสนา ทุกเชื้อชาติ อยู่ร่วมกันอย่างปรองดองรักใคร่ มีสันติสุข

วิจารณ์ พานิช

รัฐธรรมนูญควรมีความเป็นกลางและต้องเป็นของประชาชนจริง ทำได้ใช่ไหมคะ

อยากทบทวนเรื่องสิทธิประกันสังคม ของลูกจ้างเดือดร้อนมาก จะเจ็บป่วย คลอด ทำฟัน ดูวุ่นวาย  จำเป็นไปทำไมว่าลูกจ้างต้องส่งเบี้ยประกันสังคม สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าดีกว่ามาก ไม่ต้องมีการส่งเบี้ยถ้าเงินที่ส่งเบี้ยประกันสังคม ย้อนกลับไปคิด นำไปฝากธนาคารยังได้มีดอกเบี้ยอีก น่าจะให้ทำด้วยความสมัครใจว่าอยากใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพ หรือ ประกันสังคม.. ตอนนี้โดนหักร้อยละ 5 ของเงินเดือน เดือนร้อนกับประชาชนมาก ๆ ขอให้ทบทวนในรัฐธรรมนูญใหม่..  เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในเศรษฐกิจพอเพียง.. ด้วยความเคารพอย่างสูง
พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ  ได้อะไรจากการไประท้วงพระไปเดินนั่หรือกิจของสงฆ์ จะทำให้เกิดการแตกแยกมากข฿้น

กิจของสงฆ์ คือ การประท้วงหรือขอรับ มีใครนิมนต์พวกท่านไปหรือขอรับ หากเป็นดังนี้ ชาวบ้านคงต้องไปรอรับบิณฑบาตรที่หน้ารัฐสภาแล้วละ คิดบ้างนะขอรับ ทำอะไร อย่าให้ชาวบ้านเขาเดือดร้อน อย่าเอาศาสนามาบังหน้าการเมือง เคยดูทีวีตอนช่วง 8 โมงเช้า กับช่วง 6 โมงเย็นหรือเปล่าขอรับ (ช่วยดูด้วยนะขอรับ) แล้วจะรู้แจ้งด้วยปัญญา ว่าสมควรหรือไม่ ที่พวกท่านไปนั่งประท้วง ตั้งชื่อวัดกัน ขอให้สังวรณ์ด้วยว่าสถานภาพของท่านคืออะไร คำว่า ภิกษุ แปลว่าอะไร   ภิกขุสังโฆ แปลว่าอะไร ( ขออย่าออกหน้าชี้นำคนไทย ในฐานะที่กระผมเป็นชาวพุทธคนหนึ่ง และตลอดชีวิตก็คงนับถือแค่ศาสนาเดียว อยากบอกพวกท่านว่า หัวของกระผมไมได้มีไว้ตั้งบนบ่าเฉย ๆ สมองมี ความคิดมี สติมี หากสิ้นศรัทธา ก็ขอเป็นคนนอกศาสนาก็แล้วกัน ไม่ว่ากันนะ ก็พวกท่านทำกิจที่ทำให้ชาวพุทธอย่างกระผมรู้สึกสิ้นหวัง....นี่หรือพระ

การร่างรัฐธรรมนูญ รายละเอียด ส่วนใหญ่จะกว้าง ผมอยากให้เจาะให้ลึกถึงผลประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่ และทำอย่างไรให้ลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย  และกระจายรายได้ ให้ไปถึงประชาชนส่วนใหญ่  อย่างเป็นธรรม
ตัวอย่างเช่น
             นายจ้างได้กำไรการทำธุรกิจ ลูกจ้างก็ได้รายได้จากการจ้างงาน แต่ปัจจุบัน หาลูกจ้างถูกออกจากงาน หรือตกงาน ก็จะตกเป็นภาระครอบครัวและ
รัฐบาล ดังนั้น รัฐต้องกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างมีหลักประกันให้การตกงาน
ว่างงานที่เหมาะสม กับสภาพความเป็นจริงและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วน
ใหญ่  เช่น รัฐธรรมนูญน่าจะกำหนดให้ชัดเลยว่า น่าจะบังคับให้ลูกจ้างและนายจ้าง+รัฐบาลต้องหักเงินส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้เป็นกองทุนสะสม ทุกเดือนแก่ลูกจ้างแต่ละราย ไว้ ห้ามยกเลิก และยกเว้น  ลูกจ้างก็จะมีหลักประกันหลังถูกเลิกจ้าง ส่วนใหญ่
จะออกเป็น พรบ. หรือ กฎกระทรวง ไม่ค่อยจะบังคับ จึงไม่เกิดผลเลิศ และได้ผลช้า  ถ้าหากรัฐธรรมนูญ ไม่กำหนด ก็จะหาฝั่งไม่เจอ ให้เห็นกันชัด ๆ ไปเลย ไม่ต้องเล่นสำนวนให้ยุ่งยาก  ผมชอบความเห็นของ อาจารย์ ตามรายละเอียดข้างลองอ่าน
ดูน่าจะเป็นประโยชน์ ในการทำให้สังคมไทย ดีขึ้น
ณรงค์'เสนอดึงเงิน4หมื่นล.ประกันสังคม ตั้งธนาคารลูกจ้าง


30 เม.ย. 50
กรุงเทพธุรกิจ


อาจารย์เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ เสนอแนวคิดธนาคารลูกจ้างกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ดึงเม็ดเงิน 4 หมื่นล้านจากกองทุนประกันสังคมเป็นทุนก่อตั้ง เปิดกว้างให้ผู้ประกันตนและครอบครัวกู้ยืม

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์ ”กรุงเทพธุรกิจ” ถึงแนวคิดการจัดตั้ง "ธนาคารเพื่อลูกจ้าง" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากว่า สถิติกำลังแรงงานของประเทศไทย ที่อายุ 15-60 ปี มีจำนวน 36 ล้านคน ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ โดยกระจายตัวอยู่ในภาคเกษตร 15 ล้านคน ส่วนที่เหลือประมาณ 21 ล้านคนอยู่นอกภาคเกษตร เช่น ลูกจ้างในภาคธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ประกันตน 9.2 ล้านคน

ส่วนลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าประกันสังคมมีประมาณ 16 ล้านคน ประกอบด้วย แรงงานรับจ้างทั่วไป เช่น คนรับใช้ คนสวน คนขับรถ มีประมาณ 10 ล้านคน ลูกจ้างภาคเกษตร 3 ล้านคน (ไม่ใช่ต่างด้าว) ลูกจ้างราชการคือข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจประมาณ 3 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มแรงงานขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับแรงงานในภาคเกษตรหรือเกษตรกร ซึ่งมีอยู่ 15 ล้านคนและส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงแสดงชัดเจนว่าสังคมไทยกำลังเป็นสังคมการค้าอุตสาหกรรม

ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาภาคเกษตร พบต้นทุนการผลิตสูงมากสวนทางกับราคาพืชผล แต่ที่ภาคชนบทการเกษตรยังอยู่ได้ เพราะเม็ดเงินไหลมาจากนอกภาคเกษตร เช่น ลูกไปทำงานโรงงาน รับจ้าง ค้าขายในเมืองใหญ่ หรือโยกย้ายไปขายแรงงานชั่วคราวตามฤดูกาล ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศหรือจีดีพี ร้อยละ 90 อยู่ในธุรกิจนอกภาคเกษตร และภาคเกษตรมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกร้อยละ 10 มาจากสินค้าเกษตร และร้อยละ 89 มาจากสินค้านอกภาคเกษตร เช่น สิ่งทอ เพชรพลอยและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

หากพิจารณากำลังซื้อหรือรายได้เป็นตัวเงิน ร้อยละ 55 มาจากค่าจ้างแรงงาน บำเหน็จบำนาญ อาจรวมทรัพย์สินซึ่งไม่มาก เช่น บ้านให้เช่า ที่ดินให้เช่า ร้อยละ 17 มาจากภาคธุรกิจ ร้อยละ 11 มาจากภาคเกษตร และกำลังซื้อส่วนที่เหลือ ระบุแหล่งที่มาไม่ได้ เช่น การค้าประเวณี บ่อนพนัน หวยใต้ดิน แสดงให้เห็ว่ารายได้และกำลังซื้อมากที่สุดมาจากเงินค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น ถ้าจะกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องพุ่งเป้าหมายไปที่ที่กลุ่มลูกจ้างมากกว่าเกษตรกร

ลูกจ้างปัจจัยหลักกระตุ้นเศรษฐกิจ

"ลูกจ้างมีสถานะ 2 รูปแบบคือ ผู้ทำการผลิตแท้จริง และผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ต้องกระตุ้นการบริโภค อยากให้ลูกจ้างเพิ่มและมีกำลังซื้อ ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ลูกจ้าง เพื่อจะได้ผลิตภาพสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องสัมพันธ์กัน แต่ถ้ากำลังซื้อไม่ได้เพิ่ม จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวทันที" รศ.ดร.ณรงค์ กล่าว

หลักการกระตุ้นกำลังซื้อคือ รัฐบาลต้องลงทุนกับลูกจ้างให้มากขึ้น แต่รัฐบาลที่ผ่านมากระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการนำเงิน 7-8 หมื่นล้านบาทสู่ชนบท หรือให้เกษตรกรกู้ ทั้งนี้ จากการวิจัยพบว่าเม็ดเงินดังกล่าวหมดไปกับการบริโภคสิ่งฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ จักรยานยนต์ ของใช้เพื่อความบันเทิง ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจมากกว่า จึงไม่มีอะไรหลงเหลือเป็นทุนพัฒนาผลิตภาพในภาคเกษตร และไม่ทำให้กำลังแรงงานมีความสามารถสูงขึ้น

ธนาคารลูกจ้างตั้งจากค่าแรงลูกจ้าง

จากสภาพปัญหาข้างต้น จึงนำมาสู่แนวคิด "ธนาคารเพื่อลูกจ้าง" โดยจัดสรรเม็ดเงิน 4 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 10 จากกองทุนประกันสังคมที่มีอยู่ 4 แสนล้านบาท เพื่อนำมาให้คนงานกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิกู้คือ สมาชิกผู้ประกันตน 9.2 ล้านคน ให้กู้ตามเพดาน 2 เท่าของเงินเดือน แต่จะหักไว้ร้อยละ 10 ซึ่งรวมแล้วเป็นเงิน 4 พันล้านบาท สำหรับนำไปซื้อหุ้นเป็นทุนจดทะเบียนตั้งธนาคารเพื่อลูกจ้าง ที่จะเกิดได้ในอีก 2 ปี เมื่อเงินต้นถูกส่งคืนครบ โดยขอความร่วมมือจากนายจ้างหักจากเงินเดือน ณ ที่จ่าย

หลังจากกนั้น ธนาคารลูกจ้างก็ไม่ต้องพึ่งกองทุนประกันสังคม เพราะจะมีเงินฝากเข้ามาจากผู้ประกันตน เงินสหกรณ์และเงินสหภาพแรงงาน อีกทั้งจะเป็นธนาคารที่ปล่อยกู้เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามหลักการเพื่อเพิ่มผลิตภาพของคนงาน และเพิ่มกำลังซื้อสำหรับลูกจ้างระดับแรงงานทั่วไป ที่เงินเดือน 4,000 - 5,000 บาท ซึ่งสามารถกู้ได้ 2 เท่าของเงินเดือน ย่อมมีความหมายมากสำหรับลูกจ้าง ขณะเดียวกัน ครอบครัวของลูกจ้างก็มีสิทธิกู้ด้วย เช่น ภรรยากู้ไปลงทุนค้าขาย สามีกู้ซื้อจักรยานยนต์ขี่รับจ้าง ตลอดจนกู้ค่าเล่าเรียนบุตรและกู้ค่ารักษาพยาบาลบิดามารดา

นอกจากนี้ ธนาคารลูกจ้างยังเปิดโอกาสให้นายจ้าง ซึ่งเป็นผู้สมทบเงินประกันสังคม มีสิทธิกู้เงินได้ด้วยแต่จำกัดเงื่อนไขว่าต้องนำไปใช้ในการพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น เช่น สร้างหอพักราคาถูกสำหรับคนงาน ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพคนงาน เพราะที่อยู่อยู่ใกล้ที่ทำงาน ไม่ต้องเสียค่าเดินทางและประหยัดเวลา ทั้งนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับความยากจนพบว่า ลูกจ้างกรรมกรทั่วไปไม่ต้องการบ้านราคา 5-6 แสนบาท แต่ต้องการห้องเช่าราคา 1,000 - 2,000 บาทที่อาศัยอยู่ได้ 2-3 คน

“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตั้งขึ้นจากเงินภาษีล้วนๆ ขณะที่ธนาคารลูกจ้างใช้เงินก้อนแรกของเขาเอง ผ่านทางกองทุนประกันสังคม ซึ่งบังคับหักจ่ายจากค่าแรงของลูกจ้าง ดังนั้น ทำไมธนาคารลูกจ้างจะตั้งไม่ได้ หากรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถูกจุด ทำไมไม่มองลูกจ้างกลุ่มใหญ่ ถ้าผลิตภาพสูงขึ้น ตลาดภายในประเทศก็อยู่ได้” รศ.ดร.ณรงค์ ระบุ

รัฐบาลต้องล็อบบี้บอร์ดประกันสังคม

แนวคิดธนาคารเพื่อลูกจ้างนี้ ในเบื้องต้นได้รับการตอบรับจากคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งรัฐบาลกำลังจะตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ และหากการปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อลูกจ้าง เป็นไปตามแนวคิดที่ออกแบบไว้ คาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น เพราะจากการประเมินพบว่าตลาดภายในขาดกำลังซื้อ 4 - 5 หมื่นล้านบาท ฉะนั้น เงินจากกองทุนประกันสังคม 4 หมื่นล้านบาท ที่นำมาลงทุนให้ธนาคารเพื่อลูกจ้าง จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุด

อย่างไรก็ตาม การนำเงิน 4 หมื่นล้านบาทออกมากองทุนประกันสังคม สามารถดำเนินการได้เลย หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีคำสั่ง อีกหนทางหนึ่งคืออาศัยคณะรัฐมนตรีมีมติให้สำนักงานประกันสังคม นำเงินกองทุนออกมาสำหรับจัดตั้งธนาคารเพื่อลูกจ้าง

ต่อข้อถามถึงที่ว่า ข้าราชการจะสนองต่อนโยบายทางการเมืองด้วยหรือไม่ รศ.ดร.ณรงค์ ให้ความเห็นว่า ข้าราชการอาจเห็นว่าอำนาจบริหารหลุดมือไป แต้ถ้ารัฐบาลล็อบบี้คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งประกอบด้วย นายจ้าง ลูกจ้างและข้าราชการ หากสองฝ่ายเห็นชอบด้วยก็สามารถนำเงินกองทุนออกมาได้ทันที จากนั้นเมื่อเป็นธนาคารเพื่อลูกจ้างแล้ว ก็อยู่ภายใต้การตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับธนาคารทั่วไป และโครงสร้างจะเป็นธนาคารของลูกจ้าง ไม่ใช่ธนาคารของกองทุนประกันสังคม

"ธนาคารตามแนวคิดนี้มีในหลายประเทศ เช่น สวีเดน เยอรมนี ซึ่งเกิดจากปรัชญาที่ว่า การสร้างธนาคารก็เพื่อสวัสดิการลูกจ้าง เพื่อสร้างเศรษฐกิจรากหญ้า ขณะเดียวกันก็เพื่อการกระจายรายได้ แนวคิดนี้ผมเสนอมานานเกือบ 10 ปีแล้ว" รศ.ดร.ณรงค์ กล่าวและว่า ธนาคารเพื่อลูกจ้างนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในรัฐบาลรักษาการ เพราะที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ก็เกิดขึ้นในยุคเผด็จการ

ต่อข้อความที่ว่า ถ้าผลักดันไม่สำเร็จในรัฐบาลรักษาการ จะหมดหวังที่จะผลักดันในรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือไม่ อาจารย์ณรงค์ กล่าวว่า “มันจะหมดหวังหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ลูกจ้างว่าอยากจะมีหรือเปล่า และถามนายจ้างว่า ประกันสังคมบังคับให้จ่ายสมทบทุกเดือน ทำไมทำได้ แต่ธนาคารลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายอะไรเลย”

ส่วนกรณีที่กังวลว่านายจ้างอาจจะคัดค้านการจัดตั้งธนาคาร อาจารย์ณรงค์ อธิบายว่า ธนาคารจะทำให้ต้นทุนพัฒนาฝีมือแรงงานของนายจ้างต่ำลง ลูกจ้างบางคนกู้เงินเรียนคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องพึ่งนายจ้าง เห็นได้ว่านายจ้างไม่มีอะไรเสียหายจากการเกิดขึ้นของธนาคาร ยกเว้นนายจ้างที่เล่นการเมือง

 

นายเดียวคือแผ่นดิน

"ได้โปรดเถอะครับ ผมกราบแล้ว นึกว่าเห็นแก่ประเทศชาติ ช่วยปรับร่างรัฐธรรมนูญหน่อยได้ไหม"

               กระบวนการตรวจสอบที่เข้มแข็ง เท่าทัน และเท่าเทียมกันเท่านั้นที่จะทำให้ประเทศไทยของเรา เป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีความเข้มแข็งได้ ปลอดจากผู้มีอิทธิพล และการทุจริตได้ ผมจึงร้องขอดังนี้

ระดับท้องถิ่น

               1.ขอได้โปรดเพิ่มอำนาจการตรวจสอบให้สภาท้องถิ่นทุกแห่งให้สามารถไม่ไว้วางใจ หรือถอดถอนผู้บริหารได้

                2.ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในท้องถิ่นสามารถเข้าชื่อกันยื่นเรื่องต่อประธานสภาท้องถิ่น เพื่อพิจารณาถอดถอนผู้บริหารได้

                *ส่วนการที่ได้บัญญัติไว้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบนั้น ขอเรียนว่า สวยหรูแต่หลักการชาวบ้านตาสีตาสา สนใจแต่เรื่องปากเรื่องท้อง ไม่สามารถรู้เท่าทันนักการเมืองหรอกครับ แต่ถ้าปัญญัติไว้ตามที่ผมร้องขอ กระบวนการตรวจสอบในท้องถิ่นจะเดินเครื่องได้ ประชาชนเองจะรู้สึกถึงการสะท้อนคลื่นตรวจสอบนี้ และเริ่มเรียนรู้และมีส่วนร่วมตาม และต่อไปก็จะกลายเป็นความเข้มแข็งของประชาชนตามที่เราปรารถนาจะเห็นจริงๆ

ระดับประเทศ

                1.  สส. ไม่ควรเป็นรัฐมนตรี ควรมีอำนาจตรวจสอบ และให้ความเห็นชอบ/ไม่ให้ความเห็นชอบแผนของผู้บริหาร ถอดถอนผู้บริหาร และกรั่นกรองกฎหมายเท่านั้น ที่ผ่านมาเราให้อำนาจ สส.ไปเป็นรัฐมนตรีด้วย จึงเกิดปัญหามากมายตั้งแต่เริ่มเลือกตั้ง

                * รัฐธรรมนูญควรมีสภาพบังคับที่ชัดเจน มีข้อปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่ต้องเยิ่นเย้อ แต่ให้มีหลักการที่สำคัญชัดเจน อย่าให้ขาดหาย การอ้างถึงมาตราที่บัญญัติขึ้นภายหลัง อย่าได้ทำ เขาจะตำหนิได้ว่าคณะนี้ไม่รู้หลักการของกฎหมาย ผมเอาใจช่วยท่านอยู่แล้ว

นายเดียวคือแผ่นดิน

"อย่าหลงในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ"

                   ไม่ว่าพระหรือโยม  ถ้าเราเป็นชาวพุทธจริง "จารึกพระพุทธศาสนาไว้ในใจทุกท่าน ทุกคนเถอะครับ" พระธรรมคำสอนมีอย่างไร พยายามทำความเข้าใจ จารึกไว้ในใจให้ได้ อย่าให้ขาด แต่การเรียกร้องเพื่อจารึกไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเรียกร้องแบบคนไม่เข้าใจพุทธ ทั้งหัวโลน หัวดำ มีการกระทำที่ไม่เหมาะสม แสดงความโง่ให้ชาวโลกเขาได้เห็น น่าละอาย เดี๋ยวเขาจะว่าพระพุทธศาสนาของเรามีเพียงแค่นี้หรือ ทำเหมือนเด็กๆ ผมอยากเคาะหัวคนละที่ให้รู้สึกตัวเสียบ้าง พระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพรักเทอดทูนของเราเสียหาย จำคำผมไว้ ชาวพุทธที่แท้จริงจะต้องไม่หลงสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ

หนึ่งในพุทธบริษสี่

การที่จะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่ไม่สำคัญ พระพุทธองค์ตรัสว่าศาสนาของเราจะเจริญหรือเสื่อมก็อยู่ที่พุทธบริษสี่ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา และไม่เห็นด้วยที่พระสงฆ์ออกมาที่หน้าทำเนียบไม่สวยเลยยิ่งนำช้างมาด้วยยิ่งน่าสมเพช มันจะเหมือนศรีลังกาหรือพม่าพระสงฆ์ออกมาแสดงพลังทางการเมืองยิ่งจะทำให้ศาสนาเสื่อม

 

นายเดียวคือแผ่นดิน

"วิธีการหนึ่งที่จะทำให้การทุจริตน้อยลง"

                    อย่าให้อำนาจการตกลงซื้อ ตกลงจ้าง อยู่กับนักการเมือง ควรอยู่ที่

                    1. คณะกรรมการตกลงซื้อตกลงจ้าง เชื่อว่าเมื่อเป็นรูปคณะกรรมการ ถ้าใครคิดทุจริต อาจมีคนดีในคณะนั้น คอยคัดค้าน หรือคอยถ่วงดุลย์บ้าง

                     2. หรือควรอยู่ที่หัวหน้าส่วนราชการสูงสุด เหตุผลที่เสนอตามข้อ 2 นี้ คือ

                     2.1 ข้าราชการมีวินัย ถ้าทำผิดร้ายแรงถึงขั้นออกราชการ

                     2.2 ข้าราชการมีนักการเมืองควบคุมดูแลการปฏิบัติงานอยู่ใกล้ชิด ทำผิดนักการเมืองต้องเห็นและพิจารณาลงโทษได้

                      การให้นักการเมือง มีอำนาจตกลงซื้อตกลงจ้างเป็นปัญหาที่ไม่จบสิ้น ผมไม่เห็นใครคิดจะแก้กัน ปัญหาการกดดันเจ้าหน้าที่ใต้บังคับของตนให้เป็นเครื่องมือทำผิดด้วย ก็มีให้เห็นเป็นประจำ ผมยังไม่เห็นใครหน้าไหนที่เสนอจะแก้

                      อะไรที่จะแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองได้ให้รีบแก้ ปัญหาทุจริตเป็นปัญหาใหญ่สุดของประเทศไทย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดระเบียบการควบคุมทางสังคมให้ดี อย่าหวังแต่จะให้คนเป็นคนดีแบบลมแล้งๆ ประเทศชาติเสียหายหมด

วันนี้โหลดร่างรัฐธรรมนูญมาลองอ่านดู ... โอ้โฮ ... มีตั้งร้อยกว่าหน้า ... อ่านดูผ่านตาไปได้หน่อย รู้สึกว่า ... เออหนอเรานี่ไม่เคยสนใจรัฐธรรมนูญเลย แต่พออ่านดูแล้วพบว่ามันบัญญัติอะไรต่อมิอะไรไว้ละเอียดยุบยับ ...

เลยคิดว่า ถ้ากฎหมายสูงสุดไม่ได้บัญญัติอะไรต่อมิอะไรไว้อย่างละเอียดเช่นนี้ พวกเราชาวไทยทั้งที่เป็นคนเดินดินกินข้าวแกง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผู้มีอำนาจทั้งหลายนั้น จะไม่มีจิตสำนึกกระทำความดี ความถูกต้องกันเลยหรือ ...

มันสะท้อนอะไรจากสังคมของเราน้อ ...

แต่นั่นล่ะ ขนาดที่รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ที่เราคิดว่ามันดีที่สุดละเอียดที่สุดแล้ว "พวกมัน" ยังหาช่องทุจริต หาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องได้ ... เฮ้อ แล้วเราจะหวังอะไรได้อีก ...

นายเดียวคือแผ่นดิน

"ไม่กล้าจริง ไม่รักชาติจริง"

                   ไม่เห็นจะมีการแก้กฎหมายห้าม สส. ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันเกิน 2 สมัยบ้าง สส.ทุกวันนี้ จึงมุ่งเน้นแต่จะสร้างฐานอำนาจ เพื่อจะได้กลับมาเป็นอีกในสมัยต่อไป การทุจริตทั้งหลายส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักการเมืองต้องการสะสมฐานทางการเงิน เพื่อจะได้กลับมาครองตำแหน่งอีกในครั้งต่อๆไป

                    นักการเมืองทุกระดับ ตลอดจนถึงนักการเมืองท้องถิ่น(ส่วนใหญ่)ทำอย่างนี้ การทุจริตมันจึงเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง ผู้มีส่วนร่างรัฐธรรมนูญทั้งหลายฟังชาวบ้านอยู่หรือไม่ พอนักการเมืองเรียกร้องอย่างนั้นอย่างนี้ก็ยอมเขา แม้รู้ทั้งรู้ว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ต่อบ้านเมือง อย่างนี้เขาเรียกว่า "ไม่กล้าจริง ไม่รักชาติจริง"

 

                  

รักประเทศไทยครับ

อยากเห็นคนไทยสามัคคี กัน สนับสนุนกับการ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่คับ

บ้านเมืองมีขื่อมีแปรครับ คนไทยด้วยกันต้องรักกัน สามัคคีกันครับ รัฐธรรมนุญเป็นคนคนไทย

อย่าให้ประเทศไทยต้องตกเป็นประเทศเจ้าปัญหา

มีแต่เรื องเดือดร้อนให้อับอายขายขี้หน้าชาวบ้านอีกเลยครับ

คนรักบ้านเกิดเมืองนอน
ผมขอเสนอความเห็นเรื่องการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญหน่อยนะครับ คือว่าผมก็เป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งเช่นกัน พระพุทธศาสนาสอนในเรื่องทางสายกลาง และรัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของสังคมให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ดังนั้นรัฐธรรมนูญก็เปรียบเสมือนทางสายกลางของคนในสังคมเช่นกัน ที่จะธำรงไว้ให้คนอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้นเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง ก็ตั้งเข้าใจหลักที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาด้วย สิ่งไหนที่จะทำให้สังคมเป็นสุขก็ควรจะดำเนินไปตามนั้นมิใช่หรือ และผมก็เชื่อว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาก็มีความเป็นประธิปไตยอยู่ในตัวอยู่แล้ว ยกตัวอย่างง่าย คือ ศีล 5 ยกตัวอย่างข้อที่ 1 ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ เบียดเบียน รังแกผู้อื่น ในรัฐธรรมนูญหรือในร่างรัฐธรรมนูญ ก็มีบัญญัติ ในส่วนที่ 3 เรื่องสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ หรือจะเป็นข้อ 2 ละเว้นจากการลักทรัพย์ ก็มีบัญญัติไว้เช่นกัน คือ ส่วนที่ 5 เรื่อง สิทธิในทรัพย์สิน มาตรา 41 สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับการคุมครอง เห็นไหมครับว่าพระพุทธศาสนามีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว มีมาตั้งนานแล้วด้วย แล้วทำไมต้องไปบัญญัติไว้อีกหล่ะครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยก็ตาม แต่ว่าหลักธรรมต่างๆของพุทธศาสนามีบัญญัติไว้ก็พอแล้วไม่ใช่หรือครับ ทุกท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายครับ และสุดท้ายประเทศเราจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย รวมไปถึงเสียงส่วนน้อยซึ่งก็มีความสำคัญเช่นกัน การยอมรับความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ซึ่งทุกวันนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก จะทำให้ประเทศนั้นดำเนินไปอย่างสงบสุข และเจริญรุ่งเรืองด้วย

ในอดีตกาลศาสนาพุทธเคยหายไปจากอินเดียหลายร้อยปี โดยการถูกทำลายจากฝ่ายตรงข้าม

คนไทยส่วนใหญ่กว่า 95 % นับถือศาสนาพุทธ จะบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติไทยจะเป็นไรไป เสียส่วนใหญ่  ( ประชาธิปไตร )

พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่าพระธรรมวินัยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ไปตามยุคสมัย การที่พระสงฆ์ออกมาเรียกร้อง เพื่อรักษาพุทธศาสนาเอาไว้สามารถทำได้ เป็นกิจของสงฆ์ครับท่าน

จริงอยู่หลักการของพุทธจะไม่ตอบโต้ แต่ถึงวันนี้ถ้าพระสงฆ์ไม่ออกมา ก็กลัวว่าศาสนาพุทธจะหายไปจากประเทศไทย

มาตรา 299 มันมีอะไรแอบแฝงอยู่นะครับ

จะหมายถึงว่าการทำรัฐประหารก่อน หรือหลังรัฐธรรมนูญออกใช้ สามารถทำได้ไม่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

มันจะเป็นประชาธิปไตรได้อย่าไรครับ มันต่างกับ 2540 โดยสิ้นเชิงครับ

รับไม่ได้ครับ

การร่างรฐธรรมนูญถือเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยเราไม่ควรละเละและมองข้าม

     นี่แหละครับอาจารย์หมอ คนไทยถูกสอนให้อยู่ในกรอบมาช้านาน ผู้มีอำนาจไม่ว่าจะในครอบครัว ในโรงเรียน ในหน่วยงาน ในชุมชน ในประเทศ มักจะกำหนดกรอบมากักขัง ไม่คำนืงถึงพลวัตร (Dynamic) ที่อยู่ในกรอบ เหมือนกับการที่จะทำ KM ก็จะหากรอบหาตัวชี้วัดให้ได้ก่อน อุปมาดั่งหากรอบได้แล้วค่อยไปถ่ายรูป รูปไม่สวยก็ว่ากรอบไม่ดี ผมเชื่อว่าในอนาคตก็ต้องมีการเปลี่ยนกรอบรัฐธรรมนูญอีก อันที่จริงน่าจะถูกบันทึกไว้ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกว่า "รัฐธรรมนูญไทยแก้ได้ ง่ายนิดเดียว"

     หากมีโอกาสอาจารย์หมอน่าจะจับ สสร. / คมช. และนักการเลือกตั้ง มาทำKM เพื่อล้างใจกันสักรอบสองรอบ จะได้หัดถ่ายรูปให้เป็น ให้สวยเสียก่อน ไม่ใช่มัวแต่ไปสร้างกรอบ

   

  • รัฐธรรมนูญก็ผ่านประชามติแล้ว
  • พระพุทธศาสนาต้องอยู่เหนือการเมืองครับ
  • ขอแต่เพียงอย่าให้เหมือนสงครามศาสนาในเวียดนามเมื่อปี พ.ศ. 2506 และที่ตาลีบัน เมื่อปี พ.ศ. 2544 ก็แล้วกัน ถึงตอนนั้น....
  • "ไม่มีใครทำลายพระพุทธศาสนาลงได้ นอกจากพุทธบริษัทด้วยกันเอง" พุทธพจน์ครับ ฤๅจะเห็น...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท