ซาบซึ้งใจใน "โยงใยที่ซ่อนเร้น"


... ทุกๆโมเลกุลของร่างกายเรา ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอื่นที่มีมาก่อนหน้านี้ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอื่นๆในอนาคตต่อไป ในแง่นี้ร่างกายของเราจะไม่ตาย แต่จะมีชีวิตต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งนี้เพราะชีวิตจะดำรงอยู่ต่อไป ...

ผมเพิ่งอ่านหนังสือชื่อ “โยงใยที่ซ่อนเร้น – The Hidden Connections” ซึ่งเขียนโดย ฟริตจ๊อฟ คาปร้า แปลโดย วิศิษฐ์ - ณัฐฬส วังวิญญู  และ สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์... ที่หน้า 91 มีข้อความตอนหนึ่งว่า...

"เมื่อเรามองดูโลกรอบๆตัว เราจะพบว่าเราไม่ได้ถูกโยนเข้ามาในความไร้ระเบียบอย่างสะเปะสะปะ หากแต่เราเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบอันยิ่งใหญ่ ... ทุกๆโมเลกุลของร่างกายเรา ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอื่นที่มีมาก่อนหน้านี้ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอื่นๆในอนาคตต่อไป ในแง่นี้ร่างกายของเราจะไม่ตาย แต่จะมีชีวิตต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งนี้เพราะชีวิตจะดำรงอยู่ต่อไป ... เราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล เราอยู่กับจักรวาลเช่นเดียวกับอยู่บ้าน ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งนี้ทำให้ชีวิตของเรามีความหมายอันลึกซึ้ง"

ผมอ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่งครับ ...ได้กระบวนทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับตัวเราและสรรพสิ่งทั้งหลาย ว่าแท้จริงแล้ว "ไม่มีตัวเรา" ...เราเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุดหนึ่งในจักรวาลอันยิ่งใหญ่ เมื่อใดก็ตามที่เราสามารถเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับสรรพสิ่งได้แล้ว สิ่งที่เรียกว่า "ธรรม" "เต๋า" หรือ "พระเป็นเจ้า" ก็จะปรากฏ

แน่นอนครับ ...ผมต้องยอมรับว่าสำหรับผมแล้ว ความเข้าใจในเรื่องนี้ ยังคงติดอยู่แค่ที่ระดับของความคิด...ยังเป็นเรื่องของการ "เข้าใจ" ...ยังไม่ใช่การ "เข้าถึง" ครับ

คำสำคัญ (Tags): #intuitive#knowledge#holistic#development
หมายเลขบันทึก: 8446เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับ "การจัดการ"  น่าจะเป็นกริยา  และ "ความรู้" น่าจะเป็นนาม  ส่วนจะหมายความว่าอย่างไร  ก็แล้วแต่จริตของคนจะกำหนด  และ "ความรู้"  ก็น่าจะได้เปรียบกว่า "ความไม่รู้"

"การจัดการ"  ก็คงจะหมายถึงการทำอะไรสักอย่างหรือหลายอย่าง  กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง  และก่อให้เกิดผลในทางบวก  อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

หรือ????

น่ามีคนอย่างอาจารย์เยอะๆ นะครับ คงจะทำให้อะไรมันลงตัวขึ้นเยอะๆ

 

ตามมาครับ ยินดีที่เห็นอาจารย์พูดถึงคาปราครับ หนังสือของคาปรามีแปลเป็นไทยตั้งแต่โบราณคือเต๋าแห่งฟิสิกส์ (Tao of Physics) จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ (Turning Point) ยุคหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหนังสือที่ต้องอ่านกันเลยเหมือนกัน  มีบางคนบอกว่าเล่ม The Uncommon Wisdom ก็มีคนแปล แต่ผมไม่เคยเห็น และพอดีก็ไม่เคยอ่านต้นฉบับ เลยไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าอาจารย์ชอบ The Hidden Connections ก็น่าจะชอบเล่ม Web of Life ด้วยครับ ผมอยากจะเรียก The Hiddenฯ ว่าเป็นภาคต่อของเล่ม Webฯ ด้วยซ้ำไป เนื้อหาลักษณะเดียวกับเล่ม The Hidden ครับ โดยยกเอาทฤษฏีหรือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ มาพูด ถึงแม้เล่มนี้จะออกมาหลายปีแล้ว แต่แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในนั้นก็ยังถือว่าใหม่สำหรับบ้านเราได้ครับ หากมีโอกาสน่าลองหามาอ่านครับ

เข้าใจว่าเล่ม Web of Life ก็ยังไม่มีคนแปลครับ ปกติหนังสือของคาปราจะอยู่กับสนพ. โกมลคีมทอง หรือสวนเงินมีมานี่ ซึ่งก็เป็นคณะทำงานชุดเดียวกัน คิดว่าเมื่อเขาข้ามมาแปลเล่ม The Hidden ก็คงไม่แปลเล่ม Web แล้วมังครับ แต่ผมก็ไม่เคยถามเขาเหมือนกัน

ขอบคุณ ทุกท่านครับสำหรับ Comment ...ขอบคุณ คุณจุมพฎ มากสำหรับข้อมูลเรื่องหนังสือ

ขอร่วมแจมครับ

ประเด็นแรกผมชอบบันทึกนี้มากเพราะให้ข้อเตือนใจอย่างลึกซึ้ง

ประเด็นที่สอง การจัดการเป็นคำนาม ส่วนจัดการเป็นคำกริยาที่แสดงถึงการทำอะไรสักอย่าง ส่วนความรู้เป็นคำนาม หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในความเห็นผมทั้งความรู้และความไม่รู้มีประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะหากไร้ซึ่งความไม่รู้แล้วความรู้จะเกิดได้อย่างไร

ประเด็นที่สาม หากรู้แล้วแต่ยังไม่ลึกซึ้งต่อยอดลงสู่การปฏิบัติผมคิดว่าเป็นแค่ เข้าสมอง(เข้าจำ) ไม่ใช่เข้าใจ แต่หากรู้ทะลุปรุโปร่งแล้วนำไปปฏิบัติได้ ประยุกต์ได้ ในความคิดผมจึงจะเรียกว่า เข้าใจ หากเข้าใจ (จริงๆ) จะเข้าถึงได้แน่นอน ในหลายๆครั้งบางคนคิดว่าตัวเองเข้าใจแต่พอเอาไปปฏิบัติก็ติดขัดไปหมด อย่างนี้เป็นต้น

อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่มีเอกสารอ้างอิง

คนทั่วไป มอง สรรพสิ่ง แยก เป็น 2 ซ้าย ขวา, รุ้ ไม่รู้, อี เลว, สว่าง มือ,

ความสว่าง มี ต่อเมื่อมี ความมืด, ความดีปรากฏต่อเมื่องมีความขั่ว, รุ้ปรากฏต่อเมื่อมี ไม่รู้

สรรพสิ่ง เป็นคู่ในระดับ สมมุติ แต่ในระดับ สูงสุดแล้วแต่จะเรียก เต๋า, ปรมัตถ, God เป็น หนึ่ง โยงใย ผันแปรมไม่คงที่ ตามวิถี ที่ทางพุทธเรียกว่า อิธปัจจยตา

ทุกสิ่งในจักวารไม่ใช่ ธรรมชาติ แต่เป็นเพียงปรากฏการของธรรมชาติ ธรรมชาติมี อย่างเดียวคือ อิธปัจจยตา เพราะ สิ่งที่ถูสร้างขึ้นจะไม่เรียกว่าธรรมชาติ แต่ ต้องเรียกว่า ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งแปลว่าถูกธรรมขาติทำขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท